Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ เมษายน 2544








 
นิตยสารผู้จัดการ เมษายน 2544
หนังสือและความคิด ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์             
 

   
related stories

สมคิด จาตุศรีพิทักษ์
"ผมจะ reform ประเทศ"
ใคร...? เป็นใคร... ? 10+2+1 ที่ปรึกษาขุนคลัง
ตลาดหุ้น จุดเริ่มต้นการบ่มเพาะ
ประสบการณ์ที่สหพัฒนฯ โลกของการค้านอกตำรา
"ความยากจน" เบ้าหลอมชีวิตในวัยเยาว์ ของสมคิด จาตุศรีพิทักษ์
แฟมิลี่แมน "สำหรับผม ไม่มีอะไรสำคัญเท่าครอบครัว"
อนุรัชนี จาตุศรีพิทักษ์ ผู้หญิงของรัฐมนตรีคลัง

   
search resources

สุวิทย์ เมษินทรีย์
Philip Kotler
สมคิด จาตุศรีพิทักษ์
อุตม สาวนายน




หากถือว่าไมเคิล อี.พอร์เตอร์ คือ ปรมาจารย์ ด้านการวางกลยุทธ์สมัยใหม่ในโลกตะวันตก ก็ต้องถือว่า ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ เป็น Potential Strategic Guru (กูรู) แห่งโลกตะวันออกคนหนึ่ง อย่างไม่เคอะเขิน

อันที่จริงคำว่า "Guru" ซึ่งหยิบยืมมาจากภาษาสันสกฤตว่า "คุรุ" ซึ่งผันมาเป็นคำว่า "ครู" นั้น จะหมายถึงปรมาจารย์ บรมครู หรือมหาคุรุ จะถูกใช้เรียกผู้รู้ในหลายสาขา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง Management Guru แต่ทว่าผู้ถูกเรียกก็มักจะไม่ยอมรับว่าเป็น "กูรู" เพราะเป็นการยกย่องที่มากเกินกว่าจะรับได้

แม้กระทั่ง ปีเตอร์ เอฟ.ดรักเกอร์ ซึ่งถือว่าเป็นกูรูในกูรูก็ออกจะดูเฉยเมยสมญานี้

ดร.สมคิด มีส่วนอย่างสำคัญในการเขียนหนังสือระดับเบสต์เซลเลอร์ของโลก แม้จะอยู่ ภายใต้ "เงา" ของฟิลิป คอตเลอร์ ก็ตาม ซึ่งนับเป็นคนแรกในแวดวงวิชาการของเมืองไทยเลยทีเดียว

โดยเฉพาะเราได้โอกาสอันสำคัญยิ่ง ในการนำทฤษฎีมาใช้ในการบริหารประเทศโดยตรง ซึ่งเชื่อมั่นกันว่าจากประสบการณ์ครั้งสำคัญนี้ หากเขาไม่ละทิ้งงานเขียนหนังสือแล้ว ในที่สุด ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ จะก้าวขึ้นสู่ทำเนียบนักเขียนหนังสือการจัดการระดับกูรูได้

จาก The New Competition ถึงการตลาดเชิงกลยุทธ์

โรงเรียนธุรกิจเคลล็อกแห่งมหาวิทยาลัยนอร์ธเวสต์เทิร์นจัดเป็น business school ยอดฮิตในหมู่คนไทย เช่นเดียวกับมหาวิทยาลัยวิสคอนซิน เมดิสัน ที่คนไปเรียนกันมาก

เมื่อพูดถึง KGSM (Kellogg Graduate School of Management) นั้น ทุกคนจะนึกถึง marketing และทุกครั้งที่นึกถึง marketing ก็ต้องนึกถึงฟิลิป คอตเลอร์ ซึ่งถือเป็นสดมภ์หลักทางการตลาดของเคลล็อก

อันที่จริงก่อนหน้า ดร.สมคิด ก็มีคนไทยเรียนกับคอต เลอร์อยู่ไม่ใช่น้อย ยังไม่ต้องพูดถึงว่าได้คอตเลอร์เป็นที่ปรึกษาด้วยซ้ำ แต่ก็ไม่มีคนไทยรายใดได้เขียนหนังสือร่วมกับคอตเลอร์มาก่อน ทั้งๆ ที่คอตเลอร์ใช้กลยุทธ์ศิษย์เขียนอาจารย์พะยี่ห้อก็ตาม

ดร.สมคิด เป็นศิษย์ชาวไทยคนแรกที่มีโอกาส

เหตุผลประการแรกอาจจะเป็นเพราะว่าเขาเรียนระดับปริญญาเอก จึงมีเวลาใกล้ชิดคอตเลอร์มากกว่าลูกศิษย์เอ็มบีเอที่ไม่ค่อยมีโอกาสเจอะหน้าค่าตาเสียด้วยซ้ำ ส่วนเหตุผลประการที่สองนั้นเกิดจากการสร้างโอกาสให้ตนเอง

หนังสือเล่มแรกที่สร้างชื่อลือลั่นให้เขาก็เกิดจากการนำบทความที่คอตเลอร์เขียนร่วมกับเลียม ฟาเฮย์ ไปต่อยอดให้คอตเลอร์พิจารณา เพื่อทำเป็น dissertation ปริญญาเอกแต่คอตเลอร์บอกว่าแบบนี้เป็น dissertation ไม่ได้แต่แนะนำให้เขียนเป็นหนังสือซึ่งต่อมา ก็คือ The New Competition

ดร.สมคิดบอกว่าเขาอยากใช้ชื่อ Japanese Strategic Marketing มากกว่า แต่เนื่องจาก ทางสำนักพิมพ์ต้องการใช้ชื่อ The New Competition เพื่อผลทางการตลาด

The New Competition ออกวางตลาดในปี 1985 ซึ่งเป็นช่วงที่บริษัทญี่ปุ่นกำลังกำเริบ เที่ยวไล่เทกโอเวอร์บริษัทต่างๆ ทั่วโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริษัทต่างๆ ในสหรัฐอเมริกา หนังสือ การจัดการที่ว่าด้วยความสำเร็จของญี่ปุ่นออกมาเป็นจำนวนมาก ที่โด่งดังที่สุดเห็นจะเป็น Theory Z ที่ว่าด้วยเคล็ดลับการจัดการของญี่ปุ่น

ต้นทศวรรษ 1980 หนังสือด้านกลยุทธ์และการบริหารได้รับความนิยมในสหรัฐอเมริกา มาก

ทอม ปีเตอร์ เขียนหนังสือ In search of Excellence ซึ่งทำให้หนังสือด้านการบริหารขายได้เกินล้านเล่มเป็นครั้งแรก

ขณะที่ปีเดียวกัน (1980) ไมเคิล พอร์เตอร์ ก็ส่ง Competitive Strategy ที่กลายเป็นคัมภีร์ด้านวิเคราะห์คู่แข่งและอุตสาหกรรม ปลุกชีพวิชาการด้านการวางกลยุทธ์ขึ้นมาอีกครั้ง หลังจากซบเซามาเกือบสองทศวรรษ

กลยุทธ์ถูกปลุกขึ้นมาอีกครั้งเมื่อหนังสือของเคนอิชิ โอมาเอะ ที่ชื่อ The Mind of Strategist ถูกแปลเป็นภาษาอังกฤษ

อย่างไรก็ตาม ไม่มีหนังสือด้านการตลาดเชิงยุทธ์โดยตรงออกมาป้อนตลาดโดยเฉพาะอย่างยิ่งจากมหาคุรุการตลาดเยี่ยงฟิลิป คอตเลอร์

ดังนั้น เมื่อ The New Competition ออกมาในช่วงเวลาที่เหมาะสมและเนื้อหาเป็น ที่ต้องการของตลาดประกอบกับยี่ห้อคอตเลอร์ ที่ประทับตราการันตีเช่นนี้ หนังสือเล่มแรกของ ดร.สมคิดจึงประสบความสำเร็จอย่างล้น หลาม ถูกแปลออกเป็นภาษาต่างๆ เกือบ 20 ภาษาทั่วโลก

ขณะที่ Dissertation ของ ดร.สมคิดที่ชื่อ Export Behavior of firms ก็ได้รับการจัดพิมพ์เป็นเล่มโดยสำนักพิมพ์ของมหาวิทยาลัย มิชิแกนที่แอนอาเบอร์

หากพิจารณาจากหนังสือ The New Competition แล้ว หลายคนอาจจะคิดว่าดร.สมคิด เน้นการตลาดเพราะเรียนกับคอต เลอร์ หากวิเคราะห์หนังสือเล่มนี้ให้ดีจะพบว่า เขาให้ความสำคัญกับกลยุทธ์มากกว่าการตลาด กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ The New Com-petition เป็นเรื่องกลยุทธ์การสร้างชาติของญี่ปุ่นที่มี Japan INC. เป็นหัวหอก

ดร.สมคิดกลับเมืองไทยขณะที่เขียนหนังสือเสร็จแล้ว ไม่เพียงหมู่อาจารย์นิด้าเท่านั้นที่ยินดีต้อนรับ กระทั่งชุมชนนักการตลาดก็อ้าแขนต้อนรับด้วยความตื่นเต้นและ สองปีต่อมาหลังจากหนังสือวางตลาดแล้ว เส้นทางสู่การเป็นที่ปรึกษาธุรกิจเกือบโรยด้วย กลีบกุหลาบ

หลังจาก The New Competition ออก วางตลาดไม่กี่ปี เขาก็เรียบเรียงฉบับภาษาไทย ขนาดกะทัดรัดโดยใช้ชื่อว่า "การตลาดเชิง กลยุทธ์" ส่งผลให้ชื่อเสียงของเขาเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางมากขึ้น


กระแสการจัดการ

ปี 2530 นอกจากเป็นปีแรกแห่งทศ-วรรษแล้วยังเป็นปีที่เศรษฐกิจประเทศไทยผงก หัวตั้งลำ ธุรกิจไทยกำลังเปลี่ยนแปลงโครง สร้างเพื่อรองรับการเติบโต

กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือธุรกิจต้องการกลยุทธ์

ช่วงนั้น ดร.สมคิด ดร.สมชาย ภค-ภาสน์วิวัฒน์และดร.พิพัฒน์ พิทยาอัจฉริยกุล สนิทสนมกลมเกลียวดังพี่น้องร่วมอุทร ไปไหน ไปกันและทำงานร่วมวิจัยและที่ปรึกษาร่วมกัน

ดร.สมชาย พี่ใหญ่ เชี่ยวชาญด้านเศรษฐกิจและตลาดหุ้น

ดร.พิพัฒน์ พิทยาอัจฉริยกุล (ปัจจุบันเสียชีวิตแล้ว) เป็นเลิศในด้านการเงิน และตลาดทุน

ส่วน ดร.สมคิด เป็นเลิศด้านตลาด

ทั้งสามเขียนคอลัมน์กระแสการจัด การ ในช่วงปีต้นทศวรรษ 2530 ในหนังสือ พิมพ์ฐานเศรษฐกิจรายสัปดาห์

กระแสการจัดการเป็นคอลัมน์เล็กๆ เนื้อหาส่วนใหญ่มุ่งเน้นในด้านจัดการและกลยุทธ์ คำศัพท์แปลกๆ ใหม่ๆ ที่เรียนกันในห้องเรียนเอ็มบีเอ จะหาอ่านได้ในคอลัมน์นี้ ทั้งสามเขียนร่วมกันไม่นานนัก นอกจากนี้ยังมีตัวอย่างจากบริษัทลูกค้าผสมผสานอยู่ในข้อเขียนอย่างกลมกลืน

ถึงจะเป็นคอลัมน์แต่ก็ทรงพลัง "กระแสการจัดการ" ถือเป็นคอลัมน์ที่ให้ความรู้ด้านการจัดการและกลยุทธ์เป็นครั้งแรกในหนังสือพิมพ์ธุรกิจของไทย

ต่อมาในภายหลังคอลัมน์ถูกรวบรวม เป็นพ็อกเกตบุ๊คส์ซึ่งใช้ชื่อเดียวกับคอลัมน์นั่นเอง


ยุทธวิธีการแข่งขัน

ถ้าติดตามประวัติดร.สมคิด อาจจะคิดว่าเขาเป็นศิษย์คอตเลอร์ เรียนที่เคลล็อกก็น่าจะเป็นนักการตลาด แต่หากศึกษางานเขียนและความคิดของเขาอย่างต่อเนื่องจะพบว่า ดร.สมคิดนั้นฝักใฝ่ในด้านการวางกลยุทธ์มากกว่า

ในฐานะหนึ่งในผู้ร่วมสถาปนาสถาบันวิจัยภัทร เพื่อฝึกปรือนักวิเคราะห์หลักทรัพย์ เขาก็นำกรอบการวิเคราะห์อุตสาหกรรมและคู่แข่งขันมาจากหนังสือ Competitive Strategy ของไมเคิล อี.พอร์เตอร์ ศาสตราจารย์ด้านกลยุทธ์ประจำฮาร์วาร์ด บิสสิเนส สคูล

Competitive Strategy เขียนขึ้นในปี 1980 ไม่นานหลังจากนั้นมันได้กลายเป็นคัมภีร์สำหรับนักเรียนเอ็มบีเอทั่วโลก และได้ส่งให้พอร์เตอร์กลายเป็นสดมภ์หลักการวางกลยุทธ์สมัย ใหม่ไปในที่สุด

ดร.สมคิด เรียบเรียง "ยุทธวิธีการแข่งขัน" โดยอ้างอิงหนังสือ Competitive Strategy ของไมเคิล พอร์เตอร์ เป็นสำคัญ โดยเขาดึงสุวินัย ต่อสิริสุข และอุตตม สาวนายน มาช่วยเรียบเรียงด้วย

สุวินัย และอุตตม เป็นรุ่นน้องที่เคลล็อก สุวินัยเรียนเอ็มบีเอ การตลาดที่เคลล็อก ขณะที่อุตตมเน้นการเงิน และไปจบปริญญาเอกที่มหาวิทยาลัยแมสซาชูเสตต์ที่แอมเฮิร์ท ปัจจุบันอุตตมเป็นหนึ่งในที่ปรึกษาด้านการเงินของ ดร.สมคิด

แม้จะเรียบเรียงจากหนังสือของพอร์เตอร์ แต่ทั้งสามคนได้สอดใส่ประสบการณ์ และกรณีศึกษาที่ได้จากการทำงานด้านที่ปรึกษาไปไว้ในหนังสือเล่มนี้อย่างกลมกลืน

การเรียบเรียงหนังสือเล่มนี้ก็ด้วยวัตถุประสงค์ผลิตตำราด้านกลยุทธ์ และการจัดการเป็นสำคัญเพราะในช่วงต้นทศวรรษ 2530 ธุรกิจไทยอยู่ระหว่างข้อต่อ ความต้องการใช้เอ็มบีเอ มีมากแต่ทว่าไม่มีตำราภาษาไทยที่มีคุณภาพดีพอออกสู่ท้องตลาด

แนวคิดด้านการผลิตตำราของ ดร.สมคิดปรากฏให้เห็นชัดเจนอีกครั้งเมื่อเขาแปลหนังสือ ชื่อ "กลยุทธ์ราคา" เนื่องจากเป็นเรื่องสำคัญแต่ทว่าไม่มีตำราด้านภาษาไทยออกมาเลย

กลยุทธ์ราคาเป็นหนังสือแปลเล่มล่าสุดของเขาและคาดว่าเขาจะไม่ผลิตงานแปลอีกแล้ว ดังนั้นหนังสือพลิกกลยุทธ์การแข่งขัน ที่แปลจาก Competing for the Future แม้จะมีชื่อเขาและดร.สมชาย พะไว้แต่ ดร.สมคิดไม่ได้ข้องเกี่ยวแต่ประการใด แม้ในรายชื่อทำเนียบหนังสือ ที่เป็นผลงานการเขียนและแปลกลับไม่ปรากฏชื่อหนังสือเล่มนี้เบียดเสียดอยู่ในทำเนียบแต่อย่างใด


คิดเชิงกลยุทธ์

กลางทศวรรษ 2530 ดร.สมคิด เริ่มเขียนคอลัมน์ลงหนังสือพิมพ์ธุรกิจอีกครั้ง หลังจากเลิกราจากคอลัมน์กระแส การจัดการเมื่อต้นทศวรรษ

คอลัมน์ "ว่าด้วยกลยุทธ์" ปรากฏเป็นประจำในหนังสือ พิมพ์ผู้จัดการรายสัปดาห์ เนื้อหาของคอลัมน์เกี่ยวกับกลยุทธ์ และการจัดการ

ดร.สมคิด เขียนถึงการแก้ภาพพจน์ของประเทศ หลังจากนักท่องเที่ยวไม่มาเมืองไทยแม้สงครามอ่าวเปอร์เซียจะสิ้นสุดลงแล้วและปัจจัยต่างๆ ด้านการท่องเที่ยวเอื้ออำนวย แต่นักท่องเที่ยวก็ไม่หลั่งไหลเข้าสู่ประเทศไทย ทั้งๆ ที่เมื่อหลายปีก่อน เมื่อประเทศไทยจัดงานฉลองกรุงรัตนโกสินทร์ครบรอบสองร้อยปีให้เป็นปีท่องเที่ยว กลับได้ผลสำเร็จอย่าง งดงาม

บทความชิ้นนี้ได้ให้คำแนะนำในการฟื้นการท่องเที่ยวไทยไว้ด้วย เชื่อแน่ว่าประเด็นสำคัญของบทความชิ้นนี้จะถูกบรรจุไว้ในแผนยุทธศาสตร์ท่องเที่ยวของไทยด้วย

เช่นเดียวกันกับบทความเกี่ยวกับคณะกรรมการบริษัทกับความก้าวหน้าของกิจการ ซึ่งเขาบอกว่า "คณะกรรมการมิใช่เป็นเพียงตรายางที่มีไว้สำหรับประดับบริษัทหรือมีไว้เพื่อบรรลุข้อตกลงทางกฎหมาย แต่คณะกรรมการ บริษัทเป็นทรัพยากรบุคคลที่มีคุณค่าสูงยิ่ง หากกิจการรู้จัก ที่จะสรรหา รู้จักที่จะใช้และรู้จักใช้ให้เป็น

หรือบทความที่ว่าด้วยการทำนายพฤติกรรมคู่แข่งด้วยการประเมินกรอบแห่งความคิด ซึ่งเขาประยุกต์ส่วนหนึ่งมาจากหนังสือของพอร์เตอร์เข้า กับประสบการณ์ในการให้คำปรึกษาด้านการจัดการองค์กรต่างผสานเข้ากับการเป็นนักเล่นหมากรุกของเขา รังสรรค์บทความที่ทรงคุณค่ายิ่งนี้ออกมา

การเปลี่ยนแปลงและความขัดแย้งนั้นถือว่าเป็นบทความคลาสสิกที่เขาเขียนในช่วงนั้น ที่บอกว่าคลาสสิกก็เพราะเป็นการเขียนเกี่ยวกับพฤติกรรมมนุษย์ที่ไม่ว่าเหตุการณ์ผ่านไปกี่ปีก็ยังเหมือนเดิม

เขากล่าวว่า การเปลี่ยนแปลงก่อให้เกิดความขัดแย้ง ดังนั้นการเปลี่ยนแปลงต้องเกิดจาก ความจำเป็นไม่ใช่เปลี่ยนเพราะอยากเปลี่ยน

การเปลี่ยนแปลงต้องเริ่มจากใจ หากใจของบุคลากรไม่ยอมรับการเปลี่ยนแปลงแล้วก็อาจจะเปลี่ยนแปลงยาก ควรยึดหลัก "เอาใจเขามาใส่ใจเรา"

ควรเปลี่ยนแปลงทีละขั้น ดึงผู้ต่อต้านการเปลี่ยนแปลงให้มาอยู่ใกล้ตัวและลงดาบเมื่อ จำเป็นเพื่อสร้างการยอมรับ

งานเขียนในคอลัมน์นี้ต่อมาในภายหลังได้ถูกรวมเล่มไว้ในหนังสือชื่อ "คิดเชิงกลยุทธ์"

ผลงานในหนังสือเล่มนี้จัดว่าคลาสสิกเพราะไม่ยึดติดกับเหตุการณ์ และเน้นการเขียนเพื่อทำความเข้าใจพฤติกรรมมนุษย์เป็นหลักเพื่อนำไปสู่การวางกลยุทธ์องค์กรและธุรกิจ

ห้วงเวลาแห่งการเขียนคอลัมน์ให้ผู้จัดการรายสัปดาห์นั้น ถือเป็นห้วงที่เขาตกผลึกเพราะเป็นกุนซือให้ไทคูนธุรกิจในหลายอุตสาหกรรม ถึงการเป็นอนุกรรมการตลาดหลักทรัพย์ ทำให้เขาเห็นทั้งภาพรวมและภาพย่อยอย่างชัดเจน

งานเขียนในห้วงนี้จึงคลาสสิก ดังนั้นหากใครต้องการทำความเข้าใจในความคิดของเขาก็ต้องอ่านงานในช่วงนี้ก็จะเห็นชัดเจนว่า เขาได้ดำเนินแผนการตามที่เขาเขียนไว้ในบทความ นั่นเอง


The Marketing of Nations

หลังจากเขียน The New Competition เมื่อต้นทศวรรษ 1980 ดร.สมคิดไม่ได้เขียนงาน กับคอตเลอร์อีกเลย ทั้งๆ ที่หากจะว่าไปแล้วทั้งความคิด ประสบการณ์และข้อมูลของเขาตก ผลึกมากกว่าช่วงที่เขียน The New Competition มากนัก

จนกระทั่งกลางทศวรรษ 1990 เมื่อคอตเลอร์ต้องการประยุกต์การตลาดมาใช้ใน การสร้างความมั่งคั่งของประเทศ ศิษย์เอกคน แรกที่คอตเลอร์นึกถึงก็คือ ดร.สมคิด เพราะเขาเป็นศิษย์คนเดียวที่เชี่ยวชาญด้านกลยุทธ์มากกว่าคนอื่นๆ

ดร.สมคิด ดึงสุวิทย์ เมษินทรีย์ ศิษย์โปรดที่เรียนเอ็มบีเอกับเขาที่นิด้าให้มาร่วมเขียนหนังสือเล่มนี้ เขาแนะให้สุวิทย์โยกจากการเรียนปริญญาเอกเศรษฐศาสตร์ที่สกอต แลนด์ให้มาเรียนที่เคลล็อก โดยเขาพาไปฝาก ฝังกับคอตเลอร์ด้วยตนเอง

สุวิทย์นั่งเขียนกรอบการเขียนหนังสือ เล่มใหม่กับ ดร.สมคิด ที่ห้องสมุดมหาวิทยา ลัยนอร์ธเวสเทิร์นนั่นเอง จนกระทั่งได้กรอบที่แน่นอนแต่แล้วในภายหลังได้เปลี่ยนใหม่

The Marketing of Nations เป็นเสมือน หนึ่งภาคต่อของ Competitve Advantages of Nations ซึ่งเป็นหนังสือเล่มสามของในไตรมาส Competition ของพอร์เตอร์ โดยคอตเลอร์สบ ช่องเห็นว่าการตลาดก็สามารถนำมาใช้ในระดับประเทศได้เช่นกัน อย่างไรก็ตาม เมื่อออกมาเป็นหนังสือแล้วกลับกลายเป็นว่าเกือบ ไม่มีกลิ่นอายการตลาดหลงเหลืออยู่เลย แต่เป็นวิชา Strategic Planning มาปรับใช้ในระดับประเทศ

แม้หนังสือเล่มนี้จะไม่โด่งดังเท่าหนังสือเล่มแรกที่เขียนกับคอตเลอร์ เพราะหนังสือเล่มนี้ออกมาช้าเกินไปเนื่องจากปีที่วางตลาดนั้น (2540) เศรษฐกิจไทยล่มและโดมิโนไปสู่อีกหลายประเทศในเอเชียแต่ทว่า The Marketing of Nations ก็เป็นประจักษ์พยานยืนยันแนวความคิดที่นำการวางกลยุทธ์ มาใช้ในระดับประเทศ

กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ ดร.สมคิด ได้นำ ทฤษฎีและกรอบความคิดในหนังสือเล่มนี้มาใช้ร่างนโยบายและนำวิธีการทางกลยุทธ์มาใช้ approach ในการแก้ปัญหาประเทศ

หากใครต้องการดูว่าแนวนโยบายด้าน การลงทุนกลุ่มอุตสาหกรรม (industrial cluster) และพอร์ตโฟลิโอของอุตสาหกรรม นโยบายด้านการค้า ฯลฯ ก็อ่านจากภาคสามของหนังสือเล่มนี้ได้

อาจกล่าวได้ว่าร่องรอยความคิดจากหนังสือเล่มนี้คือพิมพ์เขียวของนโยบายพรรค ไทยรักไทยก็ได้

หากจะมีข้ออ่อนนอกจากออกผิด จังหวะแล้ว ก็น่าจะสาเหตุมาจากไม่มีการทำ วิจัยสนับสนุนซึ่งเป็นจุดแข็งของ Competitve Advantages of Nations ของพอร์เตอร์ยังได้รับการยึดถือมาจนกระทั่งทุกวันนี้ แต่ทว่าดร.สมคิดและดร.สุวิทย์กำลังนำกรอบและความคิดของตนเองมาใช้กับการวางกลยุทธ์ระดับประเทศจริงๆ ในขณะนี้ ซึ่งในอนาคตหากมีการปรับปรุงหรือเขียนหนังสือเล่มใหม่ก็จะมีเนื้อหา และตัวอย่างรวมถึงการทำงานวิจัยที่เร้ามากยิ่งขึ้น


บริษัทประเทศไทย

กล่าวสำหรับคอลัมน์ในหน้าหนังสือ พิมพ์นั้น ดร.สมคิด โยกการเขียนจากผู้จัดการ รายสัปดาห์มาเปิดคอลัมน์ในผู้จัดการรายวัน โดยเขียนร่วมกับดร.สมชายตลอดทุกวันจันทร์ ในปี 2537 ขณะเดียวกันก็เปิดคอลัมน์ในนิตยสาร Property Market ด้วย

และเปิดคอลัมน์ในนิตยสาร Corporate Thailand ในปี 2539-2540 หลังจากหยุดเขียนในผู้จัดการและ Property Market แล้ว

การเขียนในผู้จัดการรายวันสะท้อนความคิดของ ดร.สมคิด ที่รู้เห็นความเป็นไปของธุรกิจในทุกเซ็กเตอร์และในช่วงนั้นกำลังเป็นกุนซือทางการเมืองของดร.ทักษิณ ชินวัตรด้วย

เขามองเศรษฐกิจฟองสบู่ของไทยในช่วงนั้นด้วยความเป็นห่วง เพราะทุกคนคิดแต่ได้ไม่เคยคิดว่าวันหนึ่งฟองสบู่จะแตก การเขียนในช่วงนั้นนอกจากจะให้ความรู้ด้านกลยุทธ์ และการจัดการแล้วก็เป็นการเขียนในลักษณะเตือนสติและชี้ให้เห็นถึงประเด็นที่น่าเป็นห่วง เช่น เมื่อเขียนถึงตลาดหุ้นก็กล่าวถึงประเด็นคุณธรรมและจริยธรรม อีกทั้งยังหยิบยกกรณีบีบีซี และการล่มสลายของบีบีซีมาเป็นอุทาหรณ์

ขณะที่การเขียนในช่วง Corporate Thailand จะเน้นประเด็นกลยุทธ์และการแข่งขันเป็นแกนหลัก

ในช่วงนั้นจะเห็นแนวคิดทางการเมืองปรากฏในข้อเขียนค่อนข้างชัดเจน ซึ่งปรากฏใน ข้อเขียนสองชิ้นคือ "จากสิงคโปร์สู่ประเทศไทย" และ "การตลาดระดับประเทศ ตัวอย่างจาก สิงคโปร์"

เห็นได้ชัดเจนว่าเขาชื่นชมปรัชญาการบริหารและความเป็นผู้นำของสิงคโปร์ และมีแนวโน้มว่าจะยึดสิงคโปร์เป็นแม่แบบในการพัฒนาประเทศไทยด้วย

เนื่องจากการเขียนใน Corporate Thailand อยู่ในห้วงแห่งเศรษฐกิจใกล้ล่มสลาย เขาได้แสดงความเห็นต่อการแก้วิกฤติไว้อย่างน่าสนใจนั่นคือ การนำการตลาดมาใช้ในการแก้วิกฤติประเทศ

ที่ Corporate Thailand เขาได้เขียนบทความชิ้นสำคัญไว้ด้วยนั่นคือ การตลาดเพื่อการ เมืองหรือ Political Marketing ซึ่งก็คือ พิมพ์เขียวที่พรรคไทยรักไทยใช้ในการรณรงค์การเลือก ตั้งที่ผ่านมา

ข้อเขียนที่ตีพิมพ์ในผู้จัดการรายวัน รายสัปดาห์ Property Market และ Corporate Thailand ถูกนำมาตีพิมพ์รวมเล่มในหนังสือชื่อ "บริษัทประเทศไทย" ซึ่งเป็นหนังสือเล่มล่าสุด

ชื่อหนังสือเล่มนี้ได้สะท้อนให้เห็นถึงปรัชญาการบริหารของเขาอย่างชัดเจน นั่นคือมอง ประเทศไทยเป็นบริษัทและนายกฯ คือ CEO ซึ่งเป็นวิถีที่ผู้นำไทยกำลังเดินอยู่ในขณะนี้

บริษัทประเทศไทยจะถูกตีพิมพ์ใหม่ในชื่อ "วิสัยทัศน์ ขุนคลังสมคิด"

หลังจากบริษัทประเทศไทย ไม่มีหนังสือใหม่ของดร.สมคิดออกมาอีกแล้ว

เพราะหมดเวลาเขียนหนังสือ ถึงเวลาทำงานจริง แล้ว!!!

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us