Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ เมษายน 2544








 
นิตยสารผู้จัดการ เมษายน 2544
เอกชัย เอื้อครองธรรม ผู้นำแฝดสยาม "อิน-จัน" กลับเมืองไทย             
โดย สมศักดิ์ ดำรงสุนทรชัย
 

   
related stories

เอกชัย เอื้อครองธรรม กับงานละคร
ACTION Theatre

   
search resources

ACTION Theatre
เอกชัย เอื้อครองธรรม
Entertainment and Leisure




ชื่อของ เอกชัย เอื้อครองธรรม อาจไม่เป็นที่คุ้นเคยกับผู้คนในสังคมไทยมากนัก หรือหากจะรู้จักก็จำกัดเฉพาะอยู่ในแวดวงการละครเท่านั้น แต่เมื่อไม่นานมานี้ เอกชัย เอื้อครองธรรม ได้รับการบันทึกชื่อไว้โดย Asiaweek ในฐานะ 1 ใน 20 ผู้นำชาวเอเชียสำหรับสหัสวรรษใหม่ในด้านศิลปวัฒนธรรมและสังคม ซึ่งถือว่าไม่ธรรมดาเลยสำหรับผู้ชายในวัย 38 ปี เช่นเขา

การแสดงละครเพลงเรื่องอิน-จัน หรือ Chang & Eng The Musical ซึ่งถือเป็นการเดินทางกลับสู่แผ่นดินถิ่นเกิดของแฝดสยาม หรือที่ทั่วโลกรู้จักในนาม Siamese Twins ได้มีโอกาสสร้างความชื่นชมให้กับผู้ชมชาวไทยที่ได้ผ่านสายตาจากการแสดง ณ ศูนย์ วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย เพียง 5 รอบเมื่อไม่นานมานี้ แม้ละครเพลงเรื่องเดียวกันนี้ จะจัดแสดงในสิงคโปร์มาตั้งแต่เมื่อปี 1997 และเป็นละครเพลงที่แสดงต่อเนื่องยาวนานเป็นประวัติการณ์ ของวงการละครสิงคโปร์ก็ตาม

การตัดสินใจที่จะหยิบเอาประวัติชีวิตของ อิน-จัน มานำเสนอในรูปแบบละครเพลง แม้จะเป็นเพราะเรื่องราวเหล่านี้อยู่ภายใต้การรับรู้ของ เอกชัย มาตั้งแต่เมื่อยังเยาว์วัย เช่นเดียวกับ คนไทยอีกเป็นจำนวนมากที่ได้เคยรับฟังเรื่องนี้ผ่านหูมาแล้ว

แต่ที่สำคัญอีกด้านหนึ่ง ก็คือ บทละครนี้ยังเป็นความพยายามที่สะท้อนความรู้สึกเบื้องลึกภายในจิตใจบางประการของเขา โดยเฉพาะประเด็นว่าด้วยความเป็น "คนไกลบ้าน" ที่ต้องเผชิญกับความรู้สึกแปลกแยกในสังคมใหม่ที่เขาได้อพยพไปสังกัด ซึ่งหลายครั้งอาจเกินเลยไปถึงขั้นการดูหมิ่นเหยียดหยามด้วย

"ผมรู้สึกว่าผมมีหลายอย่างที่คล้าย อินและจัน โดยเฉพาะความรู้สึกของเด็กหนุ่มวัย 17-18 ที่ต้องเดินทางและใช้ชีวิตอยู่ในต่างแดน บางครั้งพวกเขาอาจจะมองเห็นเราเป็นเพียงตัวประหลาด"

ขณะเดียวกันในส่วนของภาพชีวิต อินและจัน ก็ได้ร่วมกันบอกกล่าวโดยนัยให้สังคมได้ตระหนักถึงการอยู่ร่วมกัน อย่างเอื้ออาทรและเคารพในความแตกต่าง ภายใต้ข้อเท็จจริงที่ว่าต่างก็เป็นส่วนหนึ่งของกันและกันอย่างที่ไม่อาจ เลี่ยง

เขาอธิบายเลยล่วงไปถึงสงครามและความขัดแย้งที่เกิดขึ้นใน เกือบทุกภาคส่วนของโลก ว่าแม้จะโกรธ เกลียด และขัดแย้งกันมากมายเพียงใดก็ตาม แต่ในความเป็นจริง "เราไม่สามารถลบหรือทำลาย การมีอยู่ของอีกฝ่ายหนึ่งได้หรอก"

แม้เขาจะได้รับการกล่าวถึงอย่างกว้างขวางโดยสื่อมวลชนหลายรูปแบบลักษณะ ภายใต้ความชื่นชมยินดีที่เกิดขึ้นท่ามกลางความ สำเร็จในวันนี้ หากแต่ชีวิตของเอกชัย มิได้ดำเนินไปบนเส้นทางเดินที่มีเพียงวิถีเดียว

ข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นไม่ว่าในโลกของละครหรือชีวิตจริง ก็คือบ่อยครั้งปรากฏการณ์ต่างๆ ดำเนินไปท่ามกลางมิติหลากหลายซึ่งดำเนินควบคู่ไปประหนึ่งเส้นขนานบนโลก 2 โลก

และชีวิตของ เอกชัย เอื้อครองธรรม ก็ดำเนินไปในลักษณ์นี้เช่นกัน

เ ปิ ด ม่ า น . . .

ในย่านธุรกิจการค้าที่เนืองแน่นไปด้วยผู้คน ย่านสวนมะลิ เอกชัยถือกำเนิดในครอบครัวของชาวจีนโพ้นทะเล ที่ได้ลงหลักปักฐาน ในประเทศไทย โดยประกอบสัมมาอาชีพด้านพาณิชยกรรม กิจการหลักของครอบครัวเขาก็คือการนำเข้าผลไม้จากต่างประเทศมาจำหน่ายให้กับผู้บริโภคในประเทศไทย

เขาเติบโตภายใต้วัฒนธรรมที่ผสมผสานระหว่างจีนและไทย ซึ่งบ่มเพาะก่อรูปเป็นสำนึกตระหนักภายใน ก่อนที่จะเข้าเรียนใน อัสสัมชัญ บางรัก โรงเรียนที่ประกอบด้วยบุตรหลานของคหบดี และชาวไทยเชื้อสายจีน

ความสนใจในศิลปการแสดงของเอกชัย ที่ได้เริ่มก่อตัวขึ้นอย่างช้าๆ มีโอกาสแสดงออกมากขึ้นในช่วงที่เขาเป็นนักเรียนระดับมัธยมของอัสสัมชัญ บาง รัก โดยเขาได้มีส่วนร่วมแสดงในงานกิจกรรมประจำปีของโรงเรียนอยู่อย่างต่อเนื่อง

ขณะเดียวกัน ในด้านการศึกษาของเอกชัย จัดว่าอยู่ในเกณฑ์ที่ดี ซึ่งแม้เขาจะสามารถเรียนต่อในสายวิทย์ เพื่อการสอบ entrance เข้าสู่คณะแพทยศาสตร์ หรือวิศว- กรรมศาสตร์ ได้อย่างสบาย แต่สำหรับเอกชัย เขาไม่ยอมที่จะถูกกำหนดโดยกรอบใดๆ หากแต่ปล่อยให้ความคิดฝันของเขาเป็นเครื่องนำ ทาง และเลือกที่จะเรียนในสายศิลป์คำณวณแทน

วิถีชีวิตที่ดูปกติและราบเรียบกำลังดำเนินไปท่ามกลางคลื่นลมแห่งการเปลี่ยน แปลง ซึ่งนับจากนี้ เอกชัยจะต้องเผชิญกับคลื่น ลมระลอกแล้ว ระลอกเล่า ก่อนที่เขาจะนำพาตัวเองให้บรรลุไปสู่ฝั่งฝัน

โดยในปี 1981 ขณะที่มีอายุ 18 ปีและกำลังศึกษาระดับปริญญาตรีที่มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญบริหารธุรกิจ (ABAC) เอกชัยได้รับทุน การศึกษา ASEAN Merit Scholarship และเข้าศึกษาใน National University of Singapore โดยใช้เวลาศึกษารวม 2 ปีก็สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรี สาขาเศรษฐศาสตร์

การต้องเดินทางและพำนักอยู่ในสิงคโปร์กว่า 2 ปี ทำให้เอกชัยได้รับรู้ทัศนะและเรียนรู้จากสิ่งแวดล้อมรอบข้างไม่น้อย แต่กระนั้นในความรู้สึกของเอกชัย เขาอาจเป็นเพียงสิ่งแปลกปลอมของสิงคโปร์เท่านั้น

สั่ ง ส ม แ ล ะ เ ติ บ โ ต

ก่อนที่เขาจะตัดสินใจเดินทางกลับเมือง ไทย หรือเก็บเกี่ยวประสบการณ์ในต่างแดน เขาสุ่มเสี่ยงที่จะส่งใบสมัครงานไปยังสำนักงาน ของ Berli Jucker ในประเทศสิงคโปร์ โดยไม่หวังว่าจะได้งานดังกล่าวด้วยซ้ำ

"ผมเพียงแต่ต้องการทดสอบทดลอง ลองว่าเป็นไปได้ไหมที่เด็กไทยที่ไม่มีประสบการณ์จะได้เข้าทำงานกับบริษัทการตลาดที่ใหญ่โตแห่งนี้"

นั่นเป็นเพียงปฐมบทของการใช้ชีวิตการทำงานกว่า 20 ปีต่อมาในต่างแดน เพราะหลังจากนั้นไม่นาน เอกชัยได้มีโอกาสสัมผัสกับวิชาการตลาดที่เป็น จริงในโลกธุรกิจกับ Berli Jucker หากแต่วันเวลาของเขากับองค์กรแห่งนี้ดำเนินไปเพียงห้วงเวลาสั้นๆ เท่านั้น

แม้ว่า เขาจะร่วมงานกับ Berli Jucker ในสิงคโปร์ได้เพียงประมาณ 1 ปี เท่านั้น แต่สำหรับเขาประสบการณ์ดังกล่าวได้ส่งผ่านความรู้ และเป็นประหนึ่งการวางรากฐานของวิธีการมากมายให้เขาได้ใช้ต่อมาในวันนี้

"สำหรับนักการตลาดที่จะประสบความสำเร็จ สิ่งแรกที่คุณต้องระลึกไว้เสมอก็คือคุณต้องเชื่อในสินค้าที่คุณจะขาย" เป็นประโยค บอกเล่าที่เขามีถึงเหตุผลที่เขาเดินออกมาจาก Berli Jucker ซึ่งแม้เขาจะมีความประทับใจกับองค์กรและเพื่อนร่วมงาน แต่สินค้าบางชนิด ที่ Berli Jucker รับผิดชอบการจำหน่ายอยู่นั้น ขัดแย้งกับความเชื่อของเขา

ช่วงเวลาที่เขากำลังจะผละออกจาก Berli Jucker นั้น ความท้าทายใหม่ๆ กำลังเริ่มเคลื่อนตัวเข้ามาใกล้ให้เขาได้ทดสอบทดลอง

"เพื่อนผมยุให้ผมไปสมัครที่ American Express (AMEX) ซึ่งโดยส่วนตัวผมคิดว่าคงเป็นไปได้ยาก ลองคิดถึงบริษัทอเมริกัน ที่จะเข้ามาทำตลาดในสิงคโปร์กับหนุ่มไทยที่ไม่มีประสบการณ์อะไรที่น่าสนใจ" เขาบอกกับตัวเองอย่างนั้น แต่ดูเหมือนโลกใบนี้ของเอกชัยจะไม่ได้ตั้งอยู่บนสูตรสำเร็จ

จดหมายสมัครงานของเขามีแรงดึงดูดบางประการให้ผู้บริหาร ของ AMEX สนใจในตัวเขามากขึ้นและบรรจุเขาเป็นพนักงานของบริษัท ซึ่งช่วงเวลา 8 ปี นับตั้งแต่ปี 1984-1992 เอกชัยถือเป็นกลไกหลักในการสร้างตลาดให้กับ AMEX บนแผ่นดินเล็กๆ ที่เรียกว่า สิงคโปร์นี้

ช่วงเวลาดังกล่าวดูเหมือนจะเป็นช่วงเวลาที่เอกชัย มีความสุข และสนุกกับการทำงานอย่างมาก เขาและผู้ร่วมงานใน AMEX ได้ร่วม กันนำเสนอ campaign ส่งเสริมการขาย และวางแผนประชาสัมพันธ์ บัตรเครดิต AMEX ซึ่งในห้วงเวลานั้นยังเป็นสิ่งแปลกใหม่ในวงการการ เงินสิงคโปร์อยู่พอสมควร

"การได้ร่วมงานกับผู้คนใน AMEX เป็นช่วงเวลาที่ต้องใช้ความ คิดอย่างหนัก เพราะสินค้าที่เรากำลังจะ บุกเบิกเข้ามาขายเป็นเพียงบัตรพลาสติก ใบเล็กๆ ใบเดียวเท่านั้น"

ศักยภาพในด้านความคิดสร้าง สรรค์ ผสานกับความเป็นคนมุ่งมั่นเอาจริงเอาจังของเขาและเพื่อนร่วมงาน ทำให้ AMEX ก้าวขึ้นสู่การเป็นผู้นำตลาด บัตรเครดิตในสิงคโปร์ โดยคู่แข่งขันรายอื่นๆ ได้แต่ปรายตามอง แต่ไม่สามารถก้าวตามได้ทัน

สายตาและใบหน้าของเอกชัย ขณะที่เขาเล่าถึงช่วงเวลาที่ได้ร่วมงานใน AMEX เต็มไปด้วยสีสันและความภาคภูมิ ใจ เขามองย้อนเวลากลับไปด้วยทัศนะของผู้ประสบความสำเร็จ

"หลายครั้งเหลือเกินที่ campaign และรูปแบบการประชาสัมพันธ์ที่ AMEX เสนอถูกลอกเลียนจากผู้ให้บริการรายอื่นๆ ซึ่งเป็นการเน้นย้ำว่าวิธีการของเราได้รับการยอมรับ" เขากล่าวในฐานะของผู้ที่ผ่านกระบวนการเพื่อที่จะคิดริเริ่ม ซึ่งสิ่งที่เขาจำเป็นต้องทำหลังจากนั้น มิได้อยู่ที่การแข่งขันกับผู้อื่น หากแต่เป็นการคิดและหาวิธีใหม่ๆ ที่สามารถข้ามพ้นความสำเร็จที่ผ่านมาไปสู่ความสำเร็จครั้งใหม่เท่านั้น

ตลอดระยะเวลา 8 ปีที่เอกชัยได้ร่วมงานกับ AMEX ในสิงคโปร์ เขาได้รับการ promote สู่ระดับที่สูงขึ้นเป็นระยะ โดยมีบางช่วงเขาต้อง ทำหน้าที่เป็นผู้จัดการแผนกรวมถึง 3 แผนกในเวลาเดียวกัน ก่อนที่จะดำรงตำแหน่งผู้จัดการฝ่ายการตลาดของ AMEX เป็นตำแหน่งสุดท้าย

เอกชัยตัดสินใจที่จะลาออกจาก AMEX แม้ว่าผู้บริหารของ AMEX ในสิงคโปร์จะหยิบยื่นข้อเสนอและทางเลือกมากมาย ทั้งการให้ ตำแหน่งที่สูงขึ้นและการกลับมาประจำการในประเทศไทย ซึ่งเป็นบ้านเกิด แต่เขาปฏิเสธเพราะได้ตัดสินใจเลือกเส้นทางเดินใหม่สำหรับตัวเองไว้แล้ว

"ตอนนั้นผมรู้สึกว่ามันอิ่ม อยากเปลี่ยนไปทำงานอย่างอื่น อยากแสวงหาความท้าทายใหม่ๆ ไปทำในสิ่งที่คิดฝันและอยากทำมานาน"

คงเป็นเรื่องไม่ง่ายนักสำหรับคนอื่นๆ ที่กำลังเติบโตและมีโอกาสดีเยี่ยมบนเส้นทางสายธุรกิจ ในองค์กรที่มีชื่อเสียงไม่เฉพาะในสิงคโปร์แต่เป็นองค์กรระดับโลกอย่าง AMEX ที่จะผละออกไปจากองค์กรแห่งนี้ แต่สำหรับเอกชัย ความคิดความฝันที่มุ่งไปสู่ธุรกิจใหม่ ไม่สามารถฉุดรั้งเขาไว้ ได้ นับจากนั้นเป็นต้นมา เอกชัยในบทบาทและหน้าที่ความรับผิดชอบใหม่ๆ ก็เริ่มขึ้น เป็นบทบาทใหม่ในแวดวง "การละคร"

สู่ ค ว า ม ฝั น

เส้นทางชีวิตที่ผันแปรไปของเอกชัย ไม่ได้

เกิดขึ้นอย่างบังเอิญหรือเป็นเรื่องเหนือความคาดหมาย หากแต่เป็นผลสืบเนื่องของการเก็บเกี่ยวและสั่งสมประสบการณ์ ทีละเล็กทีละน้อยตลอดเวลาหลายปีที่ผ่านมา

"ช่วงที่ทำงานกับ AMEX ก็ได้รวบรวมเพื่อนๆ ตั้งกลุ่มละครเล็กๆ ขึ้นมาแล้ว แต่ในขณะนั้นยังเป็น การรวมกลุ่มเพื่อความสนุกและหากิจกรรมทำเป็นงาน อดิเรกมากกว่า" กลุ่มละครที่เอกชัยกล่าวถึงนี้ก็คือ ACTION Theatre ซึ่งตั้งขึ้นมาตั้งแต่ปี 1987 ในฐานะกลุ่มละครสมัคร เล่น

การตั้งกลุ่ม ACTION Theatre ในด้านหนึ่งเกิดขึ้นหลังจากที่ เอกชัย ได้มีส่วนรับผิดชอบในกิจกรรมการแสดงสำหรับงานสังสรรค์ประจำปีของ AMEX ตั้งแต่ช่วงแรกๆ ที่เขาได้ร่วมงานในองค์กรแห่งนี้ ก่อนที่จะเป็นผู้รับผิดชอบการแสดงบนเวทีในงานสังสรรค์ประจำปีนี้อย่างเป็นการถาวร ซึ่งแม้จะเป็นกิจกรรมภายใน แต่ก็นับเป็นเวทีในการสั่งสมประสบการณ์ให้กับเขาไม่น้อย

ความรัก ความชอบในศิลปะการแสดงของเอกชัย มิได้เกิดขึ้น อย่างฉับพลันทันที แต่เป็นผลพวงที่สามารถสืบย้อนกลับไปได้ตั้งแต่วัยเด็ก ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ภาพยนตร์จำนวนมากได้ผ่านสายตาของเขา เนื่องเพราะคุณพ่อของเขาทำงานอยู่ในแผนกจัดส่งโฆษณาภาพยนตร์ มาก่อน

แต่ในฐานะนักศึกษาในสิงคโปร์ ดินแดนที่ภาพยนตร์ไม่เป็นที่ นิยมมากนัก เมื่อเปรียบเทียบกับละครเวที งานอดิเรกของเอกชัย จึงผูกพันอยู่กับละครเวที โดยเขาได้เรียนรู้เรื่องราวเหล่านี้มากขึ้นจาก Practice Performing Arts School ในสิงคโปร์ด้วย

นอกจากนี้ในปี 1991 เอกชัยยังได้ผลิตภาพยนตร์สั้นชื่อ The Nose ซึ่งได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลในรอบสุดท้ายของ 1991 Singa-pore Short Film Competition ซึ่งสะท้อนให้เห็นความรักความชอบใน งานภาพยนตร์ที่สืบเนื่องมาตั้งแต่วัยเด็กของเขาอย่างชัดเจน

จุดคาบเกี่ยวสำคัญที่เกิดขึ้นในขณะที่เขากำลังตัดสินใจจะลา ออกจาก AMEX นั้น อยู่ที่ในห้วงเวลาดังกล่าวละครเพลงเรื่อง Les Miserables กำลังอยู่ระหว่างการตระเวนมาเปิดการแสดงในประเทศสิงคโปร์ โดยมี Cameron Mackintosh เป็นผู้ดำเนินการ ซึ่งนับเป็นข้อต่อสำคัญในการเริ่มต้นเส้นทางสายธุรกิจการละครของเอกชัย

"ยอมรับว่าเสี่ยง ทุกคนจะพูดถึงเราเสมือนหนึ่งว่าเราบ้า เราแปลก เงินทอง หน้าที่การงาน ทุกอย่างดีหมด แต่เราคิดว่ายังมีสิ่งอื่น ที่เราชอบ เราอยากค้นหา ตอนนั้น บอกกับตัวเองว่า ถ้าไม่ใช่ตอนนี้ ก็ไม่มีโอกาสได้ทำอีกแล้วนะ" เอกชัยมองย้อนเวลากลับไปถึงสาเหตุที่เขาตัดสินใจลาออกจาก AMEX และมุ่งหน้าสู่เส้นทางที่เขาคิดและฝันถึงมาเนิ่นนาน

เขาเข้าร่วมงานกับ Cameron Mackintosh Singapore ในปี 1993 ในฐานะผู้อำนวยการฝ่ายการตลาดและปฏิบัติการสำหรับการแสดง Les Miserables ในสิงคโปร์ ก่อนที่จะร่วมงานกับ Cameron Mackintosh ทั้งในสำนักงานกรุงลอนดอน และซิดนีย์ เพื่อการนำ Les Miserables ตระเวนแสดงในภูมิภาคเอเชีย

การได้ร่วมงานกับ Cameron Mackintosh ทำให้เอกชัยมีโอกาส ได้เรียนรู้วิธีและกระบวนการจัดการสำหรับการแสดงระดับโลก พร้อม กับการเพิ่มพูนความชำนาญ ทั้งในด้านทฤษฎีและปฏิบัติทางการละคร จาก National Institute of Dramatic Art ในซิดนีย์ด้วย

ในช่วงเวลาใกล้เคียงกับการเข้าร่วมงานใน Cameron Mac-kintosh นั้น เอกชัยได้สร้างชื่อให้กับ ACTION Theatre ที่เขาเป็นผู้ก่อตั้งด้วยการจัดมหกรรม Hewlett-Packard/ACTION Theatre Ten-Minute Play Contest เป็นครั้งแรก ในปี 1993 ในฐานะที่เป็นกิจกรรมการแข่ง ขันละครสั้น ที่มีเป้าหมายในการแสวงหานักเขียนบทละครเวทีหน้าใหม่ๆ และจัดต่อเนื่องมาอีก 3 ครั้ง โดยมีบทละครสั้นกว่า 400 เรื่อง ทั้งจากสิงคโปร์ และนานาชาติเข้าร่วมในกิจกรรมนี้

"เมื่อตัดสินใจจะก้าวเดินบนเส้นทางนี้ เรารู้อยู่แล้วว่าทุกอย่าง ไม่ง่าย ต้องทำงานหนัก เงินเดือนไม่มีแล้ว ขณะที่รายจ่ายยังสูงอยู่ หนทางที่จะอยู่รอดบนเวทีนี้มีเพียงทำอย่างไรให้สังคมรู้จักและยอมรับ และมีผู้สนับสนุนยื่นมือเข้ามา" เขากล่าวถึงช่วงเวลาที่อาจเรียกได้ว่าเป็น dilemma ช่วงหนึ่งของชีวิต

เขากดดันตัวเองด้วยการซื้อรถยนต์ราคาแพง เพื่อให้ตระหนัก ว่าสิ่งที่เขาจะทำต่อจากนี้ จะต้องสามารถรองรับค่าใช้จ่ายต่างๆ ได้ ขณะเดียวกันประสบการณ์ในฐานะนักการตลาด ทำให้เขารู้ดีว่าจะ present ผลงานและตัวตนของเขาอย่างไร

หลังจากเก็บเกี่ยวความรู้และประสบการณ์กับ Cameron Mac-kintosh แล้ว เอกชัยได้ทุ่มเทเวลาให้กับการทำงานในฐานะ Artistic Director สำหรับ ACTION Theatre อย่างเต็มที่ ขณะเดียวกันก็เป็นผู้กำกับและผู้อำนวยการแสดงผลงานของ ACTION Theatre อีกหลายชิ้น

เอกชัยนำพา ACTION Theatre ให้มีฐานะเป็นผู้ผลิตละครที่มีคุณภาพ ขณะเดียวกันก็สามารถดำเนินวิธีทางการตลาด เพื่อดึงดูด กลุ่มผู้ชมสำหรับละครแต่ละเรื่องอย่างได้ผล กระทั่งปัจจุบัน ACTION Theatre นับเป็นกลุ่มละครชั้นนำของวงการละครเวทีในสิงคโปร์ไปแล้ว

เขาคิดที่จะผลิตงานให้ประชาชนคนไทยได้ชื่นชมอีกครั้ง โดย ตั้งความหวังไว้ที่การนำบทละครเรื่อง Mail Order Brides & Other Oriental Take-Aways ซึ่งเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับผู้หญิงเอเชีย ที่ได้เข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องกับธุรกิจการให้บริการทางเพศบนอินเทอร์เน็ต ที่นอก จากจะเข้ากับยุคสมัยปัจจุบันแล้ว ตัวละครในบทดังกล่าวยังเกี่ยวเนื่อง กับหญิงไทยโดยตรงด้วย และได้เคยนำเสนอผ่านโรงละครในสิงคโปร์ มาแล้ว

"ถ้าได้มาเล่นในเมืองไทยจริง ผมจะเป็นผู้กำกับเอง โดยได้คิด กำหนดตัวผู้แสดงไว้คร่าวๆ แล้ว ซึ่งผมเชื่อว่าจะเป็นละครที่สนุกและ ได้เนื้อหาสาระไปพร้อมกัน"

ความสำเร็จของเอกชัย ในการนำเสนอผลงานที่มีคุณภาพและมาตรฐานระดับนานาชาติ ได้ก่อให้เกิดความตื่นตัวให้กับแวดวงการละครและการแสดงในประเทศไทยไปในคราวเดียวกันด้วย ซึ่งผู้ผลิตและผู้ที่คลุกคลีกับวงการแสดงทั้งบริษัทใหญ่และบริษัทเล็กจำนวนไม่น้อย ได้พยายามที่จะหยิบยื่นข้อเสนอ เพื่อให้เอกชัยเข้ามามีส่วนช่วยผลิตงานที่มีคุณภาพเช่นนี้ให้แก่บริษัทเหล่านี้ ไม่เว้นแม้กระทั่งองค์กรด้านการบันเทิงที่มีประวัติการก่อตั้งยาวนานถึง 50 ปี ซึ่งเพิ่งรับผิดชอบผลิตงานใหญ่ที่เน้นเรื่องเวทีและการประชาสัมพันธ์อย่างครึกโครมไปเมื่อต้นปีที่ผ่านมา

การเดินทางกลับมาประเทศไทยของเอกชัย พร้อมกับการแสดง ละครเพลง อิน-จัน ทำให้เขาเป็นบุคคลในวงการบันเทิงที่ได้รับการกล่าวถึงมากที่สุดคนหนึ่งในช่วงเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ในฐานะที่เขา เป็นคนไทยเพียงคนเดียวในทีมงานกว่า 400 ชีวิตที่เดินทางมาแสดงในครั้งนี้

ไม่ใช่เรื่องแปลกหรือน่ารังเกียจที่สื่อมวลชนและผู้คนในสังคม ไทยจำนวนหนึ่งจะชื่นชม เอกชัย เอื้อครองธรรม ในฐานะที่เขามีความ สามารถและถือเป็น mastermind ของ ACTION Theatre ซึ่งผลิตละครที่มีคุณภาพเรื่องนี้

แต่เป็นเรื่องน่าเสียดายที่ความตื่นตัวดังกล่าว เกิดขึ้นภายใต้เครื่องหมายคำถามที่ว่า ทรัพยากรบุคคลในประเทศไทยและระบบการ จัดการของกลุ่มละครที่มีอยู่มากมายหลายกลุ่มนั้น มีความสามารถเพียงพอที่จะผลิตละครที่มีคุณภาพในระดับนานาชาติเช่นนี้หรือไม่ เพราะเหตุใด

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us