Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ ธันวาคม 2546








 
นิตยสารผู้จัดการ ธันวาคม 2546
ของขวัญ ของฝาก ที่มีเรื่องเล่าจากร้าน "The Met"             
โดย อรวรรณ บัณฑิตกุล
 


   
www resources

The Metropolitan Museum of Art Home Page - The Met

   
search resources

The Metropolitan Museum of Art Store (The Met Store)
ประภาวดี โสภณพนิช
ฐิตาภรณ์ ตู้จินดา
Crafts and Design




"The Met" หรือ The Metropolitan Museum of Art Store (The Met Store) สาขาล่าสุดบนชั้น 3 ของศูนย์การค้าสยามดิสคัฟเวอรี่ เป็นส่วนหนึ่งของ The Metropolitan Museum of Art ที่นิวยอร์ก ซึ่งเป็นพิพิธภัณฑ์ที่มีชื่อเสียงและใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก

The Metropolitan Museum of Art เป็นเสมือนเอ็นไซโคลพีเดียว่าด้วยงานศิลปะ ของโลก มีการจัดแสดงศิลปวัฒนธรรมจากทุกส่วนของโลกจากยุคโบราณถึงปัจจุบัน ก่อตั้งโดยผู้นำวัฒนธรรมในนิวยอร์กและกวีเอก วิลเลียม คัลเลนไบรอันต์, เฟรเดอริค อี.เชิร์ช และจอห์น เคนเซ็ท ในปี ค.ศ.1870

ร้าน The Met ก่อตั้งในปีเดียวกันกับพิพิธภัณฑ์ โดยมีวัตถุประสงค์หลัก เพื่อนำรายได้จากการขายของเป็นทุนในส่วนบำรุงรักษาพิพิธภัณฑ์ให้ยืนยาวต่อไป ในขณะเดียวกันก็เป็นการเปิดโอกาสให้ประชาชนจากทั่วโลกได้มีโอกาสศึกษางานศิลปะชิ้นสำคัญของโลก โดยไม่ต้องเดินทางไปถึงนิวยอร์ก

งานทุกชิ้นภายในร้าน เช่น จิวเวลรี่ งานแกะสลัก งานปั้น ภาพพิมพ์ หนังสือ หรือแผ่นซีดีเกี่ยวกับงานศิลปะ ตลอดจนงานผ้าทอต่างๆ จะต้องได้รับลิขสิทธิ์จากพิพิธภัณฑ์ ในการขายสินค้าซึ่งเป็นผลงานที่ผลิตขึ้นใหม่ (reproduction)

Developers และ Curators ของพิพิธภัณฑ์ เป็นผู้พัฒนาให้รูปลักษณ์ของผลิตภัณฑ์ใกล้เคียงกับชิ้นงานต้นแบบโบราณที่มีอยู่มากที่สุด ทั้งรูปแบบด้านการดีไซน์ และเทคนิควิธีทำแบบโบราณดั้งเดิม เพื่อเป็นการอนุรักษ์ art form และ craftsman ที่มีฝีมือเอาไว้ด้วยเช่นกัน

งานทุกชิ้นจะต้องแนบ "art text" ซึ่งเล่าประวัติและเรื่องราวความเป็นมาของสินค้า นั้นๆ ตรงนี้คือจุดสำคัญที่จะทำให้ผู้ที่เข้ามารับรู้ เกิดความรู้สึกที่ผูกพันลึกซึ้ง และอยากได้ไว้ ครอบครอง

ปัจจุบันร้าน The Met มีสาขาในประเทศสหรัฐอเมริกา ถึง 15 สาขา และอีก 17 สาขา ตั้งอยู่ในประเทศต่างๆ

"...เป็นฝันเล็กๆ ว่าอยากมีร้านแบบนี้" ประภาวดี โสภณพนิช กรรมการผู้จัดการเจ้าของร้าน The Met เอ่ยขึ้น และเล่าถึงความประทับใจเมื่อครั้งไปเยี่ยมชมร้าน The Met ที่นิวยอร์ก สมัยที่เธอยังเรียนมัธยมในสหรัฐอเมริกา

"...อยากทำอะไรที่ไม่ใช่แฟชั่น และไม่มีใครเคยทำมาก่อน" ฐิตาภรณ์ ตู้จินดา หุ้นส่วนสำคัญอีกคนหนึ่งกล่าวถึงแรงบันดาลใจ เธอรู้จักร้านนี้ครั้งแรกขณะที่กำลังศึกษาต่อระดับปริญญาตรีที่นิวยอร์กเช่นกัน

ประภาวดีจบการศึกษาระดับปริญญาตรี ด้านเศรษฐศาสตร์และความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ที่ Tuftf University, Boston USA และปริญญาโททางด้านการเงินและการธนาคารระหว่างประเทศ ที่ Columbia University, NY USA ส่วนฐิตาภรณ์จบปริญญาตรีด้านการเงินและธุรกิจระหว่างประเทศ ที่ North Eastern University, Boston USA และปริญญาโท ด้านธุรกิจระหว่างประเทศที่ศศินทร์ จุฬาฯ

ดูเหมือนว่าความชื่นชมส่วนตัว และความผูกพันเป็นพิเศษกับ The Metropolitan Museum of Art ที่นิวยอร์ก ที่เวียนเดินเข้าออก เมื่อครั้งยังเป็นนักศึกษาอยู่ที่อเมริกาของคนทั้งคู่ ประกอบกับความหวังที่จะเป็นเจ้าของธุรกิจที่ตัวเองชอบ และยังได้เป็นผู้ถ่ายทอดงานศิลปะของโลก คือสาเหตุสำคัญทำให้เกิดร้าน "The Met" ในเมืองไทย

กิ๊บรูปผีเสื้อศิลปะจากฝรั่งเศส เป็นงานชิ้นแรกราคาประมาณ 20 เหรียญ ซึ่งประภาวดีตัดใจซื้อเมื่ออายุประมาณ 18-19 ปี หลังจากแวะเวียนมาดูสินค้าตั้งแต่เริ่มย่างเข้าวัยรุ่น ส่วนของชิ้นแรกของฐิตาภรณ์คือ โปสเตอร์ของจอร์เจีย โอคีฟ

"สมัยก่อน คนไทยอาจเคยชอบ Luxury Brand แต่ตอนนี้ดูเหมือนว่าแต่ละคนมีประสบการณ์ชีวิตที่มากขึ้น ต้องการหาอะไรที่แปลกใหม่ อะไรที่มันพิเศษทางใจเข้ามาใช้กับชีวิตประจำวัน ดังนั้นแนวโน้มของงานศิลปะที่แต่ละชิ้นมีเรื่องราว มีเรื่องเล่า จะกินใจคนไทยได้มากขึ้น" ทั้งสองสาวผลัดกันเล่าถึงสาเหตุ ที่ตัดสินใจทำร้านที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในเมืองไทย

"เมื่อตกลงจะทำ ก็ได้วาง Business Plan เสนอต่อกรรมการของพิพิธภัณฑ์ ที่นิวยอร์ก และบินไปเจอคณะกรรมการที่โน่น มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน ก็บอกเขาตรงๆ ว่าชอบงานของเขาตั้งแต่เด็ก คุยกันเยอะว่า เราจะทำอะไรกับแบรนด์ของเขาได้บ้าง"

The Met ใช้งบประมาณในการเปิดร้าน และค่าจัดงาน แกรนด์โอเพนนิ่ง เมื่อเดือนที่ผ่านมา ประมาณ 10 ล้านบาท ไม่รวมค่าลิขสิทธิ์ที่ต้องจ่ายให้กับทาง Museum

"Make Art a part of your life" คือสโลแกนของร้านที่ต้องการให้คนเห็นความสำคัญของงานศิลปะและเอามาเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวัน

กลุ่มลูกค้าที่เดินใน The Met ส่วนหนึ่งจะเป็นคนไทยทั้งที่รู้จักชื่อนี้ดีอยู่แล้ว และคนกลุ่มใหม่ที่ติดใจในงานดีไซน์และความเป็นมาของชิ้นงาน อีกส่วนหนึ่งจะเป็นชาวต่างชาติ มีตั้งแต่อายุ 25 ปี หรือกลุ่มเด็กมหาวิทยาลัยที่สนใจในงาน print ส่วนคนอายุ 50-60 ปีจะชอบของแต่งบ้าน ของแต่งตัว หรือเครื่องเพชร ซึ่งมีให้เลือกมากมาย

"The Met มี Asian Collection น้อยมาก และที่มีส่วนใหญ่จะเป็นของประเทศจีน ญี่ปุ่น เกาหลี ของไทยแทบจะไม่มีเลย การเปิดสาขาในเมืองไทยจะเปิดโอกาสให้ Developers ได้เข้ามามีโอกาสพบเห็นงานศิลปะจากบ้านเราเช่นกัน

นั่นคือความหวังลึกๆ จากใจของผู้บริหารผู้หญิงทั้ง 2 คน

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us