Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มกราคม 2543








 
นิตยสารผู้จัดการ มกราคม 2543
ปีแห่งการประนอมหนี้             
 


   
www resources

โฮมเพจ กลุ่มบริษัทสามารถ
โฮมเพจ ยูไนเต็ด คอมมูนิเกชั่น อินดัสตรีส์

   
search resources

สามารถกรุ๊ป
ยูไนเต็ด คอมมูนิเกชั่น อินดัสตรีส์, บมจ.
เทเลคอมเอเซีย, บมจ.
Telecommunications




พิษฟองสบู่แตกในปี 2540 ส่งผลให้พยัคฆ์ติดปีกอย่างทุนสื่อสารทีเอ ยูคอม และสามารถต้องกลายเป็นเสือลำบากจากหนี้สิน ที่พอกพูนขึ้น งานนี้จึงต้องขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของการประนอมหนี้ ใครสามารถพลิกฟื้นได้เร็วกว่ากัน

ยักษ์สื่อสาร ทีเอ ยูคอม สามารถ ที่เคยเป็นพยัคฆ์ติดปีกร่ำรวย จากหุ้นในตลาดหลักทรัพย์กลายเป็นเสือลำบาก ต้องงดเว้นกิจกรรมการลงทุน ตัดทิ้งธุรกิจ ที่เกิดจากฟองสบู่ หาทางประนอมหนี้ ที่งอกขึ้นมาอีกหลายเท่าตัว จากค่าเงินบาทลอยตัวเมื่อครั้ง ที่ฟองสบู่แตก

กลุ่มยูคอม เป็นบริษัทโทรคมนาคม ที่เติบโตแบบก้าวกระโดดเมื่อ 7- 8 ปีที่แล้ว และต้องมาเจอปัญหาภาระแบกหนี้ก้อนใหญ่จากการลงทุนเกิน ตัวในเศรษฐกิจฟองสบู่

ยูคอมใช้เวลา 18 เดือน ในการเจรจาต่อรองกับเจ้าหนี้ทั้ง 28 ราย ให้ยอมขยายระยะเวลาชำระหนี้ 573 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 22,000 ล้านบาท ออกไปอีก 5 ปี ซึ่งก่อนหน้านี้เมื่อกลางปีที่แล้ว แทคบริษัทในเครือของยูคอมก็ใช้สูตรเดียวกันนี้ยืดการชำระหนี้ 538 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 21,000 ล้านบาท กับเจ้าหนี้ 50 ราย ออกไปเป็น 6 ปี นอกจากนี้ยังได้มีการแปลงหนี้จำนวน 120 ล้านเหรียญสหรัฐ ส่งผลให้ตระกูลเบญจรงคกุล และโมโตโรล่า ต้องลดสัดส่วนการถือหุ้น ที่ถือร่วม กับโมโตโรล่า 51% ลงเหลือ 26% โดยมีบริษัทซัมเมอร์ยูเค ซึ่งเป็นกองทุนจากประเทศอังกฤษ เข้ามาซื้อหุ้นจากโมโตโรล่า และแปลงหุ้นกู้แปลงสภาพ และหุ้นสกุลเงินบาท ทำให้กลุ่มซัมเมอร์ยูเค ถือหุ้นในยูคอมมาก กว่า 36% ถึงแม้จะมีกระแสหนาหูว่า ซัมเมอร์ยูเคไม่ใช่ใครอื่น แต่ก็มีคนในตระกูลเบญจรงคกุล และผู้บริหารระดับสูงของกลุ่มยูคอมถือหุ้นอยู่ก็ตาม

การประนอมหนี้ครั้งนี้จึงเป็นการผ่อนลมหายใจไปแค่ช่วงเวลาสั้นๆ เท่านั้น เพราะแทคนั้น จะต้องหาเงินมาชำระหนี้ก้อนแรกให้เจ้าหนี้มูลค่า 400 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 15,000 ล้านบาท ในปี 2544 ขณะที่ธุรกิจโทรศัพท์มือถือยังต้องการเงินลงทุนในเครือข่ายอีกจำนวนมาก ปีหน้าแทคมีภาระต้องใช้เงินลงทุน 4,000 ล้านบาท เพื่อขยายเครือข่ายระบบเวิลด์โฟน 1800 ให้ครอบคลุมพื้นที่มากขึ้นเทียบเท่ากับระบบอนาล็อก 800 นอกจากนี้ยังต้องเตรียมพร้อมสำหรับการแข่งขันภายหลังเปิดเสรีโทร คมนาคม และเทคโนโลยีใหม่ ที่จะก้าวไปสู่ 3 generation ซึ่งจำเป็นต้องมี เงินทุนก้อนใหญ่เข้ามาใช้สำหรับงานนี้ หนทางที่ดีที่สุดก็คือ การหาพันธมิตร เข้ามาถือหุ้น ที่แม้จะมีการเจรจากับบริษัทสื่อสารข้ามชาติมาแล้วหลายราย แต่ยังไม่บรรลุผลสำเร็จเสียที

และนี่ก็เป็นส่วนหนึ่งของปัญหาความร้าวฉานระหว่างบุญชัย เบญจรงคกุล ในฐานะเจ้าของกิจการ และผู้บริหารมืออาชีพอย่างภูษณ ปรีย์มาโนช ที่มีตำแหน่งเป็นประธาน ที่ปรึกษา และก้าวลงสู่สนามการเมือง แต่ในความเป็นจริงแล้วบารมีของเขายังคงมีอยู่เต็มเปี่ยม การเข้ามายุ่งเกี่ยวใน เรื่องการบริหารงานในแทคของบุญชัยก็ได้ก่อเกิดความร้าวฉานขึ้นภายใน เมื่อความต้องการของทั้งสองเดินสวนทางกัน

ทางด้านสามารถคอร์ปอเรชั่นบรรลุข้อตกลงในการประนอมหนี้กับเจ้าหนี้ทั้ง 19 รายไปเมื่อวันที่ 21 ตุลาคม ที่ผ่านมา มูลหนี้ทั้งหมดของกลุ่มสามารถกรุ๊ปคือ 7,700 ล้านบาท ไม่รวมหนี้ของดิจิตอลโฟน หรือดีพีซี ที่แยกการลงทุนออกมาจากบริษัทแม่ โดยมี Credit Lynnais เป็นเจ้าหนี้ราย ใหญ่ ที่เป็นเจ้าของหนี้ 40% ของมูลหนี้ทั้งหมด

เงื่อนไขของการประนอมหนี้ของสามารถกรุ๊ป ก็คือ การที่เจ้าหนี้ยอมยืดเวลาชำระหนี้ออกไปอีก 7 ปี มีระยะเวลาปลอดหนี้ถึง 30 มีนาคม 2544 จากนั้น จึงเริ่มทยอยใช้หนี้ โดยจะชำระไม่ต่ำกว่า 3% ของหนี้ทั้ง หมด ทั้งนี้จะต้องขึ้นอยู่กับสภาพกระแสเงินสดของสามารถกรุ๊ปเป็นสำคัญ คือ จะต้องเก็บไว้เป็นเงินทุนหมุนเวียน 20% และไว้ชำระหนี้ 80% ถ้าเปรียบเทียบระหว่างทุนสื่อสารด้วยกันแล้ว เงื่อนไขของการประนอมหนี้กลุ่มสามารถผ่อนคลาย และไม่ถูกบีบรัดเหมือนกับทุนสื่อสารอื่นๆ ตระกูลวิไลลักษณ์ไม่ต้องลดสัดส่วนการถือหุ้นลง ไม่ต้องหาพันธมิตรใหม่เข้ามา เพราะงานนี้เท่ากับแบงก์ยอมเสี่ยงกับสามารถอีกครั้ง

ถึงแม้จะปลดเปลื้องปัญหาไปได้เปลาะใหญ่แล้ว แต่สิ่งที่สามารถกรุ๊ปต้องเร่งทำต่อไปในอนาคตก็คือ การปรับปรุงคุณภาพบริการโทรศัพท์มือถือ ดีพีซี ด้วยการเร่งขยายเครือข่ายเป็นการด่วน เพื่อปิดจุดอ่อนของดีพีซี และนี่คือ สาเหตุที่สามารถกรุ๊ปไปดึงเอานอร์เทลมาเป็นซัปพลายเออร์สำหรับงานนี้ เพราะนอร์เทลเองก็ต้องการขยายตลาดในไทยเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว

ภายหลังจากการประนอมหนี้เสร็จสิ้นลงสามารถกรุ๊ป ลงมือผ่าตัดธุรกิจ แบ่งกลุ่มธุรกิจใหม่แยกออกเป็น 5 กลุ่มธุรกิจตามประเภทของสินค้า และบริการ คือ กลุ่มไร้สาย (Wireless) กลุ่มออกแบบติดตั้งระบบ และ วิศวกรรม กลุ่ม ค้าปลีก และช่องทางขายธุรกิจสื่อสารข้อมูล และธุรกิจ E- solution ธุรกิจใหม่ล่าสุด ที่จะนำสามารถกรุ๊ปเข้าสู่ธุรกิจบนอินเตอร์เน็ตอย่างเต็ม รูปแบบไม่ใช่แค่ธุรกิจไอเอสพีอีกต่อไป

รูปแบบของธุรกิจ E-solution ก็คือ รับจ้างทำธุรกิจบนอินเตอร์เน็ต แบบครบวงจรให้กับลูกค้าองค์กร เริ่มตั้งแต่ให้บริการอินเตอร์เน็ต โดยใช้ เครือข่ายสื่อสาร ที่มีอยู่มาเป็นตัวต่อเชื่อม รับจดชื่อโดเมนเนม ทำโฮมเพจ ไปจนถึงวางระบบให้ธุรกิจการค้าขายบนเว็บ หรือใช้เว็บเป็นเครื่องมือการตลาด ไปจนถึงการชำระเงินผ่านอินเตอร์เน็ต โดยสามารถจะใช้เครือข่าย สื่อสาร และบริการที่มีอยู่ประยุกต์ออกมาเป็นบริการให้กับลูกค้า ที่ต้องการ ทำธุรกิจบนอินเตอร์เน็ต

นอกจากนี้ ธวัชชัย วิไลลักษณ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัทสามารถ คอร์ปอเรชั่น จำกัด กล่าวถึงทิศทางธุรกิจของสามารถว่า ทุกธุรกิจของ สามารถจะถูกเชื่อมโยงเข้ากับอินเตอร์เน็ต เช่น กรณีของการเปิดเว็บไซต์ somsir.900.com เป็นบริการเลขาส่วนตัวในการรับข่าวสาร และข้อมูลที่เป็นบริการเสริมให้กับลูกค้าเพจเจอร์ เป็นกรณีตัวอย่างที่เกิดขึ้นจากแนวคิดนี้

ค่ายเทเลคอมเอเซีย คอร์ปอเรชั่น หรือทีเอ เป็นรายล่าสุด ที่ได้ฤกษ์ จรดปากกาเซ็นสัญญาประนอมหนี้กับเจ้าหนี้ 45 ราย ไปเมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2542 ได้ว่าเป็นการประนอมหนี้ครั้งใหญ่ที่สุดในวงการสื่อสาร ของไทยด้วยมูลหนี้ ที่มากถึง 61,790 ล้านบาท

เป็นที่แน่นอนแล้วว่า การประนอมหนี้ในครั้งนี้ ทีเอจะได้รับการปรับลด หนี้ลง 6,740 ล้านบาท เหลือ 55,050 ล้านบาท

แบ่งออกเป็น 3 ส่วนหลักๆ คือ เจ้าหนี้ ที่มีหลักประกัน มูลค่า 48,500 ล้านบาท ยอมให้ที เอยืด การชำระเงินออกไป 2 ปี คือ จากเดิม ที่ต้องเริ่มชำระหนี้ก้อนแรกปี 2543 เลื่อนออกไปถึงไตรมาส ที่สองของปี 2545 และชำระเงินต้นครั้งสุดท้ายไม่เกินสิ้นปี 2551 รวม เป็นเวลา 6 ปี

เรียกว่างานนี้ทีเอ ยังมีภาระ ที่จะต้องจ่ายเงินต้นพร้อมกับดอกเบี้ยปีละ 8,000-9,000 ล้านบาทต่อปี

สำหรับเจ้าหนี้ไม่มีหลักประกันจำนวน 13,290 ล้านบาท จะมีการ ชำระหนี้บางส่วน และตัดหนี้สูญไปบางส่วน ซึ่งเป็นข้อเสนอของเจ้าหนี้ ที่ไม่ ต้องการรอแต่ต้องการได้เงินกลับคืนไป จะถูกลดหนี้ลงไปเฉลี่ย 50% ส่วนเจ้าหนี้ ที่ไม่ลดหนี้ ซึ่งมีอยู่ 6,550 ล้านบาท ทีเอจะเปลี่ยนเป็นตั๋วสัญญาใช้เงิน และจะชำระคืนในปีที่ 14-17 ใน ส่วนของการชำระให้กับเจ้าหนี้ไม่มีหลักประกันจะมาจากการเพิ่มทุน โดยทีเอจะขายหุ้นบุริมสิทธิจำนวน 702 ล้านหุ้น มูลค่าหุ้นละ 8.23 บาท ให้แก่บริษัท Kreditanstalt for Wiedereaufbau หรือ kfw ซึ่งเป็น เจ้าหนี้ ที่มีหลักประกันรายใหญ่ที่สุด เพื่อแลกเปลี่ยนกับเงินเพิ่มทุนจำนวน 150 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 6,000 ล้านบาท เพื่อนำเงินเพิ่มทุนไปใช้ ชำระคืนเงินกู้ ที่ไม่มีหลักประกัน

ส่วน KfW ที่กลายเป็นพระเอกสำหรับงานนี้ เพราะยอมปล่อยเงินมา ให้ทีเออีกก้อนใหญ่ ใช่ว่าจะไม่มีเงื่อนไขเสียทีเดียว kfw จะได้ผลตอบแทน การลงทุน 20% ต่อปี เป็นเวลา 2 ปีเต็ม และกลายเป็นผู้ถือหุ้นอันดับ ที่ 2 ที่ถือหุ้น 24% ส่วนทีเอยังเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ แต่สัดส่วนการถือหุ้นลดลงจาก 36% เป็น 27.36% แต่ทีเอจะได้สิทธิซื้อหุ้นคืนจาก kfw กลับคืนมา โดยจะแบ่งเป็น 2 ช่วง คือ หากทีเอซื้อคืนภายในสิ้นปีที่ 2 ในราคา 11.85 บาท ต่อหุ้น ซึ่ง มาจากราคาหุ้น ที่เสนอขายให้กับ kfw บวกกับอัตราผลตอบแทนการลงทุน

แต่หากซื้อคืนระหว่างปีที่ 3-8 ราคาหุ้นจะแพงขึ้น เพราะต้องมีการ บวกอัตราผลตอบแทนการลงทุน 15% ต่อปี และบวกกับส่วนแบ่งจาก การเพิ่มขึ้นของราคาหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ด้วย และ kfw จะมีสิทธิขายให้ กับนักลงทุนคนอื่นๆ ได้หากทีเอ และผู้ถือหุ้นเดิมไม่ใช้สิทธิในการซื้อหุ้นคืน

การเซ็นสัญญาในวันนั้น นับว่าเป็นก้าว ที่สำคัญ สำหรับซีพีกรุ๊ปเลยก็ว่า ได้ เพราะพิษสงจากวิกฤติเศรษฐกิจ และการลดค่าเงินบาท ทำเอาซีพีตก ที่นั่งลำบาก ต้องยอมตัดทิ้งธุรกิจ ที่แตกขยายไว้ เพื่อรักษาธุรกิจหลักเอาไว้ คือ อุตสาหกรรมเกษตร และโทรศัพท์ 2.6 ล้านเลขหมาย

เป็นเวลากว่า 1 ปีที่ทีเอต้องหยุดกิจกรรมทุกอย่างไว้หมด ตามเงื่อนไขของการประนอมหนี้ ทั้งๆ ที่ทีเอยังมีเลขหมายเหลืออีกถึง 1.3 ล้านเลข หมาย และยังเกี่ยวพันไปถึงบริการเสริมอย่างโทรศัพท์พกพาพีซีที บริการ เสริม ที่เป็นหมัดเด็ดของทีเอ ที่จะมาอุดช่องว่างของการไม่มีธุรกิจโทรศัพท์มือถือ ก็ยังไม่สามารถเก็บเงินจากลูกค้าได้ ต้องปล่อยให้ทดลองใช้ฟรีมา 2 ปีเต็ม เพราะทันที ที่เปิดให้บริการทีเอจะต้องจ่ายเงินค่าอุปกรณ์ทันที 8,000 ล้านบาท แบ่งเป็นมิตซุย 6,000 ล้านบาท และพานาโซนิคอีก 2,000 ล้านบาท ซึ่งทีเอไม่อยู่ในภาวะ ที่จะทำได้

ภายหลังการประนอมหนี้กับเจ้าหนี้ 45 รายบรรลุข้อตกลงไปแล้วส่งผลให้มิตซุย และเอ็นอีซี ยอมยืดเวลาการชำระหนี้ค่าอุปกรณ์ออกไป 10 ปี

หลังจากเปิดให้จองพีซีทีอีกครั้ง ระหว่างวันที่ 10-14 พฤศจิกายน ที่ ห้างสรรพสินค้าเดอะมอลล์ งามวงศ์วาน ผลปรากฏว่ามียอดจองถึง 80,000 เครื่อง เรียกว่าประสบความสำเร็จเกินความคาดหมาย คาดว่าเครื่องลูกข่าย ที่เตรียม 2 แสนเครื่องจะขายได้หมดก่อนสิ้นปี

ปรากฏการณ์ความร้อนแรงของยอดจองพีซีที ทำให้ทีเอใจชื้นขึ้นเยอะ และเตรียมลงทุนเพิ่มอีก 500 ล้านบาท เพื่อรองรับบริการ และเตรียมนำ เครื่องรุ่นใหม่ๆ ที่เล็กกว่าเก่า เพิ่มคุณสมบัติของการรับส่งข้อความเข้ามา อีกหลายรุ่นแต่งานนี้ประมาทไม่ได้เพราะค่ายโทรศัพท์มือถือคงไม่ยอมนิ่งเฉยแน่ เพียงแต่ยังขอเวลารอดูเหตุการณ์ต่อไป

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us