Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ ธันวาคม 2546








 
นิตยสารผู้จัดการ ธันวาคม 2546
ขอให้รักเรานั้นนิรันดร             
โดย ธวัชชัย อนุพงศ์อนันต์
 


   
search resources

พอลลีน แฮนสัน




ภาพคุณพอลลีน แฮนสัน ปรากฏให้เห็นบ่อยขึ้นบนจอทีวีอีกครั้งหนึ่ง หลังจากหายไปพักใหญ่

ภาพคุณพอลลีนแฮนสันทำให้ผมย้อนคิดถึงความกลัวลึกๆ ในจิตใจที่เกิดขึ้นเกือบสิบปีก่อน หลังจากอ่านนวนิยายโรแมนติกของคุณประภัสสร เสวิกุล เรื่อง "ขอให้รักเรานั้นนิรันดร" จบลง

"ขอให้รักเรานั้นนิรันดร" เป็นเรื่องราวความรักของหนุ่มสาวที่มีฉากหลังเป็นประเทศออสเตรเลีย ความรักโรแมนติกบรรยากาศสวยงาม แต่แฝงด้วยความรุนแรงจากการไล่ล่าพระเอกในเรื่องของขบวนการคลู คลัก แคลน

คนเอเชียผิวเหลืองอย่างผมมีความทรงจำที่ไม่ค่อยดีนักในอดีตเกี่ยวกับออสเตรเลีย และยังคงฝังแน่นในจิตใจลึกๆ

คลู คลัก แคลน คือกลุ่มคนที่มีความคิดเหยียดสีผิวเป็นแนวความคิดหลักที่ยึดโยงสมาชิกในกลุ่มไว้ และมีเป้าหมายที่จะต้องกำจัดคนผิวสีอื่นให้ออกจากประเทศไป

กลุ่มนี้ไม่ต่างจากกลุ่มนีโอนาซี ที่จัดตั้งขึ้นในประเทศเยอรมันเมื่อหลายปีก่อน และมีเป้าหมายที่จะกำจัดคนตุรกี รวมถึงคนเชื้อชาติอื่นๆ ที่ไปแย่งที่อยู่อาศัยและงานในประเทศเยอรมัน

คลู คลัก แคลน กับนีโอนาซี มีแนวคิดพื้นฐานที่ไม่ต่างกันตรงที่คิดว่า เผ่าพันธุ์ของตนเป็นเผ่าพันธุ์ที่ดีที่สุด คนเผ่าพันธุ์อื่นด้อยกว่าหมด และเพื่อรักษาความศักดิ์สิทธิ์ของเผ่าพันธุ์ ก็จำเป็นจะต้องกำจัดคนเผ่าพันธุ์อื่นไปเสีย

เหมือนที่ฮิตเลอร์สั่งฆ่าคนยิวหลายล้านคนในสมัยสงครามโลก

พอลลีน แฮนสัน เป็นคนที่จุดประกายความคิด ที่ว่าคนผิวขาวเป็นเผ่าพันธุ์ที่ดีที่สุดขึ้นมาในประเทศออสเตรเลีย ผ่านนโยบายของพรรควันเนชั่น โดยเธอลงสมัครรับเลือกตั้งเป็น ส.ส.ในรัฐควีนส์แลนด์

ครั้งนั้นนโยบายหลักของเธอคือ ต่อต้านการอพยพเข้าของคนต่างชาติ โดยเฉพาะคนเอเชีย และไม่สนับสนุนการอุดหนุนทางการเงินของรัฐบาลให้กับชนเผ่าอะบอริจิน

คนเอเชียในช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมาเป็นกลุ่มชนหลักที่อพยพเข้ามาอาศัยในประเทศออสเตรเลีย และทำให้เกิดชุมชนคนเอเชียหลายพื้นที่ ไม่ว่าจะเป็นชุมชนชาวจีนซึ่งเป็นชุมชนใหญ่มาก เพราะประกอบด้วยคนจีนจากแผ่นดินใหญ่ ไต้หวัน และฮ่องกง รวมถึงคนจีนที่อพยพไปอยู่ในประเทศต่างๆ ชุมชนชาวเวียดนาม และชาวญี่ปุ่น เป็นต้น

ชาวเอเชียยังเป็นกลุ่มนักลงทุนกลุ่มหลักๆ ที่มาลงทุนในประเทศออสเตรเลียในช่วงหลังๆ นี้ด้วย โดยเฉพาะนักลงทุนญี่ปุ่นที่มาลงทุนทางด้านอสังหาริมทรัพย์ พอลลีน แฮนสัน ได้รับคะแนนท่วมท้นในการเลือกตั้งครั้งนั้นและทำให้เธอ พรรควันเนชั่น และนโยบายกีดกันสีผิวของเธอโด่งดังขึ้นมาเพียงแค่ข้ามคืน

และทำให้คนเอเชียอย่างเราๆ คิดขึ้นได้ว่า ความคิดใต้สมองลึกๆ ของคนออสเตรเลียมีเรื่องการกีดกันสีผิวอยู่ และทำให้เกิดความไม่ปลอดภัยขึ้น

เหตุการณ์ครั้งนั้นทำให้รัฐบาลออสเตรเลียหนักใจมาก เพราะผลกระทบเกิดขึ้นอย่างกว้างขวางโดยเฉพาะทางด้านเศรษฐกิจ การท่องเที่ยว และการศึกษา

การดึงเงินลงทุนกลับออกไปของกลุ่มทุนเอเชีย จำนวนนักท่องเที่ยวหลักที่ลดลงอย่างฮวบฮาบ และการตัดสินใจไปเรียนในประเทศอเมริกา หรือยุโรปแทนออสเตรเลียของนักเรียนต่างชาติ โดยเฉพาะนักเรียนเอเชีย ทำให้กระทบแผนของรัฐบาลออสเตรเลีย ที่พยายามทำให้ประเทศตนเองเป็นศูนย์กลางการศึกษาในแถบเอเชียแปซิฟิก

กระแสของพอลลีน แฮนสัน ในครั้งนั้นรุนแรงถึงขั้นที่สามารถจะเติบโตและครองสัดส่วนในรัฐสภาออสเตรเลีย และจะทำให้เธอสามารถเป็นนายกรัฐมนตรีของออสเตรเลียได้เลยทีเดียว แม้จะต้องรออีกหลายก้าวก็ตาม

นโยบายที่น่าเจ็บปวดต่อมาของเธอคือการกีดกันคนที่นับถือศาสนาอื่นนอกเหนือจากศาสนาคริสต์ ไม่ให้เข้ามาประเทศออสเตรเลีย อย่างไรก็ตามการรณรงค์ของรัฐบาลออสเตรเลียที่มองเรื่องเศรษฐกิจเป็นประเด็นสำคัญ และถือว่าเป็นการเคลื่อนไหวที่ทันเหตุการณ์ทำให้กระแสของพอลลีน แฮนสัน ไม่ลุกลามไปมาก คนออสเตรเลียหันมามองเรื่องปากท้องของตัวเองอีกครั้ง

ความรู้สึกต้อนรับคนต่างชาติ โดยเฉพาะเอเชียกลับมาอีกครั้ง

การมองที่ผลประโยชน์ที่ตนเองจะได้ในระยะยาว ทำให้ความคิดกีดกันสีผิวเจือจางลงไปมาก จริงๆ แล้ว ความรู้สึกเหยียดสีผิว หรือเหยียดเผ่าพันธุ์อื่น เป็นความรู้สึกลึกๆ ของคนหลายๆ เผ่าพันธุ์อยู่แล้ว

ความรู้สึกของคนจีนต่อคนไทย คนไทยต่อประเทศเพื่อนบ้านรอบข้าง หรือความรู้สึกยกย่องเชิดชูฝรั่งผิวขาวของคนไทย รวมถึงความรู้สึกด้อยกว่าคนผิวขาว

ความรู้สึกแตกต่างทางเชื้อชาติ เผ่าพันธุ์ ทำให้เกิดนโยบายที่ไม่เป็นธรรมเกิดขึ้นมากมาย

พอลลีน แฮนสัน ตอนนี้ต้องเผชิญกับปัญหาที่เธอสร้างขึ้นมาเองในการก่อตั้งพรรควันเนชั่นขึ้นมา เมื่อศาลเมืองบริสเบนตัดสินจำคุกนางพอลลีน แฮนสัน สามปี ข้อหาหลอกลวงในการจดทะเบียนตั้งพรรค และคงจะทำให้กระแสเหยียดสีผิวหยุดไปชั่วคราว คนที่อพยพเข้าประเทศออสเตรเลียก็หายใจคล่องขึ้นพักหนึ่ง

แต่ใครจะรู้ล่ะว่า จะไม่มีพอลลีน แฮนสัน คนที่สองเกิดขึ้นมาอีก

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us