Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ เมษายน 2544








 
นิตยสารผู้จัดการ เมษายน 2544
คนไทยหรือเปล่า?             
โดย ฐิติเมธ โภคชัย
 

   
related stories

ฟิทช์ เรทติ้งส์ mission possible?
ยินดีต้อนรับ

   
search resources

ฟิทช์ เรทติ้งส์ (ประเทศไทย), บจก.
วินเซนต์ มิลตัน




การเดินทางเข้ามาสัมผัสประเทศไทยเมื่อวัยหนุ่มของวินเซนต์ มิลตัน กรรมการผู้จัดการฟิทช์ เรทติ้งส์ (ประเทศไทย) ส่งผลให้เข้าใจความเป็นไทยได้ดี และจะดียิ่งขึ้นถ้าให้โอกาสเขามากกว่านี้

หนุ่มชาวออสซี่ "วินเซนต์ มิลตัน" มีพื้นเพดั้งเดิมในเมืองเล็กๆ Ballina ทางตอนเหนือของ New South Wales ออสเตรเลีย ครอบครัวของเขาเป็นครอบครัวใหญ่ในสายตาของตัวเอง เพราะมีพี่น้องถึง 6 คน คุณแม่เป็นแม่บ้าน คุณพ่อเป็นเจ้าของฟาร์มโคนม แต่ตอนหลังตลาดไม่ดีเลยหันมาเลี้ยงโคเนื้อและสุกร

ด้วยบรรยากาศแบบท้องทุ่งและกลิ่นฟางทำให้มิลตันเติบโตขึ้นแบบคนชนบทโดยแท้ โดยเฉพาะวิธีคิดและการดำเนินชีวิตที่ส่งผลมาถึงปัจจุบัน

ชีวิตวัยเด็กก็เหมือนกับเพื่อนคนอื่นๆ แต่ทางด้านการเรียนมิลตันถือเป็นเด็กฉลาดและขยันคนหนึ่ง เข้าเรียนชั้นประถมและมัธยมที่บ้านเกิดของตนเอง และจุดเปลี่ยนชีวิตเริ่มขึ้นเมื่ออายุ 16 ปี หลังจากสามารถสอบโครงการแลกเปลี่ยนนักเรียน AFS ได้ ซึ่งจะได้สิทธิ์ไปศึกษาและเรียนรู้ยังต่างประเทศเป็นเวลา 1 ปี

ช่วงที่ตัดสินใจเลือกว่าตนเองสนใจอยากไปประเทศไหนนั้น มิลตันไม่ได้เจาะจงเลือกไทย แต่เลือกประเทศที่กำลังพัฒนาซึ่งไม่ได้อยู่ในทวีปยุโรปและอเมริกา "ตอนนั้น ยังไม่รู้จักเมืองไทย แต่ในใจคิดอยากจะไปเอเชีย แอฟริกา" มิลตันระลึกความหลังให้ "ผู้จัดการ" ฟัง

ในที่สุดคณะกรรมการโครงการ AFS ของออสเตรเลียตัดสินใจส่งมิลตันมายังประเทศไทยในปี 1984 ซึ่งเป็นครั้งแรกในชีวิตที่เขาได้สัมผัสสยามเมืองยิ้ม เจ้าตัวบอกว่า ค่อนข้างลำบากกับการจัดการชีวิต แม้จะมาเพียงแค่ปีเดียว เนื่องจากไม่รู้ภาษาและวัฒนธรรมไทย

ที่สำคัญ เขาไม่ได้มาศึกษาและเรียนรู้ประเทศไทยในเมืองกรุง แต่ถูกส่งไปยัง อ.ตะกั่วป่า จ.พังงา โดยมิลตันบอกว่าที่ตะกั่วป่าเมื่อ 17 ปีที่แล้วกับปัจจุบันแตกต่างกันมาก

"ตอนนั้นคนท้องถิ่นทำเหมืองแร่ และชาวบ้านแทบจะไม่เคยเห็นคนต่างชาติ เมื่อไปอยู่จะมีคนมาทักทาย และยิ่งเป็นเด็กเลยเป็นจุดสนใจมากยิ่งขึ้น"

มิลตันพำนักอาศัยอยู่กับครอบครัวประพันธ์ และจุไร บุญสูง ตอนนั้นครอบครัวนี้มีอาชีพทำเหมืองแร่ ปัจจุบันหันมาทำฟาร์มกุ้ง ถือว่ามิลตันโชคดีที่ได้มาอยู่กับครอบครัวที่อบอุ่นและเข้าใจฝรั่ง รวมไปถึงได้อาจารย์และเพื่อนๆ ดี ส่งผลให้เขาสามารถปรับตัวในการเรียนรู้เกี่ยวกับเมืองไทยได้เร็ว

มิลตันเข้าเรียนร่วมกับเพื่อนๆ ในโรงเรียนตะกั่วป่าเสนานุกูล และเขาใช้เวลาประมาณ 6-7 เดือน ในการฝึกพูดภาษาไทยจนเข้าใจได้พอสมควร "ตอนนั้นมีผลกระทบต่อตนเองมาก เพราะเพื่อนพูดอังกฤษไม่ได้ เราก็พูดภาษาไทย ไม่ได้ ต่างคนต่างสงสารซึ่งกันและกันแต่ก็สนุก" มิลตันเล่า

หลังจากเข้ามาในประเทศไทยครบ 1 ปี เขาก็กลับไปเรียนต่อจนจบมัธยมปลาย และก็สามารถสอบเข้ามหาวิทยา ลัย New South Wales ได้ ซึ่งเขาเลือกศึกษาคณะเศรษฐศาสตร์ และนิติศาสตร์ในเวลาเดียวกัน ซึ่งหลักสูตรนั้น สามารถเรียนพร้อมกันได้

ว่ากันว่าที่มหาวิทยาลัยแห่งนี้ คณะนิติศาสตร์และแพทยศาสตร์เป็นคณะที่เข้ายากที่สุด ซึ่งมิลตันมีคะแนนเรียนดีมากจึงมีสิทธิ์เรียน 2 คณะนี้ แต่เขาไม่เลือกแพทย์ ด้วยเหตุผลชอบเศรษฐศาสตร์มากกว่า

"ความจริงผมก็ไม่ชอบกฎหมาย แต่เนื่องจากมีคะแนนเรียนดีอาจารย์จึงให้เข้าเรียน และยิ่งเข้าไปเรียนยิ่งไม่ชอบกฎหมายเลย โดยเฉพาะวิธีการปฏิบัติ แต่ในทางทฤษฎียังพอรับได้"

มิลตันเลือกศึกษากฎหมายทางธุรกิจควบคู่ไปกับวิชาเศรษฐศาสตร์ แต่เขากลับมองว่าวิชากฎหมายด้านสังคมน่าจะให้ประโยชน์มากกว่าและเป็นงานที่เขาสนใจ แต่ตลอดชีวิตที่ผ่านมาเขาไม่เคยทำงานด้านนี้เลย แต่กลับเลือกทำงานด้านธุรกิจในบริษัทขนาดใหญ่ๆ "เราจึงเป็นแค่ส่วนหนึ่งของธุรกิจเท่านั้นและไม่เคยออกไปพบลูกค้าด้วยซ้ำ" มิลตันบอก

ระหว่างศึกษาที่มหาวิทยาลัย รัฐบาลออสเตรเลียประกาศสอบชิงทุนในหน้าหนังสือพิมพ์ตามโครงการ เพื่อสร้างความสัมพันธ์ระหว่างออสเตรเลียกับประเทศในแถบเอเชีย มิลตันไม่รอโอกาสจึงไปสอบและก็เป็นคนหนึ่งที่ได้ทุนรัฐบาล

การเลือกประเทศที่ตนเองสนใจ แน่นอนว่า มิลตันต้องเลือกประเทศไทย โดยรัฐบาลออสเตรเลียให้เขามาศึกษาร่วมกับนักศึกษาไทยที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในปี 1992 หลังจากจบการศึกษาที่ New South Wales เพียงปีเดียว

เป็นการกลับมาประเทศไทยอีกครั้งของมิลตันในฐานะนักศึกษา หลังจากเคยมาในฐานะนักเรียนโครงการ AFS แต่ความจริงแล้วหากมองในฐานะการมาไทยด้วยตนเองแล้วเขาเคยกลับมาเยี่ยมครอบครัวบุญสูง อาจารย์และเพื่อนๆ ที่ตะกั่วป่าหลายครั้งในช่วงปี 1989-1991

ดูเหมือนว่าเขารักประเทศไทยอย่างมาก สังเกตได้จากแววตาและน้ำเสียงในช่วงให้สัมภาษณ์ "ผู้จัดการ"

"หลังจากกลับบ้านคราวนั้น คิดถึงเพื่อนๆ จนไม่มีความสุขในการอยู่ออสเตรเลีย เพราะห่างจากเมืองไทย ช่วง 4 ปีแรกของการกลับบ้านไม่ได้กลับมาเลย เพราะคิดถึงเพื่อนมาก คือ ความคิดยังเป็นเด็กๆ เลยไม่รู้ว่า อยากจะอยู่ประเทศไหนกันแน่"

หลังจากศึกษาที่จุฬาฯ ครบตามโครงการแล้ว มิลตันตัดสินใจอยู่เมืองไทยต่ออีกด้วยการเข้าไปศึกษา ที่ธรรมศาสตร์ ในคณะนิติศาสตร์ภาคภาษาไทยในปี 1993-1994

หลังจากได้ปริญญาที่ธรรมศาสตร์แล้วก็กลับไปออสเตรเลีย และบริษัทแรกที่เข้าทำงานคือ สำนักงานกฎหมาย Allen Allen & Hemsley แต่ทำงานได้เพียง 2 ปี เริ่มรู้สึกเบื่อ จึงลาออกในช่วงสิ้นปี 1996 เพื่อไปฝึกเป็นทหารในหน่วยงานพิเศษคอมมานโดแห่งออสเตรเลีย เป็นทหารอยู่ได้ 1 ปีก็ลาออกอีกครั้ง

เมษายน 1997 ฟิทช์ อิบคา ที่ออสเตรเลีย ประกาศรับสมัครนักวิเคราะห์ระบบธนาคารพาณิชย์ในประเทศไทย และ มีความรู้เกี่ยวกับเมืองไทย มิลตันจึงไปสอบทั้งๆ ที่ไม่มีประสบการณ์ด้านนี้มาก่อน มีแต่ทฤษฎีด้านเศรษฐศาสตร์ "ข้อดี คือ รู้จักเมืองไทยและภาษาไทย"

อีก 2 เดือนถัดมา เขาได้เป็นนักวิเคราะห์ชองฟิทช์ อิบคา ประจำออสเตรเลีย แต่งานรับผิดชอบ คือ เขียนบทวิเคราะห์อุตสาหกรรมธนาคารไทยทั้งระบบ ดังนั้น เขาจึงต้องเดินทางตลอดเวลา

มิลตันตั้งข้อสังเกตกับตนเองที่ผูกพันกับเมืองไทยว่า ช่วงที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย เป็นช่วงที่เกิดวิกฤติร้ายแรงถึง 2 ครั้ง ครั้งแรกสมัยเรียนจุฬาฯ เป็นช่วงเหตุการณ์เปลี่ยนแปลงทางการเมืองจากการปฏิวัติยุค รสช. และเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ ครั้งที่ 2 เมื่อเข้ามาทำงานที่ฟิทช์ อิบคา เป็นจังหวะที่เกิดวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจ

หลังจากทำงานเป็นนักวิเคราะห์ได้ระยะหนึ่งรู้สึกว่าตนเองชอบ ที่สำคัญรับผิดชอบงานในเมืองไทยด้วย ทางบริษัทจึงส่งตัวเขาไปศึกษาต่อด้านการเงินที่สถาบันวิเคราะห์หลักทรัพย์แห่งออสเตรเลีย นอกจากนี้ยังถูกส่งตัวไปศึกษางานที่สำนักงานประจำกรุงลอนดอนในด้านการวิเคราะห์ภาคอุตสาหกรรม

นี่คือจุดเริ่มต้นที่ฟิทช์ อิบคา ต้องการให้มิลตันเข้ามารับผิดชอบงานในไทยเต็มตัวด้วยการจัดตั้งบริษัทขึ้นมา ต่อจากสิงคโปร์, ญี่ปุ่น, ออสเตรเลีย และฮ่องกงที่มีสำนักงานในปี 1994 และจีนเมื่อปี 1998

มิลตันใช้เวลาเจรจาและพบปะหาผู้ร่วมทุน ซึ่งถือว่าความสำเร็จของฟิทช์ เรทติ้งส์ในไทยเขาเป็นแม่ทัพโดยแท้ แม้ว่าเขาจะเอ่ยปากถ่อมตัวว่าไม่ใช่ผลงานของเขา แต่เขาภูมิใจอย่างมาก

ด้วยบุคลิกที่เอาการเอางาน อ่านภาษาไทยได้อย่างคล่องแคล่ว ผสมผสานกับความรู้จักเมืองไทยเหมือนเจ้าของประเทศ ส่งผลให้การทำงานภายใต้การรับผิดชอบของเขาดูจะ ไม่แตกต่างไปจากองค์กรของคนไทยเลย

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us