Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ ตุลาคม 2543








 
นิตยสารผู้จัดการ ตุลาคม 2543
The Key to The South : Britain, the United States, and Thailand during the Approach ofthe Pacific War, 1929-1942             
 





หนังสือเล่มนี้ซื้อจากเอเชียบุ๊คส์ ราคาเกือบ 800 บาท แต่มีค่าอย่างยิ่งไม่ใช่เพราะเกี่ยวพันกับบทบาทของอังกฤษและอเมริกาช่วงก่อนและระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง แต่มีค่าด้วยเอกสารหายากที่ผู้เขียนเก็บรวบ รวมเป็นเอกสารติดต่อและจำนวนมากถือเป็นเอกสารชั้นต้นกระจัดกระจายอยู่ตามมหาวิทยาลัยและอยู่ในกระทรวงสำคัญๆ ของทั้งสองประเทศ

วิธีการนำเสนอข้อมูลตามข้อเท็จจริงนั้น ใช้เอกสารเพื่อนำทางให้เห็นความจริงของสถานการณ์ และเน้นด้านหลักไปในนโยบายของอังกฤษกับอเมริกา ที่มีต่อ "ประเทศไทย" จากแง่มุมลึกที่สุด

ประเทศไทยมีความสำคัญจากมุมมองของอังกฤษตรงที่ผลประโยชน์แห่งชาติเกี่ยวโยงกับ "ฐานะ" ของไทยในส่วนซึ่งเป็นเพื่อนบ้านมาเลเซีย, พม่า และอินเดีย ที่อังกฤษในนามของเจ้าอาณานิคมต้องปกป้องดูแล และแน่นอน เป็นเรื่องของผลประโยชน์ที่มาก่อนอีกทั้งเหนือกว่าความอยู่รอดของประเทศไทย

กระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ มีบทบาทค่อนข้างจำกัดตัวเองต่อไทยช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่สอง แม้ว่าฐานะของไทยถูกคำนวณถึงผลกระทบที่มีอยู่กับผลประโยชน์ของอเมริกาในภูมิภาคเฉพาะอย่างยิ่งสหรัฐฯ พิจารณาถึงบทบาทของตัวเองต่ออังกฤษ, ฝรั่งเศส และญี่ปุ่นด้วย

ผู้เขียนยอมรับว่า ไม่ใช่ว่ามหาอำนาจจะบ่มเพาะเขตอิทธิพลต่อไทย แต่ไทยมีบทบาทและส่งอิทธิพลต่อมหาอำนาจได้เพราะอยู่ในศูนย์กลางของเขตยุทธศาสตร์ของเอเชีย และเราใช้ฐานะนี้ต่อรองนโยบายของเรากับพวกมหาอำนาจที่แผ่อิทธิพลในย่านนี้ได้ด้วย

หนังสือนี้ไม่ได้วางจุดยืนหรือสร้างทฤษฎีการเมืองระหว่างประเทศ แต่ได้ให้เอกสารและข้อมูลอธิบายถึงอำนาจในการตัดสินใจดำเนินนโยบายต่างๆ ในช่วงเวลาดังกล่าว

ภาพด้านกว้าง ผู้เขียนชี้ว่านโยบายตะวันตกต่อภูมิภาคเอเชียตะวันออก เฉียงใต้มักยอมรับว่า "ลักษณะพิเศษ" ของไทยคือ เลี่ยงต่อการเป็นอาณานิคมตะวันตก แต่ผู้เขียนปฏิเสธวิธีคิดที่ว่านี้ ตรงกันข้ามเขาชี้ว่าอิทธิพลตะวันตกกลับ "ครอบงำ" ผลประโยชน์แห่งชาติของไทย และไทยคือบริวารต่างชาติ โดยเฉพาะแรงกดดัน บงการ และครอบงำ ก่อนปี ค.ศ.1942 ไทยไม่ต่างจากเขตปกครองอย่างไม่เป็นทางการ และถูกชี้นำทางอ้อม จากอังกฤษ ผู้เขียนยังอ้างว่าเหตุที่ไทยให้ผลประโยชน์ต่ออเมริกาหลังสงครามก็เลี่ยงจากการถูกครอบงำโดยอังกฤษ ปัญหาคือ "การครอบงำ" ของอังกฤษ กับ "เอกราช" ของไทยนั้นจะมองจากแง่มุมใด มุมมองจากอังกฤษเห็นว่าอำนาจของอังกฤษเสื่อมลงอย่างยิ่ง เมื่อมีปัญหาค่าเงินปอนด์ในปี ค.ศ.1931 ขณะ ที่อิทธิพลเงินดอลลาร์อเมริกันเพิ่มมากขึ้น และการขยายตัวของ "ชาตินิยมไทย" นอกจากนี้ก็ยังมีเรื่องการขยายอิทธิพลของญี่ปุ่นและสหรัฐฯ ในภูมิภาคนี้ของโลก

เขาชี้ด้วยว่าสมมติฐานว่าไทยเป็น ข้อยกเว้น และเป็นประเทศเดียวที่ไม่ถูกต่างชาติเอาเป็นเมืองขึ้นนั้นไม่จริง นำไปสู่การใช้เหตุผลโยงไปในฐานะของไทยว่าเป็นอิสระและเป็นเอกราชก็ขาดหลักเกณฑ์และเป็นการอ้างอิงที่รองรับด้วยข้อเท็จจริงไม่ได้

เขาอธิบายว่า "ไทยเป็นเอกราชแค่ในนาม" หรือในรูปแบบ แต่ด้านเนื้อแท้แล้วไม่ใช่ ฐานะของรัฐไทยเปรียบกับญี่ปุ่นในราชวงศ์เมจิไม่ได้ แต่เปรียบกันแล้ว รัฐไทยต้องเทียบกับฐานะของรัฐจอโฮว์ หรือกลันตันเท่านั้น

ฐานะต้อยต่ำ ทำไมผู้เขียนจึงว่า รัฐไทยเทียบได้แค่รัฐภายใต้การปกครอง อังกฤษ เช่น กลันตันเท่านั้น? ผู้เขียนพยายามชี้ว่าว่ารัฐไทยตกอยู่ภายใต้อิทธิพลอังกฤษอย่างไม่เป็น "ทางการ" เหมือนกับหลายประเทศ เช่น อิรัก, อิหร่าน, กลุ่มรัฐมลายู เขาอธิบายว่าหลักฐานความสัมพันธ์ของไทยต่อต่างชาตินั้นบกพร่องไม่สมบูรณ์ หากไม่ได้มองเอกสารหลักฐานอื่นๆ เฉพาะอย่างยิ่ง เอกสารเกี่ยวกับประเทศไทยในธนาคารชาติของอังกฤษ !

ไทยคือ "อาณานิคมอย่างไม่เป็นทางการ" เท่านั้น เจ้าอาณานิคมคืออังกฤษ ตามความเห็นของผู้เขียน เฉพาะอย่างยิ่งเขาอ้างว่านักวิชาการอย่าง W.R.Louis ซึ่งศึกษาอาณาจักรอังกฤษในตะวันออกกลางและบทความของ R.JEFFREY เกี่ยวกับ "การปกครองทางอ้อม" (โปรดดูในอ้างอิงที่ 11, 12 ของบทแรกในหนังสือที่วิจารณ์นี้)

ประเทศไทยเป็นอาณานิคมผ่านทางเศรษฐกิจและการเงินซึ่งอังกฤษ "ครอบงำ" และอังกฤษ "ปกครอง"ผ่านการครอบงำ 3 ระดับตั้งแต่เศรษฐกิจการเงินการคลัง, ยุทธศาสตร์ความมั่นคง และผ่านทางการเมืองและกฎหมาย ไทยขึ้นต่ออังกฤษด้านเศรษฐกิจการคลังผ่านบทบาทของที่ปรึกษาอังกฤษในรัฐบาลไทย และประเทศไทยถูกปิดล้อม ด้วยเมืองขึ้นเศรษฐกิจของอังกฤษ เช่น ฮ่องกง, สิงคโปร์, ปีนัง, ร่างกุ้ง และกัล กัตตา ทั้งหมดมีบทบาทต่อการส่งออกของไทยร่วมร้อยละ 70 เฉพาะมาลายาซื้อข้าวจากไทยร้อยละ 70 กระสอบขน ข้าวนำเข้าจากอินเดีย และเส้นทางคมนาคมรถไฟไทยผ่านด่านทางใต้ ซึ่งอังกฤษควบคุม เงินในคลังสำรอง 5 ล้าน ปอนด์ ขึ้นต่อค่าเงินอังกฤษ ดุลการเงินเราถูกควบคุมโดยลอนดอน ธนาคารอังกฤษ 3 แห่งครอบงำการลงทุนภาย ในไทยทั้งหมด การลงทุนอังกฤษในไทย รวมทั้งเงินกู้ 20 ล้านปอนด์อยู่ภายใต้อิทธิพลของระบบการเงินของอังกฤษใน ปี ค.ศ.1932 อังกฤษและออสเตรเลียเข้ามาทำเหมืองโรงสีและทำไม้ทั้งหมด กำกับควบคุมการส่งออกทั้งหมดเฉพาะอย่างยิ่งยางพาราและตลาดดีบุกมาตรการและขนบทางสังคมและธุรกิจในประเทศไทยเป็น อังกฤษž

เขาว่าทั้งหมดนี้ยังไม่พอเพียงที่จะชี้ว่าอธิปไตยทางเศรษฐกิจของไทยขึ้นต่ออังกฤษเท่านั้น แต่รัฐบาลไทยตั้งแต่ทศวรรษที่ 19 เรามีที่ปรึกษา เช่น ด้านต่างประเทศ, การพัฒนาทางการเงินที่ปรึกษาอังกฤษมีบทบาทครอบงำไทยตั้งแต่ 1898 ระบบศาลโดยอังกฤษและฝรั่งเศส

ข้าราชการอังกฤษอย่างที่ปรึกษาการเงิน เช่น เจมส์ แบกซเตอร์ (1932-5) มาจากกระทรวงการคลังของประเทศอินเดียหรืออียิปต์ เจ้าหน้าที่อังกฤษรับ "คำสั่ง"เกี่ยวกับรายงานการเงินการคลัง และส่งรายการตรงไปยังธนาคารชาติอังกฤษ โดยรายงานลับต่างๆ ผ่านระบบโค้ดลับ และส่งทางถุงเมล์ทูต พวกข้าราชการอังกฤษเหล่านี้ทำงานลับโดยมิให้เจ้าหน้าที่ฝ่ายไทยรับรู้ แต่เคยมีเอกสารลับตกไปอยู่ในเงื้อมมือของคนไทยจนกลายเป็นเรื่องอื้อฉาว

การเมือง ไทยตกอยู่ในแรงกดดันอังกฤษ อังกฤษรักษาผลประโยชน์ในพม่าและในมลายู มีผลบีบบังคับ รวม ทั้งมีแผนเข้ายึดครองภาคใต้ไทยอย่างชัดเจนเป็นที่รู้กันอย่างกว้างขวางในระดับรัฐบาลอังกฤษ, สหรัฐฯ และพันธมิตร โดยพันธมิตรคาดหมายยึดตั้งแต่บางสะพานเข้าคุมจากประจวบลงมาทั้งแหลมมลายู

เยอรมันส่งสายลับมายุยงให้พวกแขกซิกก่อกบฏขึ้นในพม่า โดยใช้ไทยเป็นศูนย์กลาง

ผมเห็นว่าเอกสารและหนังสือเล่มนี้มีความสำคัญ เพราะภายใต้วิธีการ วิเคราะห์ เราจะเห็นชัดเจนว่า ปัจจุบันเราก็มีภยันตราย และเราเป็นอาณานิคม เศรษฐกิจชัดกว่าที่เขียนในหนังสือเล่มนี้ พวกตะวันตกยุยงให้เกิดกบฏในพม่า ผ่านศูนย์กลางในไทยและบริเวณค่ายอพยพ ขณะที่สหรัฐฯ ชี้นำการเงินการคลังและนโยบายต่างประเทศ

ครับ เป็นความจริงหรือการตี ความที่น่าขมขื่น เราไม่เคยยอมรับว่า เป็นอาณานิคมใคร แต่มันเป็นเพียงรูปแบบ แต่เนื้อแท้เขาวิเคราะห์ว่ามันอาณานิคมชัดๆ อ่านแล้วนึกอยากเป็นอิสรเสรี แต่เรามีนายหน้าขายชาติเยอะเหลือเกิน

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us