Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ เมษายน 2539








 
นิตยสารผู้จัดการ เมษายน 2539
นับถอยหลังไต้หวัน             
 





ออกจะเป็นการทำร้ายจิตใจกันมากสำหรับชาวไต้หวันชาตินิยมเมื่อจีนปฏิบัติการทางทหารข่มขู่ไต้หวันอย่างต่อเนื่องตลอดเดือนมีนาคม

ทั้งที่รัฐบาลในกรุงปักกิ่ง ทราบดีว่าชาวไต้หวันกำลังอยู่ในระหว่างเลือกตั้งประธานาธิบดีในปลายเดือนมีนาคม

นักสังเกตการณ์กล่าวว่า เป้าหมายของรัฐบาลในปักกิ่งต่อการข่มขู่ไต้หวันก็คือ ต้องการบีบและกดดันให้รัฐบาลลีเตงฮุยของชาวไต้หวันมาเจรจากับรัฐบาลในปักกิ่ง ในการรวมเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของจีนอย่างสันติ

นั่นหมายความว่าจีนไม่ได้หวังว่าการข่มขู่ทางทหารต่อไต้หวันจะทำให้มีผลต่ออนาคตทางการเมืองของลีเตงฮุย

เพราะจีนทราบดีว่า สหรัฐฯสนับสนุนลีเตงฮุยเนื่องจากเขาเป็นผู้นำไต้หวันคนแรกที่ดำเนินนโยบายปฏิรูปเศรษฐกิจอย่างเปิดกว้างทุกด้านและในยุคของลี เขาก็ได้พิสูจน์ให้สหรัฐฯเห็นว่านโยบายของเขาสามารถสร้างไต้หวันเข้มแข็งทางเศรษฐกิจชาติหนึ่งของภูมิภาคเอเชียท่ามกลางการถูกโดดเดี่ยวทางการเมืองระหว่างประเทศ จากฝีมือรัฐบาลในปักกิ่ง

ไต้หวันส่งออกสินค้าและบริการไปทั่วโลกอย่างเข้มแข็งในสมัยลีเตงฮุย จนสามารถมีเงินทุนสำรองระหว่างประเทศสูงถึงเกือบ 90 พันล้านดอลลาร์สหรัฐรองจากญี่ปุ่นเท่านั้น ซึ่งไอเอ็มเอฟถือว่าไต้หวันมีความร่ำรวยสูงที่สุดประเทศหนึ่งในโลก

ประเด็นที่นักสังเกตการณ์จับตาดูการข่มขู่ของจีนต่อไต้หวันก็คือ จีนต้องการอะไรจากไต้หวัน

ประการแรก-เป็นไปได้หรือไม่ที่จีนต้องการรวมไต้หวันเข้าเป็นหนึ่งเดียวของจีน เพราะจีนต้องการความร่ำรวยของไต้หวันเพราะจีนมีเงินสำรองระหว่างประเทศประมาณกว่า 20 พันล้านดอลลาร์ เมื่อรวมไต้หวันเข้ามา จีนจะมีเงินสำรองระหว่างประเทศสูงถึงกว่า 100 พันล้านดอลลาร์ทันทีพอๆกับญี่ปุ่น

ถ้าหากเป็นเช่นนั้น จีนจะกลายเป็นประเทศที่มีความเข้มแข็งที่สุดของเอเชีย มีอำนาจต่อรองในเวทีการค้าและเศรษฐกิจและที่สำคัญกว่านั้น จะทำให้ค่าเงินหยวนของจีนเป็นเงินสกุลที่สำคัญที่สุดขึ้นมาทันที

ประการสอง-ความที่ไต้หวันมีฐานนิคมอุตสาหกรรมการผลิตที่ใช้เทคโนโลยีชั้นสูงมากถึง 12 แห่ง และมีฐานอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ทุกชนิด ที่ทำหน้าที่เป็นโครงกระดูกของฐานการผลิตอิเล็กทรอนิกส์ทั่วโลก จึงเป็นไปได้มากว่าจีนต้องการให้ฐานผลิตเหล่านี้ โยกย้ายออกจากไต้หวันเข้าไปแผ่นดินใหญ่ เนื่องจากจีนต้องการเทคโนโลยีและประสบการณ์ทางอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์เชิงพาณิชย์ จากคนจีนด้วยกัน มากกว่าคนต่างชาติ

ประการสาม-จีนมองไต้หวันเหมือนกับมองมาเก๊าและฮ่องกง ซึ่งมาเก๊าเป็นเขตเช่าของโปรตุเกส ที่ต้องคืนกลับให้จีนในอีก 4 ปีข้างหน้า ส่วนฮ่องกงจะต้องคืนกลับจีนในปีหน้านี้

ดังนั้น ลองนึกภาพดูว่าภายใน 4 ปีข้างหน้าจีนจะมีฮ่องกง มาเก๊าและถ้าหากสามารถผนวกเอาไต้หวันเข้าไปด้วย

จีนจะกลายเป็นยักษ์ใหญ่ที่แข็งแรงที่สุดของมหาสมุทรแปซิฟิกมีความร่ำรวย เป็นศูนย์กลางการค้าทางมหาสมุทรแปซิฟิก มีทรัพยากรธรรมชาติที่ยิ่งใหญ่ในผืนแผ่นดินใหญ่และมีเทคโนโลยีจากคนจีนด้วยกัน

ประการสี่-จีนทราบดีว่าสหรัฐฯต้องการทำธุรกิจกับจีนมากกว่าเผชิญหน้า หลังจากรัฐบาลนิกสันได้ลงนามให้การรับรองกับรัฐบาลในปักกิ่งว่าจีนมีเพียงจีนเดียวและยอมรับในอำนาจอธิปไตยของจีนเหนือไต้หวันมาตั้งแต่ปลายทศวรรษ 70

ขณะเดียวกันจีนก็ทราบดีว่าเอกชนไต้หวันประมาณ 20,000 บริษัทได้เข้ามาลงทุนในจีนแล้วว่า 25 พันล้านดอลลาร์ในรอบ 10 ปีที่ผ่านมาซึ่งส่วนใหญ่ 95% ประสบความสำเร็จด้วยดี

ข้อเท็จจริงนี้ แสดงว่าเอกชนไต้หวันฝากอนาคตไว้กับสันติภาพและความรุ่งเรืองของจีน จึงไม่แปลกใจที่จีนย้ำตลอดเวลาว่าจีนให้การคุ้มครองสิทธิผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจของเอกชนไต้หวันที่ลงทุนในจีน

ประการสุดท้าย จีนมั่นใจว่าลึกๆแล้ว สหรัฐฯเห็นด้วยกับจีนที่ต้องการรวมไต้หวันอย่างสันติ สหรัฐฯจึงไม่มีพันธะสัญญาใดๆกับรัฐบาลในไทเปทางด้านความมั่นคง

ซึ่งความหมายก็คือเมื่อพูดอีกแบบหนึ่ง เสถียรภาพความมั่นคงของไต้หวัน มีโครงสร้างที่เปราะบางมาก

เมื่อเป็นเช่นนี้เพียงจีนข่มขู่ทางทหารต่อไต้หวัน รัฐบาลของลีเตงฮุยก็ต้องมีต้นทุนสูงถึงกว่า 22 พันล้านดอลลาร์เข้าไปแล้วเพียงเพื่อพยุงฐานะค่าเงินดอลลาร์ไต้หวันและเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ

รัฐบาลลีเตงฮุยกำลังซื้อเวลาเพื่อเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของจีนเท่านั้นเอง   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us