"หลังบ้าน" ของรัฐมนตรีคลังคนนี้ เป็น "หญิงสาว" ที่ไม่เพียงแต่มีใบหน้าสวยงามมีน้ำเสียงไพเราะเสนาะหู
หากแต่ยังเป็นผู้หญิงที่เป็น "กุลสตรี" ทุกกระเบียดนิ้ว ปูมหลังชีวิตของเธอแตกต่างกับชายในดวงใจราวฟ้ากับดิน
อนุรัชนี ภิงคารวัฒน์ เกิดในตระกูลคหบดีผู้มั่งคั่งในจังหวัดเพชรบุรี ต้นตระกูลสายพ่อนั้น
"แซ่ตั้ง" เป็นชาวจีนอพยพที่มาตั้งรกรากอยู่ในเมืองไทยหลายชั่วคน
ถ้าสืบสาวไปอาจจะได้ถึงรัชกาล ที่ 5 และได้แต่งงานกับหญิงไทยมาหลายรุ่น ลูกหลานจึงกลายเป็นคนไทย
ทั้งผิวพรรณและภาษาพูด ซึ่งไม่มีใครพูดภาษาจีนอีกแล้ว คุณพ่อของเธอ "ชูศักดิ์"
มีธุรกิจโรงสีข้าวในตัวเมืองชื่อว่า "ล้วนข้าวไทย" ขณะที่คุณแม่
"อนุโลม" นั้น "แซ่ชิน" ที่รู้จักกันดีในนามสกุล "ชินวรรโณ"
เป็นตระกูลเก่าแก่ที่มีที่ดิน ให้เช่าจำนวนมาก
อนุรัชนีจึงเกิดมาในครอบครัวที่เพียบพร้อมทุกอย่าง มีพี่น้อง 5 คน เรียงลำดับคือ
น้ำผึ้ง อนุศักดิ์ อนุรัชนี น้ำทิพย์ และอนุชา เธอและพี่สาวถูกส่งเข้ามาเรียนหนังสือที่โรงเรียนราชินี
ในกรุงเทพฯ อันเป็นโรงเรียนที่เป็นค่านิยมของกุลธิดาที่มีฐานะในจังหวัด โดยอยู่ประจำที่โรงเรียน
และค่านิยมคงไม่ใช่เพียงคหบดีเมืองเพชร เพราะกัญจนา ศิลปอาชา ก็ถูกพ่อ "บรรหาร"
ส่งมาเรียนที่นี่เช่นกัน และให้บังเอิญเป็นเพื่อนร่วมรุ่นกันเสียด้วย เธอเรียนที่นี่จนถึงมัธยมศึกษาปีที่
3 จึงสอบเข้าเรียนแผนก ศิลป์ฝรั่งเศสที่โรงเรียนเตรียมอุดม ซึ่งปลายทางก็ย่อมอยู่ที่คณะอักษรศาสตร์
จุฬาฯ นั่นเอง เธอบอกว่าตอนนั้นรู้สึกภาคภูมิใจมากที่ได้เป็นน้องใหม่ คณะอักษรฯ
เพราะเป็นที่ทราบกันดีว่าเป็นคณะที่มีความเป็นเลิศทางวิชาการสายศิลป์ภาษา
อนุรัชนียกความดีต่างๆ ให้กับคุณแม่ "อนุโลม" ที่หลังจากเธอเรียนจบ
ป.7 คุณแม่มาปลูกบ้านอยู่ซอยสุทธิสารในกรุงเทพฯ ซึ่งนอกจากจะปลูกบ้านอยู่เองแล้ว
ยังสร้างบ้านอีกหลายหลังรายล้อมทำธุรกิจให้เช่าอีกด้วย เธอจึงได้กลับมาอยู่บ้าน
โดยคุณแม่คอยรับส่ง และขวนขวายหาที่เรียนพิเศษวิชาต่างๆ ให้แก่ลูกๆ โดยเฉพาะภาษาอังกฤษนั้น
ถ้าได้ยินว่าอาจารย์ท่านไหนสอนดี ก็จะพาลูกไปเรียน จึงไม่น่าแปลกใจที่ลูกๆ
เรียนดีทุกคน น้องของเธอ "น้ำทิพย์" ก็สอบเข้าอักษรศาสตร์ได้ในปีต่อมา
และในที่สุดก็ได้เป็นดอกเตอร์ทางภาษา ศาสตร์ และต่อมากลับมารับราชการที่อักษรศาสตร์เช่นเดียวกับพี่สาว
นอกจากคุณแม่จะส่งเสริมให้มีโอกาสเรียนกับครูดีๆ แล้ว ความที่คุณแม่ชอบอ่านวรรณ
กรรมเป็นชีวิตจิตใจก็นับว่ามีอิทธิพลต่อลูกๆ ไม่ น้อยทีเดียว
ชีวิตในรั้วอักษรศาสตร์นั้น เธอบอกว่าเป็นชีวิตที่สนุกมาก เพราะนอกเหนือจากการเรียนในห้องเรียนแล้ว
หลักสูตรในสมัยนั้นค่อนข้างเปิดให้นิสิตได้ทำกิจกรรม และให้เสรีภาพใน การแสดงออกพอสมควร
เธอสนใจกิจกรรมด้าน ศิลปวัฒนธรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งนาฏศิลป์ไทย เพราะตั้งแต่เด็กนอกจากแม่จะให้เรียนภาษา
อังกฤษแล้ว ยังให้เรียนพิเศษดนตรีและนาฏศิลป์ ดนตรีไทยที่เธอเล่นได้คือ ซออู้
ส่วนดนตรีสากล คือ อิเล็กโทน เธอจึงทำกิจกรรมอยู่กับชมรมนาฏ ศิลป์ไทย ได้มีโอกาส
"รำไทย" ช่วยงานจุฬาฯเสมอมา แม้กระทั่งเมื่อเป็นอาจารย์ เพิ่งจะบอกลาเวทีไปเมื่อไม่นานมานี้เอง
ตั้งแต่รับตำแหน่งผู้บริหารของคณะ นอกจากนั้นในช่วงที่เป็นนิสิต ก็ยังได้มีโอกาสแสดงละครเวทีของคณะด้วย
เธอเป็นนิสิตที่เรียนดี จึงได้เกียรตินิยมพ่วงท้ายตอนจบ โดยที่วิชาเอกคือ
ภาษาอังกฤษ ส่วนวิชาโทคือ ศิลปการละคร จากนั้นก็บินไปเรียนต่อด้านศิลปการละคร
ที่มหาวิทยาลัยนอร์ธ เวสเทิร์น เมืองอีเเวนสตัน ทางเหนือของชิคาโกที่พี่สาวเธอเรียนอยู่
จึงได้พักอยู่กับพี่สาว มหา วิทยาลัยนี้คุณแม่ของเธอเมื่อครั้งไปเยี่ยมลูกสาวคนโต
ได้มีโอกาสไปเห็นอยู่ริมทะเลสาบที่สวยงาม กอปรกับได้ยินว่าเป็นมหาวิทยาลัยที่ดีมาก
จึงฝังใจอยากให้ลูกสาวไปเรียนและก็ให้บังเอิญว่า ที่นี่มีคณะการละครที่อยู่ในระดับทอปไฟว์ของอเมริกา
เธอจึงเลือกเรียนที่นี่และเหมือนบุพเพ สันนิวาสที่ทำให้เธอได้มาพบกับชายในดวงใจ
นอกจากมหาวิทยาลัยนี้จะโดดเด่นในเรื่องละครแล้ว ยังเป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำทางด้านบริหารธุรกิจ
และด้านวิศวกรรมศาสตร์ด้วย สมัยที่เธอไปถึงใหม่ๆ หาเพื่อนนักเรียนไทยผู้หญิง
ไม่ได้สักคน มีแต่ผู้ชายทั้งนั้น ฉะนั้นข่าวการมาของนักศึกษาหญิงแถมจะเรียนด้านศิลปการละครเสียด้วย
จึงชวนให้นักศึกษารุ่นพี่ทั้งหลายตื่นเต้นกันไม่น้อย เธอจึงกลายเป็นสาวเนื้อหอมไปโดยปริยาย
นิยายรักของหนุ่มสาวคู่นี้เริ่มขึ้นที่ห้องสมุด โดยสุวินัย ต่อศิริ รุ่นน้องของสมคิด
เป็นคนแนะนำให้ทั้งสองได้รู้จักกัน เธอเล่าความรู้สึก แรกพบให้ฟังว่า "อาจารย์เป็นคนที่สามารถสร้าง
ความประทับใจได้ตั้งแต่นาทีแรกที่พบ อาจารย์มีความเป็นตัวของตัวเอง น่าทึ่ง
เวลาที่พูดอะไรออกมา จะแฝงปรัชญาที่ลึกซึ้ง รู้สึกว่าผู้ชายคนนี้ เป็นคนที่อบอุ่น
มีสติปัญญาสูง"
หลังจากนั้นก็คบหากันเรื่อยมา จาก "รุ่น พี่รุ่นน้อง" ก็เลยกลายเป็น
"เพื่อนที่รู้ใจ" กันในที่สุด หากดูจากปูมหลังของหนุ่มสาวคู่นี้จะเห็นได้ชัดถึงความแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง
(อ่าน เรื่อง "ความยากจน" เบ้าหลอมชีวิตในวัยเยาว์ประกอบ) นอกจากนี้แล้วสมคิดยังเป็นนักเรียนสายวิทยาศาสตร์
ที่เก่งคณิตศาสตร์ สนใจแต่เรื่องเศรษฐกิจธุรกิจ และปัญหาของบ้านเมือง "ผู้จัดการ"
จึงอดที่จะถามถึงจุดที่ลงตัวไม่ได้
"เรื่องนี้ตอบยากอยู่เหมือนกัน คงจะเป็น เพราะความเหมือนในความแตกต่างนี่ละมั้งที่ทำให้เราเข้าใจกัน
เราต่างเติมเต็มในส่วนที่กันและกันขาดอยู่ และก็ต้องยกความดีให้อาจารย์ เพราะว่าอาจารย์เป็นคนมีน้ำใจมาก
และก็เป็นคนเข้าใจมนุษย์ และการที่เราเองเรียนวรรณคดีก็ทำให้เราเข้าใจมนุษย์ได้ลึกซึ้ง
ทั้งนี้เพราะวรรณคดีสอนให้เราเข้าใจคน ว่าแต่ละคนมีพฤติกรรมต่างกันไปเพราะอะไร"
หลังจากที่เรียนจบปริญญาโทการละคร ก็ตัดสินใจทำปริญญาโทอีกใบด้านวรรณคดี
อังกฤษ โดยเน้นการศึกษาบทละครอังกฤษเป็นหลัก เธอบินกลับมาเมืองไทยคล้อยหลังชายหนุ่ม
ไม่นาน หลังจากนั้นไปสอนพิเศษที่มหาวิทยาลัย อัสสัมชัญบริหารธุรกิจ (ABAC)
เพื่อรอตำแหน่งอาจารย์ที่จุฬาฯ อยู่ 2 ปี กระทั่งปี 2529 จึงได้บรรจุเป็นอาจารย์ประจำภาควิชาภาษาอังกฤษ
คณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ สถาบันที่เธอได้ร่ำเรียน มา และมีความผูกพันมาโดยตลอด
ต่อมาเธอได้ แต่งตำราวิชาการ ชื่อว่า "ประวัติวรรณกรรมเอก อังกฤษ ตั้งแต่สมัยอังกฤษโบราณจนถึงคริสต์ศตวรรษที่
17" ซึ่งได้รับการยอมรับว่าเป็นหนังสือที่ดีเล่มหนึ่งในการปูพื้นฐานวรรณกรรมอังกฤษให้แก่ผู้เรียนชาวไทย
เธอได้ตำแหน่ง "ผู้ช่วยศาสตราจารย์" จากผลงานชิ้นนี้ งานของ เธอก้าวหน้าขึ้นตามลำดับทั้งด้านวิชาการและด้านบริหาร
กระทั่งปี 2542 ได้รับการแต่งตั้งเป็น รองคณบดีฝ่ายกิจการนิสิต ทำหน้าที่ดูแลนิสิตอักษรศาสตร์
ทั้งระดับปริญญาตรี-โท-เอก ร่วม 2,000 คน ทั้งด้านความเป็นอยู่ ทุนการศึกษา
กิจกรรมเสริมหลักสูตร และการพัฒนาบุคลิกภาพ สำหรับตำแหน่งนี้เธอบอกกับ "ผู้จัดการ"
ว่าเป็น ตำแหน่งที่ทำด้วยความรัก เพราะมีโอกาสดูแลและช่วยเหลือนิสิตในด้านต่างๆ
เธอตัดสินใจแต่งงานในปี 2529 ซึ่งเป็นปีที่เธอได้งานที่จุฬาฯ ความที่พื้นฐานครอบครัวต่าง
กันมาก ทำให้ครอบครัวของเธอรู้สึกเป็นห่วงมาก กลัวว่าจะต้องมาตกระกำลำบาก
เธอเองก็ไม่ทราบ จะอธิบายสิ่งที่เธอเห็นใน "ตัว" ชายหนุ่มของเธอให้คนอื่นเข้าใจอย่างไร
ได้แต่ยืนยันในความรักและ ความเป็นคนดีมีคุณธรรมของเขา ซึ่งเธอบอกว่าโชคดีที่คุณแม่เข้าใจ
สมคิดนั้นเคยเล่าให้ "ผู้จัดการ" ฟังว่า เขาสร้างชีวิตจากมือเปล่าแท้ๆ
ตอนแต่งงานเขามีเงิน ในกระเป๋าเพียง 20,000 บาท โดยอยู่บ้านที่ "แม่ยาย"
ให้ซึ่งอยู่ใกล้ๆ กันนั่นเอง เริ่มต้นจากเงินเดือน 4,700 รวมกับเงินเดือนของภรรยาอีก
3,750 บาท ซึ่งทั้งเขาและภรรยากล่าวตรงกันว่าพวกเขาก็อยู่ได้ และพอใช้จ่ายด้วยความมัธยัสถ์
แล้วก็สร้างตัวและฐานะเรื่อยมา ในหลายองค์กรที่เขาเข้าไปช่วยงาน ทั้งในฐานะเป็นกรรมการและที่ปรึกษา
ได้ให้ทั้งเงินและซื้อหุ้นได้ในราคาต่ำเป็นการตอบแทน ยิ่งเขา ไม่เรียกร้องผลประโยชน์ก็ดูเหมือนบริษัทต่างๆ
ที่ได้รับคำแนะนำที่เป็นประโยชน์จากเขาก็ยิ่งตอบแทน มากขึ้น โดยเฉพาะเรื่องหุ้น
ซึ่งส่วนใหญ่เขาก็ได้ขายไปในจังหวะที่ตลาดกำลังบูม บางบริษัทเมื่อเขาขายหุ้นไปแล้ว
เจ้าของบริษัทนำหุ้นมาให้เขาใหม่บอกว่าอยากให้เขาถือหุ้นของบริษัทเอาไว้
หุ้นเหล่านี้ เขาจึงยังเก็บรักษาไว้จนทุกวันนี้ นี่เองที่เป็นเม็ดเงินเป็นกอบเป็นกำ
ที่ทำให้เขาพอจะลืมตาอ้าปากได้ กระทั่งมีบ้านช่องของตัวเองหลายแห่ง รวมถึงบ้านพักตากอากาศทั้งหัวหินและเชียงใหม่
ทั้งหมด นี้นับว่าเกิดจากน้ำพักน้ำแรงในการทำงานหนักของเขา โดยมีภรรยา เป็นฝ่ายช่วยเก็บหอมรอมริบให้
เมื่อชะตาชีวิตผลักดันให้ชายหนุ่มของเธอได้ขึ้นเป็น "ขุนคลังหนุ่ม"
ด้วยวัยเพียง 48 ปี เขาถูกวิพากษ์วิจารณ์มากถึงความเหมาะสม เธอกล่าวสั้นๆว่า
"พี่มั่นใจในตัวอาจารย์ และเชื่อว่าจะทำงานในตำแหน่งนี้ได้"