Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน11 ธันวาคม 2546
เจ้าหนี้โหวตแผนฯNFC 24 ธ.ค. มั่นใจกลางปี47กลับมาเทรดใหม่             
 


   
search resources

ธนาคารไทยพาณิชย์, บมจ.
ธนาคารกรุงไทย
ปุ๋ยแห่งชาติ
บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย
ซี.เจ. มอร์แกน, บจก.
ชำนิ จันทร์ฉาย
Chemicals and Plastics




นัดประชุมเจ้าหนี้ปุ๋ยแห่งชาติโหวตรับแผนฟื้นฟู 24 ธ.ค.นี้ "ซี.เจ.มอร์แกน" ในฐานะผู้ทำแผนฯมั่นใจเจ้าหนี้เห็นชอบ โดย NFC จะกลับมาเทรดในตลาดหลักทรัพย์ฯอีกครั้งกลางปีหน้า เผยขณะนี้แบงก์กรุงไทยให้สินเชื่อล็อตแรกซื้อวัตถุดิบ 300 ล้าน และจะให้สินเชื่อเพิ่มเป็น 2.2 พันล้าน หลังพันธมิตร ใหม่ใส่เงินเพิ่มทุนแล้ว

นายชำนิ จันทร์ฉาย กรรมการผู้อำนวยการ บริษัท ซี.เจ. มอร์แกน จำกัด ผู้ทำแผนบริษัท ปุ๋ยแห่งชาติ จำกัด (มหาชน)(NFC) เปิดเผยว่า ขณะนี้บริษัทฯได้จัดทำแผนฟื้นฟูกิจการNFCเสร็จแล้ว โดยเรียกประชุมเจ้าหนี้เพื่อโหวตรับแผนฟื้นฟูฯในวันที่ 24 ธันวาคมนี้ หากเจ้าหนี้ส่วนใหญ่เห็นชอบแผนฯ ก็จะเสนอให้ศาลฯเพื่อมีคำสั่งเห็นชอบแผนฯต่อไปในวันที่ 30 ธันวาคมนี้

เชื่อว่า แผนฟื้นฟูดังกล่าวน่าจะผ่านความเห็นชอบ จากเจ้าหนี้ และศาลล้มละลายกลาง เนื่องจากรายละเอียดของแผนสอดคล้องกับบันทึกช่วยจำ (MOU) ที่บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย (บสท.) สรรหาผู้ร่วมทุน รายใหม่ให้ NFC ซึ่งสุดท้ายเลือกกลุ่มบริษัทไทยพีค่อน และอุตสาหกรรม จำกัด ร่วมกับบริษัท Xiyang Group จากประเทศจีน

สำหรับรายละเอียดของแผนฟื้นฟูของ NFC นั้น ผู้บริหารแผนฯจะดำเนินการลดทุนจดทะเบียนบริษัทฯจากเดิม 1.4 หมื่นล้านบาท ลงเหลือเพียง 10% ของ ทุนจดทะเบียน หลังจากนั้นจะมีเงินเพิ่มทุนใหม่เข้าไป ทำให้มีทุนจดทะเบียนใหม่ 2,236 ล้านบาท รวมทั้งแปลงหนี้เป็นทุน ทำให้กลุ่มนักลงทุนใหม่จะเข้ามาถือหุ้นใหญ่ 71% ผู้ถือหุ้นเดิม 2.9% และที่เหลือเป็นของสถาบันการเงิน

ทั้งนี้ NFC จะชำระหนี้เจ้าหนี้สถาบันการเงินทั้ง 2 ราย คือ บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย และธนาคารไทยพาณิชย์ โดยนำเงินที่ได้จากการเพิ่มทุนเสนอขายให้นักลงทุนเฉพาะเจาะจงประมาณ 1,588 ล้านบาท รวมกับเงินสดใน NFC อีก 78-80 ล้านบาทมาชำระหนี้ และโอนที่ดินติดทะเลจำนวน 100 ไร่ มูลค่า 200 ล้านบาท มาตี ชำระหนี้ด้วย

หลังจากนั้นบริษัทฯจะดำเนินการแปลงหนี้เป็นทุนคิดเป็นสัดส่วน 25% ของทุนจดทะเบียน รวมทั้งออกหุ้นกู้จำนวน 200 ล้านบาท ให้เจ้าหนี้สถาบันการเงิน โดยหุ้นกู้ดังกล่าวมี อายุ 3 ปี ไม่มีดอกเบี้ย

ขณะที่เจ้าหนี้การค้า คิดเป็นมูลหนี้ 500 ล้านบาท จะได้รับการชำระหนี้ตามปกติ โดยไม่มีการลดหนี้

ภายหลังการปฏิบัติตามแผนฟื้นฟูแล้วเสร็จ NFC จะมีกำไรจากการปรับโครงสร้างหนี้ 1.2 หมื่นล้านบาท รวมกับการลดทุนเพื่อล้างขาดทุน สะสมที่มีอยู่ 2 หมื่นล้านบาทจนหมด และมีส่วนเกินทุน 8-9 พันล้านบาท และมีมูลค่าหุ้นตามบัญชี (บุ๊กแวลู) 40 บาทต่อหุ้น

ดังนั้น ในปี 2547 NFC จะกลับมาเป็นบริษัทที่แข็งแกร่ง และตั้งเป้าหมายว่าจะยื่นศาลฯขอออกจากแผนฟื้นฟูฯได้ประมาณมีนาคม 2547 หลังจากนั้นจะทำหนังสือต่อตลาดหลักทรัพย์ฯขอกลับไปเทรดซื้อขายใหม่อีกครั้งในเดือนเมษายน-พฤษภาคม 2547

KTB ใช้เงินทุนหมุนเวียน 300 ล้าน

นายชำนิ กล่าวต่อไปว่า ขณะนี้บริษัทฯ ได้ทำหนังสือขอเงินทุนหมุนเวียนเพื่อใช้ซื้อวัตถุดิบจำนวน 2.2 พันล้านบาทจากธนาคารกรุงไทย โดยแบงก์ยืนยันที่จะให้สินเชื่องวดแรก ก่อน 300 ล้านบาท เพื่อใช้ในการสั่งซื้อวัตถุดิบรองรับการผลิตในต้นปีหน้า โดยคาดว่าจะเริ่มเปิดดำเนินการผลิตได้ในวันที่ 5 มกราคม 2547

ส่วนวงเงินทุนหมุนเวียนที่เหลืออีกเกือบ 2 พันล้านบาทนั้น แบงก์กรุงไทยจะปล่อย สินเชื่อ ต่อเมื่อ NFC ดำเนินการลดทุน/เพิ่มทุน และหาพันธมิตรร่วมทุนเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

ดังนั้น ในอนาคต NFC จะพลิกจากบริษัทที่เคยมีหนี้สินกว่า 1.4 หมื่นล้านบาท กลายเป็นบริษัทที่มีหนี้เพียง 200 ล้านบาท และเป็นหนี้ที่ปลอดดอกเบี้ย รวมทั้งยังได้รับการสนับสนุนทางการเงินจากแบงก์กรุงไทย ทำให้บริษัทมีสภาพคล่องเพียงพอ ไม่จำเป็นต้องขายปุ๋ยราคาถูกเหมือนในอดีต

ปีหน้าปุ๋ยราคาสูง

นายชำนิ กล่าวต่อไปว่าในปี 2547 NFCตั้งเป้าหมายผลิตปุ๋ยเคมีประมาณ 5.6 แสนตัน คิดเป็นสัดส่วน 50% ของกำลังการผลิตรวม 1 ล้านตัน เนื่องจากขณะนี้บริษัทได้มีการปิดซ่อมบำรุงโรงงาน หลังจากเปิดเดินเครื่องมานาน โดยไม่มีการปรับปรุงอย่างจริงจัง

ขณะที่แผนการตลาด ยังคงอาศัยช่องทาง การจำหน่ายผ่านเอเย่นต์ผู้ค้าปุ๋ย รวมทั้งส่งออก ไปเวียดนาม และขายให้ธ.ก.ส.และชุมชนสหกรณ์การเกษตร ซึ่งราคาขายปุ๋ยนั้นจะอิงตาม ราคาตลาด ไม่มีการขายให้ธ.ก.ส.ในราคาที่ต่ำกว่าท้องตลาดเหมือนในอดีต เพราะ NFC เป็นบริษัทเอกชนที่ดำเนินธุรกิจเพื่อมุ่งหวังกำไร

หวั่นราคาปุ๋ยพุ่ง

อย่างไรก็ตาม สิ่งที่น่ากังวลในการดำเนินธุรกิจผลิตปุ๋ยเคมีในปีหน้า คงหนีไม่พ้นต้นทุนวัตถุดิบที่ปรับเพิ่มสูงขึ้น ทั้งหินฟอสเฟต กำมะถัน เป็นต้น อันเนื่องจากค่าเฟสขนส่ง ทางเรือได้ปรับขึ้นมาอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่ครึ่งปีหลังนี้ เนื่องจากเรือขนส่งสินค้าส่วนใหญ่ถูกจองเดินทางไปจีน และมีบางส่วนถูกปลดประจำการ ทำให้ราคาปุ๋ยเคมีคงต้องปรับเพิ่มสูงขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

อีกทั้งขณะนี้ผู้ประกอบการผลิตปุ๋ยเคมีในไทยคงเหลือเพียง บมจ.ไทยเซ็นทรัลเคมีเท่านั้นที่ยังเดินโรงงานปั้นเม็ดอยู่ ขณะที่ NFC ได้ปิดซ่อมบำรุงมาตั้งแต่ 25 ตุลาคมที่ผ่านมา ส่วนบริษัทปุ๋ยไทย ก็ได้ปิดโรงงาน รอการปรับโครงสร้างหนี้อยู่ ทำให้ปริมาณปุ๋ยเคมีหายไปจากตลาดค่อนข้างมาก ดังนั้นเกษตรกรอาจต้อง ซื้อปุ๋ยในราคาสูง แต่เชื่อว่าคงไม่กระทบมากนัก เนื่องจากราคาพืชผลการเกษตรขยับดีขึ้น

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us