Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ เมษายน 2544








 
นิตยสารผู้จัดการ เมษายน 2544
ประสบการณ์ที่สหพัฒนฯ โลกของการค้านอกตำรา             
 

   
related stories

สมคิด จาตุศรีพิทักษ์
"ผมจะ reform ประเทศ"
ใคร...? เป็นใคร... ? 10+2+1 ที่ปรึกษาขุนคลัง
ตลาดหุ้น จุดเริ่มต้นการบ่มเพาะ
หนังสือและความคิด ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์
"ความยากจน" เบ้าหลอมชีวิตในวัยเยาว์ ของสมคิด จาตุศรีพิทักษ์
แฟมิลี่แมน "สำหรับผม ไม่มีอะไรสำคัญเท่าครอบครัว"
อนุรัชนี จาตุศรีพิทักษ์ ผู้หญิงของรัฐมนตรีคลัง

   
search resources

บุณยสิทธิ์ โชควัฒนา
สมคิด จาตุศรีพิทักษ์




ดร.สมคิดอธิบายเส้นทางเดินในชีวิตของเขาที่กว่าจะมาถึงจุดตรงที่นั่งอยู่ปัจจุบันกับทีมงาน "ผู้จัดการ" ด้วยวิธีการทำมือชี้วกไปเวียนมาพร้อมกับบอกว่าเหมือนเดินบนเขาวงกต กว่าจะถึงจุดหมายปลายทางไม่ง่ายเลย ไม่ได้เดินเป็นเส้นตรงเหมือนบางคนที่เพียบพร้อมด้วย ทรัพย์ศฤงคาร แต่ก็ใช่ว่าจะเสียเวลาหรือเปล่าประโยชน์ ตรงกันข้ามกลับทำให้เขาได้เรียนรู้โลกของเศรษฐกิจและธุรกิจตลอดจนผู้คนใน มิติที่หลากหลายชนิดยากที่บางคนจะมีโอกาส ดีเช่นเขา ซึ่งกลายเป็นทรัพย์สินที่ประเมินค่า ไม่ได้ที่ติดตัวเขา กล่าวได้ว่าเขาเป็นขุนคลังคนหนึ่งที่รู้เรื่องธุรกิจอย่างทะลุปรุโปร่งทีเดียว

ในบรรดาเส้นทางที่คดเคี้ยวของเขา สนามธุรกิจที่เขาได้มีโอกาสไปประลองและถือว่าท้าทายต่อทฤษฎีทางธุรกิจที่เขาเรียนรู้มามากที่สุดก็คือ การได้ร่วมงานกับกลุ่มสห-พัฒนพิบูล ในฐานะ "กรรมการ" ของ ไอซีซี หรือชื่อเต็มๆ ว่า บริษัท อินเตอร์เนชั่นแนล คอสเมติก จำกัด (มหาชน) เมื่อ 13 ปีที่แล้ว

ดร.สมคิดในฐานะลูกศิษย์คนเก่งของ นักวิชาการด้านการตลาดชื่อดังของโลกอย่าง
"ฟิลิป คอตเลอร์" ผู้มีงานเขียนร่วมกับอาจารย์ของเขาทันทีที่เรียนจบ ย่อมเป็นที่จับตาของวงการวิชาการไทย นักศึกษาบริหารธุรกิจของนิด้าในยุคนั้นย่อมไม่อยากพลาดที่จะเรียนกับอาจารย์หนุ่มไฟแรงคนนี้ รวมไปถึงนักธุรกิจที่มาเรียนในโครงการ Ex-MBA ภาคค่ำ ที่ธรรมศาสตร์ด้วย ชื่อเสียงของ เขาจึงเริ่มเป็นที่รู้จักของวงการธุรกิจไทย

วันหนึ่งเขาจึงได้รับเชิญให้ร่วมรับประทานอาหารกับ "นายห้างเทียม โชควัฒนา" และผู้บริหารในเครือสหพัฒนฯ คนที่ได้รับเชิญไปด้วยก็คือ ศ.สังเวียน อินทรวิชัย ผู้อำนวยการโครงการ Ex-MBA ธรรมศาสตร์ ผู้ที่ชักชวนเขาไปสอนหนังสือกับโครงการนี้ การพูดคุยเป็นไปอย่างออกรส และถูกอัธยา- ศัยกัน หลังจากนั้นไม่กี่วันบุณยสิทธิ์ก็โทรมาชวนเขาเป็นกรรมการเครือสหพัฒนฯ โดยให้เลือก ว่าจะนั่งเป็น "กรรมการ" ของบริษัทใดระหว่าง เอสพีไอ หรือ ไอซีซี เขาตัดสินใจเลือก "ไอซีซี" เพราะเป็นบริษัทที่มีสินค้าหลากหลายและเป็น Marketing Oriented ซึ่งท้าทายกว่าบริษัทลงทุนอย่างเอสพีไอ

และที่ไอซีซีนี่เอง ที่ทำให้เขารู้จักกับคนที่ชื่อว่า บุณยสิทธิ์ โชควัฒนา ในฐานะผู้ก่อตั้ง และประธานกรรมการบริษัท และรู้จักกับโลกของการตลาดนอกตำรา ดร.สมคิดเปิดใจถึงสิ่งที่เขาได้เรียนรู้กับ "ผู้จัดการ" ว่า

"ก็มีโอกาสไปเรียนรู้สไตล์ของกลุ่มสหพัฒนฯ ก็พบว่าไอ้ที่เราเรียนมันผิด มันต้องมี Mixture นี่คือธุรกิจแบบจีน เขาแบ่งอย่างไร เวลาทำงานเราเห็น ไอ้ที่เราเรียนมาในมหาวิทยาลัย อย่างนั้นอย่างนี้ มิน่ามันถึงเจ๊งเป็นแถวเลย ไอ้นี่มันของจริง แข่งขันกันหนัก ตลาดมันเป็นอย่างนี้ เวลาเขาจะออกสินค้าตัวหนึ่ง เขาขนทีมกันมาทั้งทีม ถกกันไป อย่างเพี้ยซจะออกคอนเซ็ปต์หนึ่งออกมา ผมนั่งฟังเพราะเขาต้องมา present ผมก่อน ผมฟังเขา present อย่างวาโก้มัน inside out เพราะทั้งวันคิดแต่เรื่องของยกทรง แล้วเวลาที่เขาคิดกัน ทำให้รู้เลยว่า ทำไมวาโก้มันถึงกินตลาดหมด พวกนี้มันซึมเข้ามาในเรื่องมาร์เก็ตติ้ง เรารู้ว่าแอร์โรว์เป็นอย่างไร ไอซีซีสินค้ามันชนชั้นสูง สหพัฒนพิบูลสินค้าชนชั้นล่าง เป็นอีกแบบหนึ่ง เราก็ซึมซับเรื่องของ consumer
market"

ดร.สมคิด ถือว่าตัวเองโชคดีมากที่มีโอกาสได้เรียนรู้การบริหารธุรกิจสไตล์จีน ที่มีความ ยืดหยุ่นสูงและพลิกแพลงสูงมาก ซึ่งแตกต่างไปจากที่เขาได้เรียนจากตำรา ซึ่งเป็นการบริหาร แบบฝรั่ง

นอกจากนี้เขายังได้มีโอกาสเรียนรู้หลักคิดของนายห้างเทียมผู้ทำการค้าจากสองมือเปล่า แต่ค่อยๆ เรียนรู้ทีละขั้น สร้างองค์กรจนเติบใหญ่และมั่นคง ในบรรดาหลักคิดที่มากหลายของนายห้างนั้น มีอยู่สองข้อที่เขาประทับใจมาก และกล่าวถึงให้ "ผู้จัดการ" ฟังคือ มากคนมากวาสนา และคนตัวเล็กต้องทำให้ ใหญ่ แต่คนตัวใหญ่ต้องทำตัวให้เล็ก ซึ่งเขานำมาใช้กับชีวิตและการทำงานของเขาเอง

ส่วนบุณยสิทธิ์ หรือที่คนทั้งเครือเรียก เขาว่า "เสี่ยเซี้ยง" นั้น เป็นคนที่ ดร.สมคิดทำงานด้วยโดยตรง เป็นบุคคลที่เขาชื่นชมใน ความสามารถมาก ในการทำงานหนัก มองการณ์ไกล และเฉียบคมในการทำธุรกิจ ซึ่งเขายอมรับว่าเรียนรู้จากบุคคลผู้นี้ไม่น้อย ขณะที่บุณยสิทธิ์เองก็มีดร.สมคิดเป็นที่ปรึกษา คู่ใจมากว่า 10 ปี จึงไม่น่าแปลกใจที่เมื่อดร.สมคิดถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักในวันแรกๆ ที่รู้ว่าเขาจะมานั่งในตำแหน่งนี้ เสี่ยเซี้ยงออกมาการันตีความสามารถของดร.หนุ่ม คนนี้ทันทีว่า เป็นคนมีความรู้ความสามารถเพียงพอ เป็นนักการตลาดและนักกลยุทธ์ ที่เข้าใจพฤติกรรมมนุษย์อย่างลึกซึ้ง และการที่อยู่กับเครือสหพัฒนฯ และบริษัทเอกชนอื่นๆ ทำให้รู้เรื่องเศรษฐกิจและธุรกิจเป็นอย่างดี ไม่ใช่หัวดื้อที่ไม่ฟังใคร ทำงานร่วมกับทุกคนได้ดี แถมยังเปรียบเทียบกับธารินทร์ว่า น่าจะดีกว่าตรงที่มีความเป็นนักการตลาด นักกลยุทธ์ที่ติดดิน ทำให้หาทางออกของปัญหา อยู่ตลอดเวลา ขณะที่ธารินทร์นั้น เป็นพวกฟอร์มสูง ทำงานสไตล์ฝรั่งที่มีลักษณะหัวชนฝา และยังกล่าวชมทักษิณที่ตาถึงเลือกคนได้ เหมาะกับงาน

บุณยสิทธิ์เล่าถึงบทบาทของดร.สมคิด ในฐานะกรรมการที่คอยให้คำปรึกษากับ "ผู้จัดการ" ฟังว่า "เขาจะช่วยให้ความเห็นในทางวิชาการ ช่วยอบรมพนักงานของเรา ช่วย ผมดูเรื่องการตั้งเป้าหมายของสินค้า รวมถึงมองเกมการตลาด นอกจากนั้นแล้วยังให้คำปรึกษาในเรื่องภาพรวมของเศรษฐกิจ ว่าปีหน้าหรือปีนี้จะเป็นอย่างไร ช่วยเราเล็งไปข้างหน้าว่า ช่วงไหนควรรุก ช่วงไหนควรถอย อย่างเรื่องวิกฤติเศรษฐกิจที่เกิดขึ้น ดร.สมคิด เคยบอกผมตั้งแต่ปี 2538 แล้วว่า บ้านเราจะเกิด asset clash ซึ่งตอนแรกก็ยังไม่เข้าใจว่ามันเป็นอย่างไร ดร.สมคิดอธิบายเรื่องการเสื่อมค่าของสินทรัพย์อันเกิดจากปัญหาทางเศรษฐกิจ ผมก็เข้าใจและทำให้ผมลงทุนไม่มาก รวมทั้งได้คิดนโยบายการตลาดแนวใหม่ ซีโร่มาร์เก็ตติ้ง โดยไม่สนใจว่าคู่แข่งจะโตกี่เปอร์เซ็นต์ แต่กลุ่มของเราเอาแค่ศูนย์ ทำให้ เราไม่เจ็บตัวกับวิกฤติเศรษฐกิจ"

นอกจากเขาจะนั่งเป็นกรรมการไอซีซี แล้ว เขายังมีโอกาสไปนั่งอีกหลายบริษัทในเครือ เช่น เอสพีไอ อินเตอร์ฟาร์อีสต์ แอดเวอร์ไทซิ่ง กรรมการไทยเพรซิเดนท์ฟูดส์และ ที่ไทยเพรซิเดนท์ฟูดส์นี้เอง เขาได้รับความไว้ วางใจให้ดำรงตำแหน่งกรรมการบริหารด้วยในปี 2541 ก่อนที่จะลาออกมาสู่สนามการ เมืองเต็มตัว ในปี 2542

ว่าไปแล้วบนเส้นทางการเรียนรู้ของทั้ง บุณยสิทธิ์และเครือสหพัฒนฯ กับ ดร.สมคิด ต้องถือว่าต่างก็ถ่ายเทความรู้ซึ่งกันและกัน ดร.สมคิดได้เรียนของจริงนอกตำรา ขณะเดียวกันวิธีการมองสถานการณ์โดยมีพื้นฐาน ทฤษฎีก็ช่วยเครือสหพัฒนฯ ได้ทั้งในระดับ Macro และ Micro ขณะนี้แม้ว่า ดร.สมคิดลาออกจากทุกตำแหน่งในเครือ เพื่อไปเป็นเสนาบดีคลัง การเกื้อกูลกันก็ยังไม่สิ้นสุด จากที่บุณยสิทธิ์ไปช่วยเป็นที่ปรึกษารัฐมนตรี ขณะที่หาก ดร.สมคิดและพรรคไทยรักไทยแก้ปัญหาเศรษฐกิจสำเร็จ อานิสงส์นั้นย่อมตกแก่คนไทยทั้งชาติ และแน่นอนเมื่อคนไทย ลืมตาอ้าปากสินค้าของเครือสหพัฒนฯ ย่อมขายดี เฉกเช่นเดียวกับซีพี และธุรกิจอื่นๆ ด้วย จึงไม่น่าแปลกใจที่กลุ่มธุรกิจพากันเอาใจช่วยรัฐบาลชุดนี้

อย่างนี้แหละที่เขาเรียกว่า Win-Win Situation หรือว่าได้ประโยชน์ด้วยกันทุกฝ่ายนั่นเอง

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us