Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ เมษายน 2544








 
นิตยสารผู้จัดการ เมษายน 2544
"ผมจะ reform ประเทศ"             
โดย วิรัตน์ แสงทองคำ
 

   
related stories

สมคิด จาตุศรีพิทักษ์
ใคร...? เป็นใคร... ? 10+2+1 ที่ปรึกษาขุนคลัง
ตลาดหุ้น จุดเริ่มต้นการบ่มเพาะ
ประสบการณ์ที่สหพัฒนฯ โลกของการค้านอกตำรา
หนังสือและความคิด ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์
"ความยากจน" เบ้าหลอมชีวิตในวัยเยาว์ ของสมคิด จาตุศรีพิทักษ์
แฟมิลี่แมน "สำหรับผม ไม่มีอะไรสำคัญเท่าครอบครัว"
อนุรัชนี จาตุศรีพิทักษ์ ผู้หญิงของรัฐมนตรีคลัง

   
search resources

สมคิด จาตุศรีพิทักษ์
Banking and Finance




"ผมมองบทบาทของกระทรวงการคลังแตกต่างจากเดิม มีอยู่ 2 agenda agenda เร่งด่วน คือ ให้กระทรวงการคลังเป็นกลไกที่ดึงเศรษฐกิจให้หลุดพ้นจากวิกฤติ ฉะนั้น policy ใดๆ ที่ออกมาก็ตามต้องการอย่างเดียวคือ ดึงให้ขึ้นมาจากหลุม agenda ที่ 2 นี่สำคัญกว่า คือใช้ fiscal policy ในการ reform ประเทศ ซึ่งไม่เคยมีใครสนใจมาก่อน คือนโยบายการเงินโดยผ่านแบงก์ชาติ กับนโยบายการคลัง สามารถปฏิรูปประเทศได้

การปฏิรูปประเทศ แบ่งเป็น 3 ด้าน เรื่องที่หนึ่ง ปฏิรูปภาคเศรษฐกิจจริงคือ จะต้องมี target portfolio ของอุตสาหกรรม เราจะส่งเสริมบริษัทอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ให้เข้มแข็งขึ้น อุตสาหกรรมเล็กๆ หรือ SME ให้มีจำนวนมากขึ้น นั่นคือ การใช้ fiscal policy ในการปฏิรูปภาคเศรษฐกิจจริง

เรื่องที่ 2 ใช้ fiscal policy ในการ reform Financial market state bank ทั้งหลายในอนาคต จะไม่ใช่ปัจจุบัน ธนาคารของรัฐจะต้องสามารถ serve ทุก segment และเน้นเชิงพัฒนาด้วย

ธกส.ต้องไม่ใช่แบงเกอร์ ไม่ใช่ปล่อยกู้ให้ชาวนา แล้วเอา mortgage มาค้ำประกัน ชาวนาจ่ายไม่ได้แล้วไปยึดทรัพย์ ธกส.มีหน้าที่ที่จะต้องไปสร้างชนบทให้แข็งแรง สร้าง farming economy ถ้าบอกว่าสร้าง farming econo-my ก็หมายความว่า ต้องเข้าไปช่วยพัฒนาท้องถิ่น สร้างวิสาหกิจชุมชน สินเชื่อที่ให้เป็นแค่เครื่องมือ ผมคุยกับธกส.บอกว่า เขาต้องเปลี่ยนวิสัยทัศน์แล้ว และบทบาทในอนาคตจะมีมหาศาลเลย เพราะรัฐบาลชุดนี้จะเน้นตรงนี้ เพราะฉะนั้นนี่คือ วิสัยทัศน์ของคุณ แล้วคุณก็ไปประกาศวิสัยทัศน์ของคุณเลย ให้เป็นเครดิตของคุณ

ธนาคารออมสิน อย่างคุณมีเงินเดือนประจำ เข้าแบงก์กู้ไม่ได้ ออมสินในอนาคตจะต้องเป็น micro lending ให้กู้ไม่มาก 5,000-10,000 เอาบุคคลค้ำประกัน แทนแขก แล้วหลักการจริงใช้ชุมชนใน community ค้ำเข้าไป ชุมชนนั้นหมายถึงเมืองด้วย ต่อไปก็ SME จะยกระดับ บอย. หรือธนาคารบางแห่งให้เป็น SME Bank มันก็แล้วแต่นโยบาย IFCT สนับสนุน big corporation ธนาคารกรุงไทย, ไทยธนาคาร, นครหลวงไทย, ศรีนคร เป็น state bank แต่ นครหลวงไทย, ศรีนคร นี่ต่อไปก็จะต้องเป็นเอกชนหมด ฉะนั้นกรุงไทย ไทยธนาคาร จะต้องเป็นกำลัง เป็น lead bank ของรัฐบาลที่จะนำร่อง รัฐบาลจะทำอะไร 2
ธนาคารนี้จะต้องนำร่องให้เอกชนรับรู้

ฉะนั้น commercial bank ก็ให้ฝรั่งเข้ามาซิ แล้วก็แข่งขันกัน ไม่ใช่ต้องไปทับซ้อนกัน เมื่อก่อนแข่งสนามเดียวกันหมด แล้วลืมหน้าที่ตัวเราเอง ว่าหน้าที่คืออะไร เราอยู่ ธกส.บางทีเรายังลืมเลย กลายเป็นนายแบงก์ไปแล้ว นี่คือสิ่งที่จะต้อง reform

พอพูดถึง reform ด้านสังคม เรื่องนี้ก็สำคัญ เวลาเราเขียนหนังสือ อ่านหนังสือ บอกว่าเป็น knowledge society อะไรอย่างนี้ แต่เราก็ไม่ต้องการให้ตัวเราเองไปแข่งขันใน new economy เป็นไปไม่ได้ เราสู้เขาไม่ได้อยู่แล้ว แต่เราต้องการให้สังคมมันสามารถเข้าไปอยู่ใน knowledge society ฉะนั้น fiscal policy ที่สามารถ reinfrastructure การศึกษา เช่น กระดาษ หนังสือ ไอที
เราจะต้องทำ จะต้องมีทางให้เกิดขึ้นมาให้ได้ นี่คือ
การ reform อย่างที่ผมคิด โดยใช้ fiscal policy"

"บทบาทของกระทรวงการคลังจะเปลี่ยนไป ไม่ใช่แค่ธนาคารบีไอเอส ซึ่งบีไอเอส นั้นต้องไปที่แบงก์ชาติ

แต่บทบาทของเราจะอยู่ที่ reform เศรษฐกิจ อันนี้เป็นเครื่องมือ จะทำสำเร็จหรือเปล่า ไม่รู้ แต่ว่ามันต้องเริ่ม และเวลาเริ่ม นิสัยผมมันเป็นอย่างนี้อยู่แล้ว เดิน เดิน เดิน ต้านอย่างไร ก็ไม่กลัว"

"ผมไปเยี่ยมกรมธนารักษ์ เขา present ทุกอย่างให้ผมดูบนจอ ผมฟังเสร็จผมก็บอกว่า ผมขอใช้คำว่า asset base management กรมสรรพากรเป็น tax base แต่นี่เป็น asset base เหตุผลเพราะมีทรัพย์สินเต็มเลย ทั้งประเทศ คุณรู้หรือเปล่าว่า อยู่ตรงไหนปฏิรูปภาคเศรษฐกิจจริง ฉะนั้นคุณต้อง identify มาก่อนว่าคุณมีที่ตรงไหน ทำอะไรได้บ้าง แล้วไม่ต้องไปทำเอง คุณสามารถให้เอกชนเข้ามาร่วม แล้วคุณคุมให้มันยั่งยืน ฉะนั้นคุณต้องตั้งเป้าว่า
คุณจะทำอะไร

แล้วผมก็บอกอธิบดีว่า ถ้าผมเป็นคุณ ผมจะเปลี่ยนภาพลักษณ์ของกรมธนารักษ์ เพราะคนส่วนใหญ่พอพูดถึงกรมธนารักษ์จะคิดถึงเหรียญ สิ่งนั้นดี เป็นเรื่องของ culture เป็นเรื่องของสังคม แต่ผมจะทำวิสัยทัศน์ธนารักษ์ 2000 ผมพูดเป็นภาษาอังกฤษว่า asset base management ธนารักษ์ 2000 สู่ create value ให้กับประเทศ

เหมือนเวลาเราออกหุ้น เราก็ต้องมีหนังสือชี้ชวน
ให้คนรู้ว่า mission คืออะไร พอฟังแล้วมันเกิดภาพในใจ ทำหนังสือเล่มหนึ่งเลย เหมือนสมัยก่อนหลักทรัพย์บูมๆ เขาทำเป็นหนังสือ human and value แต่ของผมจะทำเป็น value wealth of the nation" (สาระสำคัญของคำสัมภาษณ์ สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เมื่อปลายเดือนมีนาคม 2544 กับ "ผู้จัดการ")

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us