Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ เมษายน 2544








 
นิตยสารผู้จัดการ เมษายน 2544
ตลาดหุ้น จุดเริ่มต้นการบ่มเพาะ             
 

   
related stories

สมคิด จาตุศรีพิทักษ์
"ผมจะ reform ประเทศ"
ใคร...? เป็นใคร... ? 10+2+1 ที่ปรึกษาขุนคลัง
ประสบการณ์ที่สหพัฒนฯ โลกของการค้านอกตำรา
หนังสือและความคิด ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์
"ความยากจน" เบ้าหลอมชีวิตในวัยเยาว์ ของสมคิด จาตุศรีพิทักษ์
แฟมิลี่แมน "สำหรับผม ไม่มีอะไรสำคัญเท่าครอบครัว"
อนุรัชนี จาตุศรีพิทักษ์ ผู้หญิงของรัฐมนตรีคลัง

   
search resources

สมคิด จาตุศรีพิทักษ์
สมชาย ภคภาสนว์วัฒน์




ช่วงที่ตลาดหุ้นไทยเริ่มฟื้นตัวเมื่อกว่า 10 ปีที่ผ่านมา ดร.สมคิดเป็น 1 ในนักวิชาการซึ่งเป็นที่คุ้นหน้าคุ้นตาของนักลงทุน ในฐานะผู้บรรยายให้ความรู้พื้นฐานในการเล่นหุ้น แต่วันนี้ภาพดังกล่าวได้เปลี่ยนแปลงไปแล้ว

ชื่อของ ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ ได้ปรากฏต่อสาธารณะเป็นครั้งแรก ในฐานะวิทยากรในการสัมมนาหัวข้อ "
การวิเคราะห์งบการเงิน และการประเมินมูลค่าหุ้น" ซึ่งจัดโดยตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ร่วม กับมูลนิธิสายใจไทยที่โรงแรมเซ็นทรัล พลาซ่า เมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2531 เป็นการสัมมนาซึ่งจัดขึ้นภายหลังตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้ประสบกับวิกฤติจากเหตุการณ์ "แบล็คมันเดย์" เพียง 9 เดือนและ บรรยากาศการซื้อขายหุ้นในขณะนั้น ได้เริ่มกลับมาคึกคักอีกครั้ง หลังจากซบเซาจากวิกฤติการณ์ดังกล่าวมาเป็นเวลาหลายเดือน

วิทยากรที่ร่วมบรรยายกับ ดร.สมคิดในวันนั้น ประกอบด้วยดร.มารวย ผดุงสิทธิ์ กรรมการและผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่ง ประเทศไทย ธวัช ภูษิตโภยไคย, ดร.กุลภัทรา เวทย์วิวรณ์, ดร.สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์ และดร.พิพัฒน์ พิทยาอัจฉริยกุล

2 รายหลัง ได้กลายเป็นกลุ่มนักวิชาการที่ตระเวนบรรยายเรื่อง เกี่ยวกับการลงทุนร่วมกับ ดร.สมคิด อีกหลายรายการในเวลาต่อมา


ปี 2530 เป็นปีที่คนไทยเริ่มตื่นตัวในการนำเงินออมเข้ามาลงทุนในตลาดหุ้น เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจที่เริ่มฟื้นตัว ประกอบ กับอัตราดอกเบี้ยเงินฝากในขณะนั้นอยู่ในระดับต่ำ

แต่พื้นฐานความรู้ของนักลงทุนไทยในระยะนั้นยังถือว่าอยู่ในระดับต่ำ การตัดสินใจซื้อขายหุ้นในช่วงนั้น อาศัยคำแนะนำของโบรกเกอร์ หรือเล่นตามข่าวเป็นหลัก

สูตรการวิเคราะห์หลักทรัพย์ ก็ยึดอยู่บนพื้นฐานเพียงแค่การดู ตัวเลขอัตราส่วนราคาต่อรายได้ (P/E Ratio) และผลตอบแทนจาก เงินปันผล (Dividend Yield) เป็นสำคัญ ส่วนพวกที่อาศัยจิตวิทยา ในการลงทุน ก็จะดูแต่เส้นกราฟ โดยไม่สนใจตัวเลขพื้นฐานของบริษัท

"พวกนักเล่นหุ้นในช่วงนั้นคิดกันแค่ตัวเลข เหมือนกับม้าลำปาง คือ มองตรงอย่างเดียว" ดร.สมคิดให้คำนิยามกับ "ผู้จัดการ"

การเกิดเหตุการณ์แบล็คมันเดย์ขึ้น โดยเริ่มจากตลาดหุ้นนิวยอร์กเมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2530 และลามไปยังตลาดหุ้นทั่วโลก รวมทั้งประเทศไทยด้วย ได้ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงใน ทางที่ดีขึ้นกับแนวทางการวิเคราะห์หลักทรัพย์ในประเทศไทย

มีการนำปัจจัยภายนอกประเทศ ตลอดจนปัจจัยแวดล้อม และภาพรวมของแต่ละอุตสาหกรรมเข้ามาประกอบการวิเคราะห์ในแต่ละครั้งด้วย นอกเหนือจากการ วิเคราะห์เพียงงบการเงินของบริษัทแต่ละแห่ง เพียงอย่างเดียวเหมือนในช่วงก่อนหน้า

หลังเหตุการณ์แบล็คมันเดย์ องค์กรทั้งภาครัฐและเอกชนหลายแห่งที่เกี่ยวข้องกับตลาดทุน ได้ให้ความสำคัญกับการให้ความรู้แก่นักลงทุน ได้มีการจัดสัมมนา และ อภิปรายในเรื่องนี้หลายครั้ง และวิทยากรที่ไป เป็นประจำ จะประกอบด้วย ดร.สมคิด ดร.สม ชาย ดร.พิพัฒน์ รวมทั้งดร.ไพบูลย์ เสรีวิ-วัฒนา ซึ่งทั้ง 4 คน นอกจากจะเป็นนักวิชาการแล้ว ยังมีตำแหน่งเป็นที่ปรึกษาของตลาด หลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

ดร.สมคิด และดร.ไพบูลย์ มาในฐานะ นักวิชาการจากสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหาร ศาสตร์ (นิด้า) ขณะที่ ดร.สมชาย และดร.พิพัฒน์เป็นอาจารย์จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ในการบรรยาย หรือสัมมนาแต่ละครั้ง ได้มีการแบ่งหัวข้อการพูดตามความถนัดของ แต่ละคนไว้ก่อนล่วงหน้า

ดร.สมชาย จะเป็นผู้พูดนำเป็นส่วนใหญ่ โดยจะอธิบายถึงภาพรวม ตลอดจนการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจที่กำลังเกิดขึ้น ในโลก และมีผลกระทบต่อประเทศไทย

ดร.พิพัฒน์ จะพูดเจาะลึกลงไปในภาคการเงิน และการวิเคราะห์ ประเมินถึงราคาหุ้น ที่อาจจะได้รับผลกระทบ

ดร.สมคิด จะพูดถึงการวางกลยุทธ์และการแข่งขันของแต่ละบริษัทในแต่ละอุตสาหกรรม

ขณะที่ ดร.ไพบูลย์ ซึ่งมีบุคลิกเป็นคนมีอารมณ์ขัน มักจะเป็นผู้ดำเนินรายการ โดยมักจะนำเกร็ดเล็กๆ น้อยๆ ที่เกิดขึ้นในตลาดหุ้น มาเล่าให้คนฟังได้ผ่อนคลาย หลังจากฟังเรื่องหนักๆ ของวิทยากรคนอื่นมามาก

การที่ต้องตระเวนไปบรรยายให้คนฟังหลายๆ ครั้ง ทำให้สาธารณชนเริ่มคุ้นหูกับชื่อของนักวิชาการทั้ง 4 คน

แม้ว่าในบางรายการ ไม่ได้จัดในหัวข้อที่เกี่ยวข้องกับตลาดหุ้น แต่ก็ยังมีนักลงทุนตาม ไปฟัง เพราะคิดว่าจะต้องมีการพูดเรื่องหุ้นสอดแทรกเข้ามาด้วย

ขณะเดียวกัน การเดินทางไปบรรยายในที่ต่างๆ ก็เป็นการปลูกฝังความสัมพันธ์ระหว่าง ดร.สมคิด ดร.พิพัฒน์ และดร.สมชาย ที่แน่นแฟ้นอยู่แล้วให้ลึกซึ้งยิ่งขึ้น

"เรา 3 คน แต่ละคนมันเสริมซึ่งกันและกัน ผมแมคโคร และการเงิน อาจารย์พิพัฒน์ไฟแนนซ์ อาจารย์สมคิดเรื่องกลยุทธ์ เพราะฉะนั้นก็เอามาใช้ได้ ผมแมคโครก็ปูพื้นเข้ามาสู่การ เงิน สมคิดก็กลยุทธ์ ก็มาสอดคล้องกับแมคโคร ก็คุยกันแทบจะเรียกว่าไม่ต้องเตรียมอะไรเลย เพราะต่างคนต่างก็มีอาชีพอยู่ตรงนี้อยู่แล้ว" ดร.สมชายเล่ากับ "ผู้จัดการ"

ดร.สมชายได้รู้จักกับ ดร.สมคิดในช่วงประมาณปี 2530 โดยการแนะนำของ ดร.พิพัฒน์ ซึ่งสอนอยู่ที่เดียวกันที่ธรรมศาสตร์ หลังจากนั้นทั้ง 3 คนก็เริ่มสนิทสนมกัน และมีโครงการ ที่จะทำวิจัยร่วมกัน "หลังจากสนิทกันก็มาเขียนหนังสือด้วยกัน เวลาไปพูดก็มักจะไปพูดด้วยกัน"

เส้นทางเดินของนักวิชาการทั้ง 3 คน ค่อนข้างใกล้เคียงกัน โดยเฉพาะในด้านที่เกี่ยว ข้องกับตลาดหลักทรัพย์ โดย ดร.สมชายมีตำแหน่งเป็นที่ปรึกษาของตลาดหลักทรัพย์มาตั้งแต่ยุคของสิริลักษณ์ รัตนากร เป็นกรรม การและผู้จัดการ ต่อเนื่องมาถึงยุคของ ดร. มารวย ผดุงสิทธิ์

ขณะที่ ดร.สมคิด และดร.พิพัฒน์ ได้ ตามเข้ามาเป็นที่ปรึกษาของตลาดหลักทรัพย์ ต่อมาภายหลัง โดยการชักชวนของ ศ.สังเวียน อินทรวิชัย

ศ.สังเวียนในขณะนั้น ถือว่าเป็นบุคคล ที่มีบทบาทสูงมากในตลาดหลักทรัพย์ เพราะ นอกจากจะดำรงตำแหน่งกรรมการตลาด หลักทรัพย์มาหลายสมัย ยังมีตำแหน่งเป็นประธานคณะอนุกรรมการรับหลักทรัพย์ ซึ่งเป็นคณะอนุกรรมการที่มีอำนาจชี้ขาดว่าบริษัทใดมีสิทธิที่จะเข้ามาเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์

กล่าวกันว่าสายสัมพันธ์ระหว่างดร.สมคิด กับ ศ.สังเวียน เกิดขึ้นเนื่องจากการที่ ศ.สังเวียนเป็นผู้ก่อตั้งโครงการปริญญา โททางบริหารธุรกิจของมหาวิทยาลัยธรรม ศาสตร์ (X-MBA) จึงได้ให้ดร.พิพัฒน์ ซึ่งเป็นเพื่อนรุ่นพี่ของ ดร.สมคิดจากเคลล็อก ไปชัก ชวนให้ ดร.สมคิด ซึ่งขณะนั้นสอนอยู่ที่คณะบริหารธุรกิจ นิด้า มาร่วมสอนในโครงการ X-MBA ของธรรมศาสตร์ด้วย

แต่บางคนก็มองว่า ทั้ง ดร.สมคิดและ ศ.สังเวียนรู้จักกันมาก่อนหน้าแล้ว เพราะหลังจาก ดร.สมคิดจบปริญญาตรี จากคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ใหม่ๆ เมื่อปี 2520 ได้เข้ามาทำงานอยู่ที่ฝ่ายวิชาการของตลาดหลักทรัพย์อยู่ระยะหนึ่ง ก่อนที่จะไปเรียนปริญญาโทต่อที่นิด้า

ซึ่งในช่วงนั้นศ.สังเวียนก็ได้เข้ามามีบทบาทอยู่ในตลาดหลักทรัพย์แล้ว

ภายหลังจาก ดร.สมคิดได้เข้ามาเป็น ที่ปรึกษาของตลาดหลักทรัพย์แล้ว ดูเหมือนบทบาทของ ดร.สมคิด จะมีมากกว่า ดร.สม ชาย และดร.พิพัฒน์ เพราะ ดร.สมคิดได้รับแต่งตั้งเข้าไปเป็น 1 ในคณะอนุกรรมการรับหลักทรัพย์ ซึ่งมี ศ.สังเวียนเป็นประธาน ในขณะที่ทั้ง ดร.พิพัฒน์และ ดร.สมชาย ยังคงบทบาทเป็นเพียงนักวิชาการ

การเข้ามามีส่วนอยู่ในคณะอนุกรรม การรับหลักทรัพย์ ทำให้ ดร.สมคิดได้มีโอกาส สร้างสายสัมพันธ์กับนักธุรกิจอีกหลายคนในเวลาต่อมา

จากการเป็นที่ปรึกษาตลาดหลักทรัพย์ มีบทบาทในการเดินทางไปบรรยายให้ความรู้กับนักลงทุน ในยุคที่เริ่มตื่นตัว ให้ความสนใจนำเงินเข้ามาลงทุนในตลาดหุ้น เส้นทาง ของดร.สมคิด ดร.สมชาย และดร.พิพัฒน์ก็เริ่มขยายเข้าไปสู่การเป็นที่ปรึกษาตามบริษัท ต่างๆ

จนในปี 2538 ดร.พิพัฒน์เสียชีวิตลงด้วยโรคมะเร็ง บทบาทการเป็นที่ปรึกษาของบริษัทจึงตกอยู่กับดร.สมคิด และดร.สมชายเพียง 2 คน

การที่ต้องคลุกคลีอยู่กับหลายองค์ประกอบของตลาดทุน ทำให้ดร.สมคิดสามารถมองเห็นภาพความเปลี่ยนแปลงของธุรกิจในช่วงกว่า 10 ปีที่ผ่านมา ได้อย่างเด่นชัด

"มันก็เหมือนกับเรามีเป้าตรงกลางคือ ตลาดหลักทรัพย์ ผมเป็นที่ปรึกษาประธาน ตลาดหลักทรัพย์อยู่ 10 ปี อยู่ในคณะอนุ กรรมการรับหลักทรัพย์ ฉะนั้นหัวใจของ capital market มันซึมอยู่ในสายเลือด ส่วนข้างนอกเราเห็นทุก sector ร้อยกันไปหมด" ดร.สมคิดเล่า


ปี 2530 ดร.สมคิด ได้มีโอกาสเดินทางไปทัวร์ยุโรป ร่วมกับดร.สมชายและดร.พิพัฒน์ ซึ่งในการเดินทางเที่ยวนี้ ดร.สมคิดได้เริ่มแสดงความสนใจเกี่ยวกับเรื่องการเมืองให้เพื่อนนักวิชาการทั้ง 2 ได้เห็นเป็นครั้งแรก

ระหว่างการเดินทางโดยรถไฟไปตามประเทศต่างๆ ในทวีปยุโรป ดร.สมคิดได้เริ่ม บทสนทนาเกี่ยวกับเรื่อง political marketing ออกมา เป็นการแสดงออกถึงความสนใจในเรื่องการเมือง ซึ่งในเวลาต่อมา แนวคิดในเรื่องนี้ก็ได้ถูกถ่ายทอดออกมาในช่วงของการ ก่อตั้งพรรคไทยรักไทยของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร

แต่กับเพื่อนนักวิชาการทั้ง 2 ของ ดร. สมคิด คนที่ดูจะมีความสนใจเรื่องการเมืองเช่นเดียวกันก็คือดร.สมชาย ซึ่งทั้งคู่ก็ได้เคยพูดคุย และวางตำแหน่งของตนเองในอนาคตไว้แล้ว

ดร.สมชายวางตำแหน่งตนเองไว้ว่าจะเป็นนักวิชาการที่มีบทบาทที่ปรึกษาที่มีชื่อเสียง อย่างเฮนรี่ คิสซิงเจอร์ ปีเตอร์ ดรักเกอร์ หรือไมเคิล อี.พอร์เตอร์

"ผมมองไว้ว่าผมไม่ได้อยากเล่นการเมืองโดยตรง แต่ว่าจะออกมาเกี่ยวข้องกับการ เมืองในลักษณะที่เป็นที่ปรึกษา มีส่วนในการวิจารณ์ โดยเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัย และมีชื่อเสียงเป็นคอนซัลแทนซ์" ดร.สมชายเล่า

แต่ดร.สมคิด เขาไม่คิดเช่นนั้น เพราะปัจจุบัน เขาได้โดดลงมาเล่นการเมืองโดยตรงไปเรียบร้อยแล้ว

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us