ตุลาคม 2545 จำหน่ายหุ้นกู้ 18,500 ล้านบาท นำไปชำระเงินกู้สกุลดอลลาร์สหรัฐ
ส่งผลให้มีเงินกู้ดอลลาร์สหรัฐลดลง 78 ล้านดอลลาร์
24 มกราคม 2546 เปิดจำหน่ายหุ้นกู้ 2,000 ล้านบาท ใช้คืนเงินกู้สกุลดอลลาร์
20 กุมภาพันธ์ 2546 เปิดจำหน่ายหุ้นกู้ 3,319 ล้านบาท ใช้คืนเงินกู้สกุลดอลลาร์
17 กรกฎาคม 2546 Verizon Communication ถอนการลงทุนในทีเอ โดยขายหุ้นที่ถืออยู่
10% ในทีเอ กลับคืนให้กับเครือ ซี.พี.
28 กรกฎาคม 2546 ทีเอเปิดบริการใหม่ Hi-speed Internet อินเทอร์เน็ตความเร็วสูง
1 กันยายน 2546 เครือเจริญโภคภัณฑ์คัดเลือก Intitiative media และ Brand
Connection เอเยนซี่รับผิดชอบซื้อสื่อโฆษณาบริษัทในเครือ ซี.พี. ทั้งหมด
4 กันยายน 2546 ทีเอ และเอเซียเน็ท คอร์ปอเรชั่น ซึ่งเป็นบริษัทในเครือทีเอ
จับมือบริษัทไตรโกล พิคเจอร์ส นำเกมออนไลน์ Priston Tale จากเกาหลีเข้ามาทำตลาด
6 ตุลาคม 2546 ปรับโครงสร้างองค์กร ทีเอ ออเร้นจ์ โดยศุภชัย เจียรวนนท์
กลับเข้าไปนั่งเป็นกรรมผู้จัดการใหญ่ร่วม (Co-CEO) โดยอภิรักษ์ โกษะโยธิน
เปลี่ยนจากกรรมการผู้จัดการใหญ่ มาเป็นกรรมการผู้จัดการใหญ่ร่วม ให้เหตุผลว่า
เพื่อต้องการให้การ Synergy ระหว่างทีเอและทีเอ ออเร้นจ์ ก้าวไปสู่ Solution
Provider เห็นผลโดยเร็ว
14 ตุลาคม 2546 Re-finance กับกลุ่มธนาคารพาณิชย์ 14 แห่ง ในวงเงินกู้ 21,419
ล้านบาท เพื่อนำเงินชำระคืนเงินกู้สกุลบาทจำนวนเท่ากันส่งผลให้ดอกเบี้ยลดลง
200 ล้านบาท
2 ธันวาคม 2546 บริษัทเอเซียเน็ท คอร์ปอเรชั่น ลงทุนร่วมกับบริษัท DATACOM
Corporation และบริษัท Korean Internet Data Center หรือ KIDC จากประเทศเกาหลี
จัดตั้งบริษัท ทรู อินเตอร์เนชั่นแนล ดาต้า เซ็นเตอร์ ให้บริการธุรกิจศูนย์บริการข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต
9 ธันวาคม 2546 เปิดโรมมิ่งบริการ PCT ระหว่างไทยและญี่ปุ่น โดยร่วมมือกับบริษัท
DDI POCKET ในเครือ KDDI จากญี่ปุ่น
19 ธันวาคม 2546 จัดตั้งบริษัททรู ดิจิตอล เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ เพื่อศึกษาพัฒนา
และบุกเบิกตลาดคอมพิวเตอร์เกมออนไลน์