Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน27 พฤศจิกายน 2546
ลุ้น"แบล็กลิสต์"นักปันหุ้น ตลท.ส่งถึงมือก.ล.ต.วันนี้             
 


   
search resources

ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.)
Stock Exchange




ตลาดหลักทรัพย์ฯ นำส่งบัญชีรายชื่อผู้ปั่นหุ้นให้สำนักงานก.ล.ต. วันนี้ เพื่อให้ก.ล.ต. ดำเนินการตามกฎหมายต่อ ขณะที่ "ประสาร" พร้อมเดินหน้าเอาผิดกับผู้ปั่นหุ้นทันทีหลังได้รับข้อมูล พร้อม ยืนยัน ไม่จำเป็นต้องออกกฎหมายเพิ่ม แต่อาจมีการแก้ไขพ.ร.บ.หลักทรัพย์ บางส่วนเท่านั้น ด้านความคืบหน้ามาตรการวางหลักประกัน 10% ของบัญชี เน็ตเซตเทิลเมนต์ โบรกเกอร์รวมตัวประกาศเลื่อนใช้เป็น 1 เม.ย.ปีหน้า

นายวิจิตร สุพินิจ ประธานคณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เปิดเผยถึงความ คืบหน้าการตรวจสอบพฤติกรรมนักลงทุนที่เข้าข่ายสร้างราคาหุ้น (ปั่นหุ้น) ว่า ในที่ประชุมคณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์ฯ วานนี้ (26 พ.ย.) ได้มีการหยิบเรื่องดังกล่าวขึ้นมาพิจารณา เป็นวาระจร โดยมีวาระหลักคือการพิจารณามาตรการการเรียกหลักประกัน 10% ของบัญชีซื้อขายแบบหักกลบลบหนี้ภายในวันเดียว (Net Settlement)

"การตรวจสอบการปั่นหุ้น มีความคืบหน้าไปมากแล้ว แต่จะมีการพิจารณาหาหลักฐานขั้นสุดท้าย ก่อนที่จะเสนอให้สำนักงานคณะกรรมการ กำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ในวันนี้ (27 พ.ย.) เพื่อพิจารณาดำเนินการตามขั้นตอนทางกฎหมายต่อไป" นายวิจิตร กล่าว ก.ล.ต.ยันไม่ออกกม.เพิ่ม

นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล เลขาธิการ สำนักงานก.ล.ต. กล่าวว่า ขณะนี้ยังไม่ได้รับเอกสาร ในส่วนของรายชื่อหุ้น และบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการปั่นหุ้นจากตลาดหลักทรัพย์ฯ ซึ่งโดยปกติขั้นตอนการตรวจสอบคงจะไม่มีการเปิดเผยรายชื่ออยู่แล้ว

หลังจากที่สำนักงานก.ล.ต. ได้รับข้อมูลจาก ตลาดหลักทรัพย์แล้ว ก.ล.ต. จะดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมายต่อไป และขณะนี้ขอยืนยันว่าจะไม่มีการใช้กฎหมายอั้งยี่ ซ่องโจร มาใช้กับกรณีคนปั่นหุ้นแต่อย่างใด

"เท่าที่คุยกับคุณโภคิน เช้าวานนี้ ท่านก็ปฏิเสธว่า ไม่มีการคุยเรื่องกฎหมายอั้งยี่กับใคร และจะไม่มีการนำมาใช้ปฏิบัติแน่นอน โดยคุยกันเฉพาะกฎหมายหลักทรัพย์ ถึงแนวทางที่จะแก้ไขเท่านั้น"

นายประสาร กล่าวเพิ่มเติมว่า ขณะนี้ข่าวต่างๆ ที่เข้ามากระทบตลาดหุ้นเริ่มดีขึ้นเรื่อยๆ ทำให้ภาวะการลงทุนในตลาดหุ้นช่วงนี้ทรงตัว ไม่ผันผวนเหมือนช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ซึ่งเชื่อว่าในระยะปานกลางภาวะการลงทุนในตลาดจะกลับมาสู่ภาวะปกติ

"ในส่วนของนักลงทุนอย่าเชื่อกระแสข่าวลือ ให้พยายามติดตามข่าวสารของทางตลาดหลักทรัพย์ฯ ซึ่งตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้พยายามกระจาย ข่าวสารให้นักลงทุนทราบตลอดเวลา ขณะเดียว กันนักลงทุนเองควรเลือกลงทุนในหุ้นที่ราคาสอด คล้องกับพื้นฐาน" นายประสาร กล่าว

ด้านร.อ.สุชาติ เชาว์วิศิษฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวว่า การดำเนินการกับผู้ที่เข้าข่ายปั่นหุ้นนั้น ให้คอยติดตามข่าวจากสำนักงาน ก.ล.ต. และตลาดหลักทรัพย์ฯ ในวันนี้ (27 พ.ย.) ว่าจะมีการดำเนินการอย่างไร เพราะตนได้สั่งการไปเแล้ว อย่างไรก็ตาม ในทางปฏิบัติจะเริ่มดำเนิน การได้เมื่อใดจะต้องขึ้นอยู่กับผู้ปฏิบัติ

"การการสอบถามจากนายโภคิน ได้รับทราบ ว่า กฎหมายที่มีอยู่ขณะนี้ครอบคลุมและสามารถเอาผิดกับผู้กระทำผิดได้อยู่แล้วจึงไม่มีความจำเป็น ต้องแก้กฎหมายหรือนำกฎหมายอื่นๆ มาใช้เพิ่ม" "ทักษิณ" ให้ปปง. งัดกม.เล่นงานนักปั่น

ด้านพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกรณีที่สำนักงานป้องกันและปราบปรามการทุจริตและฟอกเงิน (ปปง.) มีหลักฐานเป็นภาพวิดีโอของผู้ที่เกี่ยวข้องในการปั่นหุ้น ว่า ยังไม่ทราบรายละเอียดในเรื่องดังกล่าว เพราะเป็นเรื่องของหน่วยงานที่รับผิดชอบ รวมทั้งการบังคับ ใช้กฎหมายของปปง. ที่จะต้องเข้าไปดำเนินการ

"ผมจะมองภาพรวมของประเทศ ถ้าเกิดผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศก็จะกระตุ้นให้หน่วยงานที่รับผิดชอบออกมาดำเนินการ จึงไม่ได้ลงในรายละเอียดเรื่องนี้ปล่อยให้เป็นหน้าที่ของหน่วยงาน"

ส่วนกรณีที่มีกระแสข่าวว่า นายกรัฐมนตรี มีคำสั่งให้ติดตามการดำเนินธุรกิจของบริษัท ทุ่งคาฮาเบอร์ จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นบริษัททำเหมือง แร่ ในจังหวัดภูเก็ต มีพฤติกรรมเข้าไปไล่ราคาหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ฯ ว่า ได้สั่งการทั่วไปในหลักการการให้สัมปทานทำเหมืองแร่ ได้ที่ดินไปด้วยหรือเปล่า และมีการชี้แจงว่าจะไม่ได้ที่ดินไป จึงสั่งว่าต้องแยกกันให้ออก เพราะการทำงานที่มีหลายหน่วยงานเกี่ยวข้อง อาจทำให้เกิดปัญหา เพราะหน่วยงานหนึ่งจะไม่เข้าไปยุ่งกับหน่วยงานหนึ่ง

"อย่างกรณีกรมที่ดิน กับหน่วยงานที่เกี่ยว ข้องกับการให้สัมปทาน ปัญหาจึงเกิดขึ้นในลักษณะที่ว่า เจ้าของเหมืองมักจะเอาที่ดินไปออกโฉนด ตรงนี้จะต้องจัดระเบียบให้ถูกต้อง เป็นไปตามกฎหมาย ส่วนปัญหาที่เกี่ยวข้องกับตลาด หลักทรัพย์นั้น ผมไม่ทราบ เป็นหน้าที่ของ ก.ล.ต." พ.ต.ท.ทักษิณ กล่าว โบรกเกอร์อ้างระบบไม่พร้อม

เลื่อนวางประกันเป็น 1 เม.ย.ปีหน้า

นางสาวโสภาวดี เลิศมนัสชัย ประธานศูนย์ระดมทุนตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กล่าวว่า การประชุมในวันที่ 25 พฤศจิกายนที่ผ่าน มา เป็นการประชุมเพื่อรับฟังความคิดเห็น เพื่อเสนอให้คณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์ฯ พิจารณาความชัดเจนและยืนยันกำหนดการเริ่มใช้มาตรการเรียกหลักทรัพย์ค้ำประกัน 10% ในบัญชีแบบหักกลบลบหนี้ภายในวันเดียว (Net Settlement) ในวันที่ 1 ธันวาคมนี้ และโบรก-เกอร์ใดไม่มีความพร้อมใช้จะให้เวลาในการดำเนิน การให้เรียบร้อยภายในวันที่ 31 มี.ค.2547

ทั้งนี้ ตลาดหลักทรัพย์ฯ อยู่ระหว่างการ เตรียมติดตั้งระบบคอมพิวเตอร์ เพื่อใช้ในระบบการเรียกหลักประกัน 10% ซึ่งเท่าที่สำรวจบริษัทสมาชิกพบว่า หากโบรกเกอร์ที่ต้องมีการติดตั้งระบบคอมพิวเตอร์จะต้องใช้เวลาในการปฏิบัติ

รายงานข่าวจากบริษัทหลักทรัพย์ (บล.) ฟินันซ่า ระบุว่า ได้มีการส่งหนังสือเวียนในเรื่องการเลื่อนใช้ Net Settlement ให้พนักงานรับทราบ โดยระบุถึงการประชุมเมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายนที่ผ่านมา ว่า ยังไม่มีบริษัทสมาชิกรายใดพร้อมที่จะใช้ระบบการเรียกหลักประกัน 10% ในวันที่ 1 ธันวาคมนี้ และเป็นที่ตกลงและเข้าใจตรงกันว่าทุกโบรกเกอร์พร้อมที่จะใช้ระบบดังกล่าวในวันที่ 1 เมษายน 2547

ดังนั้น จึงสามารถสรุปผลได้ว่า การกำหนด ให้ลูกค้าต้องนำหลักประกันดังกล่าวทุกโบรกเกอร์ จะเริ่มใช้ในวันที่ 1 เมษายนปีหน้า

อย่างไรก็ตาม เรื่องดังกล่าวจะต้องนำเสนอ เข้าที่ประชุมคณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์ให้พิจารณาอีกครั้งก่อนที่จะประกาศใช้อย่างเป็นทางการ

ด้านนายประสาร กล่าวว่าเรื่องของแนว ทาง การเรียกหลักประกันในการซื้อขายแบบ Net Settlement ของคณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์ จะสรุปออกมา บริษัทสมาชิกสามารถปฏิบัติได้ในทันทีและไม่ต้องยื่นให้สำนักงานก.ล.ต. พิจารณา อีกครั้ง

ทั้งนี้การออกแนวทางปฏิบัติเป็นหน้าที่ของตลาดหลักทรัพย์ฯ ที่จะกำหนด ส่วนเรื่องเป้าหมาย และวัตถุประสงค์จะเป็นเรื่องที่สำนักงานก.ล.ต. จะให้ความสำคัญมากที่สุด และการพิจารณาร่างแนวทางปฏิบัติที่ผ่านมา ถือว่ามีความยืดหยุ่นพอสมควรแล้ว

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us