Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มกราคม 2547








 
นิตยสารผู้จัดการ มกราคม 2547
ขจร เจียรวนนท์ Regulatory Management             
โดย ไพเราะ เลิศวิราม
 

   
related stories

The Most Challenging Person
ศุภชัย เจียรวนนท์ Change Management
TRUE
งบดุลทีเอกับอนาคต
อิทธิพลที่กว้างขึ้น
1 ปี กับศุภชัย เจียรวนนท์

   
www resources

โฮมเพจ องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย

   
search resources

เทเลคอมเอเซีย, บมจ.
ทศท คอร์ปอเรชั่น
กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
ศุภชัย เจียรวนนท์
เกรียงไกร บุญธกานนท์
ขจร เจียรวนนท์
Telecommunications




เป็นชื่อตำแหน่งใหม่ของทีเอที่เริ่มใช้ไม่นาน และกว่าจะลงตัวมาใช้ชื่อภาษาไทยว่า ผู้อำนวยการด้านบริหารข้อบังคับกิจการโทรคมนาคม ศุภชัย เจียรวนนท์ ก็ต้องใช้เวลาคิดกันอยู่พักใหญ่

ความสัมพันธ์ที่ไม่ราบรื่นนักระหว่างองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย (ทศท.) และทีเอ ทำให้ศุภชัย เจียรวนนท์ ต้องหันไปให้ความสำคัญกับความสัมพันธ์ที่มีกับหน่วยงานภาครัฐเป็นพิเศษ

เวลานี้เป็นช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อการเปลี่ยนแปลงในระดับนโยบายหลายด้าน การเกิดของกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร (ไอซีที) กำกับดูแลนโยบายสื่อสารโทรคมนาคม แทนกระทรวงคมนาคม

คณะกรรมการสื่อสารแห่งชาติ (กทช.) ที่มาทำหน้าที่ออกใบอนุญาตให้บริการสื่อสารและกำกับดูแล อยู่ระหว่างจัดตั้งการแปรรูปหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ ที่เคยกำกับดูแลไปสู่การเป็นบริษัทเอกชนขององค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย ไปเป็นบริษัท ทศท คอร์ปอเรชั่น และการสื่อสารแห่งประเทศไทย เป็นบริษัท กสท.โทรคมนาคม รวมถึงการแปรสัญญาสัมปทาน

ทั้งหมดนี้ล้วนก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ที่มีต่ออุตสาหกรรมโทรคมนาคม ที่ไม่อาจปฏิเสธได้

เมื่อไม่มีผู้ดูแลรับผิดชอบโดยตรง ภาระหน้าที่นี้จึงเป็นของฝ่ายกฎหมาย ซึ่งอาจมีกรอบและวิธีคิดที่ยึดเอากฎหมายเป็นหลัก แม้จะเป็นเรื่องที่ถูกต้อง แต่ก็สอดคล้องกับรูปแบบการติดต่อกับหน่วยงานภาครัฐที่ต้องยึดหลักสายสัมพันธ์ที่ดีเป็นหลัก ยิ่งเมื่อเทียบกับความสัมพันธ์ระหว่างทีเอ และ ทศท

แนวคิดการรวมบิลค่าบริการเป็นใบเดียวกันระหว่างโทรศัพท์พื้นฐาน ยูบีซีเคเบิลทีวี อินเทอร์เน็ต เพื่อเป็นหนึ่งในเป้าหมายของการสร้างระบบที่เกื้อกูลต่อกันให้กับลูกค้า ที่ยังต้องใช้ความพยายามอยู่มากคือ ตัวอย่างหนึ่งที่ว่านี้

ศุภชัยเลือกขจร เจียรวนนท์ ญาติผู้น้องเป็นเจียรวนนท์รุ่นที่ 3 ซึ่งเกิดปีเดียวกันคือปี 2510 แต่อ่อนเดือนกว่าเข้ามารับผิดชอบในตำแหน่งงานนี้

"เขาเป็นคนใจเย็น มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี มีวิธีการอธิบาย และเข้าหาผู้ใหญ่เก่ง จะทำเองก็ไม่มีเวลา" ศุภชัยบอกถึงสาเหตุที่เลือกขจร

ขจรเป็นลูกชายคนโตของวัลลภ เจียรวนนท์ ซึ่งเป็นลูกพี่ลูกน้องของธนินท์ เจียรวนนท์ เขามีน้องสาวอีก 2 คน แต่ไม่ได้ทำงานในเครือ ซี.พี.ตามกฎของครอบครัว ที่ไม่ให้ลูกหลานผู้หญิงเข้ามาบริหารกิจการ

เรียนชั้นประถมที่โรงเรียนเซนต์ดอมินิคจนถึงแค่ประถมปีที่ 3 ในวัย 8 ปีก็ต้องไปเรียนต่อโรงเรียนจีนที่ฮ่องกง เพื่อฝึกภาษาจีน มีชื่อเรียกเป็นภาษาจีนว่า "เซี่ย เร่อ หยาง" เพราะเป็นช่วงที่กลุ่มซี.พี.บุกขยายธุรกิจในต่างประเทศ จึงเตรียม พร้อมลูกหลานโดยส่งไปเรียนหนังสือที่ต่างประเทศตั้งแต่วัยเด็ก

ในขณะที่พี่น้องในตระกูลก็ถูกส่งไปเรียน สุภกิต เจียรวนนท์ พี่ชายของศุภชัยถูกส่งไปอยู่กับปู่ที่สิงคโปร์ตั้งแต่ชั้นประถม เพราะปู่ เจี่ย เอ็ก ชอ ไปทำการค้าหลายอย่างอยู่ที่สิงคโปร์

แม้อายุจะห่างกัน 3 ปี แต่ด้วยความชื่นชอบในกีฬาและสไตล์การใช้ชีวิตที่ใกล้เคียงกัน ขจรจึงสนิทสนมกับญาติผู้พี่ หลังจากที่สุภกิตเรียนจบจากสิงคโปร์ และไปเรียนต่อที่ Pennington School ที่รัฐ New Jersey สหรัฐอเมริกา ถัดจากนั้นปีเดียว ขจรบินตามไปเรียนต่อที่เดียวกัน

ช่วงที่ลูกหลานของตระกูลเจียรวนนท์ไปเรียนต่อที่สหรัฐอเมริกา กลุ่ม ซี.พี.เองมีสำนักงานเป็นเทรดดิ้ง คอมปานี อยู่ที่นิวยอร์ก โดยชาล์ส วอง President ของ CP USA บริษัทเทรดดิ้งเฟิร์มของเครือ ซี.พี.ทำหน้าที่เป็นผู้ปกครองและหาโรงเรียน ซึ่งบริษัทนี้ยังตั้งอยู่จนถึงปัจจุบัน

ด้วยความชื่นชอบกีฬา เขาเล่นกีฬาเกือบทุกประเภท ฟุตบอล เทควนโด คาราเต้ ยังเป็นนักกิจกรรม เป็นประธานชมรมของ International Student ของที่นั่น

ขจรใช้ชีวิตอยู่ที่สหรัฐอเมริกา 10 ปีเต็ม เลือกเรียนสาขาบริหารจาก Fairleigh Dickinson University สหรัฐอเมริกา

"เป็นคนไม่ชอบโฟกัสไปอย่างใดอย่างหนึ่ง ชอบกว้างๆ" ขจรบอกสาเหตุที่เลือก เรียนบริหารเหมือนกับพี่น้องส่วนใหญ่ในตระกูล

กฎของตระกูลเจียรวนนท์ที่ไม่ให้ลูกหลานทำงานในเครือ ซี.พี. ต้องไปหาประสบการณ์ทำงานจากบริษัทภายนอก จนกว่าจะพิสูจน์ฝีมือได้ก่อน หลังเรียนจบขจรจึงเริ่มงาน ที่บริษัทมัลติ อะโกร เป็นธุรกิจของญาติ ทำสวนเกษตร พัฒนาที่ดิน สนามกอล์ฟดราก้อนฮิลล์ และอยู่ในสายงานด้านนี้มาตลอด

"อยากทำบริษัทใหญ่ๆ เขาไม่ให้เราเข้า เพราะกลัวนามสกุล ต้องยอมรับเลยว่า ลูกหลานเจียรวนนท์ลำบากมาก"

ด้วยความชื่นชอบธุรกิจพัฒนาที่ดิน เพราะชอบทำอะไรใหม่ๆ ที่ยังไม่เข้าที่และพัฒนาให้สวยงาม เมื่อเริ่มมีประสบการณ์จึงเข้ามาทำงานบริษัท 84 ซึ่งเป็นบริษัทตั้งใหม่ของเครือ ซี.พี.ที่ลงขันกับหุ้นส่วน เพื่อทำธุรกิจพัฒนาที่ดิน จากนั้นจึงได้เข้ามา ทำงานกับบริษัทในเครือทีเอ ที่ดูแลอสังหาริมทรัพย์ของในเครืออีกทอดหนึ่งคือ บริษัท นิลุบล ซึ่งเป็นเจ้าของอาคารเทเลคอมทาวเวอร์ บริษัทดับเบิลยู เซเว่น เรนท์ทัล เซอร์วิสเซส ดูแลรถยนต์ที่ใช้ภายในเครือ

ปี 2545 ขจรได้เข้ามาเป็นกรรมการในบริษัททีเอ ออเร้นจ์ มีส่วนร่วมในการบิน ไปเจรจากับออเร้นจ์ที่อังกฤษ นั่งเป็นกรรมการบริษัทอลิอันซ์ ซี.พี. ประกันภัย และบริษัทฟอร์จูน ทำธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ก่อนจะได้รับมอบหมายจากศุภชัย ให้มารับตำแหน่ง Regulatory Management เป็นการเพิ่มบทบาทและภาระหน้าที่ในทีเอ

"บริษัทอื่นๆ เขาก็มีคนรับผิดชอบอย่าง ทศท เขามี 50 คน เขาแยกออกมาชัดเจน เพราะต่อไปจะต้องมีคณะกรรมการ กทช. เป็นเรื่องสำคัญมาก"

หน่วยงาน Regulatory ของขจร เป็นเพียงทีมงานเล็กๆ ที่มีทีมงานอยู่เพียงแค่ 7 คน โดยจะใช้วิธีดึงทีมงานจากฝ่ายต่างๆ เข้ามาช่วยเป็นกรณีๆ ไป

"ถ้าจะวิเคราะห์ด้านกฎหมาย ผมจะมีทีมมาช่วย ถ้าทำเรื่องการตลาดก็มีอีก 10-20 คน มาช่วย เราต้องดูผลกระทบหมด เราต้องวิเคราะห์สัญญา เรื่องผลกระทบการตลาด ทำอย่างนี้จะกระทบพีซีทีหรือไม่ และวายเทลว่าเราจะขออย่างไรให้ถูกต้อง

งานแรกของเขาในตำแหน่งนี้คือการเข้าไปทำความรู้จักเพื่อความสัมพันธ์ที่ดีกับหน่วยงานรัฐอย่าง ทศท และ กสท.

"ผมบอกจะมาช่วยประสานงานให้ดี อะไรที่เคยผ่านมาก็ให้แล้วกันไป เราเจรจาให้ทำอะไรให้ win win ด้วยกัน พอกลับถึงสำนักงาน ปรากฏว่าทีเอเพิ่งฟ้อง ทศท ออก มาพอดี" ขจรเล่าด้วยความสนุกสนาน

แม้จะรับตำแหน่ง Regulatory Management ทำให้เขาเดินทางบ่อยขึ้น ติดตามและเข้าถึงศูนย์อำนาจของรัฐมากขึ้น มีทั้งที่เริ่มเห็นผลและยังต้องอาศัยเวลาในการเรียนรู้ แต่ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ของกลุ่มทีเอก็ยังอยู่ในความรับผิดชอบของเขา

ใครที่แวะเวียนติดต่อที่อาคารเทเลคอมทาวเวอร์ จะเห็นการเปลี่ยนแปลงบริเวณล็อบบี้พนักงานต้อนรับของทีเอที่มีแผ่นครึ่งวงกลมโค้งนูน ทาสีเขียวสดมาติดตั้งบนฝาผนัง ไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งในการออกแบบตกแต่ง แต่เป็นการเปลี่ยนแปลงตามหลัก "ฮวงจุ้ย" จากซินแสเจ้าประจำที่มาให้คำแนะนำ

"ลักษณะแบบนี้เขาเรียกว่าการทำให้หมดสภาพ เพราะเมื่อเปลี่ยนจากพื้นแบนราบ มาเป็นพื้นนูน เวลามีสิ่งไม่ดีเข้ามาจะได้สะท้อนออกไป ส่วนสีเขียวเปรียบเหมือนกับต้นไม้ เป็นตัวเกื้อหนุนกันระหว่างทิศ" เกรียงไกร บุญธกานนท์ บอกถึงที่มาของการเปลี่ยนแปลง ครั้งล่าสุด ที่เป็นผลกระทบที่เกิดจากการโคจรครบรอบ 80 ปีของดวงดาว

เกรียงไกรเป็นหนึ่งในทีมซินแส ที่มีอยู่จำนวนมากของเครือ ซี.พี. ที่จะให้คำปรึกษา เป็นครั้งคราวตามแต่ความเชี่ยวชาญของแต่ละคน

ถึงแม้ว่าความเชื่อของผู้บริหารทีเอ ในยุคนี้จะไม่เคร่งครัดเรื่องฤกษ์ยามเหมือนกับในยุคก่อนๆ แต่เกือบทุกครั้งที่ลงนามเซ็นสัญญาหรือเปิดให้บริการจะต้องมีซินแสมาดูฤกษ์ยาม และเป็นสิ่งที่ยึดถือปฏิบัติ

การเปลี่ยนโลโกใหม่จากที่ใช้สีน้ำเงิน แดง มาใช้สีทองและน้ำตาล ภายหลังจากการประนอมหนี้เสร็จสิ้นลง เป็นส่วนหนึ่งของความเชื่อที่ว่านี้

"สิ่งไหนที่ไม่เห็นหรือไม่สัมผัส ไม่ได้หมายความว่าไม่มี เพียงแต่เรารับรู้ได้แค่นี้" ศุภชัยบอก

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us