Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กุมภาพันธ์ 2540








 
นิตยสารผู้จัดการ กุมภาพันธ์ 2540
จับตาทุนเท็กซ์ฯ ครบวงจรสร้างความมั่นคงหรือจะเป็นดาบสองคม             
 


   
search resources

ทุนเท็กซ์ (ประเทศไทย), บมจ.-TUNTEX
Chemicals and Plastics
Garment, Textile and Fashion
ทุนเท็กซ์ เท็กซ์ไทล์, บจก.
ทุนเท็กซ์ ปิโตรเคมีคอลส์ (ประเทศไทย), บจก.
วิชา ตระกูลมุ่งกิจการ




บมจ.ทุนเท็กซ์ (ประเทศไทย) หรือ TUNTEX หนึ่งในอีกหลายบริษัทที่กำลังเจอมรสุมกับการดำเนินธุรกิจ หนทางออกที่ทุนเท็กซ์ฯ เลือกปฏิบัติในการแก้ไขปัญหาต่างๆ เหล่านี้ คือแผนการทำธุรกิจอุตสาหกรรมสิ่งทอของตัวเองให้ครบวงจรเร็วที่สุด

"นโยบายเราคือทำธุรกิจให้ครบวงจร ด้านอัพสตรีมจะขยายปิโตรเคมีและอะโรเมติกส์ ส่วนดาวน์สตรีมจะลงทุนในด้านการปั่นด้าย ฟอกย้อม" วิชา ตระกูลมุ่งกิจการ ผู้จัดการอาวุโสฝ่ายบริหารและกฎหมาย กล่าวถึงแนวทางเดินของทุนเท็กซ์ฯ

ธุรกิจหลักยังไม่กระเตื้อง

ปัจจุบันทุนเท็กซ์ฯ ดำเนินธุรกิจเป็นผู้ผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์โพลีเอสเตอร์ทั้งที่เป็นเม็ดและเป็นเส้นใยเพื่อใช้เป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมปั่นด้าย ทอผ้าและถักผ้า โดยมีลักษณะผลิตภัณฑ์แล่งเป็น 5 ประเภท ได้แก่

1. POY (PARTIALLY ORIENTED YARN) เป็นผลิตภัณฑ์กึ่งสำเร็จรูปที่นำไปใช้ในการผลิต DTV 2. STAPLE FIBER เป็นวัตถุดิบนำไปผสมกับฝ้ายหรือใยสังเคราะห์อื่นเพื่อนำไปผลิตเส้นด้ายต่อไป 3. CHIP เป็นผลิตภัณฑ์ต่อเนื่องที่นำไปผลิตผลิตภัณฑ์เส้นใยโพลีเอสเตอร์ 4. DTY (DRAW TEXTURED YARN) นำไปทอผ้า 5. SDY (SPIN DRAW YARN) นำไปทอผ้าและถักผ้า
2.
โดยมีกำลังการผลิต 300 ตันต่อวัน มีส่วนแบ่งการตลาดประมาณ 30% ขายในประเทศประมาณ 65% และส่งออกประมาณ 35% โดยตลาดต่างประเทศของทุนเท็กซ์ฯ จะอยู่ที่จีน ยุโรป อินเดีย อย่างไรก็ตามแม้ว่าส่วนแบ่งการจตลาดจะมีสูงแต่การทำตลาดของทุนเท็กซ์ฯ ในปัจจุบันนับว่าลำบากพอสมควร เนื่องจากความต้องการใช้ในประเทศลดลง จึงเกิด OVER SUPPLY ขึ้น ทำให้บริษัทที่ผลิตเส้นใยประดิษฐ์ชนิดต่างๆ ประสบปัญหาภาวะการขาดทุนอย่างมาก ถึงกับมีผู้ผลิตหยุดการผลิตไปแล้ว 2 ราย คือ บริษัท เจียมพัฒนาซินทิธิคไฟเบอร์ จำกัด และบริษัท สยามโพลีเอสเตอร์ จำกัด

ปัจจุบันประเทศไทยมีกำลังการผลิตเส้นใยประดิษฐ์อยู่ที่ระดับประมาณ 540,000 ตันต่อปีในขณะที่ความต้องการอยู่ที่ระดับประมาณ 450,000 ตันต่อปีเท่านั้น และนี่คือเหตุผลหนึ่งที่วิชาจำต้องนำทุนเท็กซ์ฯ ออกไปหาตลาดใหม่ในต่างประเทศ

"เราจึงหันไปเปิดตลาดที่เวียดนาม ปากีสถาน ซึ่งขณะนี้ได้เริ่มส่งเจ้าหน้าที่ไปติดต่อแล้ว" วิชา กล่าว

สาเหตุหลักที่เกิดภาวะตกต่ำของผลิตภัณฑ์เส้นใยประดิษฐ์ก็คืออุตสาหกรรมสิ่งทอโดยรวมภายในประเทศกำลังอยู่ในช่วงซบเซาอย่างมาก และในอนาคตยังไม่ทราบว่าอุตสาหกรรมสิ่งทอจะฟื้นตัวได้เมื่อไหร่ เนื่องจากการขาดประสิทธิภาพการผลิตของผู้ผลิตเอง และความชัดเจนในการแก้ปัญหาของรัฐบาล

ผลพวงที่ตามมาก็ตกมาถึงทุนเท็กซ์ฯ อันได้แก่ควมตกต่ำของราคาเส้นใยโพลีเอสเตอร์ซึ่งอยู่ในช่วงที่ตกต่ำอย่างมากนับจากต้นปี 2538 เป็นต้นมาระดับราคาอยู่ที่ประมาณ 30-35 บาทต่อกิโลกรัม และตกลงต่ำสุดถึง 25 บาทต่อกิโลกรัม ในขณะที่ก่อนหน้านี้ราคาเคยอยู่ที่ระดับประมาณ 52 บาทต่อกิโลกรัม

"ช่วงนี้ระดับราคาก็ได้กระเตื้องขึ้นมาบ้างแล้ว คืออยู่ในช่วงขาขึ้นแต่คาดว่าน่าจะทรงๆ อยู่ แต่จะไม่หวือหวาเหมือนปี 2538 และมั่นใจว่าอุตสาหกรรมสิ่งทอจะดีขึ้นรวมถึงบริษัทเราด้วย เพราะช่วงที่ผ่านมาสิ่งทอตกต่ำสุดขีดแล้ว จึงไม่น่าจะต่ำไปกว่านี้ ฉะนั้นต่อไปนี้ก็จะกระเตื้องขึ้นแต่ต้องใช้เวลา" วิชา กล่าว

เมื่อวิชามองในแง่ดีว่าแนวโน้มในอนาคตอุตสาหกรรมสิ่งทอภาพรวมจะฟื้นตัว จึงได้ทำการขยายกำลังการผลิตเส้นใยโพลีเอสเตอร์ออกไปอีก 360 ตันต่อวัน โดยจะเริ่มผลิตได้ประมาณปลายปี 2540 ซึ่งเมื่อถึงตอนนั้นทุนเท็กซ์ฯ จะมีกำลังการผลิตเส้นใยโพลีเอสเตอร์ทั้งสิ้น 660 ตันต่อวัน โดยในส่วนขยายจะใช้เงินลงทุนทั้งหมด 5,100 ล้านบาท เป็นเงินกู้ประมาณ 4,250 ล้านบาท จากธนาคารกรุงเทพเป็นหลัก ที่เหลือจะเป็นเงินทุนของบริษัท

"เมื่อขยายกำลังการผลิตเสร็จโรงงานเราจะเป็นผู้ผลิตเส้นใยโพลีเอสเตอร์ใหญ่ที่สุดในประเทศ และสาเหตุที่ขยายส่วนนี้ขึ้นมาเพื่อรองรับกับความต้องการภายในประเทศ เรามองว่าอนาคตตลาดเส้นใยฯ ในประเทศจะไม่หดตัวแน่นอน โดยจะมีอัตราการเติบโตประมาณปีละ 10%" วิชา เปิดเผย

และเขายังย้ำว่าเมื่อขยายกำลังการผลิตเสร็จจะสามารถเพิ่มส่วนแบ่งการตลาดในประเทศได้เพิ่มมากขึ้น ส่วนตลาดต่างประเทศพยายามส่งออกให้มากขึ้นโดยเฉพาะยุโรป แต่ยังเน้นตลาดในประเทศเป็นหลัก

"ผลิตมาเท่าไหร่เราก็ขายได้หมดและปัจจุบันบริษัทมีอัตราการเติบโตประมาณปีละ 15-20% และเมื่อเราผลิตได้ที่ระดับ 660 ตันเราจะโตขึ้นสูงกว่า 20% ต่อปี"

อย่างไรก็ตามในอนาคตความยากลำบากในการทำธุรกิจเส้นใยโพลีเอสเตอร์ของทุนเท็กซ์ฯ จะยิ่งมีมากขึ้น ทั้งนี้เนื่องจากนโยบายของรัฐบาลที่เปิดให้มีการแข่งขันเสรีในอุตสาหกรรมหลักตามข้อตกลงของ AFTA จะส่งผลมีการปรับลดภาษีนำเข้าเร็วขึ้น เมื่อเป็นเช่นนี้ทุนเท็กซ์ฯ จะต้องเจอกับมรสุมการเข้ามาทุ่มตลาดจากผู้ผลิตจากต่างประเทศ เช่น จีน เวียดนาม และภาวะการแข่งขันจะยิ่งดุเดือดมากขึ้นแน่นอน

เนื่องจากประเทศเหล่านี้มีต้นทุนในการผลิตต่ำกว่าทุนเท็กซ์ฯ นั่นก็หมายความว่าโอกาสที่จะได้เห็นราคาเส้นโพลีเอสเตอร์สูงขึ้นอย่างที่เคยเห็นในอดีตย่อมเลือนลางลงไป รวมทั้งแนวโน้มเกิด OVER SUPPLY ของเส้นใยในประเทศก็จะสูงขึ้นไปเรื่อยๆ

หนทางของทุนเท็กซ์ฯ ในการอยู่รอดนั้นวิชาได้กล่าวอย่างหนักแน่นว่า "เราจะต้องรักษาส่วนแบ่งตลาดของเราไว้ให้มากที่สุด"

ดาวส์สตรีม ฐานที่มั่นสำคัญ

เมื่อเรามองไปข้างหน้าแล้วสิ่งที่จะมารองรับผลิตภัณฑ์เส้นใยโพลีเอสเตอร์ชนิดต่างๆ ของทุนเท็กซ์ฯ ต่อไปก็คืออุตสาหกรรมทอผ้าฟอกย้อมและพิมพ์ผ้าโพลีเอสเตอร์ ดังนั้นทุนเท็กซ์ฯ จึงได้แตกไลน์ออกไปสู่อุตสาหกรรมดังกล่าว

จึงได้ทำการก่อตั้ง บริษัท ทุนเท็กซ์ เท็กซ์ไทล์ จำกัด โดยทุนเท็กซ์ฯ จะเข้าถือหุ้น 35% เอเชีย คอร์ปอเรชั่น พาร์ทเนอร์ ฟันด์ ถือ 10% กลุ่มมารูเบนี 4% และอื่นๆ รวมกันถืออีก 16% โดยมีทุนจดทะเบียน 800 ล้านบาท

"โรงงานนี้ตั้งอยู่ที่นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด และขณะนี้เรากังก่อสร้างคาดว่าจะสามารถผลิตได้ในไตรมาส 3 ปีนี้ และโรงงานแห่งนี้จะมีเวลาคืนทุนประมาณ 3 ปี" วิชากล่าว

สำหรับเงินลงทุนในทุนเท็กซ์ เท็กซ์ไทล์นี้จะใช้ทั้งสิ้นประมาณ 2,000 ล้านบาท โดยจะกู้จากสถาบันการเงินในประเทศประมาณ 1,600 ล้านบาท จากธนาคารกรุงเทพ, กรุงไทยและกรุงศรีอยุธยา

ด้านกำลังการผลิตของโครงการนี้จะมีกำลังการผลิตทั้งหมด 39.60 ล้านหลาต่อปี แบ่งเป็นผ้าพิมพ์ 21.60 ล้านหลา และผ้าย้อม 18 ล้านหลา

"โรงงานนี้จะใช้เทคโนโลยีของบริษัท KOMATSU SEIREN ประเทศญี่ปุ่นซึ่งเป็นบริษัทที่มีประสบการณ์ด้านทอและย้อมผ้าโพลีเอสเตอร์ของญี่ปุ่น" วิชาเปิดเผย

จุดประสงค์ในการก่อสร้างโรงงานเท็กซ์ไทล์ขึ้นมานั้นหลายคนมองว่า ทุนเท็กซ์ฯ ต้องการหลีกหนีภาวะ OVER SUPPLY ของเส้นใยโพลีเอสเตอร์และการแข่งขันรวมทั้งต้องการหาตลาดที่แน่นอนในการกระจายสินค้า

"แต่วัตถุประสงค์ที่แท้จริงคือต้องการผลิตผ้าที่มีคุณภาพซึ่งเป็นผ้า HIGH FABRIC FASHION ซึ่งจะสามารถทดแทนการนำเข้าได้เพราะในแต่ละปีบ้านเรานำผ้าแฟชั่นคุณภาพเข้ามาสูงถึง 700 กว่าล้านตารางหลาและจะมีอัตราการนำเข้าเพิ่มขึ้นเฉลี่ยปีละประมาณ 10% เมื่อเราผลิตได้จะขายในประเทศเกือบทั้งหมดและที่สำคัญราคาถูกกว่าผ้าที่นำเข้า" วิชาให้เหตุผลถึงการตั้งโรงงานเท็กซ์ไทล์ ขึ้นมา

อย่างไรก็ตามแม้ว่าโดยภาพรวมแล้วอุตสาหกรรมสิ่งทอไทยเป็นอุตสาหกรรมที่อยู่ในช่วงแดนสนธยา (SUNSET INDUSTRY) ในสายตาหลายๆ คนก็ตามแต่ทุนเท็กซ์ฯ กลับมองว่าแนวโน้มในอนาคตจะไปได้ดีเพราะว่าบริษัทได้ใช้เทคโนโลยีที่สูงเข้ามาผลิตผ้า ดังนั้นจึงได้ตั้งเป้ายอดขายของผลิตภัณฑ์ผ้าในปี 2541 ไว้ที่ประมาณ 1,500 ล้านบาท กำไรสุทธิประมาณ 95 ล้านบาท และยอดขายจะเพิ่มขึ้นเป็นประมาณ 2,000 ล้านบาท กำไรสุทธิประมาณ 250 ล้านบาท ในอีก 5 ปีข้างหน้า

"ในประเทศไทยการผลิตผ้าชนิดนี้ปัจจุบันยังมีผู้ผลิตเพียงไม่กี่รายเท่านั้น การแข่งขันจึงไม่รุนแรงและถ้าตลาดมีการเติบโตได้ดีเราก็พร้อมที่จะขยายการผลิตทันที" วิชาเปิดเผย

อัพสตรีมตัวแรกเกิดแล้ว ตัวสองกำลังจะตามมา

วัตถุดิบที่สำคัญของทุนเท็กซ์ฯ ในการผลิตเส้นใยโพลีเอสเตอร์ได้แก่ PTA (PURE TEREPHTHALIC ACID) ซึ่งในอดีตบริษัทจะต้องซื้อ PTA เข้ามาจากต่างประเทศทั้งหมด เป็นผลเสียต่อทุนเท็กซ์ฯ ในเรื่องความผันผวนด้านราคาซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา

ดังนั้นทุนเท็กซ์ฯ จึงได้ตั้งโรงงานผลิต PTA ขึ้นมาโดยใช้ชื่อว่า บริษัท ทุนเท็กซ์ ปิโตรเคมีคอลส์ (ประเทศไทย) จำกัด (TPT) ซึ่งโครงการนี้ทุนเท็กซ์ฯ เข้าไปถือหุ้นจำนวน 53%ร่วมกับผู้ถือหุ้นของกลุ่มบริษัท ทุนเท็กซ์ ในไต้หวัน

"เริ่มผลิตมาตั้งแต่เดือนตุลาคม 2538 ปัจจุบันมีกำลังการผลิต 400,000 ตันต่อปี ซึ่งเต็มที่แล้ว ในขณะที่เราสามารถผลิตได้ถึง 420,000 ตันต่อปี" วิชา เปิดเผย

ส่งผลให้ทุนเท็กซ์ฯ ไม่ต้องซื้อ PTA จากต่างประเทศจึงทำให้สามารถลดต้นทุนการผลิตได้ระดับหนึ่ง เนื่องจากในอดีตจะต้องเสียภาษีนำเข้าวัตถุดิบสำหรับการผลิตเส้นใยประดิษฐ์ถึง 7% รวมทั้งยังไม่ต้องเสียค่าขนส่งและค่าประกัน

นอกจากจะผลิต PTA เพื่อ SUPPORT ตัวเองแล้วส่วนที่เหลือยังจำหน่ายให้กับผู้ผลิตเส้นใยประดิษฐ์ ทั้งในและต่างประเทศซึ่งสัดส่วนการใช้เองจำหน่ายในประเทศจำหน่ายต่างประเทศ เท่ากับ 20:20:60

จากความต้องการ PTA ในประเทศปัจจุบันอยู่ที่ระดับ 687,000 ตันต่อปี และจะเพิ่มขึ้นเป็นประมาณ 1 ล้านตันต่อปีในปี 2543 ทุนเท็กซ์ฯ จึงได้มีแผนขายกำลังการผลิต PTA อีก 900,000 ตัน

"คาดว่าส่วนขยายนี้จะสามารถผลิตได้ในปี 2542 และเมื่อนั้นเราจะมีกำลังการผลิต PTA สูงถึง 1.3 ล้านตันต่อปี แม้ว่ากลุ่มปูนซีเมนต์และรายอื่นๆ จะเข้ามาผลิต PTA ด้วยจะทำให้ปริมาณการผลิตเกินความต้องการแต่แผนของเราในการขยายครั้งนี้ยังเป็นการผลิตเพื่อส่งออกไปยังต่างประเทศ" วิชา กล่าว

ด้านเงินลงทุนในส่วนขยายโครงการ PTA คาดว่าจะใช้ประมาณ 14,000 ล้านบาท และกำลังอยู่ในช่วงการเจรจาขอกู้เงินจากบริษัทเงินทุนระหว่างประเทศ หรือ IFC รวมทั้งยังจะกู้จากธนาคารกรุงเทพ, ไทยพาณิชย์และกรุงไทย โดยจะกู้ทั้งหมดประมาณ 7,500 ล้านบาท

ส่วนอัพสตรีมตัวที่สองที่กำลังจะตามมา คือเตรียมขยายเข้าสู่โครงการอะโรเมติกส์ เนื่องจากรัฐบาลมีนโยบายจะเปิดเสรีโรงงานอะโรเมติกส์ภายในปี 2542 รวมทั้งต้องการควบคุมต้นทุนการผลิตให้สามารถอยู่ในจุดที่ต่ำสุด เพราะว่าวัตถุดิบที่นำมาผลิต PTA คือสารพาราโซลีน หรือ PX ซึ่งปัจจุบันทุนเท็กซ์ฯ เป็นลูกค้าในการสั่งซื้อสาร PX จาก บมจ. อะโรเมติกส์ (ATC) จำนวน 250,000 ตันต่อปี

"ภายในไตรมาส 1 ปีนี้จะสรุปรูปแบบโครงการได้รวมทั้งสัดส่วนผู้ถือหุ้นขณะนี้ทางบริษัทแม่ที่ไต้หวันกำลังดูรายละเอียดอยู่ซึ่งตามแผนแล้วปี 2542 จะผลิต PX ได้ โดยจะมีกำลังการผลิต 800,000 ตันต่อปี เป็นโรงงานที่ใหญ่ที่สุดในโลกและคาดว่าจะต้องใช้เงินลงทุนประมาณ 20,000 ล้านบาท" วิชา เปิดเผย

ขยายโรงไฟฟ้า เพื่อ SUPPORT อัพสตรีม

ปัจจุบันปัญหาในการทำอุตสาหกรรมปิโตรเคมีที่สำคัญคือไฟฟ้าที่ใช้ทำการผลิตไม่เพียงพอต่อความต้องการ ทุนเท็กซ์ฯ จึงได้สร้างโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนเพื่อใช้เองในอุตสาหกรรมโพลีเอสตอร์และ PTA ใช้งบเงินลงทุน 1,100 ล้านบาท ปัจจุบันมีกำลังการผลิต 55 เมกะวัตต์

และเพื่อรองรับกับส่วนขยาย PTA และโครงการอะโรเมติกส์ทุนเท็กซ์ฯ จึงได้ทำการขยายโรงไฟฟ้าไปอีก 1 โรง มีกำลังการผลิต 100 เมกะวัตต์ ซึ่งคาดว่าจะสามารถสร้างเสร็จได้พร้อมกับส่วนขยาย PTA

นอกจากนี้ยังสร้างความประหลาดในให้กับนักลงทุนด้วยการแตกไลน์ธุรกิจเปิดดำเนินการธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ด้วยการจัดตั้งบริษัท ทุนเท็กซ์ เรียลตี้ จำกัด โดยเข้าถือหุ้น 70% ร่วมกับบริษัท ซิตี้ เรียลตี้ จำกัด ของกลุ่มธนาคารกรุงเทพ ที่ถือหุ้น 30%

"ขณะนี้เรามีที่ดินรอการพัฒนาประมาณ 14 ไร่ แถวเจริญกรุง ซึ่งติดแม่น้ำเจ้าพระยา แต่ปัจจุบันเราได้ชะลอการพัฒนาไปก่อนเนื่องจากรอการฟื้นตัวของอสังหาริมทรัพย์ โดยนโยบายเราจะทำคอนโดฯ ที่อยู่อาศัยและอาคารสำนักงาน" วิชา กล่าว

พร้อมนำ บ.ในเครือเข้าตลาดหุ้น

ตลาดหลักทรัพย์ฯ ถือว่าเป็นแหล่งระดมทุนต้นทุนต่ำ สำหรับบริษัทเอกชนมาโดยตลอด ด้วยความหวังว่าจะนำเม็ดเงินกลับมาขยายกิจการของตัวเอง ทุนเท็กซ์ฯ ก็เช่นเดียวกันจึงได้ทำการผลักดันให้ TPT เข้าไปจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ซึ่งคาดว่าจะสามารถระดมทุนได้ประมาณเดือน มิ.ย.

นอกจากนี้ยังมีแผนที่จะนำทุกบริษัทในเครือของตัวเองเข้าไปจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ให้ครบทุกบริษัท

"นี้คือนโยบายของเราแต่คงจะใช้เวลาพอสมควร เนื่องจากจะต้องรอดูผลประกอบการแต่ละบริษัทก่อน" วิชา กล่าว

อย่างไรก็ตามสภาพตลาดหุ้นในปัจจุบันอยู่ในช่วงตกต่ำอย่างมาก ความหวังในการตักตวงเม็ดเงินของทุนเท็กซ์ฯ อย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วยก็คงจะลำบากขึ้น ดังนั้นในช่วงนี้ทุนเท็กซ์ฯ คงจะพึ่งสถาบันการเงินไปพลางๆ ก่อน

แน่นอนต้นทุนย่อมสูงกว่าโดยปัจจุบันทุนเท็กซ์ฯ มีต้นทุนทางการเงินในระยะสั้นอยู่ที่ระดับ SIBOR+0.65% ส่วนในระยะยาวอยู่ที่ระดับ SIBOR+2% และมีสัดส่วนหนี้สินต่อทุน 2-2.5 เท่า

"ปีนี้แผนการใช้เงินเราประมาณ 6,000 กว่าล้านบาท โดยเป็นการกู้ 5,100 ล้านบาทและควักกระเป๋าตัวเองอีกประมาณ 1,000 กว่าล้านบาท" วิชา เปิดเผย

บทสรุปอาจจะเป็นดาบสองคม

ธุรกิจครบวงจรคือสิ่งที่ทุนเท็กซ์ฯ ต้องการเห็นมากที่สุดซึ่งขณะนี้ความฝันนั้นได้เป็นจริงขึ้นมาแล้วเพียงแต่ยังไม่สมบูรณ์ 100% ยังต้องรอโครงการอะโรเมติกส์ เรื่องนี้วิชาได้กล่าวอย่างมั่นใจว่า "ในไลน์การผลิตเราจะครบวงจรภายในปี 2000 และจะเป็นบริษัทแรกในประเทศไทยที่มีธุรกิจนี้ครบวงจร ซึ่งเมื่อถึงตรงนั้นความมั่นคงในการทำธุรกิจเราจะแข็งแกร่งขึ้น"

นั่นคือทุนเท็กซ์ฯจะมีรายได้ทั้งการจำหน่ายผลิตภัณฑ์เส้นใยพีเอสเตอร์ PTA สาร PX รวมทั้งการพัฒนาที่ดิน

อย่างไรก็ตามทำธุรกิจไม่ได้สวยเหมือนโรยด้วยกลีบกุหลาบเพียงอย่างเดียว แม้ว่าจะสามารถทำธุรกิจครบวงจรแล้วก็ตามแต่เมื่อภาวะอุตสาหกรรมใดอุตสาหกรรมหนึ่งตกต่ำขึ้นมาอาจจะส่งผลให้เกิดการตกต่ำเป็นลูกโซ่ได้ และปัจจุบันได้เกิดกับทุนเท็กซ์ฯ แล้ว คือ ราคาเส้นใยโพลีเอสเตอร์อยู่ในช่วงตกต่ำซึ่งกว่าจะฟื้นให้เหมือนดังเดิมได้คงจะใช้เวลาอีกนานพอสมควร

ขณะเดียวกันวัตถุดิบ PTA ราคาได้ตกลงมาอย่างมากแม้ว่าจะผลิตเพื่อ SUPPORT บริษัทในเครือแต่การจำหน่ายนั้นก็ยังอิงกับราคาตลาดโลก ขณะเดียวกันสัดส่วนการจำหน่ายออกไปก็ยังมีสูง ดังนั้นทุนเท็กซ์ฯ จะหวังพึ่งรายได้จาก PTA ในช่วงนี้คงจะลำบาก เพราะนับตั้งแต่เปิดโรงงานมาราคาได้ตกรูดลงมาตลอด โดยลดลงจาก 1,300 เหรียญสหรัฐต่อวัน เป็น 550 เหรียญสหรัฐต่อตันในช่วงปลายปี 2539

"ช่วง 3 เดือนแรกหลังจากเปิดโรงงานเรามีกำไร 200 กว่าล้านบาท แต่เมื่อราคาตลาดโลกของ PTA ร่วงลงมากว่า 50% และราคาเคยต่ำสุดที่ระดับ 380 เหรียญสหรัฐต่อตันก็เลยขาดทุนและปัจจุบันราคาก็ยังอยู่แถวๆ 650 เหรียญ" วิชา เปิดเผย

เมื่อธุรกิจหลักทั้ง 2 อยู่ในช่วงตกต่ำเช่นนี้จึงส่งผลกระทบต่อผลประกอบการของทุนเท็กซ์ฯ ซึ่งเมื่อพิจารณางบการเงินรวมปรากฏว่าในปี 2537 มีกำไรสุทธิ 330.44 ล้านบาท แต่มาในปี 2538 กำไรสุทธิลดลงเหลือ 289.33 ล้านบาท ถึงแม้ว่ายอดขายจะเพิ่มขึ้นสูงถึง 2,757.78 ล้านบาท แต่เนื่องจากราคาจำหน่ายตกต่ำประกอบกับต้นทนขายที่เพิ่มขึ้น 2,358.09 ล้านบาท กำไรสุทธิจึงออกมาไม่ประทับใจเท่าไหร่

หนักที่สุดในปี 2539 ที่ผลประกอบการงวด 9 เดือนแรก ทุนเท็กซ์ฯ ขาดทุนสุทธิสูงถึง 851.77 ล้านบาท โดยเป็นการขาดทุนจากภาวะซบเซาของเส้นใยโพลีเอสเตอร์ 335 ล้านบาทและขาดทุนจากการจำหน่าย PTA จำนวน 516 ล้านบาท แม้ว่ายอดขายโดยรวมจะพุ่งสูงถึง 6,459.16 ล้านบาทก็ตาม แต่ก็ไม่สามารถฉุดให้บริษัทมีกำไรได้

เมื่อมองไปยังสาร PX ที่กำลังจะเกิดตามมานั้นปัจจุบันราคาได้ตกลงมาอยู่ที่ระดับประมาณ 440 เหรียญสหรัฐต่อตันจากที่เคยอยู่ที่ระดับ 1,800 เหรียญสหรัฐต่อตัน เมื่อต้นปี 2539 แม้ว่าจะเป็นผลดีต่อทุนเท็กซ์ฯ ในขณะนี้เนื่องจากยังผลิตไม่ได้แต่เมื่อสามารถผลิตได้แล้วถ้าราคาขายยังยืนอยู่ในระดับนี้คาดว่าทุนเท็กซ์ฯ จะต้องรับภาระการขาดทุนแน่นอน

"ราคา PTA ขึ้นอยู่กับ PX และ PX ขึ้นอยู่กับน้ำมัน ถ้าราคาน้ำมันขึ้น PX ก็จะสูงตามและจะส่งผลต่อราคา PTA เช่นกัน" วิชา กล่าว

ดังนั้นทั้งภาวะเส้นใยโพลีเอสเตอร์ PTA และ PX จะเกี่ยวโยงกันถ้าเมื่อใดภาวะอยู่ในช่วงขาขึ้นสภาวะของทุนเท็กซ์ฯ ก็จะดีตามไปด้วย แต่เมื่อใดที่ภาวะธุรกิจทั้งสามอยู่ในช่วงขาลงเหมือนปัจจุบัน ทุนเท็กซ์ฯ ก็จะอยู่ในภาวะที่ลำบากเช่นกัน

แน่นอนว่าการทำธุรกิจครบวงจรของทุนเท็กซ์ฯ เป็นสิ่งที่ดีเพราะจะนำความมั่นคงเข้ามาสู่บริษัท แต่คงจะต้องให้เวลาเป็นเครื่องตัดสินว่าความมั่นคงนั้นจะมีมากน้อยแค่ไหน

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us