|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ ฉบับ เมษายน 2539
|
|
ภาพการแข่งขันกีฬาของเด็กอนุบาลอย่างมีระบบ เท่าที่ผ่านในสายตาคนทั่วๆไปในช่วงกว่า 10 ปีที่ผ่านมา ประชาชนทั่วไปถ้าไม่ใช่กลุ่มผู้ปกครองของเด็กอนุบาลในช่วงดังกล่าว ก็คงผ่านตากับภาพเหล่านั้นปีละครั้งจากสื่อโทรทัศน์และสื่อสิ่งพิมพ์อื่นๆ ซึ่งนำมาเสนอในรูปของความสนุกสนานเสียมากว่าจะเป็นเรื่องจริงจังในสายตาใคร
หากแต่ภาพที่ผ่านสายตาคนทั่วไปทีละครั้งๆดังกล่าว กำลังจะขยายบทบาทอย่างเป็นจริงเป็นจัง และเป็นเรื่องเป็นราวมากขึ้นด้วย
เพราะจากการแข่งขันภายในประเทศจะเริ่มเป็นการแข่งขันระหว่างประเทศอย่างเป็นสากลในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า
เผ่าพงษ์ คำเคนผู้ช่วยฝ่ายกิจการพิเศษของโกดัก เล่าให้ “ผู้จัดการ” ฟังว่าการแข่งขันกีฬาอนุบาลโกดักเกิดจากการพูดคุยระหว่างอภิวัฒน์ อัครนิทัตผู้อำนวยการฝ่ายกิจการพิเศษกับผู้ว่าการกีฬาแห่งประเทศไทย (กกท.) ซึ่งในขณะนั้นมีตำแหน่งเป็นผู้อำนวยการกอง เนื่องจากฝ่ายกิจการโกดัก ซึ่งมีหน้าที่สร้างกิจกรรมภายนอก อันเป็นกิจกรรมที่ให้เปล่าทางโกดักพยายามมองว่าในส่วนไหนที่ยังไม่มีกิจกรรม ก็เลยมาลงที่เด็กนักเรียนระดับอนุบาลเพราะในขณะที่การแข่งขันกีฬาในระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษาหรืออุดมศึกษาก็มีกันหมดแล้ว โกดักก็น่าจะจัดให้เด็กอนุบาลมีกิจกรรมอะไรขึ้นบ้าง
ทาง กกท.เอง เมื่อได้ฟังข้อเสนอก็เห็นด้วยและรับที่จะเป็นผู้จัดการและประสานงานการแข่งขันให้ โดยมีโกดักเป็นผู้สนับสนุนด้านการเงิน จึงเกิด “กีฬาอนุบาลโกดัก” ขึ้นเมื่อประมาณ พ.ศ. 2525-2526
ทาง กกท.ในฐานะผู้จัดการ ก็ได้เริ่มจำลองการแข่งขันกีฬาแห่งชาติที่มีด้วยกัน 9 เขต คัดเลือกตัวแทนของเด็กนักเรียนอนุบาลแต่ละโรงเรียนเข้าร่วมการแข่งขันกรีฑาให้แต่ละจังหวัดหมุนเวียนการเป็นเจ้าภาพการแข่งขันตามการจัดการของ กกท.ซึ่งได้ส่งศุภนิตย์ องค์ษาลังการและอุษณี เล่าปิ่นการสองอดีตนักกรีฑาประเภทวิ่งทีมชาติมาเป็นผู้ควบคุมดูแลและเข้ามาแข่งขันรอบ 2 วันสุดท้ายที่อินดอร์สเตเดียมหัวหมาก
การสนับสนุนของโกดักจะสนับสนุนในทุกด้าน ตั้งแต่ค่าใช้จ่ายในการแข่งขันทั้งหมดทั่วประเทศ ค่าที่พักสำหรับนักกีฬาค่าอาหารและค่าเบี้ยเลี้ยงเช่นเดียวกับนักกีฬาทุกระดับ การแข่งขันกีฬาอนุบาลโกดักจากเดิมที่มีเพียงการแข่งขันประเภทกรีฑามาเป็นเวลา 10 ปีเศษจึงได้เพิ่มการแข่งขันฟุตบอลที่โกดักสนับสนุนให้อีกทีมละ 1,000 บาทเมื่อ 2 ปีที่ผ่านมา
รวมงบการแข่งขันทั้งหมดที่โกดักสนับสนุนในการจัดแข่งกีฬาอนุบาลแต่ละครั้งจะตกประมาณครั้งละ 7-8 ล้านบาทเฉพาะสองวันสุดท้ายจะใช้ถึง 2 ล้านบาทเพราะจะหนักไปในส่วนของค่าที่พักของนักกีฬาอนุบาลที่มาจากโรงเรียนต่างจังหวัด ค่าตั๋วรถไฟนอนแอร์ชั้นสองและค่าเบี้ยเลี้ยงนักกีฬาคนละ 100 บาทต่อวัน
การแข่งขันกีฬาอนุบาลโกดักครั้งที่ 13 ที่ผ่านมา โกดักไม่ได้หยุดการแข่งขันแต่เพียงการแข่งขันกีฬาอนุบาลแห่งชาติ ยังเลยเข้าไปจัดการแข่งขันกีฬาอนุบาลในประเทศเพื่อนบ้านแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งมีเครือข่ายของโกดักภายใต้การบริหารงานของโกดักประเทศไทยอยู่ด้วย
ไม่ว่าจะเป็นประเทศลาว และอีก 5 เมืองในประเทศเวียดนาม คือ เมืองเว้ฮานอย โฮจิมินท์ ดานังและสามเหลี่ยมดาต้า
แล้วในปีนี้ก็มีนักกีฬาจากประเทศลาวส่งฟุตบอลเข้าร่วมแข่งขันด้วยเป็นปีแรกและเป็นกีฬาประเภทเดียวที่ส่งเข้าแข่ง
ในขณะที่ประเทศเวียดนามแม้จะมีการจัดการแข่งขันขึ้นหลายเมือง แต่ก็ไม่สามารถส่งนักกีฬาอนุบาลเข้ามาร่วมแข่งขันในประเทศไทยได้ เพราะยังมีปัญหาเรื่องการเคลื่อนย้ายคนออกนอกประเทศซึ่งรวมถึงเด็กๆด้วย
ส่วนในพม่าและเขมร โกดักเองก็ตั้งใจที่จะเข้าไปจัดการแข่งขันกีฬาอนุบาลในประเทศ เพื่อคัดเลือกทีมเข้ามาแข่งขันในไทยเช่นกัน
แต่ในทุกวันนี้ยังเจอปัญหาเรื่องของความไม่สงบภายในประเทศของประเทศทั้งสอง ซึ่งเมื่อใดที่สถานการณ์สงบลง ทางโกดักก็พร้อมจะลงมือจัดการแข่งขันกีฬาได้ทันทีเพราะทางโกดักมีทีมงานของโกดักในแต่ละประเทศที่จะคอยเป็นผู้ดูแลการจัดการแข่งขันเหล่านี้อยู่แล้ว
สำหรับกติกาในการจัดการแข่งขันเพื่อคัดเลือกตัวแทนของประเทศเพื่อนบ้านเข้ามาแข่งขันในประเทศ จะจำลองวิธีการเดียวกับการแข่งขันกีฬาซีเกมส์และในประเทศจะยังใช้วิธีแบ่งเป็น 9 เขต
เช่นเดิมไม่ใช่วิธีการคัดตัวทีมชาติ
โกดักยังมีแผนการในระยะเวลาอันใกล้เกี่ยวกับกีฬาอนุบาลนี้ด้วยว่า ในอนาคตจะจัดให้เป็น “กีฬาอนุบาลโกดักอาเชียน” เพราะประเทศเพื่อนบ้านทางใต้อย่างสิงคโปร์และมาเลเซีย ก็เริ่มให้ความสนใจที่จะจัดให้มีการแข่งขันกีฬาอนุบาลอย่างเดียวกันนี้ขึ้น
“ตอนแรกทั้งสิงคโปร์และมาเลเซียไม่คิดจะจัดแข่งขันกีฬาอนุบาลเพราะกลัวเรื่องของความปลอดภัยของเด็กในการเล่นกีฬา แต่พอได้เห็นตัวอย่างของไทยก็เริ่มเห็นด้วยว่าเด็กสามารถทำได้โดยไม่มีอันตราย ก็สนใจที่จะจัดให้มีเช่นกัน” เผ่าพงษ์กล่าว
จากความคิดเพื่อหากิจกรรมให้เด็กเล็กๆทำ เพื่อสุขภาพและความสนุกสนานรวมถึงการสอนให้เด็กรู้จักกฎเกณฑ์ที่ต้องเคารพ รู้จักระเบียบวินัยและการอยู่ร่วมกันในสังคม อันเป็นเป้าหมายหลักในการจัดแข่งขันกีฬาอนุบาลโกดักแล้ว
“ที่สำคัญการจัดงานกีฬาอนุบาลโกดักเป็นการสนับสนุนแบบให้เปล่าและเราไม่คิดว่าเด็กที่เข้ามาแข่งขันจะต้องกลายเป็นนักกีฬาทีมชาติในอนาคต เพื่อไม่ให้เด็กถูกบีบคั้นเกินไป”
ถึงวันนี้ กีฬาอนุบาลจึงกลายเป็น “มรดกของโกดัก” ไปโดยปริยาย และโกดักเอง ยังคงยืนยันที่จะให้ความสนับสนุนการแข่งขันกีฬาอนุบาลนี้ให้ยิ่งใหญ่ต่อไปโดยจะไม่มุ่งหวังด้านการค้าเช่นที่ได้ทำผ่านๆมาเช่นกัน เพราะไม่หวังผลประโยชน์ก็ไม่ปวดหัว
ดังตัวอย่างของเรื่องปวดหัวในการเป็นสปอนเซอร์ให้กับงานกีฬาแห่งชาติหรือการเป็นสปอนเซอร์การแข่งขันกีฬาของสถาบันการศึกษาทุกระดับที่ฝ่ายกิจกรรมพิเศษของโกดักเป็นผู้ดูแลอยู่นั้น ล้วนแล้วแต่มีปัญหาอยู่เสมอ กระทั่งเรื่องของการตั้งป้ายที่ไม่ยุติธรรมและไม่มีหลักเกณฑ์หรือแม้แต่ความไม่ชัดเจนของสิทธิประโยชน์ของผู้สนับสนุนทำให้ต้องพักการสนับสนุนไปบ้างเพื่อรอกติกาที่ชัดเจน
ทั้งนี้การสนับสนุนกีฬาอนุบาลโกดัก ซึ่งมีโกดักเป็นเพียงสปอนเซอร์อยู่เพียงรายเดียวดูจะไม่ทำให้โกดักวุ่นวายใจและเป็นการจัดงานแบบเป็นสุขและแตกต่างจากการเป็นสปอนเซอร์กีฬาในระดับต่างๆที่เคยได้ทำมาโดยสิ้นเชิงจะเสียอย่างเดียวก็การไม่ได้ผลตอบรับเป็นตัวเงินนั่นเอง
แต่ภาพประทับใจในวัยเด็กที่มีต่อโกดักนั้นอาจมีคุณค่าเหลือคณาอย่างไม่น่าเชื่อ
|
|
|
|
|