Bank CG and Basel III (Part II)
ในคราวที่แล้ว ผู้เขียนเกริ่นไปเล็กน้อยถึง Basel I, II และ III ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกฎเกณฑ์ในการบริหารความเสี่ยง ที่ถูกกำหนดขึ้นโดยคณะกรรมการ Basel Committee on Banking Supervision (BCBS) มีสำนักงานเลขานุการอยู่ที่เมือง Basel ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ทำหน้าที่ดูแลกำหนดมาตรฐานการกำกับดูแลสถาบันการเงินทั่วโลก ดังนั้น จึงเป็นส่วนหนึ่งของ CG ของธนาคารหนึ่งในมาตรฐานเหล่านี้ คือ เกณฑ์การกำกับดูแลเงินกองทุน ซึ่งเริ่มจาก Basel I
ธันวาคม 2553
Bank CG and Basel III (Part I)
ที่ผ่านๆ มาเราได้คุยถึง CG ในหลากหลายแบบ แต่ก็เป็น CG สำหรับอุตสาหกรรมทั่วๆ ไป เช่น ซื้อมาขายไป หรือผลิตสินค้า พอดีช่วงนี้ผู้เขียนเห็นว่า เรื่อง Basel III ของแบงก์กำลังอินเทรนด์ พอๆ กับหุ้นธนาคารด้วย เลยทำให้นึกถึงอุตสาหกรรมธนาคารขึ้นมาได้ว่าอุตสาหกรรมนี้มีการดำเนินธุรกิจที่ไม่เหมือนใคร ไม่ได้ซื้ออะไรมาขาย ไม่ได้ผลิตสินค้า แต่ขายผลิตภัณฑ์ทางการเงินหรือเงินกู้ประเภทต่างๆ คือระดมเงินมาปล่อยกู้นั่นเอง
ตุลาคม 2553
CG หอมมะลิ (จบ)
คำตอบชัดเจนอยู่แล้ว เป็นไปได้หรือที่ผู้ถือหุ้นจะเลือก “คนแปลกหน้า” ที่มีความสามารถและเป็นอิสระอย่างแท้จริงเข้ามาทำงานแทนที่จะเลือกคนคุ้นเคย ซึ่งอันที่จริงก็มีความสามารถเช่นเดียวกัน ทำงานร่วมกันได้สนิทใจกว่า และไว้ใจได้ ไม่ต้องกลัวว่าจะนำความลับของกิจการไปเปิดเผย ดังนั้นคำว่า “อิสระ” ในที่นี้ความคิดของผู้เขียน น่าจะหมายถึงพฤติกรรมที่อิสระ มากกว่าแบคกราวด์ หรือโปรไฟล์ที่อิสระ
กันยายน 2553
CG หอมมะลิ
ในตอนที่ผ่านๆ มา ผู้เขียนนำเสนอเรื่อง CG ทั่วๆ ไป ซึ่งประกอบด้วยกลไกหลายๆ อย่าง เช่น ระบบกรรมการ การจูงใจผู้บริหารด้วยเงินโบนัส หรือหุ้น ผู้ถือหุ้นสถาบัน และยังได้เล่าถึง CG ของญี่ปุ่น และเกาหลี ซึ่งมีเอกลักษณ์สืบเนื่องมาจากวัฒนธรรม ประเพณี และสังคม
สิงหาคม 2553
Institutional Investor, the Watcher
ช่วงม็อบที่ผ่านมาท่านผู้อ่านหลายๆ คนอาจจะมีโอกาสสัมผัสประสบการณ์แปลกใหม่ เช่น ได้หยุดงานยาวโดยไม่ต้องลา โดนตัดไฟ ส่วนประสบการณ์ใหม่ของผู้เขียน คืออยู่บ้านและจมอยู่หน้าทีวีแบบมาราธอนยาวนานที่สุดในชีวิต เนื่องจากออกไปไหนก็ไม่ค่อยสะดวกและอาจไม่ปลอดภัย ส่วนมากนั่งติดตามสถานการณ์ทางทีวี อันที่จริง ผู้เขียนก็ดูบ้าง ไม่ดูบ้าง แต่ก็เปิดทิ้งไว้ไม่ให้ตกข่าว
กรกฎาคม 2553
Chaebol...Kimchi CG
หลังจากผู้เขียนได้ไปสัมผัสดินแดนปลาดิบของจริงตามกระแสนิยมในช่วงวันหยุดสงกรานต์ ระหว่างดื่มด่ำกับ theme ญี่ปุ่น ราวกับเป็นชิซูกะ ชิมซูชิฝีมือลุงมาริโอ ขอลายเซ็น Hello kitty และเต้นระบำในสวนซากุระกับโดราเอมอน บรรยากาศก็เริ่มแปลกไปเมื่อโดราเอมอนแดนซ์ในเพลงของดงบังชินกิ และ SS501 จากแดนกิมจิ!
มิถุนายน 2553
The Plight of Keiretsu
ช่วงหนึ่งเดือนที่ผ่านมานี้เมื่อมีโอกาสได้ทักทายพูดคุยกับใครก็ตามเกี่ยวกับกิจกรรมในช่วงวันหยุดสงกรานต์ ร้อยละเจ็ดสิบจะบอกว่ากำลังเตรียมตัวไปเที่ยวประเทศญี่ปุ่น ทำให้ผู้เขียนรู้สึกได้ว่าประเทศที่มีความแตกต่างอย่างลงตัวแห่งนี้ยังคงความมีเสน่ห์ ดึงดูดใจให้คนไทย (ยุคก่อนเจเนอเรชั่น Y เสียเป็นส่วนใหญ่) ไปเยือนครั้งแล้วครั้งเล่า
พฤษภาคม 2553
Board... from the past to the present
ตอนที่แล้ว เราทำความรู้จักที่มาที่ไปและกลไกของบรรษัทภิบาลหรือ CG กันไปแล้ว เช่นการก่อหนี้เพื่อเพิ่มแรงกดดันให้ผู้บริหาร การโยงผลตอบแทนของผู้บริหารให้เข้ากับผลการดำเนินงานของกิจการเพื่อสร้างแรงจูงใจ หนึ่งในกลไกที่กำลังเป็นที่สนใจกันมากคือกรรมการบริษัท หรือที่เรียกกันง่ายๆ ว่า บอร์ด (Board of Directors)
เมษายน 2553
กลไกของ Corporate Governance
สวัสดีค่ะ ยินดีต้อนรับสู่ "C-through CG" เนื้อหาใหม่ของนิตยสารผู้จัดการ 360 ํ ซึ่งผู้เขียนยินดีรับคำติชมและข้อเสนอแนะจากท่านผู้อ่านทุกท่าน สำหรับพื้นที่นี้ผู้เขียนได้รับมอบหมายให้เขียนเรื่องราวเกี่ยวกับ Corporate Governance (CG) หรือบรรษัทภิบาล ซึ่งเราคงจะได้ยินคุ้นหูกันมาพักใหญ่ๆ จนชักจะเริ่มซาลงบ้างแล้ว
มีนาคม 2553