Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ ธันวาคม 2546








 
นิตยสารผู้จัดการ ธันวาคม 2546
ชีวิตพลิกผัน ฉัตรชัย คุณปีติลักษณ์             
โดย ไพเราะ เลิศวิราม
 

   
related stories

Restart DOTCOM
ขุมทรัพย์ Ringtone
ทางวิบาก Shinee.com
สยามทูยู เปลี่ยนวิกฤติให้เป็นโอกาส
ก้าวที่สองของ "นายสนุก"

   
www resources

โฮมเพจ เอ็มเว็บ
แคทชาโฮมเพจ

   
search resources

เอ็มเว็บ(ประเทศไทย), บจก.
แคทชา ประเทศไทย
ฉัตรชัย คุณปิติลักษณ์
catcha.com




เด็กหนุ่มจากอุดรธานีตัดสินใจทิ้งการศึกษาระดับปริญญาเอก ใน Stanford University เพื่อหาประสบการณ์ในโลกแห่งความเป็นจริง ในยุคธุรกิจดอทคอมเฟื่องฟู 3 ปีผ่านไปการล่มสลายของดอทคอมพลิกผันให้เขาต้องเปลี่ยนจาก เถ้าแก่ดอทคอม มาเป็นข้าราชการซี 4 ของกระทรวงไอซีที

ช่วงบ่ายวันหนึ่ง "ผู้จัดการ" พบกับฉัตรชัย คุณปิติลักษณ์ บนชั้น 5 อาคารโทรคมนาคม ซึ่งเป็นที่ตั้งของกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือกระทรวงไอซีที สถานที่ทำงานใหม่ที่เป็นห้องโถงขนาดใหญ่ ไม่มีห้องทำงานส่วนตัว มีเพียงโต๊ะทำงานเล็กๆ และโน้ตบุ๊คส่วนตัว ที่หอบหิ้วมาเองจากบ้าน

เป็นบรรยากาศที่ตรงข้ามกับที่เคยพบเขาเมื่อ 3 ปีก่อน ในสำนักงาน catcha.co.th บนอาคารเพรสซิเด้นท์ ทาวเวอร์ หัวมุมถนนราชดำริ ที่ได้รับการตกแต่งอย่างดี ในสไตล์สำนักงานยุคดอทคอม

วัย 28 ปี ของเขาในวันนี้ ยังเต็มไปด้วยไฟในการทำงาน แม้ว่าชีวิตต้อง พลิกผันจากการเป็นเถ้าแก่ในยุคดอทคอม ที่มีรายได้เดือนละไม่ต่ำกว่า 1-2 แสนบาท มารับราชการระดับซี 4 รับเงินเดือนเพียงแค่ 7,780 บาท

จากที่เคยพักในคอนโดมิเนียมหรูกลางกรุง ทุกวันนี้ฉัตรชัยต้องตื่นแต่เช้า ขับรถเบนซ์ SLK ที่ซื้อมาตั้งแต่สมัยทำงานอยู่ catcha จากบ้านย่านชานเมือง เพื่อมาเข้าทำงานให้ทัน 8.30 น. เลิกงาน 16.30 น. ตามเวลาราชการ แต่ส่วนใหญ่อยู่ทำงานไปถึง 2 ทุ่ม หรือ 4 ทุ่ม

แม้แต่กิจกรรมยามว่างอย่างว่ายน้ำ ตีเทนนิส ไดรฟ์กอล์ฟ ที่เคยทำเป็น ประจำ ก็ต้องงดไปโดยปริยาย

การเปลี่ยนแปลงชีวิต ไม่ได้เกิดเป็นครั้งแรก เขาตัดสินใจยุติการเรียนระดับดอกเตอร์ จาก Stanford University ลงชั่วคราว เพื่อแสวงหาประสบการณ์ในโลกการทำงาน โดยรับข้อเสนอเข้าเป็นหุ้นส่วนร่วมปลุกปั้นเว็บไซต์ catcha.co.th เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของเว็บ search engine ระดับภูมิภาคเอเชีย ร่วมกับอีก 5 ประเทศ

catcha.co.th เปิดตัวสู่ตลาดด้วยการทุ่มงบโฆษณา สร้างสีสันใหม่ให้กับวงการ ท่ามกลางกระแสความร้อนแรงของธุรกิจดอทคอม โดยมีเป้าหมายอยู่ที่ตลาดหุ้นแนสแดค

กระแสความตกต่ำของธุรกิจดอทคอม พัดพาเอา ความฝันของบรรดาเจ้าของเว็บไซต์หายไปในอากาศรวมทั้ง catcha.co.th และถึงแม้ว่าพวกเขาจะประคับประคองธุรกิจไปได้ แต่ท้ายที่สุดก็ต้องตัดสินใจขาย catcha.co.th ให้กับเอ็มเว็บ ประเทศไทย ไปในที่สุดเมื่อไม่มีคนสานงานต่อ เหลือเฉพาะในประเทศมาเลเซีย และสิงคโปร์

การปิดฉากเว็บไซต์ catcha.co.th ในไทย สำหรับฉัตรชัยไม่ใช่ความล้มเหลว

"ถ้าย้อนกลับไป ผมยังคงทำแบบเดิม เพราะตอนตั้ง catcha เราศึกษามาแล้วและพิสูจน์ได้ว่ามันดีในระดับหนึ่ง ถ้าทำต่อเราก็ทำได้ แต่ยังหาคนมาทำแทนไม่ได้ ผมทำ catcha มา 3 ปี จะเรียกว่าเบื่อก็ได้ เพราะทุกอย่างเริ่มเข้าที่ ไม่มีพัฒนาการใหม่ ส่วนใหญ่เป็นงานประจำ เช่น หาสปอนเซอร์โฆษณา อยากไปหาอย่างอื่นทำที่ท้าทายกว่า ก็เลยยุติในไทยไปก่อนและอาจจะกลับ มาใหม่เมื่อหาคนที่เหมาะสมได้"

แทนที่จะเรียนต่อในระดับดอกเตอร์ ที่เหลือเวลาอีกไม่กี่ปี หรือทำงานในบริษัทเอกชน

"ผมเป็นนักเรียนทุน ถึงอย่างไรก็ต้องรับราชการ ถ้าไปสอนหนังสือก็ให้ประโยชน์กับคนไม่กี่ร้อยคน แต่ถ้ามาช่วยงานกระทรวงไอซีที ที่เป็นกระทรวงใหม่ และยังขาดบุคลากรอีกมาก เป็นการทำงานที่เป็นเรื่องของภาพรวม ที่จะมีผลต่อคนในระดับประเทศ ผมไม่เคยคิดว่า ตัดสินใจผิด เพราะประสบการณ์ในการทำงานที่ผ่านมาช่วยพัฒนาตัวเองได้เยอะ ถ้าผมจบดอกเตอร์ ผมอาจติดกรอบมากไป หรือรับราชการก่อนทำเอกชน จะไม่ได้มุมมองของเอกชนว่าเขามีมุมมองอย่างไร ไม่มีใครมีอำนาจเหนือใคร"

อย่างไรก็ตาม การหันเหมาใช้ชีวิตข้าราชการ ที่มีกฎระเบียบ และกติกา ทำให้การใช้ชีวิตทำงานแตกต่างไปจากเดิม

"ช่วงแรกก็ต้องปรับตัวพอสมควร จากบริษัทเอกชนที่เคยทำงานแบบไฟแรง อยากทำโน่น ทำนี่ แต่เอาเข้าจริง ทำไม่ได้ เพราะเป็นแค่ข้าราชการ ซี 4 แต่พอทำงานมา 6 เดือน ผมโตขึ้นเยอะ มาคิดได้ว่าจริงๆ แล้ว ไม่ใช่เรื่องของลำดับขั้น ผมสามารถสร้างงานได้ โดยไปหาคนที่เขาเชื่อเหมือนกับเรา และถ้าจับจดทำไป ก็จะไม่สำเร็จสักอย่าง ผมเลยเปลี่ยนความคิดใหม่"

วันที่เราพบกับฉัตรชัยในครั้งนั้น ความคิดของเขาคลี่คลายไปพอสมควร พร้อมสำหรับการทำงานภายใต้สภาพแวดล้อมใหม่ๆ

"ผมสบายใจขึ้นเยอะมาก ต้องเปลี่ยนวิธีคิดใหม่ ต้องมาดูว่า เราสามารถทำอะไรได้บ้าง ถ้ามองทุกอย่างเป็นปัญหา เปิดคอมพิวเตอร์ก็เป็นปัญหา ถ้ามองเห็นโอกาส เราก็สามารถทำงานไปได้"

แม้ว่าเขาจะไม่สามารถสร้างผลงานที่เป็นโครงการ ขนาดใหญ่แต่ก็เข้าไปมีส่วนร่วมเล็กๆ น้อยๆ คอมพิวเตอร์เอื้ออาทร ทำเว็บไซต์ภาษาอังกฤษให้กระทรวงไอซีที และ เข้าไปร่วมประชุมด้วยในโครงการทำสมาร์ทการ์ด

ช่วง 3 ปีที่ทำงานใน catcha จึงไม่มีคำว่าเสียดาย ส่วนจะได้ชื่อว่าล้มเหลวหรือสำเร็จ ก็ขึ้นอยู่กับมุมมองของแต่ละคน

"สำหรับเด็กอายุ 25 ปี ได้ทำอะไรขนาดนั้น ก็ถือว่าโชคดีที่ได้รับโอกาสขนาดนี้ ไม่ใช่แค่ความคิด มันพิสูจน์ให้เห็นผลมาแล้ว"

อินเทอร์เน็ตในความคิดของเขา ไม่ได้เกิดปัญหา การใช้งานยังคงเติบโตเพิ่มขึ้น แต่ปัญหาอยู่ที่ความคาดหมายของธุรกิจอินเทอร์เน็ตไม่เป็นจริง

"ผมว่าเวลานี้เป็นเวลาดีสำหรับการทำเว็บไซต์ด้วยซ้ำ สมัยทำ catcha ผมต้องทำงาน 7 วัน แต่เวลานี้ไม่ใช่ อุปกรณ์เทคโนโลยีถูกลง มีคุณภาพมากขึ้น คนมีประสบการณ์มากขึ้น โครงสร้างพื้นฐานทุกอย่างพร้อม น่าจะมีธุรกิจใหม่ๆ เกิดขึ้น"

จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่ฉัตรชัยจะมีไอเดียใหม่ๆ เก็บอยู่ในกระเป๋า เพียงแต่รอเวลาและโอกาสที่จะนำออกมาใช้อีกครั้ง

"แต่ต้องให้ชีวิตที่นี่ลงตัวก่อน อาจจะกลับไปครึ่งตัวหรือทั้งตัวก็ได้ เพราะสิ่งที่ผมกลัวที่สุดคือจังหวะความคิดที่ช้าลง ถ้าเปลี่ยนอะไรใหม่ ก็ต้องท้าทายมากกว่า เพื่อฝึกสมองให้กระฉับกระเฉงตลอดเวลา"

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us