Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ ธันวาคม 2546








 
นิตยสารผู้จัดการ ธันวาคม 2546
อีกด้านหนึ่งของ Globalization             
โดย วิรัตน์ แสงทองคำ
 





สังคมเรามีการลงทุนในการแสวงหาปัญญาและประสบการณ์ที่จำเป็นต่อการดำเนินชีวิต และการทำงานจากภายนอกสังคม น้อยกว่าการลงทุนซื้อสินค้าสำเร็จรูปจากต่างประเทศ

บทเรียนที่น่าสนใจเรื่องหนึ่งนานมานับ 10 ปีแล้ว แต่ผมคิดว่ายังทันสมัยอยู่ บริษัทผลิตอุปกรณ์ไฟฟ้าของเกาหลี จัดทำปฏิทินปีใหม่รูปหญิงสาวที่แต่งตัวโป๊ แจกลูกค้าในยุโรปในฐานะตลาดใหม่ ปรากฏว่าได้รับการต่อต้านอย่างมาก เพราะคนยุโรปเป็นประเภท Femalelist จำนวนไม่น้อย ส่งผลต่อแผนการตลาดมากทีเดียว

ผู้บริหารระดับสูงของบริษัทนี้ สอบสวนพบว่าคนที่คิดของชำร่วยที่ว่านี้ ก็คือนักการตลาดยุคใหม่ที่ผ่านการศึกษา MBA จากตะวันตกนั่นเอง และเป็นนักเรียนทุนของบริษัทเสียด้วย

จากเหตุการณ์นี้ ผู้บริหารระดับสูงของบริษัทธุรกิจในเกาหลีได้เรียนรู้ว่า การศึกษาเพื่อเข้าใจลูกค้า มีมากกว่าการเรียนในห้องเรียน ดังนั้นบริษัทนี้จึงสร้างโปรแกรมใหม่ในการส่งคนไปเรียนรู้สังคมต่างประเทศ ซึ่งเป็นตลาดเป้าหมาย ด้วยการใช้ชีวิตเช่นเดียวกับผู้คนในสังคมนั้น เข้าสังคม กินดื่ม เที่ยวเตร่ อย่างครบถ้วน ซึ่งดูจะเป็นการผลิตธรรมเนียมของนักเรียนเอเชีย ที่คลุกคลีอยู่ในห้องเรียน ห้องสมุด หรือไม่ก็เข้าสังคมเอเชียด้วยกัน เพื่อให้เข้าใจตลาดอย่างลึกซึ้ง

และนี่ก็คืออีกเรื่องที่เกิดขึ้น และเป็นปรากฏการณ์ในสังคมไทยด้วย มันเป็นบทเรียนด้านกลับที่น่าตกใจ

บางคนในวงการธุรกิจไทยที่คิดเพียงว่า สินค้าตะวันตกที่เข้าตลาดบ้านเรา ก็คือสินค้าที่สะท้อนรสนิยม กระแสของโลกอันทันสมัย สังคมไทยยอมรับอยู่แล้ว หารู้ไม่ว่า บริษัทยักษ์ใหญ่ในโลกตะวันตก ขายสินค้าที่เราชื่นชอบไปพลางก็ศึกษาชีวิตของเราไปพลาง

ในที่สุดพวกเขาก็สามารถผลิตสินค้าที่ตอบสนองสังคมไทยได้อย่างดีขึ้น

บริษัทเซเรบอสได้ใช้ประสบการณ์อันมีค่าในการขายซุปไก่สกัดตราแบรนด์ ในภูมิภาคนี้ พร้อมกับศึกษาค้นคว้าสูตรอาหารใหม่ๆ ที่เข้าถึงสังคมเอเชียและโลกได้หลายสูตร ในช่วงไม่กี่ปีมานี้ และทำให้สินค้าไม่เพียงเป็นสินค้าตอบสนองท้องถิ่น ด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่นเท่านั้นหากได้กลายเป็นสินค้าระดับโลกไปด้วยในที่สุด ในยุคที่โลกศึกษาและเข้าถึงประสบการณ์ของกันและกัน หรือที่เรียกว่า Globalization

Fast Foods ในเมืองไทยก็เช่นเดียวกัน ในหลายปีมานี้ บรรดาเครือข่ายอาหารกินด่วนเหล่านี้ได้จดสิทธิบัตรสูตรอาหารใหม่เป็นของตนเองหลายสูตรทีเดียว ที่ได้นำมาเข้ากับวัฒนธรรมการบริโภคของคนไทยไปประยุกต์ใช้

แม้กระทั่งนิตยสารฝรั่งที่มาแปลเป็นไทย เพื่อเป้าหมายหลักให้คนไทยบริโภคสินค้าตะวันตกที่มากกว่าสินค้า แบรนด์ดังๆ จนถึงการฝังความเชื่อในวิถีชีวิตตะวันตก อันเป็น OS (Operation System) ในจิตวิญญาณเพื่อความจงรักภักดีในสินค้าของพวกเขา ขณะเดียวกันก็สร้างเนื้อหา ไทยภายใต้กรอบความคิดของเขา ให้กลายเป็นทรัพย์สินทางปัญญาของเขาด้วย

นี่คือภาพความคิดใหม่ในการเรียนรู้ใน Globalization ซึ่งเป็นการเรียนรู้ที่เจ็บปวดมากกว่าอดีต กระแสนี้แรงขึ้น ซับซ้อนขึ้น จากสิ่งที่จับต้องได้ ไปจนถึงระดับภูมิปัญญาเลยทีเดียว

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us