Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ เมษายน 2539








 
นิตยสารผู้จัดการ เมษายน 2539
"อินเตอร์เน็ตฟีเวอร์"             
โดย คำนูณ สิทธิสมาน
 


   
search resources

Networking and Internet




อินเตอร์เน็ตคืออะไรเชื่อว่า ณ นาทีนี้ไม่มีใครไม่รู้?

ผมเองถึงแม้จะไม่ได้รู้อะไรมากนัก เพราะยังไม่ได้ท่องเข้าไปในโลกของอินเตอร์เน็ตหรือโลกของไซเบอร์สเปซอย่างจริงจังเหมือนเพื่อนร่วมงานบางคน โดยเฉพาะที่ทำหน้าอินเตอร์เน็ตใน "ผู้จัดการรายวัน" ฉบับวันศุกร์ ที่สัมภาษณ์ผู้คนทางอี-เมล์ ทางอินเตอร์เน็ต ถึงแม้ว่าผมจะไม่ใช่คนเป็นปฏิปักษ์กับเทคโนโลยี แต่พรมแดนข้อจำกัดทางด้านเวลา และภาษายังขวางกั้นอยู่ไม่ใช่น้อย แต่ก็รู้ว่าอินเตอร์เน็ตคือเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมโยงทั่วโลกเข้าหากันผ่านทางเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล โมเด็ม เครือข่ายโยงใยไม่ว่าดาวเทียมหรือเส้นใยนำแสง

ประโยชน์ของอินเตอร์เน็ตมีมากมายมหาศาล

โดยเฉพาะในแง่ของการแสวงหาความรู้

เรื่องโทษนั้นมีการพูดถึงการครอบงำทางวัฒนธรรมโดยอินเตอร์เน็ต ซึ่งบางคนบอกว่าร้ายแรงกว่ายุคล่าอาณานิคมด้วยเรือปืน หรือด้วยทุน เพราะผู้ที่ได้เปรียบอย่างถาวรคือประเทศผู้ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่ 1 วัฒนธรรมของประเทศผู้ใช้ภาษาอังกฤษย่อมเป็นวัฒนธรรมหลักของอินเตอร์เนต พูดง่ายๆ ว่าเป็นวัฒนธรรมตะวันตก หรือวัฒนธรรมของประเทศร่ำรวย

กล่าวโดยองค์รวมแล้วใช่

แต่โดยเฉพาะตัวบุคคลแล้วไม่แน่นัก

เพราะวัฒนธรรมที่ว่านี้ก็มีของดีของเขาอยู่ จึงไม่อยากจะเหมารวมว่าเป็นโทษเสียทีเดียว

ไม่ถึงกับเป็นโทษหรอกแต่เป็นจุดอ่อนอันยิ่งใหญ่

คนจะท่องอินเตอร์เน็ตได้ ในประเทศตะวันตกย่อมไม่ใช่เรื่องยากอะไรนักกับการมีเครื่องคอมพิวเตอร์สักเครื่องแล้วใช้ภาษาที่เป็นภาษาแม่ของตนเอง พูดเรียนอ่านเขียนมาตั้งแต่เด็ก แตกต่างจากในบ้านเราที่การซื้อโทรทัศน์ ผ่อนรถยนต์ ผ่อนบ้าน ย่อมจะต้องมาก่อนการซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์ โทรศัพท์อันเป็นสื่อสำคัญของเครือข่ายอินเตอร์เนตก็ใช่ว่าจะมีแพร่หลายไปทั่วประเทศ และถ้ามี ค่าบริการการใช้โทรศัพท์สำหรับคนต่างจังหวัดจะเป็นอุปสรรคในการท่องโลกไซเบอร์สเปซ เพราะการติดต่อกับผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตในประเทศไทยที่ตั้งสำนักงานอยู่ในกรุงเทพฯ จะถูกคิดอัตราค่าโทรศัพท์ทางไกล

เสรีภาพในการรับรู้ข้อมูลข่าวสารจึงเป็นเสรีภาพที่มีกรอบจำกัด

อยู่ที่เงิน

ตามหน้าหนังสือพิมพ์ทุกวันนี้ มีการประกาศหลักสูตรอบรมการใช้อินเตอร์เน็ตในแวดวงธุรกิจ คิดค่าอบรม 1 หลักสูตร 1 วันเต็มเป็นเงินกว่า 10,000 บาท แถมบอกว่ารับจำกัดเสียด้วย เรียกว่าโรคเห่ออินเตอร์เน็ตหรืออินเตอร์เน็ตฟีเวอร์กำลังมาเยือนบ้านเราในบางแวดวง กับบางคณะ บางบุคคล เหมือนกับที่เราเห่ออะไรต่อมิอะไรมาแล้วโดยตลอด

"ผู้จัดการรายวัน" เป็นหนังสือพิมพ์รายวันที่ใช้ระบบคอมพิวเตอร์เป็นแห่งแรกๆ และขณะนี้ก็อยู่ระหว่างริเริ่มใช้ระบบเครือข่ายข้อมูลข่าวสารระบบใหม่ที่กระชับขึ้น ในขณะที่กว้างขวางขึ้นและเป็นสมาชิกอินเตอร์เน็ตด้วย อีกหน่อยเชื่อว่าเราคงต้องใช้อินเตอร์เนตภายในองค์กร ซึ่งเรียกว่าอินตราเน็ต

ผมยังยืนยันว่ามันมีประโยชน์มหาศาลหากใช้เป็น

ใช้อย่างเป็นนายมัน

ไม่ใช่เป็นทาส

แต่ถ้าไม่สะดวกที่จะท่องไปในโลกไซเบอร์สเปซละก็ ไม่ได้แปลว่ามนุษย์จะตามโลกไม่ทัน ผมเชื่อว่าอันว่าสิ่งที่เรียกว่าเทคโนโลยีนั้น เมื่อถึงที่สุดเกิดมีขึ้นเพื่อรับใช้มนุษย์ให้มีความสะดวกความสบายขึ้น ตามวัตถุประสงค์หลักของเป้าหมาย ซึ่งบางครั้งก็มีข้อจำกัดสำหรับชนบางหมู่บางเหล่าที่มีสตางค์น้อยและไม่ได้เป็นเจ้าของเทคโนโลยี อันน่าจะเป็นหน้าที่สำคัญของผู้บริหารประเทศยุคใหม่ที่จะต้องแก้ไขข้อจำกัดนี้

ถึงไม่มีอินเตอร์เน็ตไม่มีโลกแห่งไซเบอร์สเปซอยู่ มนุษย์ก็แสวงหาความรู้ได้

จากการอ่านหนังสือ

อินเตอร์เน็ตจะก่อประโยชน์มหาศาล ต่อชุมชนของผู้แสวงหาความรู้ ใช้อินเตอร์เน็ตเป็นช่องทางเข้าไปสู่ความรู้อันไม่สุดสิ้น จากห้องสมุดชั้นนำทั่วโลก และข้อมูลข่าวสารทุกประเภทจากสื่อสิ่งพิมพ์ที่เข้าสู่อิเลกทรอนิกส์มีเดีย ซึ่งก็มีทั้งสาระ และไร้สาระ

มันอยู่กับว่ามนุษย์ในชุมชนนั้นต้องการอะไร

ปรัชญาพื้นฐานนี้หาได้จากการอ่านหนังสือ

ไม่ต้องหนังสือภาษาอังกฤษหรอก หนังสือภาษาไทย ทั้งโดยผู้มีความรู้ชาวไทย และทั้งที่มาจากการแปล มีอยู่มากมายให้คุณอ่าน

ปัญหาอยู่ที่ว่าคุณอ่านมันหรือยัง

หรือคุณอ่านหนังสือประเภทไหน

ผมอยู่วงการหนังสือมาประมาณ 20 ปี ตั้งแต่พลเมืองของประเทศไทยมีประมาณ 45 ล้านคน จนเดี๋ยวนี้จะถึง 60 ล้านคนอยู่แล้วกระมัง หนังสือดี ๆ หลายเล่มเมื่อ 20 ปีก่อนแค่ยอดพิมพ์ประมาณ 1,000-3,000 ฉบับ ยังขายไม่หมด เดี๋ยวนี้ก็ยังคงเป็นอย่างนั้น ไม่ต้องพูดถึงหนังสือพิมพ์และนิตยสารที่มุ่งให้ความรู้มากกว่าบันเทิง หรือบันเทิงก็บันเทิงอย่างมีสาระ นับวันจะล้มหายตายจากไป

สังคมไทยจะเป็นอย่างไร มีคนบอกว่าให้ดูจากลักษณะการอ่านหนังสือของเขา

เดี๋ยวนี้คงต้องเพิ่มลักษณะของการใช้อินเตอร์เน็ตเข้าไปด้วยกระมัง ?

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us