Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ ธันวาคม 2546








 
นิตยสารผู้จัดการ ธันวาคม 2546
แอนดรูว์ แม็คบีน ภาพลักษณ์ใหม่ Microsoft             
โดย ไพเราะ เลิศวิราม ศศิธร นามงาม
 

   
related stories

Open Microsoft

   
www resources

โฮมเพจ ไมโครซอฟท์ ประเทศไทย

   
search resources

Microsoft Corporation
อาภรณ์ ศรีพิพัฒน์
แอนดรูว์ แม็คบีน




แอนดรูว์ แม็คบีน ใช้เวลาเพียงแค่ 3 เดือน สร้างความท้าทายบนเก้าอี้กรรมการผู้จัดการ บริษัทไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) ด้วยการสร้างความเปลี่ยนแปลงให้กับองค์กรแห่งนี้ในหลายมิติ

แม็คบีนจัดได้ว่าเป็นชาวต่างชาติคนแรกที่นั่งเก้าอี้กรรมการผู้จัดการของไมโคร ซอฟท์ ประเทศไทย ก่อนหน้านี้ล้วนแต่เป็นคนไทยทั้งสิ้น เช่น อาภรณ์ ศรีพิพัฒน์ ที่เข้ามาบุกเบิกการขายในไทย และได้รับมอบหมาย ให้จัดตั้งสำนักงานสาขาขึ้นที่นี่

ภายหลังจากอาภรณ์ลาออกไปตั้งบริษัทภูมิซอฟท์ พัฒนาซอฟต์แวร์เป็นของตัวเอง ไมโครซอฟท์ก็ได้พีรพงษ์ เอื้อสุนทรวัฒนา จากบริษัทคอมแพค ประเทศไทย มาเป็นกรรมการผู้จัดการ

แอนดรูว์ แม็คบีน เป็นชาวสกอตโดยกำเนิด โดยส่วนตัวชอบประวัติศาสตร์ และโบราณคดี มีแม่เป็นครูสอนโบราณคดี แต่เพื่อตอบรับกระแสความต้องการแรงงานทางด้านไอทีที่มีมากกว่า เขาจึงเลือกเรียนคอมพิวเตอร์

หลังเรียนจบ เริ่มต้นชีวิตทำงานโดยเป็นโปรแกรมเมอร์ ซึ่งเชี่ยวชาญภาษา dBASE ในประเทศอังกฤษ และหาประสบการณ์ทำงานอยู่ในบริษัทไอทีที่นั่นอยู่หลายปี ทำงานเป็น Technical Support Analyst ให้กับบริษัท Ashton-Tate ก่อนที่จะย้ายมาดูแลด้านพัฒนาธุรกิจ ให้กับบริษัทไอทีในอังกฤษ และมาได้งานที่ European Software Publishing (ESP) บริษัทผู้ผลิตซอฟต์แวร์รายใหญ่ของยุโรป

จากผลงานที่ผลักดันให้บริษัท Symantec ซึ่งเป็นบริษัทลูกของ ESP ทำยอดขายเติบโตเพิ่มขึ้น 600% ภายในเวลา 3 ปี ได้รับมอบหมายให้ไปบุกเบิกตลาดที่ประเทศฝรั่งเศส และเยอรมนี ซึ่งเป็นช่วงที่ทำให้เขาได้เรียนรู้โลกกว้างทั้งผู้คนและวัฒนธรรมที่แตกต่าง

หลังจากร่วมงานที่ ESP เป็นเวลา 6 ปี เขาก็ย้ายมาทำงานกับบริษัทโลตัส ซอฟท์แวร์ ประจำภูมิภาคแอฟริกาใต้ ในตำแหน่ง Cape Town branch manager จนเมื่อไอบีเอ็มซื้อกิจการโลตัส เขาก็ได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้จัดการฝ่ายขายประจำประเทศของไอบีเอ็ม ในส่วนงานซอฟต์แวร์ของโลตัส ในปี 2538

แอนดรูว์ย้ายมาร่วมงานกับไมโครซอฟท์ในปี 2540 ในตำแหน่ง Corporate Sales Manager รับผิดชอบดูแลทีมฝ่ายการตลาดและการขาย สำหรับลูกค้าองค์กรของไมโครซอฟท์ในภูมิภาคแอฟริกาใต้ 2 ปี ก่อนจะถูกย้ายมาเป็นผู้จัดการประจำภูมิภาค รับผิดชอบด้านการบริหารกลยุทธ์พันธมิตร และลูกค้าในภูมิภาคเอเชีย ประจำอยู่ที่กรุงโตเกียว ต่อมาก็ได้โปรโมตขึ้นเป็นผู้อำนวยการฝ่ายพันธมิตรและผู้อำนวยการฝ่ายขายครอบคลุม 12 ประเทศในภูมิภาคเอเชีย

ความประทับใจที่มีต่อประเทศญี่ปุ่นเป็นพิเศษ ไม่เพียงเฉพาะการเรียนรู้ภาษา แต่ยังรวมไปถึงการเรียนรู้ในการทำงานใหม่ๆ ในประเทศภูมิภาคในแถบนี้

ในปี 2544 แอนดรูว์ได้รับแต่งตั้งเป็น ประธานผู้อำนวยการ ไมโครซอฟท์ ประเทศอินโดนีเซียและผลงานจากการสร้างความเติบโตในตลาดเกิดใหม่อย่างอินโดนีเซีย ที่เขาสามารถสร้างสายสัมพันธ์อันดีกับหน่วยงานรัฐ และการเข้าถึงความต้องการของตลาด ทำให้เขาถูกเลือกสำหรับตลาดในไทย ที่ได้รับการคาดหมายถึงความสำเร็จภายใต้ท่วงทำนองการทำธุรกิจที่ไม่แตกต่างกันนัก

ความสนใจส่วนตัวของเขาเป็นเรื่องราวของศาสนาและประวัติศาสตร์ เลือกพักผ่อนด้วยการท่องเที่ยว ปีนเขา และศึกษาเรื่องราวของแต่ละประเทศ ภาษาไทยกำลังเป็นภาษาใหม่ที่กำลังถูกเรียนรู้อย่างรวดเร็ว ต่อจากญี่ปุ่น ที่เขาพูดได้คล่องแคล่วไปแล้วก่อนหน้านี้

ด้วยไลฟ์สไตล์เหล่านี้ บวกกับประสบการณ์การทำงานในหลายประเทศ ที่เขาสามารถเรียนรู้อย่างรวดเร็ว ความเป็นต่างชาติ ของเขาจึงไม่เป็นอุปสรรคต่อการสร้างการเรียนรู้ใหม่ในแต่ละประเทศที่ต้องไปดูแล ซึ่ง มีความแตกต่างในเรื่องวัฒนธรรม แต่กลับเกื้อกูลต่อการเข้าถึงลูกค้าในท้องถิ่น โดยเฉพาะความสำเร็จในอินโดนีเซีย ที่จัดเป็นตลาดใหม่ที่มีลักษณะใกล้เคียงกับเมืองไทย

งานแรกที่เขาทำหลังถูกเลือกให้เข้ามารับผิดชอบไมโครซอฟท์ ประเทศไทย คือ การปรับเปลี่ยนภาพลักษณ์องค์กรใหม่ ด้วยความสัมพันธ์ที่ดีกับหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง เขายกตัวอย่างโครงการคอมพิวเตอร์เอื้ออาทร

"ไม่ใช่แค่การลดราคา แต่เป็นการลงทุนที่ยิ่งใหญ่ของไมโครซอฟท์ ในการนำเทคโนโลยีไปสู่คนหมู่มาก" แอนดรูว์บอก "ไม่ใช่แค่กระทรวงไอทีซีทีเท่านั้น เรายังมี Project ที่กำลังทำร่วมกับอีกหลายกระทรวง"

แม้ไมโครซอฟท์จะประสบความสำเร็จ ในเรื่องเทคโนโลยี แต่ก็มีภาพที่ไม่ดีนักในสายตาของลูกค้า แอนดรูว์จึงต้องเปลี่ยนท่าที ของไมโครซอฟท์ใหม่ ให้เป็นมิตรมากขึ้น

ล่าสุดไมโครซอฟท์ได้มอบเงิน 250 ล้านบาทให้หน่วยงานนี้นำไปใช้ในการติดตั้งคอมพิวเตอร์ให้กับโรงเรียนระดับประถมในถิ่นทุรกันดาร

"ไมโครซอฟท์อยากให้ทุกคนได้เข้าถึง หากมีข่าวอะไรเกิดขึ้น อยากให้เราเพิ่มเติมข้อมูล ติดต่อ หรือยกหูมาหาผู้บริหารของเราได้ทุกคน นี่คือสิ่งที่เราทำเวลานี้" แอนดรูว์ประกาศต่อหน้าผู้สื่อข่าวในงานแถลงข่าวผลงานในช่วง 3 เดือนของเขา

เป้าหมายของไมโครซอฟท์ต้องการขยายจากลูกค้าส่วนบุคคล ไปจนถึงองค์กรธุรกิจทั้งเล็กและองค์กรขนาดใหญ่ โดยเฉพาะภาคราชการและการศึกษา ที่เป็น 2 ตลาดใหญ่ที่สร้างรายได้ให้ไมโครซอฟท์ในระยะยาว

ลูกค้าเหล่านี้ย่อมต้องมีวิธีการทำตลาด ที่แตกต่างไปจากลูกค้าบุคคลทั่วไป

นั่นหมายความว่าวิธีคิดและกระบวนการทำงานของพนักงานจำเป็นต้องสอดคล้องกับแนวทางธุรกิจแบบใหม่

ภายในองค์กรของไมโครซอฟท์ ประเทศไทย นอกจากอัดฉีดเงินเพิ่มทีมงานเลือดใหม่ ที่เลือกเฟ้นมาจากบริษัทไอทีต่างๆ เข้ามาเสริมทีมแล้ว วิธีการทำงานก็ต้องเปลี่ยน ไปด้วย แอนดรูว์เรียกช่วงเวลานี้ว่าเป็นการ Transform บริษัท

อย่างแรกคือ ทีมงานต้องมี customer focus ต้องเข้าใจลูกค้า ทำตัวให้ใกล้ชิดกับลูกค้ามากขึ้น เข้าถึงง่ายขึ้น และต้องยืดหยุ่นมากขึ้น

ขณะเดียวกัน ไมโครซอฟท์ต้องเป็นมิตรกับทุกๆ คน ไม่ว่าจะเป็นพาร์ตเนอร์ที่ต้อง มีข้อเสนอ และกลไกที่ยืดหยุ่นมากขึ้น และต้องให้การสนับสนุนนักพัฒนาซอฟต์แวร์ เพราะกระแสของลีนุกซ์ที่มาแรงในไทย ไม่ใช่เรื่องที่ไมโครซอฟท์จะอยู่นิ่งเฉยได้

"เราพยายามให้ลูกค้ามองเห็นมูลค่าเพิ่มมากกว่าในเรื่องของราคา เพราะหากฟรี จะไม่เห็นมูลค่าของมัน แต่หากบอกว่ามันมีมูลค่า เราจะสร้างมูลค่า นี่คือเป้าหมายหนึ่ง ที่แอนดรูว์เล่าให้ฟัง

การสร้างมูลค่าเพิ่มที่จะใช้สร้างความสำเร็จในระยะยาว ไม่ได้อยู่แค่ซอฟต์แวร์เท่านั้น แต่ต้องควบคู่กันไปทั้งกระบวนการตั้งแต่สายสัมพันธ์อันดี ลูกค้าสื่อการมีแอพพลิเคชั่นให้เลือกมากขึ้น

ตามเป้าหมายที่วางไว้แอนดรูว์จะใช้เวลา 3 ปีข้างหน้าผลักดันให้มูลค่าธุรกิจของไมโครซอฟท์ในไทยเพิ่มขึ้นอีกเท่าตัว และหากทำสำเร็จย่อมหมายถึงก้าวใหม่ของไมโครซอฟท์

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us