Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กุมภาพันธ์ 2540








 
นิตยสารผู้จัดการ กุมภาพันธ์ 2540
สงครามหน้าปัด "สมบัติผลัดกันชม"             
 


   
www resources

INNNEWS Homepage
โฮมเพจ เนชั่น มัลติมีเดีย กรุ๊ป
โฮมเพจ บริษัท เจ เอส แอล จำกัด

   
search resources

เนชั่น มัลติมีเดีย กรุ๊ป, บมจ.
เจ เอส แอล, บจก.
สำนักข่าวไอ เอ็น เอ็น
จันทรา ชัยนาม
Radio
วีณา เชิดบุญชาติ
สตาร์ วอยส์
เอ.วี. แอดส์, บจก.




การเปลี่ยนสัมปทานคลื่นวิทยุในปี 2540 นี้ ได้สร้างความปั่นป่วนให้กับวงการอย่างมาก การเปลี่ยนแปลงครั้งนี้มีทั้งผู้ที่สมหวังและสูญเสียสำหรับรายใหม่ที่เพิ่งเข้ามาในวงการแบบใหม่ถอดด้ามมีด้วยกัน 2 รายคือบริษัทเจเอสแอล ที่ชิงคลื่น FM.102.5 MHz ของกองทัพอากาศไปจากบริษัทไอเอ็นเอ็นเรดิโอ นิวส์ ได้ทั้งๆ ที่มีแบ็คอัพอย่างสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์

ส่วนอีกรายที่เพิ่งลงสนามครั้งแรกแต่มีเงินถุงเงินถังเข้ามาประลองยุทธ์ในครั้งนี้คือดร.วีณา เชิดบุญชาติ ซึ่งเป็นทั้งอาจารย์มหาวิทยาลัยและเป็นนักธุรกิจด้านอสังหาริมทรัพย์ที่ชิงคลื่น FM.97.0 MHz ของกรมประชาสัมพันธ์มาจาก จันทรา ชัยนาม แถมควงกลุ่มเนชั่นที่เคยผลิตข่าวให้กับจันทรา มาผลิตป้อนให้กับตนเองได้อีกด้วย

เจเอสแอลย้ำ "ไม่ได้รังแกใครทุกอย่างถูกต้องตามกติกา"

สำหรับรายแรกคือบริษัทเจเอสแอลนั้นถึงแม้จะเป็นหน้าใหม่ในวงการวิทยุ แต่ก็เป็นผู้ที่คร่ำหวอดในวงการโทรทัศน์มานานกว่าสิบปี จนมีผลงานเป็นที่ยอมรับ ลาวัลย์ กันชาติ ประธานกรรมการบริษัทเจเอสแอล เล่าให้ "ผู้จัดการรายเดือน" ฟังถึงปฐมเหตุในการก้าวสู่วงการสื่อวิทยุว่า เนื่องจากในระยะต่อไปนี้บริษัทต้องการจะขยายงานทุกด้านให้ครบวงจรเพื่อให้บริษัทมีความเข้มแข็งมากพอที่จะก้าวเข้าไปเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการดำเนินการและมีความคืบหน้าไปพอสมควรแล้ว

ประกอบกับในการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ กองทัพอากาศต้องการจะเปลี่ยนนโยบายของสถานีจากคลื่นข่าวมาเป็นคลื่นเพลง ส่วนการได้มาของคลื่น FM. 102.5 MHz ในครั้งนี้ได้สร้างความตื่นเต้นให้กับคนในวงการวิทยุมากกับการกระโดมาในยุทธจักรครั้งนี้ของเจเอสแอล

เพราะปัจจุบันนี้เป็นที่รับรู้กันว่าเวลาของการเช่าคลื่นวิทยุได้กลายเป็นทองไปแล้ว ตั้งแต่ได้มีการเปิดประมูลครั้งแรกในสมัยรัฐบาลของอานันท์ ปันยารชุน เมื่อปี 2535 ซึ่งครั้งนั้นเป็นความคิดริเริ่มของมีชัย วีระไวทยะ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีซึ่งเป็นผู้ควบคุมสื่อของรัฐ เห็นว่าการเช่าเวลาของเอกชนไม่มีความเป็นธรรมกับรัฐ และรัฐควรจะได้ผลประโยชน์มากกว่าที่เคยเป็นมา ซึ่งถือได้ว่าเป็นการประมูลที่โปร่งใสที่สุด

ดังนั้นในปัจจุบันการประมูลคลื่นวิทยุที่แต่ละบริษัทได้มาจึงเป็นที่ทราบกันดีว่าต้องใช้เงินจำนวนมหาศาล แหล่งข่าวรายหนึ่งที่อยู่ในวงการมานานเล่าว่า

"ประมูลแต่ละทีต้องเตรียมกู้เงินแบงก์ไว้เลยทั้งบนโต๊ะใต้โต๊ะ เพียงคุณคิดดูจากเดือนละแค่แสนบาทกลายเป็นเดือนละหลายล้านบาทมันโตขึ้นกี่ร้อยเปอร์เซ็นต์ บางทีประมูลมาแล้วยังไม่แน่ใจเลยว่าจะทำได้คุ้มไหม แต่ไม่มีทางเลือกมันเป็นอาชีพของเรายังไงก็ต้องทำ"

อีกประการหนึ่งที่ผู้คนในวงการฮือฮามากที่ FM. 102.5 MHz หลุดจากมือไอเอ็นเอ็นมาสู่เจเอสแอล เพราะรู้กันดีว่าไอเอ็นเอ็นเป็นบริษัทในเครือสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์จึงไม่ใช่เรื่องง่ายที่ใครจะเข้ามารังแกกัน

ส่วนการได้มาของคลื่น FM. 102 MHz ของเจเอสแอลนั้นบุคคลที่เป็นผู้ประสานงานและไปประมูลคลื่นมาได้คือ ชเยนทร์ คำนวณ เจ้าของหนังสือวัยรุ่น "เปรียว" ลูกชายของชัยรัตน์ คำนวณ ผู้บริหารระดับสูงของธนาคารกรุงเทพฯ

ชเยนทร์ เป็นผู้ไปประมูลเงียบคลื่นนี้มาจากกองทัพอากาศซึ่งเดิมให้สัญญานี้กับไอเอ็นเอ็นมาเกือบ 5 ปีแล้ว แต่ในที่สุดกองทัพอากาศก็ลงดาบไอเอ็นเอ็นแบบตัดบัวไม่ให้เหลือใย

"สาเหตุของการไม่ต่อสัญญาเนื่องจากไอเอ็นเอ็นเสนอข่าวการเมืองที่เผ็ดร้อนมาก จนสร้างความร้อนใจให้กับกองทัพซึ่งได้เตือนไปหลายครั้งว่าให้เบาๆ หน่อย แต่ไม่ได้ผล ก็ถึงจุดแตกหักและกองทัพอากาศได้ปิดฉากการเจรจาโดยไม่ต่อสัญญาให้กับไอเอ็นเอ็นและหาผู้บริหารคลื่นรายใหม่เข้ามา โดยมีเงื่อนไขว่าต้องไม่ใช่คลื่นข่าวอีกแล้ว"

หลังจากที่ไปเจรจาจนได้คลื่นมาแล้ว ชเยนท์ก็ดึงเจเอสแอลมาร่วมด้วยเพราะเจเอสแอลเองก็ต้องการขยายงานเข้าสู่ธุรกิจวิทยุพอดี

แล้วบริษัทสตาร์ วอยส์ ก็เกิดขึ้นโดยเป็นการร่วมทุนขอเจเอสแอลกับชเยนทร์ในสัดส่วนฝ่ายละ 50 : 50 มีทุนจุดทะเบียน 10 ล้านบาท และเรียกคลื่นนี้ว่า สตาร์ เอฟเอ็ม กำหนดให้ผุสชา โทณะวณิก ลูกหม้อเก่าของเจเอสแอลเป็นผู้จัดการ โดยอัตราค่าโฆษณาในช่วงไพร์มไทม์สปอตละ 3,000 บาท มีสัญญาแบบปีต่อปี และเสียค่าเช่าเวลาให้กองทัพอากาศเดือนละ 2,000,000 บาท

ลาวัลย์บอกว่า "มั่นใจว่าถ้ามาอยู่แล้วทำให้เจ้าของบ้านสบายใจ จ่ายค่าเช่าตรงเวลา ก็น่าจะอยู่กันได้นาน ขอยืนยันว่าไม่ได้คิดที่จะรังแกใครมันเป็นเรื่องทางธุรกิจ กองทัพอากาศอยากเปลี่ยนคลื่นข่าวเป็นคลื่นเพลงเลยเรียกเราเข้ามา"

สตาร์ เอฟเอ็ม ออกอากาศตั้งแต่ วันที่ 1 มกราคม 2540 เป็นการออกอากาศเต็ม 24 ชั่วโมง เป็นเพลงสากลแบบ EASY LISTENING เน้นกลุ่มเป้าหมายวัยทำงาน และอาจถือเป็นคลื่นวิทยุแรกที่ใช้ระบบคอมพิวเตอร์ดิจิตอลควบคุมแนวเพลงในการออกอากาศ

ด้านจำนรรค์ ศิริตัน ผู้บริหารอีกคนของเจเอสแอลบอกว่าบริษัทคาดว่าจะมีรายได้ในปีแรกอย่างน้อย 72 ล้านบาทโดยใช้เงินลงทุนขั้นต้นราว 50 ล้านบาท

"หากประสบความสำเร็จภายใน 6 เดือนบริษัทจะหาคลื่นอื่นมาบริหารเพิ่ม แต่อาจจะไม่ใช่คลื่นเพลง แต่เป็นคลื่นข่าวและสาระต่อไป และถ้าการบริหารงานไปได้ดี อาจจะแยกการบริหารหรือตั้งเป็นบริษัทใหม่ไปเลย เพื่อความคล่องตัว" จำนรรค์ กล่าวด้วยสีหน้ามุ่งมั่น

ดร.วีณา เชิดบุญชาติ "คลื่นนี้ไว้เป็นของขวัญให้ลูกชาย"

สำหรับหน้าใหม่อีกรายคือ ดร.วีณา เชิดบุญชาติ ผู้มีงานอดิเรกเป็นนักธุรกิจทางด้านพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ งานหลักเป็นหัวหน้าโครงการทดสอบวัคซีนสำหรับคนติดเชื้อไวรัสเอดส์ มหาวิทยาลัยมหิดล มาในนามของบริษัทเอ.วี. แอดส์ จำกัด งานนี้ตอนแรกก็สร้างความแปลกใจให้กับคนในแวดวงสื่อวิทยุไม่น้อย

เธอเข้ามาประมูลเงียบคลื่น FM. 97.5 MHz ของกรมประชาสัมพันธ์จากเจ้าของเดิม จันทรา ชัยนาม เจ้าของบริษัทสตูดิโอ 107 ที่หลุดสัญญาแบบไม่รู้เนื้อรู้ตัวและในครั้งนี้เอ.วี. แอดส์ได้ต่อสัญญายาวนานถึง 6 ปี

ส่วนมูลค่าในการเช่าสัมปทานทั้งหมดดร.วีณา ขอปิดเป็นความลับ แต่กระแสข่าววงในแจ้งว่าเดือนละประมาณ 4 ล้านบาท ซึ่งเป็นตัวเลขที่ไม่โหดร้ายนักเนื่องจากสามีของดร.วีณา เป็นเพื่อสนิทของ ชั้น พูนสมบัติ อธิบดีกรมประชาสัมพันธ์คนปัจจุบัน

เธอบอกว่านี่เป็นครั้งแรกที่เข้ามาในสื่อวิทยุ ด้วยเหตุผลคือให้ลูกชายที่เปิดค่ายเทปได้มีเวทีลง

"คลื่นวิทยุส่วนใหญ่ที่เป็นคลื่นเพลง มักจะมีค่ายเทปใหญ่ๆ เป็นเจ้าของซึ่งก็โปรโมตแต่เพลงของเขา เราเป็นค่ายเทปน้องใหม่โอกาสเกิดจึงยาก แล้วลูกชายก็ตั้งใจทำจริง ก็ต้องสนับสนุนเขาบ้างคือหาเวทีให้ลง ซึ่งเราก็ไม่อยากทำเพลงอย่างเดียว มีรายการข่าวด้วย เป็นคลื่นข่าวผสมเพลง (NEWS & MUSIC STATION)"

การดำเนินงานครั้งนี้เอ.วี.แอดส์ ร่วมกับกลุ่มเนชั่น เพื่อผลิตรายการข่าวสารให้ แหล่งข่าววงในเล่าให้ฟังว่าการได้คลื่นมาในเวลาอันรวดเร็วเช่นนี้เป็นฝีมือการประสานงานของสุภาพ คลี่ขจาย ที่ต้องการหาผู้ร่วมทุนใหม่ เพื่อที่เนชั่นจะได้ขายเวลาข่าวเพิ่มขึ้นจากเดิม 6 ชั่วโมงเป็น 11 ชั่วโมง

ส่วนรายการอื่นๆ เช่น รายการเด็ก หรือที่เกี่ยวกับครอบครัวจะผลิตโดย บริษัทดาวฤกษ์ของบิลลี่และสิเรียม โอแกน นอกจากนั้นยังได้ร่วมกับมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญธุรกิจ (เอแบค) และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยด้วย

ในส่วนของการทำตลาดนั้นจะเป็นการร่วมมือกันระหว่างเอ.วี.แอดส์ และกลุ่มเนชั่น ส่วนอัตราค่าโฆษณาสปอตละ 2,500 บาท

ธยานี (จันทรา) ชัยนาม คราวนี้จะไปทางไหนดี??

เปิดพ.ศ. ใหม่นี้ถ้าจะมีศาลาคนเศร้าในแวดวงสื่อวิทยุประจำปีแล้วละก็นอกจากสนธิญาณ หนูแก้วแห่งไอเอ็นเอ็นที่ยังหาที่ลงให้ทีมงานกว่า 200 ชีวิตไม่ได้ หรือศันสนีย์ นาคพงษ์ แห่งเรดิโอ ทูเดย์ กับทีมงานอีกกว่า 20 ชีวิต ก็ต้องมีเจ้าเก่าในวงการที่มองข้ามไม่ได้อีกคนหนึ่งคือจันทรา ชัยนาม หรือในชื่อใหม่เป็นการแก้เคล็ดว่า ธยานี กับลูกน้องอีกกว่า 50 ชีวิตเอาไว้ในประวัติศาสตร์ด้วยเพราะเป็นอีกรายที่หลุดสัญญาแบบสายฟ้าแลบเช่นกัน

และเธอก็สร้างปรากฏการณ์ใหม่ให้กับวงการ ด้วยการทำหนังสือร้องเรียนไปถึง สำนักงานคณะกรรมการป้องกันแลปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการหรือป.ป.ป. และหนังสือร้องขอความเป็นธรรมไปถึงพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ นายกรัฐมนตรี ที่ไม่ได้ต่อสัญญาคลื่น FM. 97.5 MHz ของกรมประชาสัมพันธ์

เพราะจันทราเชื่อว่าการประมูลครั้งนี้ไม่มีความโปร่งใสเนื่องจากตนซึ่งเช่าคลื่นนี้อยู่และทำรายการมาตลอด 5 ปีเป็นผู้ที่ให้ผลตอบแทนสูงที่สุดในหมู่ผู้เช่าคลื่นกรมประชาสัมพันธ์คือ เดือนละ 3.5 ล้านบาทเศษ และไม่เคยทำผิดสัญญา

นอกจากนี้ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมาทางบริษัทได้ทำหนังสือไปถึงผู้บริหารสถานี เพื่อแจ้งความจำนงว่าทางบริษัทยินดีที่จะขอต่อสัญและพร้อมจะทำตามเงื่อนไขทุกอย่ง รวมทั้งเรียนถามไปด้วยว่าปีต่อไปจะมีการปรับค่าสถานีหรือไม่ เพื่อที่บริษัทจะตั้งงบการเงินเตรียมรองรับไว้ แต่ก็ไม่ได้รับคำตอบจนทำให้วางใจว่าคงไม่มีปัญหาอะไร จนทราบอย่างเป็นทางการว่าหลุดสัญญาเมื่อปลายเดือนธันวาคม

ถ้าเช่นนั้นมีเหตุผลใดที่ไม่ต่อสัญญาให้ "ขอความกรุณาอธิบายเหตุผลให้หน่อย ที่ร้องเรียนไปนี้ไม่ได้เพื่อจะให้รื้อสัญญา แต่ขอทราบว่าเราทำผิดอะไร ถ้าจะขึ้นราคาก็บอกมาเลย โอเค ถ้าขึ้นมาแล้ว เราสู้ราคาไม่ได้ก็ยินดีหลีกทางให้ แต่อยู่ๆ ก็ไม่ต่อสัญญาโดยไม่แจ้งเหตุผลเรายังไม่มีโอกาสได้ขึ้นชกบนเวทีเลย แต่ถูกปรับแพ้เสียแล้ว" จันทรากล่าวขอความเป็นธรรม

เหตุผลที่จันทราขอให้กรมประชาสัมพันธ์ช่วยอธิบายนั้นมี 2 ข้อคือ 1. ทำไมสัญญาใหม่จึงได้ต่อถึง 6 ปีทั้งที่ของเดิมต่อเพียงครั้งละ 3 ปีเท่านั้น 2. ทำไมบริษัทสตูดิโอ 107 ซึ่งเป็นผู้ให้ประโยชน์สูงสุดแก่กรมประชาสัมพันธ์จึงไม่ได้ต่อสัญญา ขณะที่อีก 4 คลื่นที่เช่าพร้อมกันได้ต่อหมด

"ถ้าตอบสองข้อนี้ได้ชัดเจนโปร่งใส เรายอมรับกติกา ลองคิดดู 4 คลื่นที่เหลือเขาได้เช่ากันที่ราคาระหว่าง 2.8-3 ล้านบาท แต่เราเช่าเดือนละเกือบ 3.6 ล้านบาทแล้วทำไมไม่ได้ต่อ" จันทราเล่าด้วยอาการข้องใจ

ส่วนจะทำอย่างไร่ต่อนั้นจันทราบอกว่าไม่ทราบ คิดอะไรไม่ออก ระหว่างนี้เธอก็ให้ทีมงานติดต่อไปที่ผู้เช่าสถานีวิทยุเอฟเอ็มทุกรายเผื่อว่าใครมีความประสงค์จให้เช่าช่วงเวลาทำรายการสัก 2-3 ชั่วโมงบ้าง

จันทรา บอกว่าหากวงการสื่อบ้านเรายังไม่ได้รับการปรับปรุงเรื่องสัมปทานปล่อยให้เป็นเช่นนี้ต่อไปคงจะฟาดฟัดกันด้วยเม็ดเงินและวิธีการที่รุนแรงขึ้นเรื่อยๆ แต่ละบริษัทที่โดดเข้าม้าวนแต่เป็นบริษัทใหญ่ๆ หรือค่ายเทปดังๆ ที่มีสายป่านยาม อีกทั้งบริษัทเหล่านั้นก็มีสายสัมพันธ์ที่ดีกับนักการเมือง หรือข้าราชการระดับสูงเพื่อให้ได้คลื่นมาดำเนินการ

ที่ผ่านมาการทำสัญญากับหน่วยงานของรัฐก็ไม่ค่อยมีความรัดกุมต่อเอกชนที่เป็นคู่สัญญาคือเป็นสัญญาที่เปราะบางไม่กำหนดอะไรที่แน่ชัด ส่วนใหญ่แล้วขึ้นอยู่กับวิจารณญาณของผู้ที่มีอำนาจตัดสินใจในขณะนั้น ซึ่งเป็นผลเสียต่อผู้ที่ประมูลได้ ไม่ค่อยกล้าที่จะลงทุนอะไรมากนักหากปีต่อไปไม่ต่อสัญญาขึ้นมาก็เท่ากับลงทุนไปฟรีๆ ทำให้สื่อวิทยุพัฒนาไปได้ช้ามากเมื่อเทียบกับสื่ออื่นๆ เช่น โทรทัศน์ที่มีสัญญานานนับสิบปี

ส่วนบริษัทขนาดกลางและเล็กที่เงินทุนไม่มากพอ ไม่มีนายทุนสนับสนุน แต่มีความต้งใจที่จะทำก็อยู่ไม่ได้ คงต้องเร้นกายหายหน้าไปจากวงการหรือถ้าดีหน่อยก็อาจจะไปหาคลื่นตามต่างจังหวัดแทน

อีกรายที่ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้คือศันสนีย์ นาคพงษ์ แห่งเรดิโอทูเดย์ ที่เสียคลื่น FM.103.5 ซึ่งเป็นคลื่นข่าวและรายการสาระสำหรับคนทำงานให้แก่กลุ่มบีเอ็นทีของอิทิวัฒน์ เพียงเลิศ แห่งสยามเรดิโอ เพื่อนำไปจัดเป็นคลื่นเพลงไทย แต่ต้นสนีย์ ยังโชคดีกว่าใครเพราะเธอมีเงื่อนไขว่าต้องรับทีมงานเกือบ 20 ชีวิตของเธอไปด้วย ซึ่งสามารถตกลงกันได้

ส่วนคลื่นเพลงอื่นๆ ไม่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ครั้งนี้มากนักอย่างกรณีของบริษัทเอไทม์ มีเดีย ในเครือแกรมมี่ที่มีของเดินอยู่ 4 คลื่นคือ FM.88, 91.5, 93.5 และ 104.5 แม้ว่ามีกระแสข่าววงในบอกว่าที่จริงแล้วเอไทม์ ก็หลุดคลื่น ปตอ. FM 104.5 แต่ก็ใช้ความสามารถอย่างรวดเร็วในการไปประมูลคลื่นนี้กลับมาได้ และยังได้คลื่นใหม่มาอีก 2 คลื่นเพื่อจัดเพลงสากล

ส่วนค่ายเพลงอื่นๆ ก็รักษาคลื่นเดิมไว้ได้แม้จะไม่ได้คลื่นใหม่ก็ตาม

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us