Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ เมษายน 2539








 
นิตยสารผู้จัดการ เมษายน 2539
คู่มือถนอมแลปท็อปคู่ใจ             
 





หากคุณเป็นหนึ่งในคนจำนวนอีกนับหมื่นนับแสนที่แขวนชีวิตไว้กับข้อมูลในคอมพิวเตอร์แบบพกพาแน่นอนว่าคุณจำเป็นต้องระวังตัวแจเมื่อคุณพกเจ้าคอมพิวเตอร์ตัวเก่งติดตัวไปกับคุณทุกหนทุกแห่ง ไม่ว่าจะเป็นในรถยนต์ รถไฟหรือกระทั่งเดินทางด้วยเครื่องบินและไม่แน่ว่าวันดีคืนดีระหว่างการเดินทางโดยอาศัยยานพาหนะเหล่านี้เจ้าแลปท็อปอาจเกิดถูกกระแทกอย่างแรงจนถึงขั้นแตกได้หรือไม่ก็หกคะเมนและหากโชคร้ายก็อาจถูกอัดเข้าไปอยู่ในพื้นที่ที่สุดจะคับแคบ

ถ้าคุณไม่ต้องการให้การงานของคุณมีอันต้องพังลงด้วยสาเหตุข้อมูลในคอมพิวเตอร์ตกหล่นหรือถูกทำลายเสียหายแล้วละก็ ลองปฏิบัติตามคำแนะนำต่อไปนี้

หากคุณพกเจ้าแลปท็อปคู่ใจไว้ในรถยนต์ ควรวางมันไว้ที่พื้นรถขณะที่รถกำลังแล่นอยู่เพราะหน้าจอที่แตกร้าวส่วนใหญ่เป็นผลจากการที่แลปท็อปหล่นจากเบาะที่นั่งและกระแทกกับพื้น เมื่อผู้ขับเกิดเบรกหรือหยุดรถกะทันหัน

ข้อแนะนำต่อไปก็คือขอให้คุณลงทุนซื้อกล่องใส่คอมพิวเตอร์ที่มีความแข็งแรงคงทนพร้อมกับมีที่ล็อกเรียบร้อยเพื่อความปลอดภัยกันไม่ให้คอมพิวเตอร์ลื่นหล่นออกมาได้

ต่อมาคือ อย่าฉีดสเปรย์ทำความสะอาดกระจก ลงไปบนหน้าจอโดยตรงเพราะมันอาจจะแทรกซึมเข้าไปในคอมพิวเตอร์และอาจทำให้เกิดไฟฟ้าช็อตได้ทางที่ดีคือฉีดน้ำยาทำความสะอาดลงบนผ้านุ่มแล้วค่อยบรรจงเช็ดจะปลอดภัยกว่า

ประการสำคัญต่อมาคืออย่าพยายามดื่มเครื่องดื่มใดๆก็ตามหรือนำของเหลวมาวางใกล้กับคีย์บอร์ด แต่หากคุณเผลอทำเครื่องดื่มหกใส่บนคอมพิวเตอร์แล้ว จงรีบปิดมันทันทีและปล่อยให้มันแห้งยิ่งของเหลวที่คุณทำหกมีปริมาณมาก คุณก็ยิ่งต้องปล่อยเวลาให้มันแห้งมากขึ้นเท่านั้น บางทีอาจใช้เวลาถึง 12 ชั่วโมงเลยก็ได้หากของเหลวนั้นมีปริมาณเยอะเกิน

หากบังเอิญแผ่นดิสก์ของคุณติดอยู่ในช่องใส่ดิสเก็ตอย่าใช้ดินสอไปงัดมันออกมาเพราะปลายแหลมของดินสอมีสิทธิ์หัก และตกหล่นเข้าไปในคอมพิวเตอร์ได้ นอกจากนั้นสารผสมตะกั่วที่ใช้ทำดินสอยังอาจก่อให้เกิดฝุ่นจับตามส่วนต่างๆของคอมพิวเตอร์อีกด้วย

และหากคอมพิวเตอร์ของคุณเกิดอาการขัดข้องเป็นพักๆ คุณควรที่จะจดบันทึกอาการของมันอย่างละเอียดว่าเกิดอะไรขึ้นบ้างและก่อนหน้าที่มันจะเกิดอาการขัดข้องมีอะไรแปลกๆเกิดขึ้นบ้างหรือเปล่า คุณใช้ซอฟต์แวร์ประเภทไหนอยู่ คุณกดที่แป้นคีย์บอร์ดตัวไหนแล้วเกิดผลอะไรตามมาบ้าง

ที่สำคัญก็คือ อย่าพยายามที่จะซ่อมอาการขัดข้องด้วยตัวของคุณเองเพราะการถอดเอาชิ้นส่วนประกอบที่มีเครื่องหมายยี่ห้อสินค้าติดอยู่มักจะทำให้การรับประกันสินค้าเป็นโมฆะ นอกจากนี้การใส่ชิ้นส่วนประกอบให้กลับเข้าไปตามสภาพเดิม เผลอๆยังอาจจะยากกว่าที่คุณคาดก็เป็นได้   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us