Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กุมภาพันธ์ 2540








 
นิตยสารผู้จัดการ กุมภาพันธ์ 2540
ธวัช พลังเทพินทร์ เตรียมรบแตกหัก             
 


   
search resources

ธวัช พลังเทพินทร์
Periodicals
คู่แข่ง, บมจ.




ไม่รู้ว่าช่วงนี้ เพลงโปรดของธวัช พลังเทพินทร์ จะเป็นเพลง "DON'T CRY FOR ME, REPORTER" หรือไม่เพราะการที่ต้องแบกรับภาระทางการเงินเพื่อประคับประคองทีมงาน ก็นับว่าสาหัสสากรรจ์อยู่

เป็นภาวะยากลำบากทั้งนักข่าวและผู้บริหารในการฝ่าวิกฤตสิ่งพิมพ์ไปให้ได้ ต่างจากเมื่อร่วมสองทศวรรษที่ผ่านมาธวัช เคยค้นพบว่า ทำนิตยสารรายเดือนเพียงแค่ปีเดียวก็กำไรแล้ว ดูเป็นเรื่องง่ายๆ แต่เขาก็จะไม่พบเรื่องง่ายๆ เช่นนี้อีกต่อไป ในสังเวียนซึ่งอยู่ในสภาพแพ้คัดออก

ปัจจุบันในบริษัทคู่แข่ง จำกัด (มหาชน) ธวัชรับตำแหน่งประธานกรรมการ และกรรมการผู้อำนวยการ จากการมีนิตยสารไม่กี่เล่ม คู่แข่งกลายเป็นบริษัทสิ่งพิมพ์ขนาดใหญ่ที่เป็นเจ้าของหนังสือพิมพ์ เช่น คู่แข่งรายวัน และคู่แข่งธุรกิจ ออกเป็นรายสัปดาห์ ทั้งยังเริ่มต้นธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์ โดยการร่วมกับบริษัท แอดวานซ์ รีเสิร์ช จำกัด และผู้ลงทุนรายอื่น ตั้งบริษัทเอนิวส์ เพื่อให้บริการอินเตอร์เน็ต

ข้อดีของคู่แข่งในการขยายธุรกิจคือมีส่วนแตกต่างทางการตลาดอย่างชัดเจน เช่น รายวันมีการนำเสนอคอนเซ็ปต์ฟาสต์นิวส์ มีเซ็กชั่น INTELLIGENCE ให้การศึกษาทางธุรกิจ ส่วนเซ็กชั่น GET RICH QUICK เป็นการเปิดโรงเรียนธุรกิจขึ้นทางหน้าหนังสือพิมพ์ทีเดียว

ผู้อ่านให้การต้อนรับพอควร แต่เพื่อนพ้องในวงการแปลกใจที่กลุ่มคู่แข่งจะทำตัวเป็น "หนุ่มฮาร์วาร์ด" แม้สมิต มนัสฤดี อดีตบรรณาธิการไทยรัฐ ซึ่งเป็นที่ปรึกษากลุ่มคู่แข่งยังปรารภในที่ประชุมซึ่งมีธวัชนั่งเด่นเป็นสง่าอยู่ด้วยว่า "หนังสือพิมพ์ต้องขายข่าว"

ด้านหนึ่งพอวิเคราะห์ได้ว่า คู่แข่งยังไม่แข็งในเรื่องข่าว จึงต้องนำจุดขายอื่นๆ มาดึงดูดผู้อ่าน ในอีกด้านหนึ่งการนำเสนอเซ็กชั่นที่มีลักษณะเป็นการศึกษาทางธุรกิจ คือการก้าวไปสู่ยุทธศาสตร์ MASS EDUCATION ซึ่งจะเป็นตลาดใหญ่ในวันข้างหน้า ธวัชจึงถือว่ายุทธศาสตร์นี้ เป็นวิชั่น 2000 ของกลุ่มคู่แข่ง

มีขั้นตอนสำคัญอยู่ 3 ประการคือ TO INFORM คือการจัดตั้งสื่อทางธุรกิจ TO EDUCATE คือการประสานหน่วยธุรกิจต่างๆ เพื่อสร้างตลาดการศึกษาและ TO ENTERTAIN คือการเปิดตลาดบันเทิงควบคู่กันไป

เป็นการลงทุนที่ต้องหวังผลในระยะยาว ต้องอาศัยบุคลากรที่มีคุณภาพสูงดังนั้น MASS EDUCATION จึงต้องอาศัยขบวนการปรับปรุงองค์กรคือ "RE THINK, RE BUILD และ RE STRUCTURE" ธวัชชัยกล่าว แววตามุ่งมั่น

แม้จะเป็นภาพฝันอันงดงาม แต่ดูเหมือนเทพีแห่งโชคยังมิได้ยืนข้างธวัชเป็นที่น่าสังเกตว่า ธวัชคิดขยายธุรกิจในช่วงที่สิ่งพิมพ์เริ่มเกิดภาวะตกต่ำ และแม้กระทั่งสื่อต่างๆ เช่น วิทยุก็มีการแข่งขันอย่างดุเดือด ทั้งทางด้านการตลาดและสายสัมพันธ์กับทหาร

คู่แข่งได้บริหารวิทยุ คลื่น 101 โดยวิธีเช่าช่วงเวลาจากผู้ได้รับสัมปทานหลังจากปลุกปั้นจนคนฟังเริ่มยอมรับสปอตโฆษณาเริ่มหนาแน่น ก็ต้องเสียคลื่นไปให้แก่มีเดียพลัสอย่างชนิดนึกไม่ถึง เสียเงินลงทุนจำนวน 30 ล้านบาท ไปโดยไม่ได้อะไรกลับคืนมา แต่ถึงกระนั้น ธวัชก็ยังกล่าวว่า "หากมีการเปิดประมูลคลื่นวิทยุ ก็อยากได้สักสามคลื่นเพราะจะมีประสิทธิภาพสูงกว่าการมีเพียงคลื่นเดียว"

นี่คือน้ำเสียงที่มุ่งมั่น แต่ก็แฝงไว้ด้วยอาการเหนื่อยล้า

ส่วนคู่แข่งรายวัน และคู่แข่งธุรกิจ (รายสัปดาห์) ก็ยังไม่สามารถทำกำไร มีเดียโฟกัส ซึ่งเป็นธุรกิจสำรวจวิจัยทางด้านโฆษณา ก็แค่พอเลี้ยงตัว จึงเหลือเพียงคู่แข่งรายปักษ์เท่านั้น ที่ทำกำไรได้บ้าง ในปีที่แล้วทำรายได้ประมาณ 54 ล้านบาท ส่วนปีนี้การที่ลูกค้าเอเยนซีต่างตัดงบโฆษณากันเป็นทิวแถว ทำให้คู่แข่งรายปักษ์ตระหนักดีว่าไม่ควรขึ้นค่าโฆษณา

ต้องยอมรับว่า ธวัชเป็นคนรักลูกน้องและใจกว้างเป็นแม่น้ำ ระหว่างเตรียมเข้าตลาดหลักทรัพย์นั้น ธวัชถึงกับออกปากว่า จะกู้เงินธนาคารมาซื้อหุ้นคู่แข่งให้แก่พนักงาน แต่มีเงื่อนไขว่าจะต้องทำงานกับคู่แข่งต่อไป

ถ้าไม่เรียกว่า "พ่อพระ" ก็ไม่รู้ว่าจะมีอะไรเหมาะสมไปกว่านี้แล้ว

คู่แข่งอยู่ในภาวะที่ต้องลดต้นทุนอย่างจริงจัง ดังเช่น มีการย้ายออฟฟิศจากตึกมอนเทอเรย์ ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ไปยังละแวกสวนหลวง ถนนพัฒนาการเพื่อประหยัดค่าเช่าเดือนละสองล้านบาท

หมดยุคแล้วที่จะไม่รัดเข็มขัดเพื่อให้สระระงดงาม เนื่องเพราะตั้งแต่ต้นปีนี้นักข่าวคู่แข่งก็ยังไม่ได้รับคำตอบที่แน่นอนจากบริษัทว่า จะได้รับโบนัสหรือไม่? ส่วนหนึ่งจึงอยู่ในภาวะทำใจ อีกส่วนหนึ่งก็เริ่มมองหาหนทางประกอบอาชีพใหม่ๆ แทนที่การเป็นนักข่าว ซึ่งยุคเฟื่องฟูอาจจะผ่านพ้นไปแล้ว

ธวัชดูจะเข้าใจสภาพจิตใจพนักงานเป็นอย่างดี จึงยืนยันว่าจะไม่ลดคน ทั้งยัดจัดงานปีใหม่ขึ้นอย่างหรูหรา สนุกสนาน มีของรางวัลแจกให้แก่พนักงานอย่างไม่อั้น โดยเฉพาะของมีระดับ เช่น นาฬิกาหรูยี่ห้อต่างๆ แต่ไม่มีรายงานว่ามีการแจกโรเล็กซ์

อันที่จริง เรื่องงานปีใหม่นี้ ผู้บริหารหลายคนเห็นว่าไม่ควรจัด แต่ธวัชก็ยืนยันว่าจะต้องจัดงานขึ้น เพื่อสร้างขวัญกำลังใจให้แก่พนักงาน ภาพที่ปรากฏแก่พนักงานคือ ธวัชยังคงมีรอยยิ้ม แม้แววตาจะฉายฉานภาพดอกเบี้ยผลิบานอย่างชนิดไม่มีวันร่วงหล่น

หลังจากปีใหม่ ทุกคนเริ่มตระหนักดีว่า จะต้องทำงานอย่างเข้มข้นเป็นพิเศษ

ธวัชให้นโยบายเป็นการภายในว่าในปีนี้คู่แข่งจะไม่ขยายธุรกิจ แต่จะระดมสรรพกำลังทุกอย่าง เพื่อสนับสนุนคู่แข่งรายวันและคู่แข่งธุรกิจให้สามารถสร้างผลกำไรให้จงได้ เนื่องจากในภาวะเศรษฐกิจซบเซาเช่นนี้ หนังสือพิมพ์จะต้องรบกันอย่างแตกหัก อยู่ได้ก็อยู่ อยู่ไม่ได้ก็ต้องลงจากเวที

ที่แล้วมาการบริหารต้นทุนของกลุ่มคู่แข่ง ออกจะเป็นสไตล์ประนีประนอมเนื่องจากบุคลิกของธวัชเป็นเช่นนั้น แต่ในเรื่องการงานธวัชเริ่มมองเห็นว่า จะประนีประนอมไปทุกเรื่องไม่ได้ ปัจจุบันกลุ่มคู่แข่งมีพนักงานประมาณ 600 คน ธวัชปรารภกับระดับบริหารว่า เขารู้ดีว่ามีแรงงานแฝงอยู่ 20% และนักข่าวคู่แข่งคนหนึ่งก็ทำงานเฉลี่ยวันละแค่ 3 ชั่วโมงเท่านั้น อย่างไรก็ตามพนักงานที่เอาการเอางานก็ยังมีอยู่อีกมาก

"เราจะไปสู่ MASS EDUCATION ก็ต้องมีการปรับปรุงพนักงาน ถ้าไม่ปรับปรุง ผมโดนด่าแน่" ธวัชเคยกล่าว

เมื่อหลีกเลี่ยงการให้พนักงานลาออก เพื่อลดคน ก็ต้องใช้วิธีปรับปรุงองค์กร ดังเช่น ช่วงต้นปี 2539 มีการตั้งสำนักข่าวคู่แข่ง แล้วโยกย้ายพนักงานจากรายวันและรายสัปดาห์ส่วนหนึ่งไปรวมที่สำนักข่าวเพื่อผลิตข่าวป้อนกองบรรณาธิการ ในขณะเดียวกัน สำนักข่าวนี้ก็จะเป็นฐานข้อมูลสำหรับอินเตอร์เน็ตที่คู่แข่งร่วมลงทุนอยู่ ทั้งยังขายข้อมูลต่างๆ ให้แก่ตลาดได้ด้วย

ปัญหาที่ตามมาคือ แม้ในคู่แข่งรายวันจะมีการลงข่าวที่ลงท้ายว่า "สำนักข่าวคู่แข่ง" แต่ในความเป็นจริงทางกองบรรณาธิการก็ไม่ค่อยยอมรับข่าวจากสำนักข่าวมากนัก เพราะต้องการข่าวจากคนในกองบรรณาธิการมากกว่า

ส่วนการที่ทางสำนักข่าวจะขายข้อมูลให้องค์กรธุรกิจและหนังสือพิมพ์ก็เป็นไปได้ยาก เนื่องจากธุรกิจสำนักข่าวนั้นจะต้องใช้เวลานานในการสร้างความยอมรับและความน่าเชื่อถือ แทบจะเป็นไปไม่ได้เลยที่สิ่งพิมพ์ด้วยกันจะอาศัยข้อมูลของคู่แข่ง

การตั้งสำนักข่าวแม้จะทำให้คนในกองบรรณาธิการลดลง แต่ไม่ได้ช่วยแก้ปัญหาอะไรได้ ทั้งยังเป็นการเพิ่มต้นทุนด้วยซ้ำไป เนื่องจากมีการทำงานซ้ำซ้อนและบุคลากรในสำนักข่าว ก็อยากจะอยู่ในกองบรรณาธิการหนังสือพิมพ์มากกว่า

ปีนี้ผู้บริหารคู่แข่งก็สร้างความแปลกใจแก่นักข่าวอีกครั้ง คือนำกองบรรณาธิการรายวันและรายสัปดาห์รวมเข้าด้วยกัน ให้อยู่ภายใต้ความรับผิดชอบของอภิชาติ ศิริพจนานนท์ บรรณาธิการบริหารของรายสัปดาห์ ในขณะที่พิชัย ศิริจันทนันท์ จำต้องวางมือจากการบริหารคู่แข่งรายวัน เพื่อคุมทีมทำสกู๊ปข่าวสนองนโยบายรบแตกหักของธวัช

บางกระแสข่าวก็รายงานว่า อาจมีการโยกพิชัยไปดูแลทางด้านคู่แข่งรายปักษ์ เนื่องจากจำต้องเพิ่มบิลลิงให้มากกว่าเดิม ในขณะที่สังเวียนรายปักษ์รายเดือนเริ่มเป็นตลาดที่จะร้อนแรงที่สุดในปีนี้ เนื่องจากปกรณ์ พงศ์วราภา แห่งจีเอ็ม กรุ๊ป เตรียมผลักดัน จีเอ็ม บิสซิเนส รายปักษ์ ออกมาแชร์ตลาด โดยอาศัยทีมงานจากกลุ่มผู้จัดการ จึงเป็นเรื่องไม่น่าไว้วางใจนัก

"ยังสับสนกันอยู่เลยว่า การเอาสองบรรณาธิการรวมกันจะทำงานกันอย่างไร ตอนนี้ก็ทำงานกันไปตามเดิมก่อน" นักข่าวคู่แข่งรายวันกล่าว

ในขณะที่บางเสียงเห็นว่า เป็นช่วงเวลาที่ขุนพลในคู่แข่งจะต้องลงสนามกันอย่างจริงจัง เพราะถึงแม้ว่าคู่แข่งจะใช้การตลาดสร้างยอดขายให้แก่หนังสือพิมพ์ได้ เช่น กรณีคู่แข่งธุรกิจแจก พ็อกเก็ตบุ๊ค "เดอะ เกรท คอลเล็กชั่น" แต่กองบรรณาธิการจะต้องแข็งแกร่งกว่านี้ จึงเป็นไปได้ว่า กนกศักดิ์ ซิมตระกูล ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด และบรรณาธิการบริหารคู่แข่งรายปักษ์ จะต้อดูแลคู่แข่งรายปักษ์อย่างจริงจังอีกครั้งหนึ่ง เพราะแม้จะมีตำแหน่งอยู่ แต่ก็ไม่ได้ดูแลอย่างจริงจังมาหลายปีแล้ว

สภาพที่ปรากฏในคู่แข่งขณะนี้ ยังไม่ชัดเจนในเรื่องการจัดกำลังทัพว่าใครจะมีบทบาทแค่ไหนเพียงไร ร้อยละ 90 ของการรบนั้น ความปราชัยมักจะตกอยู่กับกองทัพที่ชอบเปลี่ยนม้ากลางสายน้ำ

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us