Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน1 ธันวาคม 2546
แผนโทร.ตปท.ทศท3ปีฟันกว่าหมื่นล้าน             
 


   
www resources

โฮมเพจ องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย

   
search resources

ชินแซทเทลไลท์, บมจ.
ทศท คอร์ปอเรชั่น
กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
สำนักงานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ
มิตร เจริญวัลย์
Telephone




เปิดแผนธุรกิจโทรศัพท์ต่างประเทศของ ทศท 3 ปีฟันรายได้ 1.1 หมื่นล้านบาท ใน 10 ประเทศเป้าหมายหลัก พร้อมให้บริการภายใน 1 เดือน ระยะสั้นใช้การต่อผ่านประเทศเพื่อนบ้าน ส่วนระยะยาวเจรจาเช่า วงจรต่อตรง ด้านสหภาพฯ ทศทชี้ประเด็น กสทตีรวนนโยบายรมว.ไอซีที เพราะกลัวการแข่งขันเสรี ที่สำคัญ "มีชัย ฤชุพันธุ์" เคยตีความก่อนหน้านี้แล้วว่า ทศท สามารถให้บริการต่างประเทศได้

แหล่งข่าวจากบริษัท ทศท คอร์ปอเรชั่น กล่าวว่า ทศทได้ส่งแผนการขยายการให้บริการธุรกิจโทรศัพท์ระหว่างประเทศ ให้นายแพทย์สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รมว.กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) เรียบร้อยแล้ว ตั้งแต่ช่วงปลายเดือนพ.ย.ที่ผ่านมา โดยยืนยันว่าสามารถให้บริการได้ทันที ภายในเวลา 1 เดือน โดยแบ่งแผนการให้บริการออกเป็น 2 ระยะ คือ1.ระยะสั้น ซึ่งเป็นการเตรียมความพร้อม 1-3 เดือนแรก และ 2.ระยะยาว ซึ่งมีเป้าหมายทำรายได้มากถึง 1.1 หมื่นล้านบาทภายในปี 2006 หรือเป็นปีที่จะเปิดให้มีการแข่งขันเสรีธุรกิจโทรคมนาคมตามกรอบองค์การการค้าโลก หรือ WTO โดยมุ่งเน้น 10 ประเทศเป้าหมายหลัก

จากรายงานของบริษัท Telegeography ฉบับปี 2003 และ ITU ที่สอดคล้องกันพบว่า ประเทศเป้าหมายหลักที่มีปริมาณทราฟิกขาออก (Outbound Traffic) จากประเทศไทยสูงสุด 10 อันดับแรกประกอบด้วย ญี่ปุ่น (45.5 ล้านนาที) สหรัฐอเมริกา (34.5 ล้านนาที) สิงคโปร์ (29.8 ล้านนาที) ไต้หวัน (19.8 ล้านนาที) ออสเตรเลีย (17.3 ล้านนาที) ฮ่องกง (17.1 ล้านนาที) สหราชอาณาจักร (17.1 ล้านนาที) เยอรมนี (13.5 ล้านนาที) เกาหลีใต้ (10.4 ล้านนาที) และจีน (8.1 ล้านนาที)

"คาดว่าในปี 2549 ทศท จะมีรายได้จากปริมาณทราฟิก 29.1 ล้านนาที หรือคิดเป็นเงินประมาณ 11,000 ล้านบาท จากประมาณการของบริษัทที่ปรึกษา AABA" แหล่งข่าวกล่าว

ปัจจุบันทศทได้เปิดให้บริการกับผู้ให้บริการโทรคมนาคมของประเทศเพื่อนบ้าน 4 ประเทศคือมาเลเซีย ลาว พม่าและกัมพูชา ด้วยวงจรเชื่อมโยงระหว่างประเทศมากกว่า 3,000 วงจร และ ทศท ยังได้เตรียมความพร้อมในการเปิดให้บริการโทรคมนาคมระหว่างประเทศทั่วโลกมาเป็นเวลานานแล้ว ด้วยการเซ็น MOU กับผู้ให้บริการโทรคมนาคมชั้นนำในประเทศต่างๆมากกว่า 20 บริษัท เช่น France Telecom, SingTel, Telstra Corporations, Deutsche Telecom, Korea Telecom, Telia, NTTและTelecom Italian ซึ่งสามารถขยายผลของ MOU ดังกล่าวไปสู่การดำเนินธุรกิจโทรคมนาคมระหว่างประเทศร่วมกัน

สำหรับแผนระยะสั้นของทศท แบ่งออกเป็น 2 ช่วงคือช่วงแรก สามารถดำเนินการได้ภายใน 1 เดือน หลังจากได้รับอนุญาตให้บริการ โดยผ่านวงจรเชื่อมต่อระหว่างประเทศที่มีอยู่กับ ผู้ให้บริการโทรคมนาคม ในมาเลเซียและลาว โดยมีระบบสื่อสัญญาณหลายประเภทคือระบบวงจร ภาคพื้นดินทั้งไมโครเวฟและเคเบิลใยแก้วนำแสง ระบบสื่อสารผ่านดาวเทียม และระบบสื่อสารเคเบิลใต้น้ำ

ในมาเลเซีย ทศท มีวงจรภาคพื้นดินเชื่อมต่อกับผู้ให้บริการโทรคมนาคม หลักในประเทศมาเลเซีย 5 รายคือ Telekom Malaysia, Celcom, DiGi Communications, Maxis และTime dotCom ด้วยระบบสื่อสัญญาณไมโครเวฟและเคเบิลใยแก้วนำแสง ซึ่งเพียงพอกับปริมาณทราฟิก ที่ออกจากประเทศไทยผ่านมาเลเซียไปทั่วโลกและปริมาณ ทราฟิกของประเทศต่างๆทั่วโลกที่จะส่งผ่านเข้ามา ยังโครงข่ายของทศท

สำหรับในลาว ทศท มีข้อตกลงกับผู้ให้บริการ โทรคมนาคมในลาว ในการทำธุรกิจร่วมกันโดยการใช้สถานีภาคพื้นดินของลาวที่ติดต่อกับ ดาวเทียมอินเทลแซทเป็นช่องทางในการรับ-ส่งทราฟิกจากประเทศต่างๆทั่ว โลกกับทศท

นอกจากนี้ทศท ซึ่งเป็นลูกค้าของบริษัท ชิน แซทเทิลไลท์ ผู้ให้บริการสื่อสารผ่านดาวเทียมไทยคมที่ใช้เป็นวงจรเชื่อมโยงระหว่างไทยกับ พม่า ก็บรรลุ ข้อตกลงในหลักการที่ทศทจะขอเช่าช่องสัญญาณดาวเทียม เพื่อการเชื่อมต่อไปยังประเทศต่างๆตามเป้าหมายธุรกิจที่ทศทต้องการ

ส่วนการดำเนินการในช่วงที่ 2 จะเป็นการขอเช่าช่องสัญญาณดาวเทียม อินเทลแซทกับดาวเทียมต่างๆในภูมิภาค เพื่อใช้เป็นวงจรเชื่อมต่อไปยังประเทศเป้าหมายทั่วโลก โดยสามารถดำเนินธุรกิจได้ในลักษณะเทิร์นคีย์ และการเช่าวงจรเคเบิลใต้น้ำจากโครงการต่างๆ

"แผนระยะสั้นของทศทคือการอาศัยวงจรต่อผ่านจากประเทศเพื่อนบ้านที่พรมแดนติดกันและเป็นพันธมิตรกับทศท ส่วนแผนระยะยาวคือการเช่าวงจรต่างประเทศโดยตรง" แหล่งข่าวกล่าว

ทศท ยังได้รับอนุมัติงบประมาณปี 2547 ด้าน การลงทุนจากครม.แล้ว ทำให้มีงบประมาณในการจัดสร้างสถานีภาคพื้นดินดาวเทียม การเช่าใช้ช่องสัญญาณดาวเทียม และการจัดหาระบบเคเบิลใต้น้ำและการขยายวงจรเชื่อมโยงภาคพื้นดิน เพื่อรองรับการให้บริการโทรคมนาคมระหว่างประเทศ

ทศทยังมีความพร้อมด้านระบบบิลลิ่ง เนื่อง จากได้ให้บริการโทรคมนาคม ระหว่างประเทศ ด้วย International Access Code รหัส 007 กับ 002 ไปยังต่างประเทศอยู่แล้ว จึงไม่เป็นปัญหาในเรื่องการ รับรู้ของผู้บริโภคอีกทั้งยังมีช่องทางการประชาสัม- พันธ์กับการตลาด ผ่านการใช้บัตรโทรศัพท์ TOT Card และ PIN Phone 108 นอกจากนี้โทรศัพท์สาธารณะของทศทยังพร้อมรองรับการใช้บริการโทรคมนาคมระหว่างประเทศได้ทุกรูปแบบ

ทศทโวยกสทตกยุค

แหล่งข่าวกล่าวต่อไปว่า แผนให้บริการโทรศัพท์ระหว่างประเทศของทศท เป็นการสนองนโยบาย น.พ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รมว.กระทรวงไอซีทีที่มอบให้บอร์ด 2 หน่วยงานในการประชุมร่วมกัน และไม่มีกฎหมายข้อไหนระบุว่าทศทไม่สามารถใหับริการโทรศัพท์ระหว่างประเทศหรืออินเทอร์เน็ต เช่นเดียวกับ กสท หากต้องการให้บริการโทรศัพท์พื้นฐานในประเทศก็ไม่ได้มีกฎหมายกีดกันไว้

สิ่งที่น.พ.สุรพงษ์ต้องการคืออยากให้ทั้ง 2 หน่วยงานได้เตรียมความพร้อมรองรับการแข่งขันเสรี ภายหลังเกิดคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) โดยให้ทั้ง 2 หน่วยงานผลิตสินค้าและบริการออกมาให้มากที่สุด เพื่อยึดครองตลาด สร้างความแข็งแกร่งและเพิ่มมูลค่าให้องค์กรก่อนที่จะลงสู่สนามจริงในการแข่งขันกับเอกชน

ในขณะเดียวกันทั้ง 2 หน่วยงานก็ต้องแข่งขัน กันเพื่อให้เข้มแข็งทั้งคู่ ไม่ใช่แข่งขันเพื่อให้ล้มหายตายจากไป เป็นการแข่งแบบพี่น้องเหมือน 2 พี่น้องวีนัสกับเซเรน่า วิลเลียมส์ ที่ครองมือ 1 และ 2 ของเทนนิสโลก โดยความหนักเบาของการแข่งขันจะมีคณะกรรมการที่ประกอบด้วยตัวแทนจากบอร์ดและผู้บริหาร 2 หน่วยงานร่วมกันดูแล

"ช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา สหภาพฯการสื่อสาร ออกอาการเหมือนฟังไม่ได้ศัพท์แล้วจับไปกระเดียดไม่ว่าจะเป็นการออกมาโต้ว่าน.พ.สุรพงษ์ล้วงลูกบอร์ด ทำผิดมติครม.หรือนโยบายเช้าอย่างเย็นอย่าง รวมทั้งอ้างข้อกฎหมายตีกันไม่ให้ ทศทให้บริการโทรศัพท์ ระหว่างประเทศ ทำถึงขั้นอ้างว่าเคย เข้าพบพ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เมื่อเดือนก.ค. 2545 โดยที่นายกฯให้คำมั่นกับ สหภาพฯการสื่อสาร ว่าจะไม่ให้ทั้ง 2 หน่วยงานทำธุรกิจแข่งกัน รวมทั้งยังขู่ รมว.กระทรวงไอซีทีถึงขนาดว่าในวันนี้ (1 ธ.ค.) 2 บอร์ดจะประชุมร่วมกัน กรณีที่สหภาพฯกสทตีรวนนโยบายรมว.กระทรวงไอซีที โดยอ้างว่าหากการ เจรจาได้ผลไม่น่าพอใจ จะไปทวงสัญญากับนายกฯ"

สหภาพฯทศท ชี้เบื้องหลัง

นายมิตร เจริญวัลย์ ประธานสหภาพฯทศทซึ่งเป็นผู้หนึ่งที่อยู่ในเหตุการณ์เข้าพบพ.ต.ท.ทักษิณ ในวันนั้นกล่าวว่า การเข้าพบครั้งนั้นเป็นการชี้แจงเรื่องการแปรสภาพทศทกับกสท ในประเด็นหุ้นที่จะจัดสรรให้พนักงาน สิ่งที่นายกฯให้นโยบายกลับมาคือ จะทำอะไรก็แล้วแต่ให้คิดถึงประเทศชาติเป็นหลัก รองลงมาคือผลประโยชน์องค์กร ซึ่งถ้าทุกอย่างดีแล้ว ก็จะส่งผลดีให้กับพนักงานด้วย

เขากล่าวว่าในตอนนั้นนายกฯยังชี้ให้เห็นประเด็นการทำโครงการโทรศัพท์มือถือซีดีเอ็มเอของกสทที่ใช้วิธีการเช่าว่าราคาแพงมาก เพราะต้นทุน ทุกอย่างตัวนายกฯรู้ดี และหากกสทยังใช้วิธีดังกล่าว รายได้หลักจากโทรศัพท์ระหว่างประเทศก็ยังไม่พอค่าเช่าด้วยซ้ำ ซึ่งประเด็นไม่ให้ 2 องค์กรทำธุรกิจแข่งกันไม่ได้มีการพูดถึง

นายมิตรกล่าวว่านายมีชัย ฤชุพันธ์ เคยตีความ ข้อกฎหมายไว้ว่า ทศทที่จัดตั้งขึ้นภายใต้พ.ร.บ.องค์การโทรศัพท์ฯปี 2497 ได้รับโอนอำนาจสิทธิหน้าที่และการให้บริการจากกฎหมายแม่ด้านโทรคมนาคมคือพ.ร.บ.โทรเลขโทรศัพท์ ปี 2477 มาทั้งหมด เหลือ แค่ด้านโทรเลขไม่ได้รับมา

"หมายความว่ากิจการด้านโทรศัพท์หรือเกี่ยวกับโทรศัพท์ทุกอย่างทศททำได้หมด ท่านมีชัย ได้ตีความไว้ก่อนหน้านี้นานแล้ว" นายมิตรกล่าว

การที่ตีกันให้ทศทให้บริการได้เฉพาะในประเทศเกิดจากข้อตกลง ซึ่งไม่ใช่เป็นข้อกฎหมายตั้งแต่ปี 2523 หรือกว่า 23 ปีมาแล้ว สมัยพล.ร.อ.อมร ศิริกายะ เป็นรมว.คมนาคม โดยมักใช้ข้ออ้างว่า กสท ต้องเป็นผู้ให้บริการโทรศัพท์ต่างประเทศเพียงผู้เดียว เพราะจำเป็นต้องเอารายได้มาเลี้ยงกิจการไปรษณีย์ที่เป็นกิจการสาธารณะขาดทุนมาตลอด รวมทั้งผู้บริหารในกระทรวงคมนาคมหลายยุคหลายสมัยมีความผูกพันกับกสทมากกว่าเพราะกสทเพิ่งแยกตัวจากกรมไปรษณีย์เมื่อปี 2519 ทำให้นโยบาย ในช่วงต่อมามักตีวงทศทให้ทำธุรกิจแต่ในประเทศ

ในขณะเดียวกัน กสทเองก็มีการเดินสายในประเทศต่อตรงถึงโรงแรมต่างๆ เพื่อให้บริการโทรศัพท์ระหว่างประเทศโดยตรงโดยไม่ต้องผ่านวงจรต่อผ่านของทศท

"อย่างเรื่องซีดีเอ็มเอ ที่ท่านนายกฯออกมาท้วงติงตอนนั้นจนท้ายสุด ต้องล้มโครงการไป หรือแม้กระทั่งเรื่องที่กสทเดินสายในประเทศหาลูกค้าโดยตรง ไม่เคารพสิทธิทศท สหภาพฯการสื่อสารก็ไม่เคยออกมาชี้แจงประเด็นดังกล่าว ที่สำคัญกิจการไปรษณีย์ฯแยกออกจากกสทมาตั้ง แต่เดือนส.ค. อยากรู้ว่าจะอ้างเหตุผลอะไรที่ไม่ให้ทศทให้บริการโทรศัพท์ต่างประเทศ หรือกลัวการแข่งขันเสรี" นายมิตรกล่าว

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us