Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ เมษายน 2539








 
นิตยสารผู้จัดการ เมษายน 2539
"อมรา พวงชมพู แล้วการ์ตูนจะครองโลกแฟชั่น"             
 


   
search resources

วาย (แจแปน)
อมรา พวงชมพู
Commercial and business




เมื่อสิบกว่าปีก่อน ถ้าวัยรุ่นคนไหนไม่รู้จักเสื้อยืด "แตงโม" หรือไม่มีเสื้อยี่ห้อนี้อยู่ในครอบครอง ก็คงจะถูกกล่าวหาว่าเชยอย่างช่วยไม่ได้ เพราะตอนนั้นเป็นยุคที่ "แตงโม" ฮิตติดตลาดมาก

"การเกิดของแตงโมเป็นเรื่องอุดมคติมาก" อมรา พวงชมพู ผู้ก่อตั้งซึ่งปัจจุบันเป็นกรรมการผู้จัดการ บริษัท วาย (แจแปน) จำกัด ผู้ผลิตและผู้แทนจำหน่ายผลิตภัณฑ์แตงโมเล่าให้ฟัง

ที่ว่าเป็นเรื่องอุดมคตินั้น เพราะสมัย 16 ปีก่อน เสื้อยืดที่วางขายตามท้องตลาดทั่วไปเกือบทั้งหมดผลิตจากผ้าทีซี ส่วนเสื้อยืดคอตตอนนั้นผลิตเพื่อส่งออก ดังนั้นถ้าใครอยากใส่เสื้อยืดผ้าคอตตอน ซึ่งให้ความสบายตัวกว่า ก็ต้องซื้อหาเสื้อยืดนำเข้าจากต่างประเทศมาใส่ในราคาแพง ๆ

จุดนี้เองเป็นสาเหตุสำคัญทำให้อมรามองเห็นว่านี่เป็นช่องว่างทางการตลาดที่เธอควรเข้ามาทดลองทำดู เพื่อให้ผู้บริโภคทั่วไปมีโอกาสใส่เสื้อยืดผ้าคอตตอนคุณภาพดีในราคาไม่สูงแล้ว โดยอาศัยพื้นฐานจากธุรกิจครอบครัวที่ทำเสื้อผ้าอยู่แล้ว

ช่วงแรกเสื้อยืดแตงโมจำหน่ายอยู่เฉพาะในรั้วมหาวิทยาลัยก่อนที่จะขยายออกไปยังภายนอก โดยอาศัยร้ายขายของประเภท "กิ๊ฟต์ชอป" ซึ่งกำลังบูมมากในช่วงนั้น เป็นช่องทางการจำหน่ายหลักอีกทั้งใช้ลวดลายที่แทบจะเป็นพิมพ์เดียวกับเสื้อผ้าในตลาดวัยรุ่นญี่ปุ่น และนี่เป็นสาเหตุสำคัญทำให้ "แตงโม" สามารถเข้าถึงลูกค้ากลุ่มวัยรุ่นได้อย่างดี

ชื่อ "แตงโม" ยังกลายเป็นตำนานอีกบทหนึ่งของ "เด็กกิจกรรม" ในรั้วมหาวิทยาลัย เนื่องจากแตงโมเกิดขึ้นมาในช่วงหลังเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 ซึ่งบรรยากาศในธรรมศาสตร์ขณะนั้นยังพอมีบรรยากาศทางการเมืองอยู่บ้าง และนักศึกษาบางส่วนยังเป็นผู้ที่ผ่านร้อนผ่านหนาวมาจากช่วงปี 2516-19

อมราเป็นนักศึกษาคณะรัฐศาสตร์รุ่นปี 2518 แล้วได้ทุนเอเอฟเอส 1 ปี จบในปี 2522 ก็เริ่มกิจการเสื้อผ้าเป็นของตนเอง โดยมีเพื่อนพ้องหลายคนคอยช่วยเหลือ โดยเฉพาะเพื่อนจากชุมนุมนักศึกษาอีสาน พนักงานขายหน้าร้านช่วงแรกมาจากนักศึกษาในชุมนุมนี้เป็นส่วนใหญ่ ซึ่งนับเป็นส่วนผสมที่ลงตัวในยุคนั้นระหว่าง "ธุรกิจ" กับ "กิจกรรม"

เพื่อนผู้ใกล้ชิดบางคนที่มีส่วนช่วยเหลืออมราอย่างมากยังเป็นผู้ก่อตั้งรุ่นแรกและถือหุ้นในร้าน "ดอกหญ้า" ตั้งแต่สมัยที่ร้านแห่งนี้เป็นเพียงโต๊ะขายหนังสือตัวเดียวหน้าหอประชุมใหญ่ธรรมศาสตร์

"อีกอย่างที่ทำให้แตงโมเกิดก็เพราะเราเข้าไปจับช่องว่างระหว่างเสื้อยืดที่ขายในตลาดโบ้เบ้และห้างสรรพสินค้า ซึ่งยังไม่มีใครเข้ามาจับนั่นเอง" อมรากล่าว

จึงไม่น่าแปลกที่ความครบเครื่องทางการตลาดของ "แตงโม" ไม่ว่าจะเป็นคุณภาพดี ราคาไม่สูง เจาะช่องทางการจำหน่ายที่เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายโดยตรง ประกอบกับคู่แข่งในตลาดยังมีอยู่น้อยมาก ทำให้แตงโมแจ้งเกิดในตลาดได้อย่างรวดเร็วและไม่เพียงยี่ห้อแตงโมเท่านั้น บริษัทยังมีไฟท์ติ้งแบรนด์ออกมาสกัดคู่แข่งอีก ไม่ว่าจะเป็นสตรอเบอรี่ ช็อกโกแลต No Problem และอื่น ๆ อีก รวมแล้วไม่ต่ำกว่า 10 ยี่ห้อในขณะนี้ จนพูดได้ว่าวาย (แจแปน) เป็นผู้ผลิตเสื้อทีเชิร์ตรายใหญ่รายหนึ่งของเมืองไทย

ที่สำคัญวาย (แจแปน) ไม่ได้ประสบความสำเร็จเฉพาะการทำตลาดเสื้อยืดแตงโมในประเทศเท่านั้น แต่ยังประสบความสำเร็จกับการส่งสินค้าออกไปจำหน่ายยังต่างประเทศด้วย โดยนอกจากจะเจาะญี่ปุ่นซึ่งเป็นตลาดในฝันได้แล้ว วาย (แจแปน) ยังสร้างสมดุลให้ตัวเองด้วยการส่งสินค้าออกไปยังตลาดยุโรปและสหรัฐอเมริกา ทั้งนี้เพื่อที่จะไม่ยึดติดกับตลาดใดตลาดหนึ่งโดยเฉพาะ อันเป็นวิธีกระจายความเสี่ยงทางธุรกิจของบริษัท

ปัจจุบันวาย (แจแปน) มีโรงงานผลิตสินค้าของตัวเองอยู่ 3 โรง คือโรงงานในกรุงเทพฯ ผลิตเพื่อจำหน่ายภายในประเทศ โรงงานสยาม แฮนด์ ที่จังหวัดนครปฐมซึ่งผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศและการส่งออก แห่งสุดท้ายคืออยู่ที่เวียงจันทน์ ประเทศลาว ซึ่งเป็นโรงงานที่ผลิตเพื่อส่งออกทั้งหมด รวมกำลังการผลิตของ 3 โรงงานทั้งสิ้นกว่า 2 ล้านตัว โดยเป็นการผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศ 60% ที่เหลือเป็นการส่งออก

อย่างไรก็ดีแม้ว่าจะประสบความสำเร็จในตลาดมาค่อนข้างยาวนาน แต่ขณะนี้วาย (แจแปน) กำลังถูกท้าทายด้วยการแข่งขันที่นับวันจะรุนแรงมากขึ้นเรื่อย ๆ โดยเฉพาะการรุกตลาดของเสื้อยืดและเสื้อผ้าประเภทลำลองระดับแมสที่มีอิมเมจอย่าง Ten&Co ของกลุ่มพีน่า เฮ้าส์ A // Z ของกลุ่มรีโน หรือ Stock Mart ของกลุ่มทาลอน ซึ่งแน่นอนว่าต้องกระทบกระเทือนกับ วาย (แจแปน) โดยตรง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนของยี่ห้อแตงโม ซึ่งเป็นสินค้าระดับแมสที่มีอิมเมจด้วยกัน

อมรากล่าวถึงแผนการรับมือกับการแข่งขันดดังกล่าวว่า บริษัทได้วางแผนที่จะปรับเปลี่ยนช่องทางการจำหน่ายของแตงโมและสตรอเบอรี่ใหม่ จากเดิมที่ยึดพื้นที่ในห้างสรรพสินค้าเป็นหลัก มาเน้นการเปิดช็อปแบบสแตนอโลนมากขึ้น รวมทั้งจะปรับปรุงร้านเก่าซึ่งมีอยู่ประมาณ 10 แห่งตลอดจนปรับเปลี่ยนอิมเมจของแตงโมใหม่ให้เป็นสินค้ากึ่งแมสเกรดเอ

ขณะเดียวกันจะหันมารุกตลาดแบรนด์ อินเตอร์ อันได้แก่บรรดาตัวการ์ตูนของวอล์ตดิสนีย์ที่บริษัทซื้อลิขสิทธิ์มาไว้ในมือแล้ว 20 แบรนด์มากขึ้น หลังจากที่เริ่มทดลองทำตลาดไปแล้ว 2 แบรนด์เมื่อปีที่ผ่านมาคือ Micky Unlimited ซึ่งเป็นเสื้อยืดทีเชิร์ต และ Micky & Co ซึ่งเป็นเสื้อผ้าลำลอง และพบว่าประสบความสำเร็จในการทำตลาดมาก ดังนั้นในปีนี้บริษัทจึงวางแผนที่จะทยอยแนะนำแบรนด์ใหม่ที่เหลืออยู่ 18 แบรนด์เข้าสู่ตลาดเป็นช่วง ๆ เริ่มจากสนูปปี้และจะติดตามมาด้วยกูฟฟี่

ไม่เพียงแต่ได้ลิขสิทธิ์ตัวการ์ตูนของวอลต์ดิสนีย์เท่านั้น วาย (แจแปน) ยังได้ลิขสิทธิ์ตัวการ์ตูน "ชินจัง" จากญี่ปุ่นด้วย ซึ่งคาดว่าจะแนะนำเข้าสู่ตลาดในเดือนเมษายนนี้อีกด้วย

"สาเหตุที่เราให้ความสำคัญกับตัวการ์ตูนมากเช่นนี้ เพราะเรามองว่าในช่วงปลายทศวรรษ 1990 จะเป็นช่วงที่ตัวการ์ตูนได้รับความนิยมมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในหมู่วัยรุ่นที่นิยมชมชอบการใส่เสื้อยืดทีเชิร์ต เราจึงล็อกเอาไว้หมด"

นอกจากการรุกหนักเรื่องการแนะนำสินค้าใหม่เข้าสู่ตลาดแล้ว วาย (แจแปน) ยังจะให้ความสำคัญกับช่องทางการจำหน่ายใหม่ นอกเหนือจากการเปิดช็อปในศูนย์การค้า และการเปิดคอนเนอร์ในห้างสรรพสินค้าอีกด้วย โดยหันไปให้ความสนใจกับร้านค้าปลีกรูปแบบใหม่ ๆ อย่างไฮเปอร์มาร์ท ดิสเคานท์สโตร์และคอนวีเนียนสโตร์ซึ่งเป็นช่องทางที่มีแนวโน้มการเติบโตสูงอย่างจริงจัง หลังจากที่เข้าไปสัมผัสแล้วพบว่าเป็นตลาดที่มีศักยภาพมาก

โดยสินค้าที่จะนำไปวางจำหน่ายในช่องทางดังกล่าวจะเน้นเสื้อยืดทีเชิร์ตทั้งอินเตอร์แบรนด์ และเฮาส์แบรนด์ (สินค้าที่บริษัทรับจ้างให้ตามแบรนด์ของผู้ว่าจ้าง) ควบคู่กันไป ซึ่งขณะนี้มีศูนย์ค้าส่งติดต่อให้ผลิตเสื้อยืดทีเชิร์ตเฮาส์แบรนด์ให้แล้ว 3 ราย ได้แก่ โลตัส บิ๊กซี และแม็คโคร

"ที่เราหันมาจับตลาดนี้เพราะกำลังซื้อที่จะผ่านเข้ามาตามช่องทางนี้มีมหาศาลอย่างแม็คโครขณะนี้ก็เปิดไปแล้วกว่า 10 สาขา บิ๊กซีและโลตัสก็กำลังแข่งกันเปิดสาขาทั่วประเทศ ทำให้ยอดการสั่งซื้อของพวกนี้ครั้งหนึ่งสูงถึง 30,000-50,000 ตัว ขณะที่ห้างสรรพสินค้าซึ่งเปิดกันอยู่เกือบทุก 4 ตารางกิโลเมตร ต่างแย่งกำลังซื้อกันเอง กำลังซื้อที่มีแรงมากจึงมีเฉพาะจุดเท่านั้น" อมรากล่าว

กระบวนการรุกตลาดทั้งในส่วน โลคัล แบรนด์, อินเตอร์ แบรนด์และเฮาส์แบรนด์ของวาย (แจแปน) ในทุกช่องทางการจำหน่ายครั้งนี้ ก็เพื่อวัตถุประสงค์สำคัญที่จะก้าวขึ้นเป็นเจ้าตลาดเสื้อยืดทีเชิร์ตให้ได้ รวมทั้งคาดว่าจะทำให้ยอดขายของบริษัทเพิ่มขึ้นจากกว่า 500 ล้านบาทในปัจจุบัน เป็น 1,000 ล้านบาทใน 2 ปีข้างหน้า

หลังจากผ่านยุคแฟชั่นวัยรุ่นอาโนเนะ คิขุจากญี่ปุ่นเมื่อสิบกว่าปีที่แล้ว มาวันนี้ "แตงโม" กำลังพลิกโฉมใหม่ เข้าสู่ยุค "จักรวรรดินิยมอเมริกัน" ผ่านตัวการ์ตูนที่ส่งตรงมาจากฮอลลีวู้ด

บรรดาอดีตนักกิจกรรมจะย้อนมาอุดหนุนบ้างก็คงไม่เป็นไร

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us