Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ ธันวาคม 2546








 
นิตยสารผู้จัดการ ธันวาคม 2546
เปิดโฉมสำนักงานใหญ่ Bayer ฝีมือบริษัทออกแบบสนามบินสุวรรณภูมิ             
 


   
search resources

Bayer




อีกไม่กี่ปี ไทยเราจะได้ใช้สนามบินแห่งชาติแห่งใหม่คือสนามบินสุวรรณภูมิกันแล้ว อดใจรออีกไม่นานก็จะได้เห็นโครงสร้างรวมทั้งงานออกแบบอาคารโดยรวมซึ่งเป็นผลงานของ Murphy/Jahn บริษัทสถาปัตยกรรมสัญชาติอเมริกัน

ณ เวลานี้ลองมาชื่นชมผลงานออกแบบของ Murphy/Jahn ที่เสร็จเรียบร้อยแล้วดูก่อน เป็นอาคารสำนักงานใหญ่ของ Bayer บริษัทเคมี-เวชภัณฑ์ยักษ์ใหญ่แห่งเยอรมนีนั่นเอง อาคารนี้เป็นผลพวงจากนโยบายปรับโครงสร้างในทั่วโลกช่วงกลางทศวรรษ 1990 ของ Bayer ซึ่งตั้งงบประมาณไว้มหาศาลถึง 3 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ และหันมาเน้นหรือให้ความสำคัญกับสายการผลิตเวชภัณฑ์ มากขึ้น

Bayer รู้สึกว่าสำนักงานใหญ่ที่เมือง Leverkusen เก่าแก่มากเพราะสร้างมานานถึง 30 ปีแล้ว เห็นควรจะเปิดทางให้กับอาคารแห่งใหม่ที่จะช่วยเสริมสร้างภาพลักษณ์ใหม่ๆ ให้กับบริษัทด้วย

เมื่อ Murphy/Jahn ชนะการประมูลออกแบบสร้างอาคารสำนักงานใหญ่แห่งใหม่ของ Bayer ในปี 1997 ก็ต้องรับเอาข้อผูกมัดว่า ต้องออกแบบอาคารที่ไม่เพียงจะสะท้อนถึงความเป็นศูนย์กลางของกิจการระดับโลก แต่ยังเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจของชุมชนเมืองที่มีประชากร 162,000 คนด้วย

สถาปนิก Helmut Jahn จึงทำงานชิ้นนี้ตามข้อกำหนดของ Bayer ที่ว่าต้องการอาคารทรงเตี้ย เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ประหยัดค่าใช้จ่าย ช่วยเติมเต็มและกลมกลืนกับอุทยานที่อยู่ติดกันแต่เป็นที่ของส่วนบุคคลได้เป็นอย่างดี

Bayer จึงได้สำนักงานใหญ่ซึ่งมีกำหนดแล้วเสร็จในปีนี้ จุดเด่นคือสร้างด้วย กระจกจึงมีความโปร่งใสโดยตลอด ตัวอาคารใหญ่เป็นรูปโค้งตัดครึ่ง (semi- elliptical) แลดูสง่างาม นอกเหนือจากตัวอาคารใหญ่แล้ว ยังมี open-sided pergola ซึ่งเป็นอาคารยาวรูปทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้าสร้างคร่อมพื้นที่ว่างระหว่างถนนและทางเข้า ตัวหลังคาของ pergola มุงด้วย Makrolon polycarbonate (เป็นแผ่นวัสดุสังเคราะห์โปร่งใสที่ Bayer เป็นผู้พัฒนาและผลิตขึ้นเอง) ซึ่งทำหน้าที่เป็นแผ่นฟิล์มที่มีคุณสมบัติพิเศษคือสามารถเปลี่ยนสีได้ ขึ้นอยู่กับตำแหน่งของดวงอาทิตย์เป็นสำคัญ เมื่อแสงอาทิตย์ส่องผ่านลงมาจึงเกิดเป็นเหมือนม่านสีตก กระทบลงบนพื้นซึ่งเป็นทางเดินสีขาวนั่นเอง ทำให้ผู้ที่เดินเข้าไปในตัวอาคารไม่เกิดอาการตาพร่า

ทีมสถาปนิกคำนวณให้เบ็ดเสร็จว่า แนวคิดเรื่องการใช้พลังงานแบบ integrated energy ทำให้ อาคารกระจกใสรูปทรงโดดเด่นนี้ใช้เชื้อเพลิงจากซากฟอสซิล (fossil fuels) ไม่ถึง 50 เปอร์เซ็นต์ของความต้องการของอาคารทั่วไปที่มีขนาดเท่ากัน ยกตัวอย่างคือ ด้านหน้าของตัวอาคารซึ่งสร้างด้วยกระจกแบบ twin-shelled glass ทำหน้าที่ควบคุมการหมุนเวียนของอากาศโดยมีอุณหภูมิภายในและภายนอกตัวอาคารเป็นกลไกควบคุม เมื่อภายในอาคารต้องการอากาศมากขึ้น แผงกระจกด้านนอกจะเปิดออก ส่วนหน้าต่างที่อยู่ภายในจะเปิดทิ้งไว้หรือปิดเสียก็ได้ เพราะมีแผงคอนกรีตที่อยู่ใกล้กับพื้นเป็นตัวรับความร้อนหรือความเย็น เพื่อเป็นกลไกควบคุมอากาศที่ไหลเข้าสู่ตัวอาคารอีกทีหนึ่ง นับเป็นการลงลึกในรายละเอียดของงานออกแบบระบบหมุนเวียนอากาศได้อย่างครบถ้วน

นอกจากนี้ ความร้อนหรือความเย็นยังสามารถถ่ายเทสู่ตัวอาคารได้อีกวิธีหนึ่งด้วยการเดินท่อน้ำระบบ integrated piping network มาตามพื้นคอนกรีตโดยสูบน้ำจากแม่น้ำที่อยู่ใกล้เคียงขึ้นมานั่นเอง

ดังนั้น ความพิเศษแบบสุดๆ ของสำนักงานใหญ่แห่งใหม่ของ Bayer จึงไม่ได้อยู่ที่รูปลักษณ์สวยสง่าเด่นสะดุดตาของโครงสร้างอาคารโดยรวมที่กลมกลืนไปกับสิ่งแวดล้อม หากแต่เป็นเรื่องของรายละเอียดการใช้เทคโนโลยีขั้นสูงทั้งหมดที่ผู้ใช้เองก็แทบจะไม่สังเกตเห็นด้วยซ้ำ

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us