FIF เลือกโอกาสและจังหวะ
บลจ.ยูโอบี จำกัด มองว่าในช่วงเวลาที่ดอกเบี้ยของสหรัฐอเมริกาลดลงมาอย่างต่อเนื่องจนทำให้หุ้นในภูมิภาคเอเชียได้รับผลกระทบ ในสถานการณ์เช่นนี้ ยูโอบีกลับมองเห็นโอกาสการลงทุนในกองทุน FIF เป็นเวลาเหมาะสมที่จะทยอยซื้อและสะสม เพื่อสร้างผลตอบแทนในอนาคต
มีนาคม 2551
กองทุน FIF ปี 51 ยังมีเสน่ห์และน่าลงทุน
ปัญหาเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นทั่วโลก อาจทำให้นักลงทุนสงสัยว่าจะมีผลกระทบยาวนานแค่ไหน จะลุกลามอย่างไร แต่ธุรกิจบางประเภทกลับมองว่าสถานการณ์เช่นนี้สามารถพลิกวิกฤติให้เป็นโอกาส และหนึ่งในโอกาสนั้นก็คือการลงทุนในกองทุนรวม FIF ที่มองเห็นแสงสว่างที่เกิดขึ้นหลายๆ จุดทั่วโลก เพียงแต่ว่าบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนจะต้องฉกฉวยโอกาสนั้นมาให้ได้
มีนาคม 2551
CIMB เรียนรู้ตลาดไทยอย่าง Conservative บริหารงานแบบ Aggressive
8 เดือนที่ผ่านมา บริษัทหลักทรัพย์ซีไอเอ็มบี-จีเค (ประเทศไทย) จำกัด นักลงทุนสัญชาติมาเลเซียได้กำหนดเป้าหมายไว้ว่าจะต้องมีมาร์เก็ตแชร์ 0.5% ในธุรกิจซื้อขายหลักทรัพย์ในไทย แต่ดูเหมือนว่าบริษัทจะพลาดเป้าที่คาดหวังไว้ เพราะมีมาร์เก็ตแชร์เพียง 0.25% เท่านั้น แต่ในปีนี้บริษัทยังเพิ่มเป้าหมายให้สูงขึ้นอีกให้โตถึง 1% หรือโตให้ได้ 300% ผู้บริหารมองว่าเป็นเรื่องที่ท้าทายอย่างมากในปีนี้
กุมภาพันธ์ 2551
SCBAM บททดสอบใหม่ เปิดตลาดระดับ Mass
ปีนี้เป็นอีกปีหนึ่งที่จะเป็นบทพิสูจน์ SCBAM อีกครั้ง หลังจากที่มีการเปลี่ยนแปลงโจทย์ เพื่อรับกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป โดยยึดลูกค้าระดับ mass เป็นเป้าหมายหลัก ในขณะที่กลุ่มลูกค้าระดับบนใกล้จะถึงจุดอิ่มตัว สิ่งที่ท้าทายสำหรับ SCBAM ทำอย่างไรจะให้ลูกค้าระดับ mass รับรู้ เข้าใจ และเข้าถึงการลงทุนให้ได้ง่ายที่สุด
มกราคม 2551
อลัน แคม กับ Manulife ในบทบาท Professional
ด้วยประสบการณ์ 30 ปี ที่อลัน แคม อยู่ในแวดวงตลาดเงิน ตลาดทุน ปัจจุบันเขานั่งอยู่ในตำแหน่งเอ็มดี บลจ.แมนูไลฟ์ (ประเทศไทย) ที่น่าสนใจคือ เขาใช้เวลาเพียง 5 เดือนสร้างสินทรัพย์ให้กับกองทุนทะลุ 5 พันล้านบาท จากที่กำหนดเป้าหมายเพียง 1,200 ล้านบาทในปีนี้ เขาใช้กลยุทธ์และวิธีคิดอย่างไรกับเรื่องนี้
ธันวาคม 2550
ยุทธศาสตร์ป่าล้อมเมืองของ SCIB
บทบาทของ SCIB ที่เลือนรางมาเกือบ 2 ปี เริ่มชัดเจนขึ้น หลังจากมีการว่าจ้างที่ปรึกษามืออาชีพเข้ามาศึกษาแนวทางพัฒนาคน กระบวนการทำงาน และผลิตภัณฑ์ แผนธุรกิจใหม่ อาจถือว่าเป็นการ “ผ่าตัดใหญ่” เตรียมรับกับพันธมิตรใหม่ที่จะเข้ามาในอนาคต
ธันวาคม 2550
ถึงเวลาเปลี่ยนแปลงอีกครั้ง
ตลอดระยะเวลา 28 ปี ของการทำงานในธนาคารกสิกรไทยของบัณฑูร ล่ำซำ วัย 54 ปี ในฐานะทายาทของตระกูลล่ำซำรุ่นที่ 4 ปัจจุบันเขาดำรงตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ที่มีหน้าที่ดูแลทิศทางยุทธศาสตร์แสวงหาโอกาสใหม่ๆ ตลอดจนดูแลทรัพยากรบุคคลเพื่อขับเคลื่อนเครือกสิกรไทยที่มีอายุ 62 ปี ให้ดำเนินธุรกิจประสบผลสำเร็จเฉกเช่นในอดีตที่ผ่านมา
พฤศจิกายน 2550
ได้เวลา K NOW (อ่านว่าเค-นาว)
การออกมาปรากฏตัวต่อสาธารณะเป็นครั้งแรกในรอบเกือบ 2 ปี ของบัณฑูร ล่ำซำ ที่ได้ประกาศทิศทางธุรกิจใหม่ของเครือธนาคารกสิกรไทย ซึ่งใช้ชื่อว่า K NOW ย่อมน่าจะมีความหมายมากกว่าแค่การแถลงข่าวธรรมดา
พฤศจิกายน 2550
SINGER กับบทเรียน 1,200 ล้านบาท
บริษัทเก่าแก่มีอายุเกิน 100 ปี อย่างบริษัทซิงเกอร์ ต้องมาแก้ปัญหาขาดทุนที่เกิดขึ้นเป็นครั้งแรกของการก่อตั้ง ด้วยตัวเลขสูงถึง 1,200 ล้านบาท นับเป็นความรู้สึกที่เจ็บปวดไม่น้อย แต่อย่างน้อยก็เป็นบทเรียนราคาแพงในการบริหารยุคที่ปัจจัยแวดล้อมเปลี่ยนแปลงไป
พฤศจิกายน 2550
ถึงยุคที่ KTC ต้อง Conservative
นิวัตต์ จิตตาลาน ถึงกับออกปากว่า ในอีก 2 ปีข้างหน้า KTC จะต้อง conservative มากขึ้น เพราะยุคเศรษฐกิจเฟื่องฟูได้หมดไปพร้อมกับโจทย์ใหญ่ที่เข้ามา คือการสร้างผลกำไรให้ผู้ถือหุ้นพอใจ นับเป็นความท้าทายที่เขาต้องฝ่าไปอีกครั้ง
ตุลาคม 2550