Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน2 ธันวาคม 2546
บล.ภัทรเป็นบริษัทไทยเต็มตัว             
 


   
www resources

โฮมเพจ ธนาคารกรุงไทย
โฮมเพจ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

   
search resources

ธนาคารกรุงไทย
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
เมอร์ริลลินช์ภัทร
สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.)
วิโรจน์ นวลแข
บรรยง พงษ์พานิช
Banking and Finance




บล.ภัทร โบรกเกอร์รายใหญ่ ที่เป็นของคนไทยเต็มตัววานนี้ หลังซื้อหุ้นคืนจากกลุ่ม เมอร์ริล ลินช์ จากแดนมะกัน เดินหน้าทำธุรกิจด้วยตัวเอง โดยจะใช้เงินทุนเริ่มแรก 800 ล้านบาท เน้นทำธุรกิจหลักทรัพย์เพิ่มขึ้น โดยจะขยายสัดส่วนนักลงทุนส่วนบุคคล ที่เน้นลงทุนหุ้นปัจจัยพื้นฐานรองรับ เมินนักเก็งกำไร รวมถึง "คุณเน็ต"

นายบรรยง พงษ์พานิช ประธานกรรมการ บล.ภัทร กล่าววานนี้ (1 ธ.ค.) ว่ากลุ่มผู้บริหารคนไทย 62 ราย รวมตัวกันซื้อหุ้นคืนจากผู้ถือเดิม คือกลุ่มเมอร์ริล ลินช์ จากแดนมะกัน เพื่อความคล่องตัวของ การบริหารงาน ซึ่งผู้บริหารที่มีตำแหน่งบริหารบริษัทปัจจุบัน 90% เป็นผู้ถือหุ้น ที่เหลืออีก 10% เป็นผู้มีอุปการคุณ หรือบุคคลภายนอก ร่วมถือหุ้นอีกประมาณ 12 ราย

ส่วนนายวิโรจน์ นวลแข กรรมการผู้จัดการ ธนาคารกรุงไทย ถือหุ้นบริษัท 4% ปัจจุบันบริษัทมีทุนจดทะเบียน 1.25 พันล้านบาท อยู่ระหว่างลดทุนเหลือ 800 ล้านบาท ซึ่งเพียงพอต่อการดำเนินธุรกิจ ระดับเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิ (NCR) บริษัทปัจจุบันสูงถึง 5 เท่า สูงกว่าเกณฑ์ที่สำนักงาน ก.ล.ต. กำหนด จึงไม่จำเป็นต้องเพิ่มทุนให้บริษัทขนาดใหญ่ขึ้น ยังไม่มีแผนจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

การดำเนินธุรกิจหลักทรัพย์ เขากล่าวว่าจะเป็นไปตามภาวะการลงทุนในตลาดหุ้นไทย โดยปีนี้ เป็นปีประวัติศาสตร์การทำธุรกิจของบริษัท ที่ทำรายได้รวมประมาณ 1.3 พันล้านบาท จากธุรกิจหลักทรัพย์ 690 ล้านบาท วาณิชธนกิจ 700 ล้านบาท แยกเป็นรายได้จากธุรกิจที่ปรึกษา 450 ล้านบาท ที่เหลือ 250 ล้านบาท รายได้อื่นๆ ทางการตลาด จากปีก่อน รายได้ธุรกิจวาณิชธนกิจ 170 ล้านบาท

เป็นปีที่รายได้สูงสุดตั้งแต่ก่อตั้งบริษัท เป็นผลจากการที่ตลาดหุ้นไทยเติบโต แต่หากต้องการให้เติบโตมีเสถียรภาพหรือไม่ นายบรรยงกล่าวว่าคงต้อง ใช้เวลาอีกระยะ บริษัทต้องปรับองค์กรให้แข็งแกร่งมากขึ้น

บริษัทจะขยายสัดส่วนลูกค้าส่วนบุคคลเพิ่มขึ้น แต่จะเป็นลูกค้าที่เน้นลงทุนอย่างมีปัจจัยพื้นฐาน ไม่เน้นลูกค้าเก็งกำไรระยะสั้น ซึ่งบริษัทไม่มีการให้ซื้อขายแบบหักกลบลบหนี้ในวันเดียว (Net Settlement) สัดส่วนรายได้นักลงทุนส่วนบุคคลขณะนี้ 100 ล้านบาท

ปัจจุบัน บริษัทมีส่วนแบ่งตลาดด้านหลักทรัพย์ 3.4% ในตลาดหุ้นไทยทั้งหมด แบ่งเป็นลูกค้าสถาบันในประเทศ 10% และลูกค้าสถาบันต่างประเทศ 11% สาเหตุที่ส่วนแบ่งตลาดไม่สูง เนื่องจากตลาดหุ้นไทยปัจจุบัน ปรับตัวขึ้นได้จากภาวะเก็งกำไร ทำให้ส่วนแบ่ง ตลาดฯ บริษัทไม่เพิ่ม

รายได้วาณิชธนกิจปี 2547 คาดว่าลูกค้าบริษัทจะมีมูลค่าระดมทุนประมาณ 1 แสนล้านบาท จากหุ้น รัฐวิสาหกิจและเอกชน 4 บริษัท ได้แก่ การท่าอากาศยานฯ การไฟฟ้าฝ่ายผลิต ทศท คอร์ปอเรชั่น และบริษัท เบียร์ไทย (1991)

นอกจากนี้ บริษัทรับหน้าที่ที่ปรึกษาการเงิน ปรับโครงสร้างหนี้บริษัท ทีพีไอโพลีน เพื่อปรับหนี้ที่มีอยู่ 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยจะปรับหนี้ให้เป็นเงินบาททั้งหมด ซึ่งปัจจุบัน ทีพีไอโพลีนมีต้นทุนดอกเบี้ยที่เอ็มแอลอาร์ + 1.75% อยากให้ปรับต้นทุนดอกเบี้ยเหลือเพียง MLR ทั้งนี้ มีการเจรจากับธนาคาร กรุงไทยบ้างแล้ว และเปิดโอกาสธนาคารอื่นๆ ด้วย ดังนั้น น่าจะทำให้รายได้ธุรกิจนี้ของบริษัท เติบโตเพิ่ม ขึ้นมากปีหน้า เมื่อเทียบปีนี้

บริษัทรับทำหน้าที่ที่ปรึกษาการเงินให้ 5 บริษัท มูลค่าระดมทุนประมาณ 6 หมื่นล้านบาท เป็นมูลค่าสูงสุดอันดับ 1 ในตลาดหุ้นไทย โดยบริษัทเสนอขายหุ้น ได้แก่ หุ้นเพิ่มทุนขายนักลงทุนเฉพาะเจาะจง บริษัท เบอร์ลี่ยุคเกอร์ ของเจ้าสัวเจริญ สิริวัฒนภักดี หุ้นสามัญครั้งที่ 2 ธนาคารกรุงไทย และการบินไทย รวมทั้งหุ้น IPO ได้แก่ หุ้นบริษัท ไทยโอเลฟินส์ และบริษัท ซีพี-เซเว่นอีเลฟเว่น

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us