นิตยสารฟาร์ อีสเทิร์น อีโคโนมิก รีวิว ยกปูนใหญ่เป็นบริษัทที่มีผลงานดีเด่นที่สุดในไทยประจำปีนี้
ดันเอไอเอสแชมป์เก่าหล่นไปอยู่อันดับ 2 ที่ 3 คือเครือซีพี ส่วนที่ 4 เป็นของชินคอร์ป
ที่กำลังสยายปีกรุกธุรกิจแขนงใหม่อย่างห้าวหาญ
การมองโลกแง่ดีเป็นปัจจัยที่โดดเด่นอย่างยิ่งในผลสำรวจประจำปีครั้งที่ 11 ของฟาร์
อีสเทิร์น ที่ตีพิมพ์ลงในฉบับประจำวันที่ 25 ธันวาคม 2003 -1 มกราคม 2004
การสำรวจครั้งนี้จัดทำโดยบริษัทวิจัย เอซีนีลเส็น รีเสิร์ช โดยสอบถามความคิดเห็นผู้อ่านฟาร์
อีสเทิร์นจำนวน 2,806 คนใน 12 ประเทศเอเชีย ซึ่งพบว่ากว่า 63% เชื่อว่าธุรกิจใน
ปีหน้าจะสดใสยิ่งขึ้น สอดคล้องกับรายงานหลายฉบับก่อนหน้านี้ที่ระบุว่า เศรษฐกิจปีลิงจะมีการขยายตัวโลดแล่นกว่าที่ผ่านมา
ไมโครซอฟท์-แชมป์ทรหด
เอซีนีลเส็นยังขอให้ผู้อ่านจัดอันดับบรรษัท ข้ามชาติ 153 แห่งที่คิดว่ามีผลงานดีที่สุดประจำปี
2003 รวมถึงบริษัทท้องถิ่นของเอเชียประเทศละ 29-40 แห่ง ผลปรากฏว่าไมโครซอฟท์ครองแชมป์ต่อเนื่องเป็นปีที่
9 โดยผู้อ่านเทคะแนนให้ เพราะวิสัยทัศน์ระยะยาว และฐานะการเงินเข้มแข็งของยักษ์ใหญ่ซอฟต์แวร์โลก
โนเกีย ผู้ผลิตโทรศัพท์มือถือสัญชาติฟินแลนด์ ตามมาในอันดับ 2 เท่ากับปีที่แล้ว
แต่ได้คะแนนสูงสุดในด้านนวัตกรรม
อันดับ 3 เป็นของโตโยต้า มอเตอร์ ค่ายรถใหญ่สุดของญี่ปุ่น ที่ไต่เต้าขึ้นมา 2
ขั้นจากอันดับในปี 2002
บริษัทบลูชิปแห่งอื่นๆ ที่ติด 1 ใน 10 อันดับแรกยังรวมถึงไอบีเอ็ม, เจเนอรัล
อิเล็กทริก (จีอี) และซิตี้กรุ๊ป
ในทางกลับกัน บริษัทชั้นนำที่ตกจากอันดับต้นๆ ประกอบด้วยแมคโดนัลด์, บีเอ็มดับเบิลยู
และซัมซุง
บ.ไทยยิ่งใหญ่ยิ่งดี
ในส่วนการสำรวจบริษัทไทยนั้น ฟาร์ อีสเทิร์น ระบุว่า บริษัทยักษ์ใหญ่ของไทยมีบทบาทนำในการฟื้น
ตัวภายในประเทศ ควบคู่ไปกับการหาลู่ทางสยายปีก ในระดับภูมิภาค
ภายหลังวิกฤตการเงินปี 1997 นักวิเคราะห์และที่ปรึกษาด้านการจัดการจำนวนมากแนะนำให้กลุ่มบริษัทต่างๆ
ของไทยยุบสินทรัพย์ที่ไม่ใช่สิน ทรัพย์หลัก และปรับโฟกัสไปทุ่มให้กับธุรกิจที่ทำได้ดีที่สุด
หกปีผ่านไป การฟื้นตัวอย่างเข้มแข็งส่งให้กลุ่มบริษัทหลายแห่งกลับสู่ความยิ่งใหญ่อีกครั้ง
ปูนซิเมนต์ไทยเป็นบริษัทที่ได้คะแนนที่ 1 ในปีนี้ โดยฟาร์ อีสเทิร์นชี้ว่า กำไรส่วนใหญ่ของปูนใหญ่
ได้มาจากการบูมของตลาดอสังหาริมทรัพย์ของไทย รวมถึงการที่จีนมีความต้องการวัสดุก่อสร้างเพิ่มขึ้นอย่างมาก
รายงานยังบอกว่า ปูนใหญ่ได้ประโยชน์จากกระแสการผนวกกิจการในอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ของไทยหลังปี
1997
เอไอเอสรับส้มหล่นนโยบายกระตุ้นอุปสงค์
อันดับ 2 คือ แอดวานซ์ อินโฟ เซอร์วิส หรือเอไอเอส แชมป์เก่าเมื่อปีที่แล้ว ฟาร์
อีสเทิร์นราย งานว่า เอไอเอสทำกำไรเป็นกอบเป็นกำจากมาตรการ กระตุ้นการบริโภคภายในประเทศของรัฐบาล
ตลาดโทรศัพท์มือถือของไทยวันนี้มียอดสมาชิกกว่า 18 ล้านคน จากประมาณ 3 ล้านคนในปี
2001
เอไอเอสสามารถรักษาความเป็นผู้นำในตลาดไว้ได้อย่างเหนียวแน่น แม้มีการตัดราคารุนแรงจากผู้เล่นต่างชาติ
ด้วยกลยุทธ์การยกระดับจากการให้บริการโทรศัพท์มือถือธรรมดา สู่บริการด้านข้อมูลที่มีความซับซ้อนและมีลู่ทางสดใสยิ่งขึ้น
เครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี) เข้าตารางมาในอันดับ 3 แต่ได้ที่ 1 ในด้านวิสัยทัศน์ความเป็นผู้นำ
และบริษัทที่สมควรเป็นแบบอย่างที่สุด ซีพีถือเป็น กลุ่มกิจการของไทยที่มีการแตกแขนงธุรกิจหลากหลายที่สุด
ไล่ตั้งแต่ห้างสรรพสินค้าในจีน ไปจนถึงฟาร์มเลี้ยงไก่ในตุรกี
ชิน คอร์ปตามมาในอันดับ 4 จากบริษัทโฮลดิ้ง ด้านโทรคมนาคม มาวันนี้ด้วยฐานเงินสดแน่นหนา
ชินกำลังรุกไล่สู่ธุรกิจใหม่ๆ อย่างแข็งกร้าว
ดังเช่นการเข้าสู่ธุรกิจสายการบินราคาประหยัด ด้วยการจับมือกับแอร์เอเชียของมาเลเซีย
รวมถึงธุรกิจบริการสินเชื่อส่วนบุคคลร่วมกับดีบีเอส แบงก์ ของสิงคโปร์ โดยบริษัทใหม่ทั้งสองแห่งมีแผนใช้ฐานสมาชิกผู้ใช้โทรศัพท์มือถือของเอไอเอส
ในการโฆษณาและขายตั๋วเครื่องบิน รวมถึงบริการสินเชื่อส่วนบุคคล
ความเคลื่อนไหวล่าสุดของชินคือการประกาศ ตัวร่วมชิงส่วนแบ่งรายได้ในวงการบันเทิง