Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ ธันวาคม 2546








 
นิตยสารผู้จัดการ ธันวาคม 2546
ฟองคลื่นศักดินา ที่ Sofitel Central Hua Hin Resort             
โดย อรวรรณ บัณฑิตกุล
 


   
www resources

โฮมเพจ โรงแรมโซฟิเทล

   
search resources

โรงแรมโซฟิเทล เซ็นทรัล หัวหินรีสอร์ท
Hotels & Lodgings




แหล่งตากอากาศของคนในวงสังคมชั้นสูงของเมืองไทยในอดีต คงไม่มีที่ไหนป๊อปปูล่าเท่าหัวหินอีกแล้ว เวลาผ่านไปเกือบ 100 ปี มนต์เสน่ห์ของบ้านสมอเรียง หรือแหลมหินหมู่บ้านประมงเล็กๆ ที่กลายเป็นชายหาดหัวหินในเวลาต่อมาแห่งนี้ ยังคงเป็นที่นิยม แม้จะดูเงียบเหงาซบเซาไปบ้างในบางเวลาของวันวาร

หาดทรายขาวละเอียดยาวเหยียดมีกลุ่มหินโผล่ขึ้นมากระจัดกระจายอย่างสวยงามสมชื่อแหลมหิน ในยามค่ำคืนมีเพียงแสงพริบพราวจากดวงดาวบนท้องฟ้า เป็นความงดงามซึ่งซ่อนตัวอยู่ในธรรมชาติที่เงียบสงบมาเนิ่นนาน จนกระทั่งมีการย้ายถิ่นฐานของชาวประมงเข้ามาอยู่อาศัยแสงเทียนและแสงตะเกียงเริ่มส่องสว่างวับแวมแทนที่

การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่บนชายหาดแห่งนี้ เริ่มขึ้นเมื่อทางรถไฟสายใต้จากสถานีบางกอกน้อยจนถึงสถานีหัวหินได้ก่อสร้างเสร็จลงเมื่อปี พ.ศ.2454 เพราะบรรดาพระบรมวงศานุวงศ์ ข้าราชการ พ่อค้า คหบดี ได้นิยมไปหาซื้อที่ดินเพื่อสร้างเป็นตำหนัก และบ้านพักตากอากาศกันอย่างมากมาย

ปัจจุบันที่ดินและบ้านพักเก่าแก่เหล่านั้นกำลังทยอยเปลี่ยนมือให้กลุ่มนักลงทุน หรือกลุ่มลูกหลานนำไปสร้างเป็นคอนโดมิเนียม และโรงแรมแทน การลงทุนอาจจะสะดุดไปบ้างในช่วงวิกฤติเศรษฐกิจ แต่ในปี พ.ศ.2547 นี้มีโครงการใหม่เตรียมเปิดตัวหลายโครงการ

ดูเหมือนว่าอดีตอันฟู่ฟ่าริมหาดแห่งนี้จะหวนกลับคืนมาอีกครั้งหนึ่งแล้ว

โรงแรมรถไฟหัวหิน หรือโฮเต็ล หัวหิน เป็นโรงแรมแห่งแรก ที่ปรากฏขึ้นบนชายหาดแห่งนี้เมื่อ 80 ปีก่อน เรื่องราวบรรยากาศ อันสนุกสนานของหนุ่ม-สาวในวงสังคมชั้นสูงในยุคนั้น ล้วนแล้วแต่เป็นความทรงจำที่มีเสน่ห์ดึงดูดให้หลายคนต้องแวะเวียนกลับมารำลึกความหลังอย่างต่อเนื่อง เมื่อผนึกรวมกับกลยุทธ์การจัดการสมัยใหม่ที่มีประสิทธิภาพของกลุ่มโรงแรมและรีสอร์ต ในเครือของเซ็นทรัล และกลุ่ม Accor จากประเทศฝรั่งเศส ที่เข้ามาบริหารและปรับปรุงใหม่เพิ่มเติมในปี พ.ศ.2532 ทำให้ที่นี่ยังคงเป็นโรงแรมชั้นหนึ่งที่มีชื่อเสียงจนถึงปัจจุบัน

ภาพเบื้องหน้าคืออาคารที่สวยสง่า แลดูคลาสสิก สูงเพียง 2 ชั้น หลังคามุงด้วยกระเบื้องสีแดงสด ตัดกับตัวตึกสีขาวสะอาดตา โดดเด่นด้วยลวดลายประกอบสไตล์โคโลเนียลทอดยาวไปตาม ชายหาดบนพื้นที่กว้างขวาง 97 ไร่

ตัวอาคารแบ่งออกเป็น 3 ปีก คือ ปีก Railway คือ อาคารเดิมของโรงแรมรถไฟ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน ดำเนินการสร้างเมื่อปี พ.ศ.2464

ในบริเวณโรงแรม ยังมีสนามเทนนิสและสนามกอล์ฟที่ก่อสร้าง ไปพร้อมๆ กัน งานก่อสร้างเริ่มขึ้นในปี พ.ศ.2464 แล้วเสร็จเปิดเป็นทางการ เมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2465 งบประมาณการก่อสร้างทั้งสิ้น 128,634.94 บาท

ปีก Colonial Wing เป็นฝั่งที่ก่อสร้างต่อจากปีก Railway และ ปีกสุดท้ายคือ Garden Wing ซึ่งเป็นปีกใหม่ล่าสุดที่ก่อสร้างเสร็จเมื่อปี พ.ศ.2542 รวมห้องพักทั้งหมด 207 ห้อง โดยที่ตึกใหม่นั้นมีลักษณะโครงสร้างที่เป็นงานสถาปัตยกรรมแบบเก่าสอดประสานกลมกลืนไปกับตัวตึกเก่า

เรื่องราวที่เป็นประวัติศาสตร์ในอาคาร Railway เดิม ดูเหมือนยังเป็นจุดขายสำคัญของโรงแรม และผู้บริหารโรงแรมกลุ่มใหม่ก็พยายามคงเอกลักษณ์เดิมไว้ให้ได้มากที่สุด

อาคาร Railway ออกแบบโดย A Rigazzi สถาปนิกชาวอิตาเลียน ประจำกรมรถไฟ เป็นตึกแบบยุโรปทรงโคโลเนียล มีอาคารยาว 2 หลัง ต่อกันเป็นมุมฉาก ในแนวเหนือ-ใต้ กับตะวันออก-ตะวันตก ชั้นล่างมีห้องโถงใหญ่เป็นล็อบบี้ลงทะเบียนแขกที่เข้ามาพัก พื้นห้องส่วนนี้ปูด้วยหินอ่อนจากอิตาลี วางเล่นลายหมากรุก มีชุดรับแขกวางกันเป็นกลุ่ม ส่วนภายในห้องพัก พื้น และประตูหน้าต่างเป็นไม้สักทั้งหมด จากห้องโถงนี้มีบันไดใหญ่ลงสู่ถนนไปชายหาด

จากบันไดไม้สักขึ้นสู่อาคารชั้น 2 จะพบห้องโถงใหญ่สำหรับนั่งพักแขก สิ่งก่อสร้างที่เห็นจะเป็นงานไม้ทั้งหมด นอกจากบางส่วนที่ต้องอาศัยงานคอนกรีต แต่ละห้องซึ่งเป็นห้องเตียงคู่นั้นค่อนข้างกว้าง ทำให้บรรจุเตียงได้เพียง 28 เตียง

แขกที่มาพักในยุคนั้นยังได้เพลิดเพลินไปกับบาร์เหล้า ห้องบิลเลียด สนามเทนนิส และสนามกอล์ฟ โรงแรมรถไฟจึงเป็นที่พักตากอากาศ และสถานที่นัดพบของหนุ่มสาว ที่สมบูรณ์แบบและหรูหราที่สุดแห่งแรกในประเทศไทย

ภายในโฮเต็ลรถไฟที่โก้หรูเมื่อ 80 ปีก่อนนั้น สรศัลย์ แพ่งสภา ได้บรรยายไว้ ในหนังสือ "ราตรีประดับดาวที่หัวหิน" ว่า เป็นเตียงไม้สักมีเสาสูง สำหรับกางมุ้งผ้าโปร่งตาเม็ดพริกไทยสีขาว ที่นอนนุ่มหนา ข้างเตียงมีโคมไฟชนิดเตี้ย ตู้เสื้อผ้าไม้สัก โต๊ะเขียนหนังสือพร้อมโคมไฟ ตู้ไม้สักผสมหวายโปร่งสำหรับใส่ผ้าส่งซัก เก้าอี้ไม้สักผสมหวายแบบเอนนอนได้ ม้าวางกระเป๋าเดินทาง ที่แขวนหมวก พัดลมแขวนเพดาน เครื่องใช้ประจำห้องครบครัน หน้าต่างแบบบานเกร็ดยาวจรดพื้นแบ่งออกเป็น 2 ตอน

ราคาที่พักต่อคนในสมัยแรกเริ่มนั้นประมาณ 6-10 บาทต่อคนต่อคืน ปัจจุบันค่าเช่าห้องต่อคืนโดยเฉลี่ยอยู่ที่ราคาประมาณ 6,000-7,000 บาท ราคาสูงสุดอยู่ที่ประมาณ 2 หมื่นบาทต่อคืน

วันเวลาผ่านไปกลุ่มลูกค้าของโรงแรมก็เปลี่ยนไปเช่นกัน แม้ผู้บริหารมีแนวความคิดที่จะคงความเป็นโรงแรมเก่าแก่ที่สุดของหัวหินไว้ก็ตาม แต่ภายในห้องพักของอาคารที่สร้างขึ้นใหม่ได้ถูกตกแต่งปรับปรุง ให้ทันสมัย และสวยงามขึ้นเพื่อให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตของคนกลุ่มใหม่

โฉมใหม่ของห้องพักแบบ superior ในตึก Railway ได้ถูกปรับปรุงครั้งใหญ่ในปี พ.ศ.2543 จากห้องนอนเดี่ยวกลายเป็นห้องชุดเล็กๆ ที่กว้างขวาง ผนังปูนส่วนหนึ่งถูกทุบออกเป็นช่องหน้าต่างขนาดใหญ่ ต่อเชื่อมกับส่วนระเบียงเดิมซึ่งตกแต่งใหม่เป็นส่วนนั่งเล่นหรือทำงาน มีบันได 3-4 ขั้น ลงไปสู่ลานพักผ่อน เล็กๆ ส่วนตัวด้านนอกที่ร่มรื่นด้วยพรรณไม้ต่างๆ

เฟอร์นิเจอร์ทุกชิ้นยังเน้นความสวยงามแบบคลาสสิกด้วยเครื่องเรือนแบบเก่าที่ทำจากไม้สัก เช่นเดียวกับพื้นห้องและเพดานสูงที่ติดพัดลมแบบโบราณไว้ตามผนังจะประดับด้วยภาพบรรยากาศเก่าๆ ของโรงแรม และชายหาดหัวหิน เมื่อ 80 ปีก่อน ส่วนที่ตกแต่งด้วยผ้าก็จะใช้สีธรรมชาติ ดูขรึม และหรูหรา เติมความอบอุ่นในห้องเพิ่มขึ้นด้วยไฟแสงสีเหลือง

ภายในห้องพักของอาคาร Garden Wing ซึ่งสร้างเป็นปีกสุดท้าย และเปิดบริการเมื่อปี พ.ศ.2541 นั้น แม้ภายในจะเป็นพื้นไม้ และยังคงรูปแบบด้วยเครื่องเรือนที่เป็นไม้ แต่จะให้สีสันที่สดใส ระบบต่างๆ ภายในห้องทันสมัยมากขึ้น มีห้องแต่งตัวแยกเป็นสัดส่วนเช่นเดียวกับห้องน้ำที่มีสุขภัณฑ์ที่ทันสมัย

อาคาร Colonial Wing ซึ่งเป็นส่วนที่สร้างต่อจากอาคาร Railway ถูกตกแต่งปรับปรุงด้วยเฟอร์นิเจอร์ ใหม่หมดในปีที่ผ่านมา การตกแต่งภายในจึงได้อารมณ์ที่ทันสมัยเพิ่มขึ้นเช่นในห้องพักแบบ deluxe เริ่มจากห้องน้ำที่นอกจากมีสุขภัณฑ์แบบใหม่แล้ว ยังเจาะกำแพง ด้านหนึ่งเป็นหน้าต่างให้สามารถคุยกับคนในห้องนอน และมองผ่านออกไปเห็นสวนสวยภายนอกได้ด้วย แต่การให้สีสันในห้องนี้จะเน้นสีเอิร์ธโทนที่สบายตาขึ้น

เรื่องราวทางประวัติศาสตร์ที่มีอยู่ เป็นจุดแตกต่าง ที่โรงแรมอื่นไม่สามารถสร้างขึ้นมานั้นได้ถูกถ่ายทอดสู่ กลุ่มลูกค้ารุ่นหลัง ผ่านสื่อสิ่งพิมพ์ต่างๆ ของโรงแรม รวมทั้งพิพิธภัณฑ์เล็กๆ ในส่วนของล็อบบี้ ข้าวของเครื่องใช้สมัยเมื่อครั้งยังเป็นโรงแรมรถไฟที่แปลกตา อาทิจาน ชาม ที่ทำจากกระเบื้องเคลือบสีขาวสะอาด มีตราครุฑในวงกลมอักษรไทยและอังกฤษ ส่วนชุดช้อนส้อม ชุดชา-กาแฟ ที่เป็นเครื่องเงิน มีตราครุฑและอักษรย่อ ร.ฟ.ล. (หมายถึงกรมรถไฟหลวงในยุคนั้น)

แขกบางคนยังย้อนกลับเข้ามานั่งรำลึกความหลัง พร้อมจิบน้ำชา กาแฟ แบบผู้ดีอังกฤษ ในบริเวณ After Tea ในบริเวณอาคารเก่า Railway ท่ามกลางสายลมเย็นจากทะเล และกลิ่นหอมอ่อนๆ ของดอกลั่นทม ได้ยินเสียงหัวเราะใสๆ ของหลานตัวเล็กๆ ซึ่งกำลังวิ่งเล่นในสวนกว้าง มองออกไปเห็นต้นข่อยดัดเป็นรูปสัตว์ต่างๆ กระจัดกระจายไปทั่วสวน เด็กน้อยบางคนวิ่งลอดใต้ท้องช้างที่เป็นต้นข่อย ช้างพลายดัดตัวโตเอกลักษณ์เก่าแก่อีกอย่างหนึ่งของโรงแรมแห่งนี้ด้วยความตื่นเต้น

ช้างตัวเดียวกันนี้ สมัยก่อนคนรุ่นคุณปู่ คุณย่า คุณตา หรือคุณยายต่างพากันเดิน ลอดใต้ท้องช้างแล้วทั้งสิ้น ไม่ใช่เพราะความสนุกสนาน แต่เพื่อความเป็นสิริมงคลตาม ความเชื่อในสมัยนั้น

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us