Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 



bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 

 

เศรษฐกิจโลกในกำมือผู้หญิงชื่อ Angela Merkel เศรษฐกิจโลกกำลังตกอยู่ในอันตราย และจะรอดหรือไม่ ขึ้นอยู่กับผู้หญิงเพียงคนเดียว “ทุกคน ไปที่เรือชูชีพเดี๋ยวนี้!!!!” คือสัญญาณอันตรายที่ตลาดกำลังส่งออกมาว่าเศรษฐกิจโลกกำลังตกอยู่ในอันตรายอย่างใหญ่หลวง นักลงทุนจึงพากันเร่งรีบกว้านซื้อพันธบัตรรัฐบาลอย่าง สหรัฐฯ เยอรมนี และประเทศที่ถูกมองว่า “ปลอดภัย” ซึ่งมีเพียงหยิบมือเดียว และยังลดจำนวนลงเรื่อยๆ กรกฎาคม 2555
ประธานาธิบดีฝรั่งเศสคนใหม่ ตอนแรก เขาเปียกมะล่อกมะแล่ก เพราะฝนที่ตกกระหน่ำลงมาอย่างหนัก ขณะนั่งรถเปิดประทุนไปตามถนน Champs-Elysee เพื่อเข้าพิธีสาบานตนรับตำแหน่ง จากนั้นเครื่องบินประจำตำแหน่งของเขาถูกฟ้าผ่า หลังจากเพิ่งบินออกจากฝรั่งเศส เพื่อมุ่งหน้าไปยังกรุงเบอร์ลิน ทำให้ต้องบินกลับไปยังปารีสอีกครั้งเพื่อเปลี่ยนเครื่องบินลำใหม่ มิถุนายน 2555
Arab Spring สิ้นมนต์ขลัง 1 ปีผ่านไปแล้ว สำหรับการลุกฮือของประชาชนในหลายประเทศในโลกอาหรับ ที่เรียกกันว่า Arab Spring ซึ่งเคยทำให้โลกต้องจับตามองภูมิภาคนี้อย่างตื่นเต้น และจินตนาการบรรเจิดว่าจะต้องได้เห็นการเปลี่ยนแปลงที่ดีในโลกอาหรับ แต่มาบัดนี้ ดูเหมือนว่า Arab Spring จะไม่ได้ให้ความหวังที่งดงามเท่าที่คิด พฤษภาคม 2555
“China 2030” อนาคตจีนอีก 20 ปีข้างหน้า การประชุมที่เรียกว่า “การประชุมเรือกลไฟ” (steamship conference) ของจีนเมื่อปี 1985 คือเหตุการณ์ซึ่งกลายเป็นตำนานบทหนึ่งของการปฏิรูปเศรษฐกิจจีน การประชุมในเรือกลไฟ ชื่อ Bashan ของจีน ขณะล่องไปตามแม่น้ำแยงซีเกียง เมษายน 2555
การเมืองร้อนแรงเบื้องหลังการปฏิรูปเศรษฐกิจจีน "จีนกำลังจะถ่ายเลือดใหม่ในปีนี้ แต่ก่อนที่จีนจะได้ผู้นำรุ่นใหม่ สงครามว่าด้วยการปฏิรูปเศรษฐกิจของจีนเริ่มร้อนแรงขึ้น" ฝ่ายสนับสนุนการปฏิรูปในจีนต้องทนทุกข์มานานหลายปี พวกเขาต่างบ่นว่า เศรษฐกิจจีนที่เจริญรุ่งเรืองทำให้รัฐบาลจีนไม่กล้าต่อกรกับกลุ่มผลประโยชน์ที่ทรงอิทธิพลมากขึ้นเรื่อยๆ เมษายน 2555
พม่ากับสิงคโปร์และความเป็นเพื่อน สิงคโปร์ชื่นชมอดีตนายพลพม่าผู้กลายมาเป็นประธานาธิบดีพลเรือนนักปฏิวัติคนแรกของพม่า บุคคลระดับชั้นหัวกะทิของพม่ามักจะเดินทางไปสิงคโปร์อยู่บ่อยๆ ด้วยกิจธุระจำเป็นหลายอย่าง ทั้งไปชอปปิ้ง ไปเช็กความเรียบร้อยของบัญชีเงินฝากที่อยู่ในธนาคารสิงคโปร์ ไปหาหมอ พาลูกไปเข้าโรงเรียนที่นั่น ไปเสี่ยงโชคสนุกๆ ในบ่อนกาสิโนที่ใหญ่ที่สุดในโลก และไปดูให้เห็นกับตาถึงความมั่งคั่งที่เป็นผลมาจากโลกาภิวัตน์ มีนาคม 2555
การเปลี่ยนแปลงในพม่า รัฐบาลพม่าเริ่มเปลี่ยนแปลงและได้รับรางวัลจากการเปลี่ยนแปลงนั้น คล้อยหลังการเดินทางเยือนพม่าครั้งประวัติศาสตร์ของฮิลลารี คลินตัน รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ เมื่อต้นเดือนธันวาคม ปีที่แล้ว (2011) เธอนับเป็นเจ้าหน้าที่ระดับสูงของสหรัฐฯ คนแรก ที่เดินทางเยือนพม่าในรอบครึ่งศตวรรษ มีนาคม 2555
จีนเผยนโยบายเจ้าอวกาศ จีนตั้งเป้าเป็นมหาอำนาจด้านอวกาศในทศวรรษหน้า ปกติแล้วโครงการอวกาศมักจะมีเป้าหมายเป็นการเดินทางไปยังที่ที่ยังไม่เคยมีใครไปถึงมาก่อน แต่ดูเหมือนว่าโครงการอวกาศของจีนจะคิดต่าง โดยจีนมีแผนที่จะเดินทางไปยังส่วนของอวกาศที่มีคนเคยไปมาแล้ว กุมภาพันธ์ 2555
ไต้หวันกับฝันที่เป็นไปไม่ได้ "การเลือกตั้งประธานาธิบดีไต้หวัน กับการตื่นจากฝันดีเกี่ยวกับจีน" ครั้งหนึ่ง Ai Weiwei ศิลปินชาวจีนผู้มีชื่อเสียงระดับโลก เคยเป็นศิลปินคนโปรดของบรรดาคนใหญ่คนโตในจีน แต่บัดนี้ แม้กระทั่งผลงานศิลปะของเขาก็อย่าได้คิดฝันว่าจะอวดผลงานในจีนได้ รวมไปถึงในดินแดนบริวารที่อยู่ในอาณัติของจีนอย่างฮ่องกงและมาเก๊าด้วย แม้ว่าทั้งสองดินแดนนั้นจะได้ชื่อว่าเป็นเขตปกครองตนเองก็ตาม บัดนี้ Ai กลายเป็นหนึ่งในศัตรูของชาติ เนื่องจากการกล้าพูดแตะต้องสิ่งที่ผิดพลาดของจีน เขาถูกจำคุกนานเกือบ 3 เดือนเมื่อปี 2011 ที่ผ่านมา กุมภาพันธ์ 2555
จีนได้อะไรจากการช่วยอุ้มวิกฤติหนี้ยุโรป ในอนาคตข้างหน้า นักเศรษฐศาสตร์และนักประวัติศาสตร์ อาจยกให้ช่วงเวลานี้ เป็นจุดเปลี่ยนดุลอำนาจของโลกที่เอียงไปข้างจีนมากขึ้น นั่นคือช่วงเวลาไม่กี่วันระหว่างการประชุมสุดยอดผู้นำยุโรป เพื่อแก้ปัญหาวิกฤติิิหนี้ยูโรโซน ซึ่งจัดขึ้นที่บรัสเซลส์ในวันที่ 26 ตุลาคม 2010 กับการประชุมสุดยอด G-20 ซึ่งจัดขึ้นที่เมืองคานส์ของฝรั่งเศส ในวันที่ 3-4 พฤศจิกายน 2010 มกราคม 2555

1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 | 9 | 10


upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide



 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us