Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ ธันวาคม 2546








 
นิตยสารผู้จัดการ ธันวาคม 2546
ใครจะซื้อ Manchester United?             
โดย รังสรรค์ ธนะพรพันธุ์
 

   
related stories

โครงสร้างผู้ถือหุ้น Manchester United มิถุนายน 2546
โครงสร้างผู้ถือหุ้น Manchester United ตุลาคม 2546

   
www resources

โฮมเพจ แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด

   
search resources

Manchester United




ในขณะที่มหาเศรษฐีชาวอังกฤษเจ้าของกิจการสโมสรฟุตบอลถอดใจ พากันขายสโมสรฟุตบอลที่ตนเป็นเจ้าของ เนื่องจากพานพบว่า สโมสรฟุตบอลมิใช่ธุรกิจที่ให้กำไร อภิมหาเศรษฐีชาวต่างชาติตบเท้าเข้าไปยึดกิจการสโมสรฟุตบอลในอังกฤษเป็นว่าเล่น

มิลาน แมนดาริก (Milan Mandaric) นายทุนอเมริกันเชื้อสายเซอร์เบียเข้ายึดสโมสร Portsmouth โรมัน อะบรามโมวิช (Roman Abramovich) นายทุนน้ำมันชาวรัสเซียยึดสโมสร Chelsea สโมสร Leeds United ซึ่งมีอาการกึ่งล้มละลายต้องคลานไปหาเช็กอับดุล มูบารัก อัล-กาลิฟา (Sheikh Abdul bin Mubarak al-Khalifa) แห่งบาห์เรน

ในบรรดาสโมสรฟุตบอลใน Premier League ของอังกฤษ ไม่มีสโมสรใดที่น่าซื้อมากไปกว่า Manchester United (ซึ่งต่อไปนี้จะเรียกย่อๆ ว่า ManU) ในทันทีที่อภิมหาเศรษฐีรัสเซียซื้อสโมสรฟุตบอล Chelsea วงการฟุตบอลพากันจับตามองว่า ใครจะเสนอซื้อ ManU

เหตุใด ManU จึงน่าซื้อ?

ประการแรก ManU เป็นสโมสรฟุตบอลที่มีฐานะการเงินอันมั่นคงที่สุด ไม่จำเพาะแต่ในสหราชอาณาจักร หากยังมั่นคงที่สุดในยุโรปอีกด้วย ManU มีผลประกอบการอันดีเลิศ โดยมีกำไรติดต่อกันหลายปี ในปีการบัญชี 2544/2545 ManU มีรายได้ 146 ล้านปอนด์สเตอร์ลิง และมีกำไร 32 ล้านปอนด์สเตอร์ลิง

ประการที่สอง ManU มีระบบการบริหารจัดการที่ทันสมัยและบริหารจัดการอย่างเป็นวิทยาศาสตร์ คณะกรรมการบริหารของ ManU ประกอบด้วยกรรมการที่มีประสบการณ์ในการบริหารทั้งในภาครัฐบาลและภาคธุรกิจเอกชน เซอร์โรแลนด์ สมิธ (Sir Roland Smith) อดีตผู้บริหาร British Aerospace และกรรมการ Bank of England ดำรงตำแหน่งประธานคณะกรรมการอำนวยการ ManU ตั้งแต่ปี 2534 อันเป็นปีก่อนการก่อตั้ง Premier League ประธานคนปัจจุบัน คือ เซอร์รอย การ์ดเนอร์ (Roy Gardner) แห่ง Centrica มาร์ติน เอ็ดเวิร์ดส์ (Martin Edwards) ดำรงตำแหน่ง CEO ในช่วงเวลาเดียวกันโดยที่ปีเตอร์ เคนยอน (Peter Kenyon) สืบต่อในตำแหน่งนี้ นับตั้งแต่เดือนสิงหา คม 2543 จวบจนกระทั่งสโมสร Chelsea ซื้อตัวไปเมื่อต้นฤดูการแข่งขัน 2546/2547 และ ManU แต่งตั้งให้เดวิด กิลล์ (David Gill) ดำรงตำแหน่งแทน

ประการที่สาม ManU มีฐานธุรกิจที่มั่นคง นอกเหนือจากธุรกิจสโมสรฟุตบอลแล้ว ManU ยังมีธุรกิจโรงแรม ธุรกิจศูนย์ การค้าและธุรกิจการค้าปลีก จนถึงขั้นจัดตั้ง Manchester United Megastore ซึ่งแผ่กิ่งก้านสาขาไปยังประเทศต่างๆ ManU ผลิตเครื่องแต่งกายนักกีฬา อุปกรณ์กีฬา ของที่ระลึก และอื่นๆ โดยมี Manchester United เป็นยี่ห้อ และพยายามขับเคลื่อนเป็นยี่ห้อระดับโลก (Global Brand) ในปัจจุบันรายได้จากการขายสินค้าของ ManU มีมูลค่าประมาณ 20-25% เป็นโครงสร้างรายได้ของ ManU

ประการที่สี่ ManU มีฐานลูกค้าที่กว้างขวาง แฟน ManU ครอบคลุมปริมณฑลต่างๆ ในมนุษยพิภพ ทั้งนี้มีผู้ประมาณการว่า ManU มีแฟนทั่วโลกประมาณ 54 ล้านคน เฉพาะในสหราชอาณาจักรมีถึง 11 ล้านคน ด้วยเหตุดังนี้ ManU จึงสามารถจำหน่ายบัตรชมการแข่งขันฟุตบอลหมดทุกนัด ทั้งๆ ที่สนาม Old Trafford ซึ่งมีผู้ตั้งสมญานามว่า Theatre of Dreams บ้าง หรือ Hollywood of Football บ้าง มีความจุถึง 67,500 ที่นั่ง ManU ให้ความสำคัญแก่กิจการสมาชิกสัมพันธ์ อย่างมาก ในอีกด้านหนึ่งบรรดาแฟนๆ นอกจากจะรวมตัวกันอุดหนุน ManU แล้วยังรวมตัวกันเป็น Shareholders United ซื้อหุ้น ManU เพื่อป้องกันมิให้ ManU ถูกครอบกิจการ

ประการที่ห้า ManU มีสปอนเซอร์เงินหนา ในปัจจุบันสปอนเซอร์สำคัญของ ManU ประกอบด้วย Nike (300 ล้านปอนด์สเตอร์ลิง) Vodafone (100 ล้านปอนด์สเตอร์ลิง) Pepsi, Budweiser และ Ladbrokes ตราบเท่าที่ ManU มีตำแหน่งสัมพัทธ์อันดับสูงใน Premier League และมีแฟนสโมสร ชนิดอุ่นหนาฝาคั่ง ใครๆ ก็อยากเป็นสปอนเซอร์ ManU

ประการที่หก ManU มีทีมนักฟุตบอลที่แข็งแกร่งมีผู้ประมาณการว่า มูลค่าของทีมนักฟุตบอล ManU ตกประมาณ 100 ล้านปอนด์สเตอร์ลิงในช่วงเวลา 17 ปีที่เซอร์เอเล็กซ์ เฟอร์กูสัน (Alex Ferguson) เป็นผู้จัดการ ManU ครองถ้วย 18 ใบ และเป็นแชมป์ Premier League ถึง 8 สมัย แม้ในยุคสมัยที่ ManU ขายเดวิด เบคแฮม (David Beckham) ไปแล้ว ManU ก็ยังสามารถธำรงตำแหน่งสัมพัทธ์ที่ดีได้

ด้วยเหตุผล 6 ประการดังที่พรรณนาข้างต้นนี้ ManU จึงเป็นเป้าหมายแห่งการครอบกิจการ ความเคลื่อนไหวในการครอบกิจการ ManU ปรากฏเป็นข่าวตั้งแต่เดือนกันยายน 2546 เมื่อหนังสือพิมพ์ The Ob-server รายงานว่ามีผู้จ้องซื้อ ManU อย่างน้อย 3 ราย รายหนึ่งเป็นชาวรัสเซีย รายที่สองเป็นชาวยุโรป และรายที่สามเป็นอาหรับ

แท้ที่จริงแล้ว ความเคลื่อนไหวในการครอบกิจการ ManU มีมาตั้งแต่ปี 2542 เมื่อรูเปิร์ต เมอร์ด็อก (Rupert Murdoch) เจ้าพ่อธุรกิจสื่อมวลชน พยายามซื้อ ManU แต่ได้รับการต่อต้านจากสังคม และรัฐบาลอังกฤษ เมอร์ด็อกเป็นเจ้าของสถานีโทรทัศน์ BSKyB ซึ่งได้สัมปทานการถ่ายทอดการแข่งขันฟุตบอล Premier League หากเมอร์ด็อกครอบกิจการ ManU ด้วย เมอร์ด็อกก็จะมีอำนาจผูกขาดในธุรกิจฟุตบอล

ManU มีหุ้นประมาณ 260 ล้านหุ้น หากจะครอบกิจการ ManU ต้องใช้เงินประมาณ 500-600 ล้านปอนด์สเตอร์ลิง ราคาหุ้น ManU แกว่งไกวตามสถานการณ์ ในตลาดและสภาวการณ์ในการเก็งกำไรหุ้น ManU เคยมีราคาสูงสุดถึง 400 เพ็นซ์ ในเดือนมีนาคม 2543 แต่แล้วร่วงหล่นลงเหลือ 95 เพ็นซ์ในเดือนพฤศจิกายน 2545 ในช่วงต้นปี 2546 เขยิบขึ้นมาเป็น 103 เพ็นซ์ เมื่อมีข่าวการครอบกิจการในเดือนกันยายน 2546 ราคาหุ้นพุ่งขึ้นสู่ระดับ 168 เพ็นซ์ และทะยานสู่ระดับ 239 เพ็นซ์ในเวลาต่อมา

การที่ราคาหุ้น ManU ขยับขึ้นอย่างมหัศจรรย์ในเดือนกันยายน 2546 ก็เพราะมีผู้กว้านซื้อเพื่อครอบกิจการตลาดกำลังจับตามองผู้ซื้ออย่างน้อย 3 ราย

รายแรก ได้แก่ บริษัทการลงทุน Cubic Expression อันเป็นของอภิมหา เศรษฐีชาวไอริช จอห์น แม็กเนียร์ (John Magnier) และ เจ.พี.แม็กมานัส (J.P. McManus) ทั้งคู่เป็นเจ้าของคอก ม้าอันมีชื่อเสียง Cubic Expression เดิมถือหุ้นใน ManU เพียง 11.4% ต่อมาเจรจาซื้อหุ้นจาก BSkyB จนถือหุ้นรวม 23.15% นับเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ที่สุดของ ManU แต่ยังไม่สามารถควบคุมจัดการ ManU ได้

รายที่สอง ได้แก่ มัลคอล์ม เกลเซอร์ (Malcolm Glazer) นายทุนชาวอเมริกัน เจ้าของทีมฟุตบอลอเมริกัน Tampa Bay Bucaneers ซึ่งกว้านซื้อจนถือหุ้น ManU ถึง 9.70%

รายที่สาม ได้แก่ แฮร์รี่ ด็อบสัน (Harry Dobson) นายทุนเหมืองแร่ชาวสกอต ซึ่งถือหุ้น ManU 6.5%

นอกจากนี้ ยังมียอน เดอ มวล (Jon de Mol) นายทุนสื่อมวลชนชาวฮอลแลนด์ ซึ่งถือหุ้น ManU 4.1% และเดอร์มอต เดสมอนด์ (Dermot Desmond) มหาเศรษฐีชาวไอริช เจ้าของสโมสรGlasgow Celtic ถือหุ้นใน ManU 1.5% (ดูตารางที่ 2)

นับตั้งแต่ช่วงก่อนเปิดฤดูการแข่งขัน 2546/2547 ราคาหุ้น ManU มีความอ่อนไหว ทั้งในคราวที่ ManU ขายเดวิด เบ็คแฮม แก่ Real Madrid และในคราวที่ปีเตอร์ เค็นยอน ทิ้งตำแหน่ง CEO ไปอยู่ Chelsea ผู้ถือหุ้นจำนวนไม่น้อยไม่พอใจฝ่ายบริหารที่ยึดนโยบาย ซื้อแพง ขายถูก' โดยชี้ว่า ManU ซื้อ ฮวน ซีบาสเตียน เวรอน (Juan Sebastian Veron) ซื้อฮวน ซีบาสเตียน เวรอน (Juan Sebastian Veron) แพงเกินไป (28 ล้านปอนด์สเตอร์ ลิง ต่อมาขายขาดทุน 13 ล้านปอนด์สเตอร์ ลิง) ส่วนการซื้อเดียโก ฟอร์ลัน (Diego Forlan) ถึง 7.5 ล้านปอนด์สเตอร์ลิง ก็ไม่คุ้มค่า ในขณะที่ซื้อแพง กลับขาย เดวิด เบ็คแฮม ในราคาต่ำเกินไป (25 ล้านปอนด์ สเตอร์ลิง)

ManU กำลังตกต่ำอยู่ใต้กระแสการครอบกิจการ หรือ Takeover Threat อย่างปราศจากข้อกังขา บรรดาผู้ถือหุ้นรายย่อยที่เป็นแฟนพันธุ์แท้รวมกลุ่มเป็น Shareholders United รวมหุ้นได้เพียง 2% พยายามที่จะระดมหุ้นรายย่อยให้ได้ 10% โดยหวังว่าจะสามารถทานการครอบกิจการ ManU ได้ (The Financial Times, November 13, 2003)

ManU เป็นสโมสรฟุตบอลที่น่าซื้อมากกว่า Fulham FC มากนัก บัดนี้มีผู้จ้อง ตะครุบ ManU การครอบกิจการ ManU จะบรรลุผลหรือไม่ และใครซื้อ ManU เป็นเรื่องที่ควรติดตามข่าวต่อไป

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us