Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน4 ธันวาคม 2546
ปล่อยข่าวค่าต๋งITVปั่นหุ้น             
 


   
search resources

ไอทีวี, บมจ.
ยูไนเต็ด บรอดคาสติ้ง คอร์ปอเรชั่น, บมจ.
เกียรตินาคิน, บง.
สำนักงานอัยการสูงสุด
สำนักปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี
วิษณุ เครืองาม
ยงยุทธ์ สาระสมบัติ
ชัยเกษม นิติศิริ
Stock Exchange




"อนุญาโตตุลาการ-วิษณุ เครืองาม-สำนักปลัดฯ" เรียงหน้าปฏิเสธข่าวไอทีวีได้ลดค่าสัมปทานจากรัฐกว่า 2 หมื่นล้าน "ชัยเกษม" เชื่อมีคนปล่อยข่าวปั่นหุ้น เพราะคณะอนุญาโตตุลาการยังไม่มีการชี้ขาด "ยงยุทธ" ลั่น หากอนุญาโตฯตัดสินให้ไอทีวีชนะ สำนักปลัดฯจะคัดค้าน ครป.จับตาใกล้ชิด

จากกรณีที่มีการเสนอข่าวว่า คณะอนุญาโตตุลาการได้พิจารณาตัดสินข้อพิพาทระหว่างสำนักปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี (สปน.) และสถานีโทรทัศน์ไอทีวี กรณีที่ไอทีวีเสนอขอแก้สัญญาสัมปทานเพื่อปรับลดค่าตอบแทนให้รัฐบาล ไอทีวีให้เหตุผลว่า เมื่อเทียบกับเอกชนรายอื่นสัญญาการจ่ายผลตอบแทนดังกล่าวสูงเกินไป

นายชัยเกษม นิติศิริ อธิบดีฝ่ายที่ปรึกษาสำนักงานอัยการสูงสุด อนุญาโตตุลาการฝ่ายสำนักปลัดสำนักนายก-รัฐมนตรี เปิดเผยว่าขณะนี้คณะอนุญาโตตุลาการ ยังไม่ได้มีการตัดสินใดๆ ทั้งสิ้น เพราะยังไม่มีการ แถลงปิดคดีและยังไม่รู้ว่าจะต้องหารือกันอีกกี่นัด

ที่ผ่านมาเพิ่งเสร็จสิ้นขั้นตอนสืบพยานทั้งสองฝ่าย ต่อไปคณะอนุญาโตตุลาการ จะต้องให้ โอกาสทั้งสองฝ่ายมาแถลงปิดคดีเพื่อสรุปเรื่องของแต่ละฝ่ายอีกครั้ง และเมื่อแถลงปิดคดีเสร็จ ก็จะส่งไปให้คณะอนุญาโตตุลาการพิจารณาวินิจ-ฉัย ซึ่งก็ต้องมีการนัดแต่ละฝ่ายมาคุยในประเด็น ต่างๆ ซึ่งขณะนี้ยังไม่มีการเริ่มคุยกัน

ส่วนการนัดทั้ง 2 ฝ่ายมาแถลงปิดคดี ขึ้นอยู่กับว่า แต่ละฝ่ายจะมีเวลาว่างในวันไหน อย่าง ไรก็ตาม ขั้นตอนดังกล่าวจนถึงขั้นตอนการตัด สินคาดว่าจะอยู่ภายในเดือนม.ค.2547

"ข่าวที่ออกมาผมไม่ทราบว่า ออกมาได้อย่าง ไร ทั้งยังบอกอีกว่าคณะอนุญาโตตุลาการได้ตัดสินไปแล้ว ซึ่งไม่เป็นความจริง จึงเชื่อว่าผู้ที่ให้ ข่าวหวังปั่นหุ้นไอทีวี" นายชัยเกษมกล่าว

นายชัยเกษม กล่าวว่าเป็นไปไม่ได้ที่มีผู้รู้คำ ตัดสินของคณะอนุญาโตตุลาการก่อนเพราะตราบ ใดที่ยังไม่มีการตัดสินก็จะไม่รู้ว่าผลจะออกมาอย่างไร แต่ถ้าเป็นในสำนวนทั่วๆ ไปอาจจะมีคน รู้มาก ทั้งในส่วนของไอทีวีและสำนักปลัดฯก็รู้ข้อมูลกันทั้งหมด

"เพิ่งผ่านขั้นตอนสืบพยาน จึงยืนยันได้ว่า ยังไม่มีการวินิจฉัยชี้ขาด ผมไม่ทราบว่าข่าว ออกไปได้อย่างไรทั้งที่กระบวนการยังไม่จบ" นาย ชัยเกษมกล่าว

สำหรับคณะอนุญาโตตุลาการ นอกจากนาย เกษมแล้วยังมี นายประดิษฐ์ เอกมณี อดีตอธิบดี ผู้พิพากษาศาลอาญา และนายจุมพต สายสุนทร อาจารย์จากคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรม-ศาสตร์

ผู้สื่อข่าวรายงานว่าก่อนหน้าที่จะมีข่าวดังกล่าวออกมาเพียง 2 วัน มีคนกลุ่มหนึ่งชักจูงและปล่อยข่าวให้นักเล่นหุ้นซื้อหุ้นของไอทีวี โดย บอกว่า อีกไม่กี่วันหุ้น ITV จะขึ้นเพราะได้ลดค่า สัมปทาน ส่งผลให้เมื่อวันที่ 2 ธ.ค. ที่ผ่านมา หุ้น ITV เคลื่อนไหวค่อนข้างหวือหวาในแดนบวก โดยราคาเพิ่มขึ้นสูงสุดระหว่างวันที่ 17.8 บาทต่อหุ้น ก่อนปิดตลาดที่ 16.80 บาท เพิ่มขึ้น 12.75% หรือบวก 1.90 บาท มูลค่าการซื้อขายอันดับ 1 คือ 2,928 ล้านบาท

ในขณะที่วานนี้ (3 ธ.ค.) ปิดตลาดปรับตัวลดลง 0.6% หรือลบ 0.10 บาท ปิดตลาดที่ 16.70 บาท มูลค่าการซื้อขาย 992 ล้านบาท

นักวิเคราะห์หลักทรัพย์ บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) เกียรตินาคิน กล่าวว่า การที่ราคาหุ้นไอทีวี ลดลงเมื่อวันที่ 3 ธ.ค. เนื่องจากเริ่มเห็นว่า เรื่องการลดค่าสัมปทานยังไม่ชัดเจน และเมื่อบริษัท ยูไนเต็ด บรอดคาสติ้ง คอร์ปอเรชั่น (UBC) ซึ่ง กำลังพยายามขอมีโฆษณาในเคเบิลทีวีของบริษัท และขอลดค่าสัมปทาน ได้ยืนยันว่ายังไม่มีการอนุมัติให้เคเบิลทีวีของบริษัทมีโฆษณาได้

"ความเป็นไปได้ที่ไอทีวีจะได้รับอนุมัติให้ลด ค่าสัมปทาน คงยาก อย่างน้อยที่สุดขณะนี้ ทำให้ นักลงทุนที่เก็งกำไรก่อนหน้านี้ เทขายหุ้นออกมา ราคาหุ้นจึงปรับลดลง สวนภาวการณ์ลงทุนตลาด หุ้นไทยโดยรวมวานนี้"

ในกรณีที่ไอทีวีได้ลดค่าสัมปทานเหลือเท่ากับที่ช่อง 7 จ่ายให้ภาครัฐฯ คือลดประมาณ 80% และมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ปี 2547 ไอทีวีจะเริ่ม มีกำไรสุทธิทันที 233 ล้านบาทปีหน้า การคำนวณ ราคาเหมาะสมไอทีวีปีนี้ประมาณ 19 บาท และปีหน้าประมาณ 20.90 บาท แต่หากได้ลดค่าสัมปทาน 25-50% ไอทีวีจะทำกำไรได้ปี 2548 ประมาณ 45-245 ล้านบาท และราคาเหมาะสมของไอทีวีปีนี้ 11.10-17 บาท และราคาปี 2547 ประมาณ 15.20-17.60 บาท

นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี กล่าวว่ายังไม่ทราบเรื่องที่คณะอนุญาโตตุลาการได้ตัดสินข้อร้องเรียนของไอทีวีไปแล้ว โดยเห็นข่าวทางหน้าหนังสือพิมพ์

"ผมเรียกพ.ต.ต.ยงยุทธ สาระสมบัติ ปลัด สำนักนายกรัฐมนตรี มาชี้แจง ปรากฏว่าพ.ต.ต. ยงยุทธยังตกใจ เมื่อเห็นข่าว" นายวิษณุกล่าว

สำนักปลัดฯตั้งป้อมค้าน!

พ.ต.ต.ยงยุทธ เปิดเผยว่า สำนักปลัดฯยืนยันจะคัดค้านหากผลออกมาว่าไอทีวีชนะ และเท่าที่ฟังการชี้แจงของ นายรองพล เจริญพันธุ์ รองปลัดสำนักนายกฯ ก็ให้ความมั่นใจว่าจะชนะ ซึ่งนายรองพล ถือได้ว่าเป็นมือ 1 ด้านกฎหมายของสำนักปลัดฯ

"ตามยุทธศาสตร์แล้ว เราเองก็ไม่จำเป็นต้อง บอกว่าเพราะเหตุผลใดจึงทำให้มั่นใจว่าจะชนะคดี เรื่องอย่างนี้มันต้องรอบคอบ และอนุญาโตตุลาการของเราก็เก่ง มีความเชี่ยวชาญด้านกฎหมายเป็นอย่างดี" พ.ต.ต.ยงยุทธกล่าว

อย่างไรก็ตาม สำนักปลัดฯยังไม่รับทราบการวินิจฉัยดังกล่าว เพราะคณะอนุญาโตตุลา การยังไม่ได้ตัดสิน และจากการสอบถามเจ้าหน้าที่ ทราบว่าสำนักปลัดฯเพิ่งจะได้รับหนังสือจากสำนักงานคดีแพ่ง สำนักงานอัยการสูงสุด แจ้งว่า เมื่อวันที่ 14 พ.ย. 2546 ได้มีการสืบพยานฝ่ายผู้คัดค้านจากสำนักปลัดฯ ซึ่งสำนักปลัดฯได้แถลง หมดพยาน

ล่าสุดเมื่อวันที่ 1 ธ.ค.ที่ผ่านมา พนักงานอัยการได้แถลงหมดพยานคดี และคณะอนุญาโต ตุลาการได้แจ้งให้ผู้เรียกร้องและผู้คัดค้านทราบว่า หากคู่พิพาทประสงค์จะยื่นคำแถลงปิดคดีก็ให้ยื่น ภายใน 30 วันนับจากวันที่ 14 พ.ย.ที่ผ่านมา ซึ่ง จะครบกำหนด 30 วันในวันที่ 14 ธ.ค. 46 หากไม่ยื่นภายในกำหนดถือว่าไม่ติดใจ แต่เวลานี้ยังไม่ครบกำหนด

พ.ต.ต.ยงยุทธ กล่าวว่าเมื่อคณะอนุญาโต ตุลาการมีคำชี้ขาดแล้ว จะส่งคำชี้ขาดต่อสถาบันอนุญาโตตุลาการ และให้สถาบันอนุญาโตตุลาการ ดำเนินการส่งสำเนาคำชี้ขาด ให้คู่พิพาททั้ง 2 ฝ่าย โดยเร็ว ส่วนเรื่องการแถลงปิดคดีนั้น ทางสำนัก ปลัดฯจะยื่นแถลงปิดคดี โดยจะเป็นการแถลงผล การสืบพยานที่ผ่านมาทั้งหมดเป็นอย่างไร ควรจะชนะเพราะอะไร

ส่วนข่าวที่ออกมาก่อนที่อนุญาโตตุลาการจะชี้ขาดเช่นนี้ หลายฝ่ายมองว่าเป็นการปล่อยข่าว เพื่อปั่นหุ้นไอทีวีนั้น พ.ต.ต.ยงยุทธ ปฏิเสธว่าไม่ทราบ

"ผมวิจารณ์ไม่ได้ เพราะไม่ได้เล่นหุ้น ไม่รู้เรื่องหุ้น"

พ.ต.ต.ยงยุทธอธิบายว่า ถ้าสำนักปลัดฯไม่เห็นด้วยกับคำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการ และสำนักปลัดฯพิจารณาแล้วมีเหตุอันควรสงสัยว่าคำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการ ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ที่ใช้บังคับกับข้อพิพาท หรือเป็นคำชี้ขาดที่เกิดจากการกระทำ หรือวิธีการไม่ชอบด้วยเหตุอย่างหนึ่งอย่างใด หรือไม่ได้อยู่ในขอบเขตแห่งสัญญาอนุญาโตตุลาการ สำนักปลัดฯ จะต้องดำเนินการตามหลักเกณฑ์ของระเบียบสำนักนายกฯว่าด้วยการปฏิบัติตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2544

โดยส่งสำเนาคำชี้ขาดดังกล่าว พร้อมทั้งคำ ชี้แจงประกอบเหตุอันควรสงสัยนั้น ให้กระทรวง การคลัง เพื่อขอความเห็นภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้รับคำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการ

นอกจากนี้ต้องแจ้งให้บริษัทคู่พิพาททราบถึงการดำเนินการดังกล่าวด้วย เพราะกระทรวงการคลัง จะเป็นผู้พิจารณาว่าต้องจ่ายเงินชดเชยหรือไม่ อย่างไร หากกระทรวงการคลังมีความเห็น อย่างไร สำนักปลัดฯจะต้องนำเรื่องเสนอเข้าสู่ที่ประชุมครม.ต่อไป

ครป.-ฝ่ายค้านจับตาใกล้ชิดหวั่นตามรอยค่าโง่ทางด่วน

นายสุริยะใส กตะศิลา เลขาธิการคณะกรรม การรณรงค์เพื่อประชาธิปไตย (ครป.) กล่าวว่า หากพิจารณาสัญญาสัมปทานไอทีวีพบว่าบริษัท ไอทีวี ต้องจ่ายค่าสัมปทานให้ภาครัฐปีละกว่า 600 ล้านบาท เป็นระยะเวลา 30 ปี ถ้าอนุญาโตตุลา- การตัดสินให้ไอทีวีชนะจริงๆ รัฐต้องสูญเสียรายได้ไปกว่า 2 หมื่นล้านบาท

"คำถามก็คือว่าถ้าต่อไปเอกชนผู้เข้าประมูล งานจากภาครัฐ ตั้งราคาประมูลไว้สูงๆ เหนือคู่แข่ง แล้วในวันข้างหน้าก็หาทางไปล็อบบี้ภาครัฐให้ลดค่าสัมปทาน แล้วถามว่าอย่างนี้ประเทศชาติจะเสียประโยชน์หรือไม่ ที่สำคัญคำตัดสินของอนุญาโตตุลาการ ที่ยังไม่เป็นทางการ ยังได้ระบุให้ภาครัฐต้องจ่ายค่าชดเชยให้กับไอทีวี อีก 1,000 ล้านบาทนั้น น่าเคลือบแคลงสงสัยมาก"

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us