Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ เมษายน 2544








 
นิตยสารผู้จัดการ เมษายน 2544
แฟมิลี่แมน "สำหรับผม ไม่มีอะไรสำคัญเท่าครอบครัว"             
 

   
related stories

สมคิด จาตุศรีพิทักษ์
"ผมจะ reform ประเทศ"
ใคร...? เป็นใคร... ? 10+2+1 ที่ปรึกษาขุนคลัง
ตลาดหุ้น จุดเริ่มต้นการบ่มเพาะ
ประสบการณ์ที่สหพัฒนฯ โลกของการค้านอกตำรา
หนังสือและความคิด ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์
"ความยากจน" เบ้าหลอมชีวิตในวัยเยาว์ ของสมคิด จาตุศรีพิทักษ์
อนุรัชนี จาตุศรีพิทักษ์ ผู้หญิงของรัฐมนตรีคลัง

   
search resources

สมคิด จาตุศรีพิทักษ์




"ผม Miss ชีวิตครอบครัวมากสำหรับผมแล้วไม่มีอะไรที่สำคัญเท่าครอบครัว"
นั่นคือ คำพูดที่กลั่นออกมาจากหัวใจเสนาบดีหนุ่ม เมื่อ "ผู้จัดการ" ถามถึงภารกิจหนักหน่วงในกระทรวง ซึ่งกระชากเวลาของเขาจากครอบครัวไป เขาพูดถึงครอบครัวด้วยใบหน้าที่หนักอึ้งและนัยน์ตาที่แดงชื้นไปชั่วขณะ

สมคิดมีลูกชายสองคน "ลูกคิด" หรือ ณภัทร ลูกชายคนโตนั้น ทั้งสมคิดและอนุรัชนีเลี้ยงดูด้วยตนเอง เพราะเป็นช่วงเริ่มสร้างชีวิตใหม่ แต่ยามกลางวันมี "อาโซ่ยโกว" (อาที่เลี้ยง สมคิดมาแต่เล็กแต่น้อย) กับคุณแม่ของอนุรัชนีสลับกันเลี้ยง ความที่ "ลูกคิด" เป็นเด็กไม่แข็งแรง พ่อแม่จึงต้องประคบประหงมด้วยความห่วงใย นี่อาจจะเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้อีก 5 ปีต่อมาจึงมีลูกชายคนที่สอง "ลูกเต๋า" ณพล ลูกชายคนนี้มีพี่เลี้ยงช่วยเลี้ยงตอนเล็กๆ พอโตขึ้นหน่อย พ่อแม่ตัดสินใจเลี้ยงเองเพราะกลัวลูกจะถูกตามใจจนเสียเด็ก

ลูกชายทั้งสองคนว่าไปแล้ว คนหนึ่งเหมือนแม่ราวกับพิมพ์เดียวกัน อีกคนก็เหมือนพ่อ ราวกับแกะทีเดียว อนุรัชนีถึงกับพูดว่า "ลูกของเรานี่สำเนาถูกต้องทั้งคู่ แต่ลูกคิดนี่เป็นสำเนา ที่ถูกต้องของพี่ทั้งรูปร่างหน้าตาผิวพรรณเหมือนกันหมด เวลาเดินไปไหนจะรู้สึกเหมือนเราพาตัวเองไปด้วย มีทักษะด้านดนตรีดีมาก เป็นอภิชาตบุตร ส่วนลูกเต๋าเป็นสำเนาถูกต้องของ คุณพ่อ เหมือนทั้งรูปร่างหน้าตาผิวพรรณที่ค่อนข้างขาวกว่าลูกคิด มีความเชื่อมั่นในตัวเองสูง ขี้อาย แต่ว่า bright มาก สนใจประวัติศาสตร์ไทย และเป็นคนมีน้ำใจมาก"

เด็กชายทั้งสองขณะนี้เรียนอยู่สาธิตจุฬาฯ คนโตอายุ 12 ขวบ อยู่ ม.2 คนเล็กอายุ 8 ขวบ กำลังจะขึ้น ป.4 ทั้งคู่เป็นเด็กที่เรียนดี ชอบเล่นกีฬาซึ่งตรงนี้คุณแม่ยกความดีให้ครูโรงเรียน สาธิตที่ปลูกฝังเรื่องนี้ "ลูกคิด" นั้นถอดความสามารถเชิงศิลปะจากคุณแม่ออกมาหมด ส่วน "ลูกเต๋า" นอกจากจะเป็นคนช่างคิดเหมือนคุณพ่อแล้ว ยังมีในสิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ไม่มี นั่นคือความเป็นนักประดิษฐ์ซึ่งคุณแม่ก็ยกความดีให้คุณครูที่โรงเรียนอีกที่ปลูกฝังสิ่งนี้ "ลูกเต๋า" แทบจะไม่ร้องขอซื้อของเล่นอีกเลย แต่ชอบที่จะประดิษฐ์เอง ขอแต่เพียงกล่องกระดาษ กระดาษ กาว กรรไกร มีด และสีเท่านั้น

สมคิดเป็นคนไม่ชอบออกงานสังคม ก่อนเข้าสู่วงการเมืองถ้าไม่จำเป็นจริงๆ จะไม่ยอมนัดใครตอนเย็นเด็ดขาด เขามักจะกลับบ้านเร็ว ถ้ามีเวลาก็แวะไปรับลูกเองบ้างแล้วแต่โอกาสจะอำนวย เขาเป็นคนไม่มีงานอดิเรก สิ่งที่ชอบที่สุดนอกจากงานแล้วก็คือ การเล่นกับลูก สอนการบ้าน พาลูกลงสระว่ายน้ำ พาไปนั่งเรือ เดินเล่น กินก๋วยเตี๋ยว เลือกซื้อหนังสือหรือซีดี และพูดคุยกับลูก กีฬา ร่วมสำหรับสมาชิกในครอบครัวนี้คือ แบดมินตัน สุดสัปดาห์ก็พาลูกเมียไปพักผ่อนที่บ้านพักส่วนตัวที่เชียงใหม่บ้าง หัวหินบ้างสลับกัน ไป หรือบางครั้งก็เที่ยวต่างประเทศ นี่คือความสุขที่สุดในชีวิตของเขา

ส่วนกับภรรยานั้นทุกวันก็จะคุยกันว่า ใครไปทำอะไรมาบ้าง มีอะไรหนักใจก็ถามไถ่ ปรึกษาหารือกันเป็นเช่นนี้ตลอดมา สมคิดพูดถึงหญิงสาวของเขาว่า "เธอเป็นคนดีมาก ดูแลลูกอย่างดี ทั้งที่ระยะหลังเป็นรองคณบดี งานก็เยอะขึ้น เธอไม่เคยทำให้ผมหนักใจเลย และตามใจทุกอย่าง ไม่ว่าผมจะตัดสินใจทำอะไร"

ช่วงที่มีข่าวว่าเขาจะได้รับเก้าอี้ใหญ่ตัวนี้ แล้วถูกวิพากษ์วิจารณ์ สิ่งที่เขาห่วงที่สุด กลับไม่ใช่ตัวเอง แต่เป็นลูกชายหัวแก้วหัวแหวนทั้งสอง สมคิดเล่าว่า "วันที่เข้าไปในสภาฯ ลูกผมสองคน ทำการ์ดให้คนละใบ คน เล็กก็ทำแบบเด็กๆ สื่อเป็นรูปหัวใจทำนอง ให้กำลังใจ แต่คนโตแต่งกลอนแปดให้กับผม ผมอ่านแล้ว วันนั้นเป็นวันที่ผมเลิกเครียดเลย เพราะผมห่วงลูกมากว่าถ้าไม่เข้าใจ มีคนกระแหนะกระแหน เด็กจะถูกล้อ กลอนแปด ของเขาผมจำได้ชัดเลยว่า ใครจะด่าใครจะว่าก็ช่างเขา คิดจะคอยเป็นกำลังใจให้ วันนี้ไม่มีเวลาไม่เป็นไร ตื่นเช้าพรุ่งนี้เราค่อยมาจอยกันใหม่ คืออย่างนี้ผมสบายใจ เพราะเหมือนได้วีซ่าจากลูก"

แต่ก็ต้องยอมรับว่าสิ่งที่มาพร้อมกับตำแหน่งใหญ่นั้น ก็คือชีวิตที่เปลี่ยนไป การที่ต้องให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าวทุกวัน ทำให้ผู้คนจำหน้าเขาได้ ความเป็น ส่วนตัวจึงหายไป ไปไหนมาไหนผู้คนก็จับจ้อง นั่งกินก๋วยเตี๋ยว อยู่ดีๆ ก็มีคนมาขอลายเซ็น เล่นเอา ทั้งครอบครัวทำตัวไม่ค่อยจะถูก เดี๋ยวนี้ไปไหนบางครั้งก็ต้องใส่แว่น ตาดำเพื่อไม่ให้คนจำได้ แต่บางครั้งก็ยังอุตส่าห์มีคนจำได้ ตอนนี้เขาเลยไม่ค่อยได้ออกไปไหนมากนัก

ชีวิตแต่ละวันเขาออกจากบ้านแต่เช้าตรู่ ตารางงานยาวเหยียด มีงานเลี้ยงหรือพบปะผู้คน ต่างๆ แทบทุกวัน กลับถึงบ้านเกือบ จะ 5 ทุ่ม เป็นเช่นนี้เกือบทุกวัน ซึ่ง ภรรยาก็จะอยู่คอยดูแล และเตรียมข้าวต้มอาหารโปรดของเขาเอาไว้ เผื่อว่าบางครั้งจำเป็นต้องใช้สมาธิกับการคุย อาจจะไม่ได้รับประทาน อาหารมากนัก ส่วนโอกาสที่จะได้พบกับลูกนั้นแทบไม่มีเอาเลย

ดีว่าช่วงนี้ลูกชายคนโตไปเรียนภาคฤดูร้อนที่นิวซีแลนด์ เหลือเพียง "ลูกเต๋า" ที่โรงเรียนปิดเทอม ซึ่งแม่ของลูกก็พยายามจัดเวลาให้พ่อลูกได้อยู่ด้วยกันมากที่สุด โดยที่ตอนเช้าเธอจะจัดให้ "ลูกเต๋า" นั่ง รถไปกับคุณพ่อที่กระทรวงซึ่งอยู่ริมคลองประปาจะได้มีเวลาคุยกัน พอถึงกระทรวงก็ให้คนรถไปส่งที่บ้านคุณยาย ซึ่งอยู่สุทธิสารซึ่งถือว่าอยู่ไม่ห่างกัน ช่วงปิดภาคเรียนนี้ลูกคนเล็กขอไปอยู่กับคุณยาย ซึ่งทำให้คุณแม่สบายใจที่ไม่ต้องทิ้งลูกไว้คนเดียวที่บ้าน

ช่วงนี้อนุรัชนีบอกกับ "ผู้จัดการ" ว่า เธอพยายามทำหน้าที่ทดแทนสามีในสิ่งที่ลูกเคยทำร่วมกับผู้เป็นพ่อ คือ พาไปเดินเล่น และว่ายน้ำ แม้ว่าเธอจะไม่ชอบกีฬาประเภท นี้มากนักก็ตาม

เธอพยายามเติมส่วนที่ขาดหายไป แม้จะรู้ว่ามันไม่เหมือนกันเสียทีเดียวในความรู้สึกของลูก แต่เธอก็พยายามทำทุกอย่างให้ดีที่สุด รอคอยเวลาที่ทุกอย่างจะกลับมาเหมือนเดิม ซึ่งเธอก็ยังไม่รู้ว่าเวลานั้นจะมาถึงเมื่อไรเช่นกัน

แต่เธอและลูกๆ ทั้งสองก็ภูมิใจในตัว "หัวหน้าครอบครัว" ที่ได้มีโอกาสทำงานให้กับบ้านเมือง แม้จะต้องยอมสละเวลาสำหรับครอบครัวให้กับงานของเขาบ้าง ทุกคนก็ดูจะยินดี พร้อมทั้งภาวนาให้เขาบรรลุภารกิจสำคัญโดยเร็ว นอกจากเพื่อสังคมส่วนรวมแล้ว เขาจะได้กลับมามีความสุขกับครอบครัวได้ดังเดิม

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us