Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ ธันวาคม 2546








 
นิตยสารผู้จัดการ ธันวาคม 2546
Growth Symbol             
โดย วิรัตน์ แสงทองคำ ปัณฑพ ตั้งศรีวงศ์
 

   
related stories

Once in My Life
เดิมพันของ ดร.วิชิต
บันได 4 ขั้นสู่ Universal Banking
We work to gether as a team
ชุมพล ณ ลำเลียง "วิกฤติครั้งหน้า ไม่ใช่ยุคผมแล้ว"
Regional Executive
กานต์ ตระกูลฮุน ยังไง ๆ คนก็ย่อมมองมาที่เขา

   
www resources

โฮมเพจ ธนาคารไทยพาณิชย์
โฮมเพจ เครือซิเมนต์ไทย

   
search resources

ธนาคารไทยพาณิชย์, บมจ.
เครือซิเมนต์ไทย
สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์
ชุมพล ณ ลำเลียง
จิรายุ อิศรางกูร ณ อยุธยา
วิชิต สุรพงษ์ชัย




การเปิดแถลงข่าวอย่างเป็นทางการ ซึ่งจัดเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ของสำนักงานทรัพย์สิน ส่วนพระมหากษัตริย์ เมื่อกลางเดือนมีนาคมปีนี้ถือเป็นการประกาศความพร้อมในการกลับมาทำธุรกิจเชิงรุกอีกครั้ง หลังจากต้องเก็บตัวเงียบมากว่า 5 ปี

ดร.จิรายุ อิศรางกูร ณ อยุธยา ผู้อำนวยการ สำนักงานทรัพย์สินฯ ยอมรับว่าความพร้อมที่ประกาศออกมาครั้งนี้ เป็นผลต่อเนื่องมาจากความสำเร็จในการแก้ปัญหาภายในบริษัทปูนซิเมนต์ไทย และธนาคารไทยพาณิชย์ ที่เริ่มพลิกฟื้นฐานะการเงินให้กลับมาดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด

"ปีนี้เราได้รับเงินปันผลจากปูนซิเมนต์ไทยประมาณ 1,000 ล้านบาท ส่วนธนาคารไทยพาณิชย์ หลังจากสามารถล้างขาดทุนสะสมหมดในกลางปี คาดว่าจะเริ่มจ่ายเงินปันผลให้กับเราได้ในปี 2547"

วิกฤติการเงินเมื่อปี 2540 นอกจากจะส่งผลกระทบต่อฐานะการลงทุนของสำนักงานทรัพย์สินฯ อย่างหนัก มูลค่าเงินลงทุนที่ลดลงอย่างมาก ยังไม่ส่งผลร้ายเท่ากับรายได้ที่เคยได้รับต่อปีจากเงินปันผล ของหลายๆ บริษัทที่หดหายไป

สิ่งที่เกิดขึ้นกับสำนักงานทรัพย์สินฯ ถือเป็นภาพสะท้อนความเป็นไปโดยรวมของภาคเศรษฐกิจ ทั้งประเทศ เพราะก่อนเกิดวิกฤติสำนักงานทรัพย์สินฯ ได้มีการลงทุนในหลายกิจการ ซึ่งถือเป็นหัวใจหลักของแต่ละภาคธุรกิจ

กว่า 5 ปี ที่สำนักงานทรัพย์สินฯ ได้ปรับโครงสร้างการลงทุนใหม่ เหลือกิจการที่เป็น Core Business ที่จะเข้าไปลงทุนโดยตรงเพียงไม่กี่แห่ง จนหลายคนมองว่าสำนักงานทรัพย์สินฯ กำลังลดบทบาทตัวเองลงจากที่เคยเป็นผู้ลงทุนรายใหญ่ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

ปัจจุบัน สำนักงานทรัพย์สินฯ เหลือการถือหุ้นในบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เพียง 4 บริษัท คือในปูนซิเมนต์ไทย 30% ธนาคารไทยพาณิชย์ 8.30% บริษัทเทเวศประกันภัย 25% และอีก 28.90% ในบริษัทคริสเตียนี และนีลเส็น

จากข้อมูลราคาหุ้น ซึ่งปิดตลาดเมื่อวันศุกร์ที่ 21 พฤศจิกายนที่ผ่านมา ทั้ง 4 บริษัทมี Market Capitalization รวม 285,241.74 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 7.76% ของ Market Capitalization รวมของทั้งตลาด

เทเวศประกันภัย เป็นบริษัทเดียวที่ยังคงมีการจ่ายเงินปันผลคืนให้อย่างต่อเนื่อง เฉลี่ยปีละ 24 ล้านบาท แต่เงินก้อนดังกล่าวถือว่าเล็กน้อย หากเทียบกับที่สำนักงานทรัพย์สินฯ เคยได้รับจากปูนซิเมนต์ไทย และธนาคารไทยพาณิชย์

ฐานะการเงินของปูนซิเมนต์ไทย เริ่มกลับมามีกำไรอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2543 และเริ่มจ่ายเงินปันผลได้ตั้งแต่ปี 2545 โดยจ่ายหุ้นละ 10 บาท ในจำนวนนี้เป็นเงินปันผลที่สำนักงานทรัพย์สินฯ ได้รับ 360 ล้านบาท

ส่วนปีนี้ปูนซิเมนต์ไทยมีการจ่ายเงินปันผล 2 ครั้ง ครั้งแรกหุ้นละ 30 บาท เป็นเงินปันผลในส่วน ของสำนักงานทรัพย์สิน 1,080 บาท และครั้งที่ 2 เป็นเงินปันผลระหว่างกาลที่จ่ายหลังแตกพาร์จาก 10 บาท เหลือ 1 บาท โดยจ่ายหุ้นละ 2.50 บาท สำนักงานทรัพย์สินฯ ได้รับไป 900 ล้านบาท

ส่วนธนาคารไทยพาณิชย์ ผลประกอบการ 9 เดือนนี้มีกำไร 9,203.62 ล้านบาท และคงเป็นดังที่ ดร.จิรายุคาดการณ์ไว้ว่าจะเริ่มจ่ายเงินปันผลได้ในปีหน้า

ดร.วิชิต สุรพงษ์ชัย และชุมพล ณ ลำเลียง คือบุคคลสำคัญในกระบวนการพลิกฟื้นฐานะให้กับทั้ง 2 กิจการ ซึ่งเป็น Core Business ที่ใหญ่ที่สุดของสำนักงานทรัพย์สินฯ

การฟื้นตัวกลับขึ้นมาอีกครั้งของสำนักงานทรัพย์สินฯ ครั้งนี้ จึงเปรียบได้กับสัญลักษณ์ของการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจที่แท้จริงของประเทศไทย

แนวทางที่ ดร.วิชิต และชุมพลนำมาใช้แก้ปัญหากิจการที่อยู่ในความรับผิดชอบ จึงล้วนตื่นเต้น เร้าใจ และน่าติดตามเป็นอย่างยิ่ง

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us