Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ ธันวาคม 2546








 
นิตยสารผู้จัดการ ธันวาคม 2546
ฮอกไกโด : ซับโปโร             
โดย ภก.ดร. ชุมพล ธีรลดานนท์
 





ฤดู symposium เป็นศัพท์ที่นักศึกษาระดับบัณฑิตวิทยาลัยของญี่ปุ่นใช้เรียกช่วงฤดูใบไม้ร่วง ที่กินความครอบคลุมไปถึงช่วงที่งานยุ่งที่สุดช่วงหนึ่งของปี กับการมีโอกาสได้ไปเที่ยว (ถ้าบังเอิญได้จังหวะพอดี) ตามต่างจังหวัดที่จัดงาน symposium นั้น ซึ่งคราวนี้เป็นโอกาสที่ดีได้บินไปไกลถึง "ฮอกไกโด"

ตลอดฤดูใบไม้ร่วงจะมีงาน symposium จัดขึ้นทั่วประเทศ บรรดา professor ทั้งหลายแทบจะไม่ได้อยู่ติดแล็บเนื่องจากถูกเชิญไปเป็นนักพูดบ้าง ไป present งานกับนักศึกษาบ้าง แต่ก็ไม่ใช่ว่าทุกคนจะได้ไป present งาน ในความเป็นจริงแล้ว professor ญี่ปุ่นมีบทบาทสำคัญมากในระบบการศึกษาระดับบัณฑิตวิทยาลัย (Graduate School Level) จนมีคำพูดติดตลกว่า professor ที่นี่คือ พระเจ้า ดังนั้น การที่นักศึกษาคนไหน (สมควร) จะได้ไปงาน symposium ใด พูดได้ว่าขึ้นกับความเห็นชอบของ professor เพียงอย่างเดียว

โชคดีที่ในปีนี้ได้ไปฮอกไกโด ปกติถ้างาน symposium ที่จัดในเกาะฮอนชู เช่นที่เซนได โตเกียว นาโงยา เกียวโต โอซากา ฮิโรชิมา เป็นต้น มักจะเดินทางด้วย shinkansen แต่ถ้าจัดที่เกาะอื่น เช่น ฮอกไกโด คิวชู โอกินาวา ก็เลี่ยงไม่ได้ที่จะเดินทางโดยเครื่องบิน

สายการบินสัญชาติญี่ปุ่นที่ทำการบินระหว่างประเทศ มีอยู่ 2 บริษัท คือ Japan Airlines (JAL) และ All Nippon Airways (ANA) ส่วนสายการบินภายในประเทศมีมากกว่านั้นแต่อยู่ในเครือของ JAL และ ANA การไปฮอกไกโดคราวนี้ได้ใช้บริการของสายการบินน้องใหม่ที่ชื่อไม่ค่อยคุ้นหูนัก สายการบิน Airdo ซึ่งมีชื่อเต็มว่า Hokkaido International Airlines เพิ่งเปิดบริการระหว่างโตเกียว-ฮอกไกโด ได้ไม่กี่ปี

การเดินทางท่องเที่ยวในประเทศญี่ปุ่นถ้าวางแผนไม่ดี อาจทำให้งบประมาณบานปลายมากกว่าบินไปเที่ยว ต่างประเทศซะอีกโดยเฉพาะเทียบกับค่าใช้จ่ายเมื่อบินมาเที่ยวที่เมืองไทยหรือแถบเอเชีย ทั้งนี้เป็นเพราะธุรกิจสายการบินกับโรงแรมจับมือกันทำ package tour เช่น ราคาของ package ตั๋วเครื่องบิน+โรงแรม 2 คืน มีราคาถูกกว่า ซื้อตั๋วเครื่องบินอย่างเดียวหลายพันเยน

ฮอกไกโด เป็นเกาะขนาดใหญ่ทางตอนเหนือของประเทศ เกาะทั้งเกาะเท่ากับ 1 จังหวัด ซึ่งทำให้ฮอกไกโด เป็นจังหวัดที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในญี่ปุ่น เมื่อพูดถึงคำว่า "จังหวัด" ที่ใช้ในการแบ่งเขตการปกครองของญี่ปุ่น จะมีคำอยู่ 4 คำ ที่หมายถึงจังหวัด คือ โตะ ฟุ โด เคน "โตะ" มี 1 โตะ คือ โตเกียว-โตะ "ฟุ" มี 2 ฟุ คือ เกียวโต-ฟุ และ โอซากา-ฟุ "โด" มี 1 โด คือ ฮอกไกโด ส่วนที่เหลือจะเป็นเคน เช่น ชิบะ-เคน ฮอกไกโดมีพื้นที่กว้างประมาณ 4-5 จังหวัด มารวมกัน ดังนั้น ในฮอกไกโดจึงประกอบไปด้วยเมืองหลายเมือง เช่น ซับโปโร ฮาโกดาเตะ โอตารุ อาซาฮี กาวา ฯลฯ จุดหมายของการเดินทางมาร่วม symposium ครั้งนี้อยู่ที่ซัปโปโร เมืองใหญ่ที่สุดของฮอกไกโด

เมื่อ 2 ปีก่อน ผมเคยมา present งานที่ซัปโปโรแล้วครั้งหนึ่ง กลับมาคราวนี้ไม่คาดว่า สถานีรถไฟ JR ซัปโปโรจะเปลี่ยนแปลงไปจนแทบจะจำไม่ได้ JR Tower ถูกเนรมิตขึ้นมาจากพื้นที่รอบสถานีรถไฟ กลายเป็นคอมเพล็กซ์หรู แลนมาร์คใหม่ของเมืองซัปโปโร JR Tower ประกอบด้วยห้างสรรพสินค้า 3 ห้าง โรงแรมนิกโกซัปโปโร และชั้นบนสุดของ Tower ชั้นที่ 38 เป็นจุดชมวิว 360 องศาของเมืองซัปโปโร (ค่าขึ้นลิฟต์ชมวิว 900 เยน)

เมืองซัปโปโรนี้มีประวัติการสร้างมาประมาณกว่าร้อยปี ซึ่งทำให้ผังเมืองซัปโปโรเป็นผังเมืองที่เป็นระเบียบเหมือนอย่างยุโรปหรืออเมริกา ถนนเกือบทั้งหมดตัดเป็นเส้นตรง ทำให้ผังเมืองเป็นบล็อก ชื่อถนนจะบอกพิกัดของตำแหน่งที่อยู่ได้ ทำให้เราเข้าใจได้ง่าย เช่น นัดพบกันที่มุมถนนตะวันตก 4 ตัดกับใต้ 3 ไม่ต้องอธิบายกันมากก็เข้าใจได้ทันที

สำหรับคนที่มาซัปโปโรครั้งแรกไม่ควรพลาดไปชมหอนาฬิกา (Tokeidai) ศาลาว่าการเมืองซัปโปโร (Akarenga) สวนสาธารณะโอโดริที่ใช้จัดงานเทศกาลหิมะในเดือนกุมภาพันธ์ ย่านสุสุกิโนะ ที่เป็นสีสันของซัปโปโรหลังอาทิตย์ตกดิน Sapporo Factory ที่อยู่ใกล้กับโรงงานเบียร์สดซัปโปโร

สองข้างทางระหว่างนั่งรถไฟจากสนามบินชิโตเซะเข้าเมืองซัปโปโร เต็มไปด้วยต้นไม้ที่ใบไม้กำลังเปลี่ยนสีในช่วงกลางฤดูใบไม้ร่วง ทำให้ผมและรุ่นน้องที่มาด้วยกันรีบเปิดหนังสือท่องเที่ยวและพบว่าออนเซนที่ Jozankei เป็นออนเซนที่สวยและใกล้ซัปโปโรมากที่สุด โดยเฉพาะช่วงใบไม้เปลี่ยนสี และช่วงที่มีหิมะจะเป็นช่วงที่สวยที่สุดของออนเซนที่นี่

หลังจาก check in ที่โรงแรมเสร็จแล้วพวกเราก็รีบขึ้นรถบัสไปยัง Jozankei ซึ่งห่างจากซัปโปโรไปทางตะวันตกประมาณ 1 ชั่วโมง เพื่อไปแช่ออนเซนกลางหุบเขาที่มีใบไม้เปลี่ยนสี ก่อนจะเริ่มงาน symposium ในวันรุ่งขึ้น

โดยทั่วไปงาน symposium มักจะมีประมาณ 3 วัน นอกจากจะได้เสนองานตัวเองแล้วยังได้เรียนรู้ความก้าวหน้าในงานวิจัยจากมหาวิทยาลัยอื่นๆ จากทั่วประเทศ งาน symposium นี้เป็นกลไกสำคัญอย่างหนึ่งที่ผลักดันให้มีงานวิจัยใหม่ๆ ออกมาเรื่อยๆ ทั้ง oral section และ poster section จะมีคนสนใจซักถาม และอภิปรายผลงานที่นำเสนอค่อนข้างมาก ดังนั้น การเตรียมตัวตอบคำถามเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ต้องหาความรู้เพิ่มเติม ที่เป็นปัญหามากสำหรับนักศึกษาต่างชาติ คือ การสื่อสารด้วยภาษาญี่ปุ่น

ไหนๆ ก็มาถึงซัปโปโรแล้วถ้าไม่ได้ไปกินบะหมี่ย่านสุสุกิโนะ เนื้อย่างและเบียร์สดที่โรงงานเบียร์ซัปโปโร ก็เรียกว่ามาเสียเที่ยว เพราะบะหมี่ซัปโปโรขึ้นชื่อว่าอร่อยที่สุดในญี่ปุ่น และเบียร์ซัปโปโรก็ติดอันดับเบียร์ที่ขายดีที่สุดในญี่ปุ่น ในช่วงเย็นหลังจาก symposium ของแต่ละวัน การไปตระเวนกินบะหมี่หรือไปชิมเบียร์สดซัปโปโรเป็นโปรแกรมที่หาแนวร่วมได้ไม่ยาก

หลังจากเสร็จงาน symposium ภารกิจสุดท้าย คือการขออยู่ต่ออีก 2 วัน เสาร์-อาทิตย์ เพื่อไปเที่ยวที่เมืองอื่นๆ ของฮอกไกโด โปรดติดตามในฉบับถัดไป

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us