Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ เมษายน 2539








 
นิตยสารผู้จัดการ เมษายน 2539
อาร์ซี...ด้านมืดของนักบุกเบิก             
 





โรยัล คราวน์ โค.คืออุทธาหรณ์สอนใจสำหรับผู้บุกเบิกในแวดวงธุรกิจไม่ว่ายุคนี้หรือยุคไหนๆปี 1962 โรยัล คราวน์หรืออาร์ซีแนะนำให้โลกนี้รู้จักกับไดเอ็ท โคลาเป็นครั้งแรกในชื่อ “ไดเอ็ท ไรท์"”โดยวางจำหน่ายปูพรมทั่วสหรัฐฯ อาร์ซียังเป็นเจ้าแรกที่ออกโคลากระป๋องและโคลาปลอดกาเฟอีน

แต่ส่วนแบ่งตลาดของอาร์ซีกลับไม่เคยเกินขีด 10%เลยสักครั้ง มีแต่ร่วงเอาๆนับแต่ปี 1986 จนที่สุดมาอยู่ที่ 2% ปล่อยให้โค้กและเป๊ปซี่ตีตื้นขึ้นมาด้วยการเลียนแบบผลิตภัณฑ์ของตนจนต่างได้ดิบได้ดีกันไปทั้งคู่

ทว่าอาร์ซีก็ยังไม่ละความพยายาม ณ ชั่วโมงนี้บริษัทฝากความหวังไว้กับโรยัล คราวน์ ดราฟท์ โคลาที่เทียบได้กับไมโครบริวหรือหอกข้างแคร่ในวงการเบียร์ของยักษ์ใหญ่บัดไวเซอร์และมิลเลอร์

โรยัล คราวน์ ดราฟท์บรรจุอยู่ในขวดแก้วคอยาวสีเหลืองอำพัน ใช้ส่วนผสมแพงกว่าน้ำดำทั่วไปอาทิใช้น้ำตาลแท้ๆจากอ้อยไม่ใช่สารเพิ่มความหวาน มองเผินๆคล้ายเบียร์ระดับไฮคลาส โดยเฉพาะชื่อที่มีคำว่า “ดราฟท์” อยู่ด้วย

นอกจากนั้น โรยัล คราวน์ ดราฟท์ยังแพงกว่าโคลาปกติโดยจำหน่ายในราคา 89-99 เซนต์สำหรับขวดขนาด 12 ออนซ์หรือ 2 เท่าของโค้กและเป๊ปซี่ ซึ่งถ้าขายได้ในปริมาณพอเหมาะ ดราฟท์ก็จะนำส่วนต่างกำไรมาให้อาร์ซีถึงลังละ 1 ดอลลาร์มากกว่าผลิตภัณฑ์อื่นๆในเครือเดียวกันประมาณ 4 เท่า

มีการสุ่มสำรวจในนิวยอร์กและลอสแองเจลิสในช่วงก่อนหน้านี้ แต่ไม่ประสบผลสำเร็จเพราะอาร์ซียังวางดราฟท์ไม่ทั่วถึง แต่หลังจากนั้นอาร์ซีก็พยายามอีกครั้ง ผลออกมาเป็นที่น่าพอใจในระดับหนึ่ง ทว่ายังมีคำถามสะกิดใจอยู่ว่าดราฟท์จะไปได้ดีถึงขนาดทิ้งโค้กและเป๊ปซี่ให้กลายเป็นอดีตแชมป์ในธุรกิจน้ำดำมูลค่านับพันล้านดอลลาร์ได้หรือไม่? เพราะที่แน่ๆยักษ์ใหญ่ทั้งสองคงไม่ลดตัวมาก๊อปปี้สูตรนี้จากอาร์ซี เนื่องจากจะเท่ากับเป็นการยอมรับว่าทั้งเป๊ปซี่และโค้กไม่ได้ใหญ่อย่างที่ใครๆคิด

แต่จากแฟ้มประวัติของอาร์ซีดูเหมือนว่ายังไม่มีอะไรจะมาเรียกคืนความมั่นใจของบริษัทได้ โคลด เอ. แฮทเชอร์ ก่อตั้งอาร์ซีขึ้นมาในปี 1905 โดยเปิดตัวน้ำอัดลมยี่ห้อ “เนฮี” ก่อนที่จะสร้างตำนานเครื่องดื่มโคลาในชื่อ “อาร์ซี” ในช่วงกลางทศวรรษ 1930 มาปี 1950 ลางร้ายก็เริ่มปรากฎเมื่ออัลเฟรด เอ็น.สตีล สามีของโจน ครอว์ฟอร์ด พรีเซนเตอร์สุดเซ็กซี่ของอาร์ซีได้เป็นกรรมการผู้จัดการใหญ่ของเป๊ปซี่ ครอว์ฟอร์ด จึงต้องแปรพักตร์หันมาเชียร์เป๊ปซี่แทนตามสไตล์ภรรยาที่ดี

มาปี 1984 วิคเตอร์พอสเนอร์ทุ่มทุนซื้อแบรนด์อาร์ซีและเกือบทำให้บริษัทสิ้นเชื่อด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์หั่นงบการตลาดที่มีอย่างจำกัดจำเขี่ยอยู่แล้วออกไปอีก

3 ปีก่อน เนลสัน เพลซ์และปีเตอร์ เมย์ที่ร่ำรวยมาจากจังค์บอนด์ยุคไมเคิล มิลเค่นในทศวรรษ 1980 เข้าซื้ออาร์ซีในราคาเพียง 72 ล้านดอลลาร์ แต่มีข้อแม้ว่าไทรอาร์คบริษัทของทั้งคู่จะต้องอัดฉีดเม็ดเงินให้แผนกการตลาดของอาร์ซีปีละ 45-50 ล้านดอลลาร์

เพลซ์และเมย์จะคุ้มทุนหรือขาดทุนหรือว่ากำไรเวลาเท่านั้นเป็นเครื่องพิสูจน์   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us