Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ ธันวาคม 2546








 
นิตยสารผู้จัดการ ธันวาคม 2546
Once in My Life             
โดย ปัณฑพ ตั้งศรีวงศ์
 

   
related stories

Growth Symbol
เดิมพันของ ดร.วิชิต
บันได 4 ขั้นสู่ Universal Banking
We work to gether as a team
ชุมพล ณ ลำเลียง "วิกฤติครั้งหน้า ไม่ใช่ยุคผมแล้ว"

   
www resources

โฮมเพจ ธนาคารไทยพาณิชย์
โฮมเพจ ธนาคารกรุงเทพ
โฮมเพจ ธนาคารรัตนสิน

   
search resources

ธนาคารไทยพาณิชย์, บมจ.
ธนาคารกรุงเทพ, บมจ.
ธนาคารยูโอบี รัตนสิน
สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์
ธนาคารแหลมทอง
ชุมพล ณ ลำเลียง
ชฎา วัฒนศิริธรรม, คุณหญิง
ชาตรี โสภณพนิช
วิชิต สุรพงษ์ชัย
Banking




"ไทยพาณิชย์" เป็นธนาคารพาณิชย์แห่งที่ 3 ที่ ดร.วิชิต สุรพงษ์ชัย มีโอกาสได้มานั่งในตำแหน่งผู้บริหารสูงสุด และดูเหมือนจะเป็นธนาคารเดียว ที่เขาประสบความสำเร็จ สามารถทำงานได้ตามเป้าหมายที่เขาตั้งใจไว้มากที่สุด

หากใครสักคน มีโอกาสได้ถาม ดร.วิชิต สุรพงษ์ชัย ว่าตลอดชีวิตการทำงานของเขา องค์กรใดที่เขาสามารถทำงานได้อย่างมั่นใจ และเป็นตัวของตัวเองมากที่สุด

เชื่อว่า ดร.วิชิตต้องตอบว่า "ธนาคารไทยพาณิชย์"

ดร.วิชิตมักพูดกับผู้คนรอบข้างเป็นประจำว่า ในชีวิตของคนเรา ต้องมีสักครั้งหนึ่งที่ได้มีโอกาสทำงานที่ใฝ่ฝัน และทุ่มเทกับการทำงานนั้นอย่างเต็มที่เพื่อให้เกิดผลสำเร็จ

โดยเฉพาะในวันที่ให้สัมภาษณ์กับ "ผู้จัดการ" ตลอดเวลาเกือบ 3 ชั่วโมง เขาตอกย้ำประโยค นี้อยู่หลายครั้ง

ดร.วิชิตเข้ารับตำแหน่งประธานกรรมการบริหารธนาคารไทยพาณิชย์ เมื่อปลายปี 2542 ต่อ จากชุมพล ณ ลำเลียง

ความรับผิดชอบในตำแหน่งประธานกรรมการบริหาร ของ ดร.วิชิต มิใช่เพียงแค่เพื่อมานั่งประชุมคอยรับฟังรายงานจากฝ่ายจัดการ แต่เขามีความต้องการเป็นอย่างยิ่ง ที่จะเห็นความเปลี่ยนแปลงระบบการทำงานของธนาคารพาณิชย์แห่งแรกของไทย ที่มีอายุยืนยาวมากว่า 91 ปี แห่งนี้ให้ดีขึ้น

เขาต้องการพิสูจน์อะไรบางอย่างในการทำงานในอาชีพผู้บริหารสูงสุดของธนาคารพาณิชย์ ที่เขาเคยผ่านประสบการณ์มาแล้ว 2 แห่ง ก่อนจะมาที่นี่

ฐานะของธนาคารไทยพาณิชย์ในช่วงที่ ดร.วิชิตเริ่มเข้ามารับตำแหน่งไม่ถือว่าอยู่ในขั้นเลวร้าย เพราะเพิ่งได้รับเงินทุนจากการเพิ่มทุนจดทะเบียนตามโครงการ 14 สิงหาคม 2541 มาถึง 6.5 หมื่นล้านบาท

"ผมจะทำตามประเพณีก็ได้ คือ 2 อาทิตย์มาประชุมครั้ง แล้วก็ดูวาระที่ฝ่ายจัดการเสนอ ถามให้รอบคอบ แล้วก็อนุมัติไป เพราะแบงก์เพิ่งได้ทุนมาตั้ง 6.5 หมื่นล้านบาท ยังอยู่ได้อีกหลายปี แล้วผมอายุขนาดนี้อยู่อีกไม่กี่ปีก็รีไทร์แล้ว ไม่ได้เดือดร้อน" เขาบอก

"แต่ถ้าผมทำอย่างนั้น ในความรู้สึกส่วนตัว มันก็ยังไงๆ อยู่"

ในความรับรู้ของ ดร.วิชิต การเข้ารับตำแหน่งประธานกรรมการบริหารธนาคารไทยพาณิชย์ของเขา ถูกมองว่ามาในฐานะ "คนนอก" และเป็น "คนนอก" ทั้งในความรู้สึกของคนในธนาคาร และเป็น "คนนอก" เครือของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์

ดร.วิชิตไม่ใช่คนประเภทที่บุคคลในวงสังคมชั้นสูง ได้ยินชื่อแล้วต้องให้การยอมรับ เขาเป็นเพียงบุคคลธรรมดาคนหนึ่ง มีพื้นฐานครอบครัวเป็นลูกพ่อค้า และกิจการของบิดาของเขาก็ไม่ได้ประสบความสำเร็จ เท่าใดนัก

ที่สำคัญคือเขาเคยนั่งเป็นผู้บริหารเบอร์ 1 ของธนาคารกรุงเทพ ธนาคารของพ่อค้าที่เคยเป็นคู่แข่งทางธุรกิจของธนาคารไทยพาณิชย์มาก่อน

การตัดสินใจที่จะเปลี่ยนแปลงอะไร ในธนาคารแห่งนี้ เขาจึงต้องคิดหนัก หากไม่มีความมั่นใจอย่างเต็มร้อย คงไม่กล้าลงมือปฏิบัติ

"จุดเด่นของธนาคารไทยพาณิชย์คือ พนักงานทุกคนมีความจงรักภักดีกับองค์กรมาก ดังนั้นหากเห็นว่าเราจะทำอะไรให้องค์กรดีขึ้น ผมเชื่อว่าจะได้รับความร่วมมืออย่างดี"

ในชีวิตการทำงานของ ดร.วิชิต ธนาคารพาณิชย์ 2 แห่ง ที่เขาเคยเป็นผู้บริหาร มีตัวแปรหลายอย่างที่ทำให้เขาไม่มีโอกาสได้แสดงความสามารถอย่างเต็มที่

ที่ธนาคารกรุงเทพ แม้เขาได้รับการยอมรับว่าเป็นผู้บริหารคนสนิทที่สุดของชาตรี โสภณพนิช แต่การที่เขาได้รับตำแหน่งกรรมการผู้จัดการใหญ่ เมื่อปี 2535 ถูกมองว่าเป็น เพียงการทอดเวลาเพื่อรอให้ชาติศิริ บุตรชายคนโตของชาตรีได้สั่งสมบารมีจนแก่กล้าขึ้นมาเสียก่อน ค่อยก้าวขึ้นมารับตำแหน่งสืบทอดแทนพ่อเท่านั้น

การเป็นกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงเทพของ ดร.วิชิตจึงเป็นเรื่องที่น่าอึดอัดมากกว่า เพราะแม้ว่าจะเป็นธนาคารใหญ่เป็นอันดับ 1 ของไทย และอาเซียน แต่ก็ยังคงความเป็นกิจการในครอบครัว การตัดสินใจเกี่ยวกับนโยบายหลัก ยังต้องได้รับไฟเขียว จากชาตรีที่ได้ส่งลูกชายมานั่งประกบกับเขาอยู่แทบตลอดเวลาเพื่อเรียนรู้งาน

ก่อนตัดสินใจไม่ขอต่อสัญญาจ้างงานในตำแหน่งกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคาร กรุงเทพ ในกลางปี 2537 ดร.วิชิตได้ขออนุมัติจากคณะกรรมการ เพื่อลาพักร้อนเป็นเวลาถึง 6 เดือน เนื่องจากเครียดจัด

ส่วนที่ธนาคารรัตนสิน ซึ่งเขาตั้งใจจะโชว์ฝีมืออย่างเต็มที่ให้เป็นที่ประจักษ์แก่สังคม แต่ก็ต้องพบกับอุปสรรคจากนโยบายของทางการที่ไม่มีความแน่นอนเกี่ยวกับอนาคต ของธนาคารแห่งนี้

"ที่รัตนสินเป็นเรื่องที่ตลก เพราะตอนแรกที่ตั้งธนาคารแห่งนี้ขึ้นมา ตั้งใจไว้ว่าจะให้เป็น Good Bank แต่ในที่สุดก็กลับกลายเป็น Bad Bank ไปได้" ธนาคารรัตนสินถูกตั้งขึ้นโดยนโยบายของ ดร.ทนง พิทยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ในรัฐบาลของพล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ ซึ่งเป็นผู้ลงนามในประกาศเปลี่ยนแปลงนโยบายอัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2540 ที่มีผลให้ธนาคารพาณิชย์ทุกแห่งในขณะนั้นต้องประสบกับปัญหาสภาพคล่อง อันเกิดจากหนี้เสีย จนไม่สามารถจะปล่อยเงินกู้เข้าไปในระบบ

แนวคิดในการตั้งธนาคารรัตนสินขึ้นมา จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อต้องการให้มีธนาคารพาณิชย์แห่งใหม่ที่ไม่มีปัญหาหนี้เสียอยู่เลยในบัญชี ทำหน้าที่เป็นกลไกปล่อยเงินกู้เข้าไปในระบบ เพื่อให้เศรษฐกิจสามารถขับเคลื่อนไปได้ต่อ

แต่พอเปลี่ยนรัฐบาล ธารินทร์ นิมมานเหมินท์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังคนใหม่ กลับมีนโยบายให้ธนาคารรัตนสินเข้าไปอุ้มธนาคารแหลมทองของตระกูลจันทร์ศรีชวาลา

"พอบอกว่าจะให้เข้าไปอุ้มแบงก์แหลมทอง เราก็รู้ได้เลยว่ารัตนสินต้องกลายเป็น Bad Bank ทันที เพราะที่นั่นจำนวนหนี้เสียมันมีมาก"

จากความตั้งใจจะสร้างธนาคารพาณิชย์ใหม่ ให้มีบทบาทสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจ กลับกลายเป็นต้องเข้าไปแบกรับกับปัญหาหนี้เสียที่ไม่ได้เป็นผู้สร้าง

"mandate ที่ผมได้รับตอนหลังคือเป็นผู้เจรจาขายธนาคารรัตนสินให้กับผู้ลงทุน ต่างชาติ"

ดร.วิชิตสามารถเจรจาขายหุ้นธนาคารรัตนสินให้กับธนาคารยูโอบีจากสิงคโปร์ ในจังหวะเดียวกับที่ชุมพล ณ ลำเลียง ต้องการลาออกจากตำแหน่งประธานกรรมการบริหาร ธนาคารไทยพาณิชย์พอดี

คณะกรรมการธนาคารไทยพาณิชย์ จึงชักชวนให้เขาเข้ามารับตำแหน่งนี้แทนชุมพล

แม้จะถูกมองว่าเป็น "คนนอก" แต่ในความเป็นจริง ก่อนการเข้ารับตำแหน่งประธานกรรมการบริหาร ธนาคารไทยพาณิชย์ ดร.วิชิตได้เข้าไปช่วยงานในสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ผู้ถือหุ้นใหญ่ของธนาคารไทยพาณิชย์ในฐานะที่ปรึกษามาแล้วนานกว่า 1 ปี

"คุณชุมพลเป็นคนชวนให้ผมเข้าไปช่วยดูเรื่องนโยบายการลงทุนให้กับสำนักงานทรัพย์สินฯ"

สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ประสบปัญหาอย่างหนัก หลังการประกาศลอยตัวค่าเงินบาท เพราะสำนักงานทรัพย์สินฯ มีการลงทุนในกิจการเป็นจำนวนมาก และส่วนใหญ่ก็เป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหุ้น

เพียงแต่ในการช่วยงานเป็นที่ปรึกษานโยบายการลงทุนให้กับสำนักงานทรัพย์สินฯ ในช่วงแรก ดร.วิชิตขอไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับธนาคารไทยพาณิชย์ เพื่อป้องกันปัญหา ความขัดแย้งทางผลประโยชน์ (conflict of interest) เพราะขณะนั้นเขายังดำรงตำแหน่งประธานกรรมการธนาคารรัตนสินอยู่

แต่หลังจากขายหุ้นธนาคารรัตนสิน ให้กับยูโอบี ดร.วิชิตถือว่าเขาหมดภารกิจ จึงเต็มใจและตั้งใจจะเข้ามาช่วยงานของสำนักงานทรัพย์สินฯ ที่ธนาคารไทยพาณิชย์

ซึ่งที่นี่ ดร.วิชิตมองว่าจากสถาน การณ์ทางเศรษฐกิจที่พลิกผันไปอย่างหน้า มือเป็นหลังมือในขณะนั้น เป็นแรงกดดันให้จำเป็นต้องมีการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่

และการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ มิใช่เป็นการเปลี่ยนแปลงแค่ภาพภายนอก แต่ต้องเป็นการเปลี่ยน model ทั้งหมดใหม่ ซึ่งหมายรวมทั้งด้านทัศนคติและกระบวนการทำงาน

แนวคิดเกี่ยวกับเรื่อง Change Program เป็นแนวคิดที่ผุดขึ้นมาในสมองของดร.วิชิต ตั้งแต่วันแรกที่เข้ามารับตำแหน่ง

"อย่างแรกเลยก็คือต้องเปลี่ยนแนวคิด เพราะทำธนาคารสมัยก่อนมันสบาย ลูกค้าต้องวิ่งเข้าไปหาเอง ที่เห็นสร้างสำนักงานใหญ่โต ก็ไม่ใช่เพื่อให้ลูกค้า แต่เพราะเจ้าของต้องการความสะดวกสบาย แต่หลังจากนี้ไปความคิดนี้ต้องเปลี่ยนใหม่ ให้ยึดถือลูกค้าเป็นหลัก ไม่ว่าเราจะทำอะไร ถ้าลูกค้าไม่พอใจ จะถือว่าใช้ไม่ได้ แต่หากลูกค้าพอใจแล้ว ก็ถือว่าประสบความสำเร็จ"

แต่การเปลี่ยนแปลงนั้นไม่สามารถทำได้ทันที เพราะ ดร.วิชิตต้องสร้างความยอมรับในตัวของเขาให้เกิดขึ้นมาได้ก่อน

งานแรกในธนาคารไทยพาณิชย์ เขาเลือกจับจุดที่เป็นปัญหาที่สุดของธนาคารในขณะนั้น คือเรื่องหนี้เสียที่ไม่สามารถแก้ไขได้ เนื่องจากสายสัมพันธ์เก่าๆ

"ผมใช้เวลาจัดการเรื่องนี้เกือบ 2 ปี กว่าจะเสร็จ และคนเริ่มมองเห็นแล้วว่าผมมาเพื่อช่วยเขาจริงๆ"

ดร.วิชิตประสบความสำเร็จในการแก้ไขปัญหาหนี้เสียรายใหญ่ของธนาคารไทยพาณิชย์หลายราย ที่สำคัญคือไอทีวี ซึ่งมีมูลหนี้ 8,000 ล้านบาท และบริษัทสยามสินธร ซึ่งมูลหนี้สูงถึง 10,000 ล้านบาท

"ณ จุดนั้นเอง บอร์ดก็เข้าใจ แล้วก็บอกว่าเราต้องตั้งเข็มใหม่แล้วนะ เรารอดมาได้ เราเพิ่มทุนเท่ากับเป็นการซื้อโอกาส เราแก้ปัญหาใหญ่ๆ มันเป็น case by case แต่ปัญหาบุคคลเรายังไม่ได้แตะ ยังไม่ได้ไปขยับอะไรเลย ตอนนั้นเราทำ 2-3 เรื่องใหญ่ๆ นี่ ใครไม่รู้นึกว่าจบแล้ว แบงก์ดูดีขึ้น บอร์ดแฮปปี้มาก ผมแก้ปัญหาหนี้เสียได้หลายหมื่นล้าน แต่ผมบอกว่านี่แค่เริ่มต้น ผมต้องการจะแก้ที่ระบบ ผมได้แก้ที่มันเป็นแผลแล้ว แต่ภายใน ที่ระบบย่อยยังไม่ดี ยังไม่ได้ไปแตะมันเลย เพราะฉะนั้นที่บอกว่าคุณแค่หายเจ็บ หายปวด แล้วจะบอกว่าโรคหายแล้ว ไม่ใช่ โรคลึกๆ คือเรื่องระบบ แล้วบอร์ดก็ support ผม"

เพื่อให้แนวคิดในเรื่องการปรับระบบ การทำงานในธนาคารมีน้ำหนักมากขึ้น ดร.วิชิตได้ว่าจ้างบริษัท McKinsey & Co. เข้ามาเป็นที่ปรึกษา ซึ่ง McKinsey & Co. ได้ใช้เวลา 12 สัปดาห์ในการดูข้อมูลของธนาคาร รวมทั้งสัมภาษณ์ผู้บริหารก่อนจะสรุปว่าแนวทางที่ธนาคารไทยพาณิชย์ต้องเดิน คือการเป็น Universal Banking

ถือเป็นจุดเริ่มต้นของกระบวนการเปลี่ยนแปลงระบบการทำงานครั้งใหญ่ของธนาคารไทยพาณิชย์ ที่ถูกขนานนามอย่างเป็นทางการว่า Change Program

"ชื่อ Change Program นี่ คุณหญิงชฎาก็เป็นคนตั้งให้เอง เพราะตอนแรกที่เราคุยกันว่าจะต้องมีกระบวนการเปลี่ยนแปลง แต่ก็ไม่รู้ว่าจะเรียกว่าอะไร คุณหญิงก็บอกว่าถ้าอย่างนั้นเรียกง่ายๆ ว่า Change Program ก็แล้วกัน"

คุณหญิงชฎาที่ ดร.วิชิตกล่าวถึงคือคุณหญิงชฎา วัฒนศิริธรรม กรรมการผู้จัดการใหญ่ ซึ่งตลอดเวลาที่ให้สัมภาษณ์ ดร.วิชิตได้ให้เครดิตอย่างมากว่าหากไม่มีคุณหญิงชฎาช่วยแล้ว โครงการ Change Program ย่อมไม่สามารถทำได้สำเร็จ

(รายละเอียดของ Change Program อ่านล้อมกรอบ "บันได 4 ขั้นสู่ Universal Banking")

ตลอดเวลาเกือบ 4 ปีในธนาคารไทยพาณิชย์ ดูเหมือนบทบาทของ ดร.วิชิตในการ ทำหน้าที่ผู้นำการเปลี่ยนแปลงระบบการทำงาน จะมีมากกว่าบทบาทในตำแหน่งประธาน กรรมการบริหาร

จากข้อมูลที่แจ้งไปยังตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ในปี 2545 นอกจากเบี้ยประชุมในฐานะกรรมการธนาคาร ปีละ 1.2 ล้านบาทแล้ว ดร.วิชิตมีรายได้จากตำแหน่งประธานคณะกรรมการปรับปรุงธนาคารเดือนละ 8 แสนบาท สูงกว่ารายได้ในตำแหน่งประธานกรรมการบริหาร ที่ได้รับอีกเดือนละ 3 แสนบาท ถึงเกือบ 3 เท่า

ซึ่งบทบาทดังกล่าวได้แสดงผลสำเร็จออกมาจากผลการดำเนินงานตลอด 3 ปี

ปี 2542 ซึ่ง ดร.วิชิตเพิ่งมีโอกาสเข้าไปทำงานได้ไม่กี่วัน ธนาคารไทยพาณิชย์มีผล ขาดทุนสุทธิ 35,550.45 ล้านบาท มูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด (Market Capitali-zation) ที่ราคาหุ้น 44.50 บาท เท่ากับ 28,148.40 ล้านบาท
ปี 2543 และ 2544 ธนาคารไทยพาณิชย์เริ่มมีผลประกอบการเป็นกำไรติดต่อกัน ปีละ 3,560.17 ล้านบาท และ 404.66 ล้านบาท ตามลำดับ

โดยในปี 2544 ธนาคารมีผลกำไรจากการดำเนินงานก่อนหักค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ 9,612 ล้านบาท แต่ต้องมีการตั้งสำรองกันไว้ ทำให้กำไรลดลงเหลือเพียง 404.66 ล้านบาท

ปี 2545 ธนาคารไทยพาณิชย์มีผลกำไรจากการดำเนินงานก่อนหักค่าเผื่อหนี้สงสัย จะสูญสูงถึง 12,338 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้า 28% และเป็นตัวเลขกำไรที่สูงที่สุด ในระบบธนาคารพาณิชย์ของไทยในงวดเดียวกัน แต่เพื่อความมั่นคงในอนาคต ธนาคารได้ตั้งสำรองค่าใช้จ่ายกันไว้ถึง 24,825 ล้านบาท ทำให้ผลประกอบการที่แจ้งไปยังตลาด หลักทรัพย์กลายเป็นผลขาดทุน 12,487 ล้านบาท

ส่วน 9 เดือนแรกของปีนี้ ธนาคารไทยพาณิชย์มีผลกำไร 9,203.62 ล้านบาท คิดเป็นกำไรเฉพาะไตรมาสที่สาม 3,230 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน 809% ซึ่งเป็นอัตราการเพิ่มขึ้นที่สูงที่สุดของระบบธนาคารพาณิชย์เช่นกัน

Market Capitalization ของธนาคารไทยพาณิชย์ ณ วันที่ 30 กันยายน 2546 เมื่อวัดจากราคาหุ้น 40 บาท เท่ากับ 55,417.09 ล้านบาท สูงกว่าเมื่อปีแรกที่ ดร.วิชิตเข้ามารับตำแหน่งเกือบ 1 เท่าตัว

ในปีนี้คณะกรรมการปรับปรุงธนาคารได้ถูกเปลี่ยนชื่อเป็นคณะกรรมการกลยุทธ์และติดตามผล ซึ่งยังคงมี ดร.วิชิต สุรพงษ์ชัย ดำรงตำแหน่งเป็นประธานเช่นเดิม

เขายังคงติดตามและเฝ้ามองผลของงานที่เขามีโอกาสได้ทำในสิ่งที่เขาใฝ่ฝันเอาไว้อย่างใกล้ชิด

อย่างน้อยครั้งหนึ่งในชีวิตของ ดร.วิชิต สุรพงษ์ชัย เขาก็สามารถทำได้สำเร็จ

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us