Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ เมษายน 2539








 
นิตยสารผู้จัดการ เมษายน 2539
"มุมการเงินในสหชาติแห่งยุโรป"             
 


   
search resources

อเล็กซองดร์ ลองฟาลูซี
Financing




การก่อตั้งภาคีความร่วมมือและช่วยเหลือซึ่งกันและกันของบรรดาประเทศต่าง ๆ เป็นวิถีปฏิบัติซึ่งเริ่มมีมาตั้งแต่ครั้งที่มีการสร้างชาติกำหนดพรมแดน หากว่าจะไม่นับย้อนหลังไปถึงสมัยที่เกิดมีชุมชนขึ้นมา

กลุ่มประเทศภาคีฯ ดังกล่าวนี้ มีจุดมุ่งหมายต่าง ๆ กัน แล้วแต่ว่าจะเน้นความสำคัญในด้านลัทธิ การทหาร การเมือง หรือว่าเศรษฐกิจ บรรดาประเทศในกลุ่มสหภาพยุโรปหรือยูโรเพียน ยูเนียน ที่เรียกกันย่อ ๆ ว่า อียู (European Union หรือ Eu) ที่ร่วมเป็นภาคีในสนธิสัญญามาสทริชต์ (Masstricht Treaty) เมื่อเดือนภุมภาพันธ์ ปี ค.ศ. 1992 ก็เช่นเดียวกัน ลักษณะการร่วมมือของบรรดาประเทศในยุโรปทั้ง 15 ชาติเหล่านี้ นอกเหนือจากอิทธิพลทางการเมืองของกลุ่มอียูที่ย่อมจะต้องเกิดขึ้นโดยธรรมชาติแล้วกลุ่ม ประเทศนี้ เน้นความสำคัญในเรื่องความร่วมมือในด้านทุน การเงิน การคลังโดยวางเป้าหมายใหญ่ไว้ที่การสร้างตลาดทุนขึ้นแข่งกับสหรัฐฯ หรืออาจกล่าวได้ว่าต้องการระดมทุนเข้าสู่ภูมิภาคนี้

ลักษณะการจัดองค์กร เพื่อเป้าหมายดังกล่าว อยู่ในรูปของการรวมตัวทางด้านเศรษฐกิจ และเงินตรา (Economic and monetary union หรือ Emu) ขบวนการนี้ เริ่มต้นด้วยการร่วมมืออย่างใกล้ชิดและการโยกย้ายทุนได้อย่างเสรีภายในกลุ่มอียู ซึ่งเริ่มต้นขึ้นในเดือนตุลาคมปี ค.ศ. 1990 ตามมาด้วยการลงนานในสนธิสัญญามาสทริชต์ในปี 1992 การก่อตั้งสถาบันเงินตรายุโรป ในปี 1994 และการประชุมสภายุโรป (European Council) ของผู้นำประเทศในกลุ่มอียู

ปี 1996 นี้ ระบบธนาคารกลางแห่งยุโรป (European Central Bank board) จะได้รับการแต่งตั้งได้เป็นที่เรียบร้อยในปี 1998 เตรียมพร้อมสำหรับหน่วยเงินยุโรปที่เป็นหนึ่งเดียว ที่จะถือกำเนิดขึ้นมา ด้วยอัตราแลกเปลี่ยนกับเงินสกุลต่าง ๆ ของประเทศสมาชิกอียูที่แน่นอนอย่างจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงอีกแล้ว ในวันที่ 1 มกราคม 1999

ถึงต้นปี 2002 ธนบัตร และเหรียญของเงินสกุลยุโรปเดียวที่จะใช้กันพร้อมหน้าในกลุ่มประเทศที่มีความร่วมมือกันในด้านเศรษฐกิจ และเงินตราตามสนธิสัญญามาสทริชต์ ก็จะได้รับการผลิตออกมาใช้

ลำดับพัฒนาการข้างต้นนี้ คือกำหนดเวลาที่ระบุไว้ในสนธิสัญญามาสทริชต์

ขบวนการอีเอ็มยูยังมีแง่มุมปลีกย่อยอีกมากมาย และอันที่จริงแล้ว ขั้นตอนต่าง ๆ ที่กล่าวมา รวมถึงการลงนามในสนธิสัญญามาสทริชต์ ก็เป็นหลักบอกระยะทางหลักหนึ่งภายในกระบวนการสร้างความร่วมมือกันอย่างใกล้ชิดในด้านเศรษฐกิจและการเงิน ของกลุ่มประเทศในเครือสหภาพยุโรป ซึ่งมีโอกาสที่จะขยายขอบเขตกิจกรรมและเพิ่มจำนวนสมาชิกต่อไปอีกได้

ทวีปยุโรปประกอบด้วยชาติเอกราชจำนวนมากที่สุดในบรรดาทวีปทั้งหลายทั้งที่มีปริมาณพื้นที่จำกัด มีความหลากหลายและเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมที่แต่ละชาติต่างเพียรรักษาและยืนหยัดในความเป็นตัวของตัวเองอย่างยิ่งยวด ในประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา บรรดาประเทศต่าง ๆ ในยุโรปได้มีการแข่งขันชิงไหวชิงพริบ สลับกับการร่วมมือกัน และทำสงครามแย่งผลประโยชน์ในดินแดนอื่นเรื่อยมา ทวีปยุโรปนี่เอง ที่เป็นจุดเริ่มต้นและเป็นที่ซึ่งได้จุดชนวนของสงครามซึ่งได้ลุกลามไปทั่วโลกถึงสองครั้ง การก่อตั้งองค์การอันจะมีสถานะความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในด้านเศรษฐกิจ-การคลัง จึงถูกมองอย่างตั้งข้อสงสัย ในขณะที่ลักษณะอิดออดลังเลของบางประเทศ ในการเข้าร่วมในกลุ่มสหชาติแห่งยุโรป ก็เป็นสิ่งที่มองเห็นได้ชัดเช่นกัน

การเมืองในหลาย ๆ ประเทศในยุโรปกลุ่มอียู รวมทั้งในบรรดาประเทศเพื่อนบ้านที่อยู่ใกล้ ยังคงวุ่นวายยุ่งเหยิง มีการเปลี่ยนแปลงใหม่ ๆ เกิดขึ้นจนแทบจะตามข่าวกันไม่ทัน

ทว่านักเศรษฐศาสตร์ที่เป็นผู้เชี่ยวชาญอยู่ในธนาคารกลางของชาติต่าง ๆ ในยุโรป ต่างก็กล่าวว่า ความร่วมมือด้านเศรษฐกิจและการเงินอย่างใกล้ชิดเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน จะยังประโยชน์ให้แก่แต่ละประเทศสมาชิกที่ร่วมเป็นภาคีอยู่ในกลุ่มและแก่ทั้งกลุ่มโดยรวม

ผลประโยชน์นี้ กล่าวกันว่าถึงขนาดที่จะมีการโยกย้ายตลาดทุนใหญ่ของโลกจากวอลล์สตรีทมาอยู่กลางยุโรปเลยทีเดียว

บนเส้นทางที่จะไปสู่เงินสกุลเดียวในปี 2002 คือเงื่อนไขที่แต่ละประเทศภายในสหภาพยุโรปจะต้องปฏิบัติตามให้ได้ภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ ขณะเดียวกันก็มีหน่วยงานต่าง ๆ ของสหภาพยุโรป ที่ดำเนินการเพื่อเตรียมการไปสู่จุดหมายปลายทาง

เงื่อนไขอย่างหนึ่งก็คือ การให้ทุกประเทศที่เข้าร่วมในอีเอ็มยู (Emu) ดำเนินการเพื่อให้ดัชนีทางด้านเศรษฐกิจของชาติตน โน้มเข้ามาบรรจบกัน ดัชนีทางเศรษฐกิจที่เป็นบรรทัดฐาน คือ

1. ภาวะเงินเฟ้อไม่ควรจะเกินสูงกว่า 1.5 เปอร์เซ็นต์ ของภาวะเงินเฟ้อของประเทศสมาชิกที่มีผลการปฏิบัติงานดีที่สุด 3 ประเทศ

2. อัตราดอกเบี้ยระยะยาวขั้นต่ำสุดจะต้องไม่สูงเกิน 2 เปอร์เซ็นต์ของอัตราของประเทศสมาชิกที่มีผลการปฏิบัติงานดีที่สุด 3 ประเทศ

3. การขาดดุลการเงินจะต้องไม่เกิน 3 เปอร์เซ็นต์ของมูลค่าผลผลิตรวมภายในประเทศ (Gross domestic product หรือ GDP)

4. หนี้สินรวมของรัฐบาล ต้องไม่เกิน 60 เปอร์เซ็นต์ของจีดีพี

5. อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราจะต้องคำนึงส่วนต่างในอัตราขึ้นลงตามปกติของอีอาร์เอ็มอย่างน้อย


2 ปี โดยไม่มีการลดค่าเงินแต่ลำพังฝ่ายเดียว

ประเทศเยอรมนีซึ่งมีฐานะทางเศรษฐกิจมั่นคงที่สุดในกลุ่ม ก็ยังคงประสบปัญหาคนว่างงาน
มากเป็นประวัติการณ์ และยังคงเพิ่มขึ้นเป็นลำดับ จาก 10.1 เปอร์เซ็นต์ในเดือนมกราคม ขึ้นมาเป็น 10.3 เปอร์เซ็นต์ ในเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา

เงื่อนไขต่าง ๆ เหล่านี้ มีหลายประเทศที่ถูกปรามาสจากนักวาณิชนธนกิจที่มีชื่อเสียงว่า ไม่อาจจะทำได้สำเร็จ แม้กระทั่งฝรั่งเศสซึ่งเป็นหัวเรี่ยวหัวแรงใหญ่ประเทศหนึ่งในอียู ก็อยู่ในข่ายนี้ ด้วยปัญหาแรงงานซึ่งมีการนัดหยุดงานกันอยู่เนือง ๆ

หนทางหนึ่งในการสร้างแนวบรรจบ (convergence) ตามหลักเกณฑ์เรื่องคุณสมบัติของประเทศ

สมาชิกอียูในด้านการเงิน การคลัง ก็คือการระดมทุนด้วยการจำหน่ายหุ้นรัฐวิสาหกิจ ให้แก่เอกชน (privatization) อังกฤษได้เริ่มดำเนินการในเรื่องนี้ก่อน ตั้งแต่สมัยของนายกรัฐมนตรีมาการ์เรต แทตเชอร์ โดยที่รายล่าสุดที่เป็นข่าวเกรียวกราวมาก เป็นการระดมทุนด้วย การจำหน่ายหุ้นของวิสาหกิจการสื่อสารโทรคมนาคม ดอยช์ เทเลคอม

การก่อตั้งสถาบันเงินตรายุโรป (European Monetary Institute หรือ EMI) ขึ้นในแฟรงก์เฟิร์ต ประเทศเยอรมนี มีขึ้นตามกำหนดตามที่ระบุไว้ในสนธิสัญญามาสทริชต์ สถาบันนี้ มีหน้าที่จำเพาะที่จะต้องดำเนินงานอันจะนำไปสู่การตั้งธนาคารกลางของยุโรปอียู สถาบันซึ่งมีนายอเล็กซองดร์ ลอมฟาลูซี (Alexandre Lamfalussy) เป็นประธาน ได้ตัวผู้เชี่ยวชาญด้านการเงินระดับชาติมาจากธนาคารกลางของประเทศต่าง ๆ ในยุโรป มาร่วมงานด้วย รวมแล้วราว 200 คน โดยมีแนวโน้มที่จะขยายงานและเพิ่มคนขึ้นไปอีกเป็นลำดับ ตามระดับความก้าวหน้าของขบวนการรวมเศรษฐกิจและเงินตราอีเอ็มยู

งานในด้านอื่น ๆ ก็กำลังดำเนินไปตามครรลองที่กะการณ์ไว้เช่นกัน อย่างไรก็ดีข้อสงสัยเกี่ยวกับปัญหาอันอาจจะเกิดขึ้นในอนาคต ก็ได้ถูกหยิบยกขึ้นมาถามไถ่กันอยู่หลายประการ บางกรณี ก็ยากจะบอกได้ว่า คำตอบจะเป็นอย่างไรแน่ เพราะตัวปัญหาที่เป็นไปได้ว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตนั้น ก็ยังไม่แน่ว่าจะเกิดขึ้นในลักษณะที่คิดกันในขณะนี้ อาทิ ความเป็นธรรมของอัตราแลกเปลี่ยนที่กำหนดตายตัวของเงินสกุลหลัก ๆ ของประเทศในกลุ่มอียูกับเงินสกุลใหม่สำหรับอียูที่จะเกิดขึ้น (เงินสกุลนี้อาจมีชื่อเรียกว่า อีคิว ECU หรือ ยูโร Euro) เงินสำรองของธนาคารกลางยุโรป และบทลงโทษต่าง ๆ ที่จะทำกับประเทศกลุ่มสมาชิกที่ไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนด เป็นต้น

ปัญหาดังกล่าวนี้ ผู้เชี่ยวชาญที่คลุกคลีใกล้ชิดกับขบวนการรวมเศรษฐกิจการเงินขอบยุโรป มองว่า เป็นเรื่องทฤษฎีซึ่งอาจจะฟังดูสับสนยุ่งยาก และบางกรณีก็เหมือนกับจะไม่มีหนทางแก้ไข ทว่าเมื่อถึงเวลาปฎิบัติจริง โอกาสความเป็นไปได้จะปรากฎขึ้นมาให้เห็นเอง

ยุโรปเคยเป็นศูนย์กลางของเศรษฐกิจ-การเงินของโลกมาก่อน แบบอย่างการลงทุน การระดมทุน และตลาดทุนแต่เดิมเริ่มถือกำเนิดขึ้นมาที่นี่ ภาวะสงครามหลายต่อหลายครั้ง ทำให้บทบาทของยุโรปในด้านเศรษฐกิจการเงิน ด้อยลงไป แต่มาบัดนี้ เมื่อยุโรปตะวันออกมีการเปลี่ยนแปลงอย่างถึงรากเง้า แปรสภาพจากการเป็นหอกข้างแคร่ กลายมาเป็นตลาดใหม่ (emerging market) ที่นักลงทุนยินดีลงมาทุ่ม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศโปแลนด์ ฮังการี และแม้กระทั่งสาธารณรัฐเช็ก เมื่อแหล่งร้อนของโลก โยกย้ายไปอยู่ในภูมิภาคอื่น ก็นับว่าเป็นโอกาสที่ยุโรปจะสร้างเนื้อสร้างตัวขึ้นมาช่วงชิงความเป็นหนึ่งในตลาดทุนกลับคืนมาได้

แม้ว่าจะต้องฝ่าพันอุปสรรคอีกหลายด้านก็ตามที

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us