สำหรับ แอนดรูว์ แม็คบีน กรรมการผู้จัดการ ไมโครซอฟท์
(ประเทศไทย) การ Launch Microsoft office 2003
ครั้งนี้ มีความหมายสำหรับไมโครซอฟท์และตัวเขา
Microsoft Office System ล่าสุดของไมโครซอฟท์ ไม่เหมือนกับโปรแกรม Microsoft
Office ที่แล้วมา
เป็นความตั้งใจของไมโครซอฟท์รวบรวมโปรแกรมที่เป็น 4 ผลิตภัณฑ์ คือ server,
service และ solution รวม 6 ชุดโปรแกรม และซอฟต์แวร์โปรแกรม 11 ผลิตภัณฑ์
ให้สามารถเชื่อมโยงทำงานร่วมกัน
นอกเหนือจากชุดโปรแกรมไมโครซอฟท์ ออฟฟิศ ที่เป็นเวอร์ชั่นที่พัฒนาต่อจาก
Microsoft Office XP เช่น Word, Excel, Outlook, Power Point, Access
ไมโครซอฟท์ได้รวบรวมโปรแกรมใหม่ ที่เกี่ยวกับการทำงานออฟฟิศ Microsoft
Office InfoPath สร้างแบบฟอร์มรับส่งข้อมูล ผ่านแบบฟอร์มใหม่ๆ, OneNote โปรแกรม
สำหรับจดบันทึกด้วยลายมือ
ในกลุ่มโซลูชั่นที่นำเอา Microsoft Office System Solution Directory เป็นชุดคำแนะนำการออกแบบเพื่อแก้ปัญหาทาง
ธุรกิจให้กับผู้ใช้เฉพาะราย และ Microsoft Enterprise Project Management
(EPM) โซลูชั่นสำหรับผู้บริหารโครงการประสานงาน และจัดการทรัพยากรจากศูนย์กลาง
ขณะที่กลุ่ม Server เน้นไปที่การสื่อสารแลกเปลี่ยนข้อมูลภายในองค์กร ประกอบไปด้วย
Microsoft Office Project Server 2003 ใช้สนับสนุนการประสานงานระหว่างโครงการ
และบริหารทรัพยากรจากศูนย์กลาง, Office SharePoint Portal Server ใช้สร้าง
web portal เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลภายในหน่วยงาน, Live Meeting 2003 ใช้สำหรับสื่อสารแบบเรียลไทม์ขององค์กรขนาดใหญ่
ไมโครซอฟท์ยังได้รวบรวมเอาชุดโปรแกรม Visio, Edition, FrontPage, Publisher
และ Project
ในกลุ่ม Solution โปรแกรมอย่าง Microsoft Exchange Server 2003 สำหรับเรียกใช้ข้อมูลข่าวสารและทำงานร่วมกันผ่านอุปกรณ์ปลายทางต่างๆ
"นี่คือสาเหตุที่ทำไมถึงต้องเป็น System เพราะไม่ได้เป็น new version หรือ
new program อย่างที่แล้วๆ มา" แอนดรูว์ แม็คบีน บอก
ในแง่ลูกค้าสามารถซื้อเป็น System คือให้ลูกค้าซื้อไปใช้แบบม้วนเดียว
จบหรือ upgrade หรือติดตั้งเฉพาะบางโปรแกรมก็ได้
เป้าหมายในการรุกของไมโครซอฟท์ครั้งนี้ ไม่ได้อยู่แค่ลูกค้าหน้าเก่าที่ใช้
โปรแกรมไมโครซอฟท์ ออฟฟิศ ซึ่งไมโครซอฟท์ ครองส่วนแบ่งตลาดอยู่ 95% เท่านั้น
แต่อยู่ที่ฐานลูกค้ากลุ่มใหม่ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งลูกค้าองค์กรขนาดใหญ่
ทั้งเอกชนและราชการ
ลูกค้าเหล่านี้มักจะมีระบบหลังบ้านที่เป็นแอพพลิเคชั่นขนาดใหญ่ อย่างระบบ
ERP (Enterprise Resource Management) หรือแม้แต่ระบบ CRM ซึ่งมีมาตรฐานการใช้งานเป็นของตัวเอง
เมื่อดึงข้อมูลมาใช้ร่วมกับโปรแกรมของไมโครซอฟท์จึงต้องแปลงข้อมูลก่อน
ยกตัวอย่างโปรแกรม Share Point Portal Server ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางเชื่อมต่อเข้ากับแอพพลิเคชั่นของคนอื่นๆ เพื่อให้ผู้ใช้สามารถดึงข้อมูลจากระบบหลังบ้านมา
ใช้งานได้ทันที โดยข้อมูลเหล่านี้จะถูกแปลงให้อยู่ในรูปแบบของ Microsoft
word หรือ excel ได้โดยอัตโนมัติ
โปรแกรม window share point เป็นอีกตัวอย่างที่หยิบยกมาเพื่อสะท้อนถึงยุทธศาสตร์ดังกล่าว
เพื่อช่วยให้ผู้ใช้สร้างเว็บไซต์ส่วนตัวไว้เป็นหน้าต่างเพื่อแชร์ข้อมูลภายในหน่วยงาน
หรือจะเชื่อมต่อกับหน่วยงานภายนอก
การเปิดตัว Microsoft Office System นับเป็นการสะท้อนยุทธศาสตร์เชิงรุก
ที่ต้องการเปิดกว้าง และทำลายข้อจำกัดต่างๆ เพื่อทำให้ผู้ใช้สามารถเชื่อมต่อแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกันทั้งในระดับบุคคล
หน่วยงาน และองค์กร
การจัดงานเปิดตัวจึงต้องทำอย่างมีความหมาย ไมโครซอฟท์เลือกศูนย์ประชุม
แห่งชาติสิริกิติ์เป็นสถานที่จัดงาน ช่วงเช้าเป็นช่วงการจัดแถลงข่าวต่อสื่อมวลชน
โดยใช้วิดีโอพรีเซนเทชั่นที่แอนดรูว์ แม็คบีน และทีมงานของไมโครซอฟท์ เขียนบทและนำแสดงเอง
โดยเลียนแบบภาพยนตร์เรื่อง The Matrix Revolutions
เป็นความตั้งใจของไมโครซอฟท์ที่ต้องการนำเสนอเนื้อหาไมโครซอฟท์ ออฟฟิศให้เข้าใจง่ายขึ้น
และใกล้ชิดกับสื่อมวลชนมากขึ้น
งานเปิดตัวอย่างเป็นทางการเริ่มขึ้นช่วงบ่ายโดยเลือกศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์
เป็นสถานที่จัดงาน ไมโครซอฟท์ว่าจ้าง บริษัท Index Event Organizer ซึ่งเคยสร้าง
ชื่อจาก Event ต่างๆ ให้กับสินค้า Consumer Product ที่เน้นสีสัน และรูปแบบที่สะท้อนความหมายของ
brand มาเป็นผู้จัดงาน
"นาทีที่ยิ่งใหญ่แห่งโลกการทำงาน" ที่ใช้เป็น theme หลักของรูปแบบการจัดงาน
เพื่อนำเสนอเรื่องราวการนำโปรแกรมไมโครซอฟท์ ออฟฟิศ ซิสเต็มไปประยุกต์ใช้อย่างเห็นผล
โดยร่วมมือกับพาร์ตเนอร์ทั้ง 30 ราย ที่มาร่วมออกบูธเพื่อสะท้อนกลยุทธ์ความ
"ร่วมมือ" ระหว่างกันที่จะมีมากขึ้นเรื่อยๆ
บรรยากาศของงานในวันนั้นไม่ได้ให้น้ำหนักไปที่เรื่องราวของเทคโนโลยีเท่านั้น
แต่ไมโครซอฟท์สร้างสีสัน ด้วยการสร้าง "สปา" ขนาดใหญ่กลางงานและยังมีกิจกรรมเล่นเกม
แจกรางวัล เพื่อสะท้อนว่าชีวิตไม่ได้มีเรื่องงานเท่านั้น
หลังจากงานนี้ไมโครซอฟท์ควักเงินลงทุนเริ่มต้น 10 ล้านบาท ร่วมกับพาร์ต
เนอร์ 2 ราย คือ เมโทรซิสเต็มส์ และอินเทล จัดตั้ง Business Productivity
Center
ศูนย์ฯ แห่งนี้มีไว้ให้ลูกค้าทดสอบการนำไมโครซอฟท์ ออฟฟิศ ซิสเต็ม ไปติดตั้งแล้วสามารถเพิ่มประสิทธิภาพ
และลดต้นทุนให้กับธุรกิจได้มากน้อยเพียงใด แทนที่จะรับฟังข้อมูลเพียงอย่างเดียว
ศูนย์ Business Productivity Center ไม่ได้มีในทุกประเทศ ไทยเป็นประเทศที่
2 จากทั่วโลก ต่อจากสหรัฐอเมริกา ที่บริษัทแม่ลงทุนจัดตั้ง เหตุผลก็คือโอกาสการเติบโต
ของตลาดที่มีแรงผลักดันจากคอมพิวเตอร์เอื้ออาทร ของกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศ
และการสื่อสาร (ไอซีที) จนถึงการผลักดันในเรื่องของ eGovernment หน่วยงานภาครัฐ
ที่ต้องมีการลงทุนติดตั้งระบบไอทีอีกมาก
แม้ว่าไมโครซอฟท์จะครองส่วนแบ่งตลาดมากกว่า 95% แต่ใช่ว่าจะไม่มีคู่แข่ง
กระแส open source ที่กำลังมาแรง แม้ว่า ยังไม่สามารถสร้างความชัดเจนในขณะนี้
แต่ก็มองข้ามไม่ได้ เพราะเวลานี้รายใหญ่อย่างไอบีเอ็ม ก็หันมาสนับสนุน open
source เต็มตัว
ที่ผ่านมา แม้ว่าไมโครซอฟท์จะสร้างความต่อเนื่องในการพัฒนาเทคโนโลยี แต่ก็มีภาพลักษณ์ที่ไม่ดีนัก
ทั้งในแง่ของการผูกขาดตลาด และไม่สามารถเข้าถึงลูกค้าได้มากเท่าที่ควรจะเป็น
การเปิดตัวโปรแกรมออฟฟิศ ซิสเต็มส์ครั้งนี้จึงเป็นช่วงเวลาที่ผู้บริหารไมโครซอฟท์
ทั้งเลือดเก่าและใหม่ ในชุดเสื้อเชิ้ตแขนยาวสีฟ้าที่คัดสรรมาจากบริษัท ไอทีชั้นนำ
อย่าง Amdoc, TA Orange, SAP, Oracle, Cisco, EMC เพื่อตอบรับกับนโยบายเชิงรุกของไมโครซอฟท์ที่ต้องการ
ขยายฐานลูกค้าระดับองค์กรขนาดใหญ่ จนถึงตลาด SME และลูกค้าภาคราชการและการศึกษาเป็น
2 ตลาดใหญ่ที่ไมโครซอฟท์จะเอาจริงเอาจังมากขึ้น
ควบคู่ไปกับการสร้างภาพลักษณ์ใหม่ขององค์กร นอกจากไมโครซอฟท์จะกระโดด
เข้าร่วมวงโครงการคอมพิวเตอร์เอื้ออาทร ด้วยการเสนอขายซอฟต์แวร์ในราคาถูก
แทนที่จะมีโปรแกรม Linux เพียงอย่างเดียว ไมโครซอฟท์เพิ่งควักเงิน 250 ล้านบาท
สนับสนุนกระทรวงศึกษาธิการ นำคอมพิวเตอร์ไปบริจาคให้กับโรงเรียนระดับประถม
ผู้บริหารของไมโครซอฟท์นำโดยแอนดรูว์ แม็คบีน ต้องทำตัวให้ใกล้ชิดกับสื่อมวลชนและลูกค้ามากขึ้น
รวมทั้งสนับสนุน นักพัฒนา 20,000 รายในไทย เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับโปรแกรมของไมโครซอฟท์
และที่ขาดไม่ได้คือ บรรดาตัวแทนจำหน่ายที่ต้องดูแลมากขึ้น
นี่คือท่าทีที่เปิดกว้างและเอื้ออาทรของไมโครซอฟท์ที่ต้องมีมากขึ้นเรื่อยๆ