วิถีชีวิตใหม่ๆ ที่กำลังเกิดขึ้นใน “เวียงจันทน์”
คนเวียงจันทน์ทุกวันนี้กำลังปรับตัวเข้าสู่วิถีชีวิต “คนเมือง” ที่เต็มไปด้วยความยุ่งเหยิง เร่งรีบ อันเนื่องจากเศรษฐกิจที่ขยายตัวขึ้นอย่างรวดเร็ว ถนนไกสอน พมวิหาน ทั้งยามเช้าและช่วง 4-5 โมงเย็น เป็นช่วงที่มีรถราวิ่งกันอย่างขวักไขว่ สี่แยกไฟแดงบนถนนเส้นนี้ ช่วงก่อนเข้าถึงประตูไชย รถเริ่มติดเป็นแถวยาว อาจต้องใช้เวลาประมาณ 2-3 ไฟแดง จึงจะผ่านได้
สิงหาคม 2553
อิทธิพล “จีน” ใน “ลาว” หยั่งลึกกว่าที่คิด!!!
อิทธิพลทางเศรษฐกิจที่จีนมีต่อลาวนั้น มิใช่แค่ระดับรัฐต่อรัฐหรือระดับโครงการใหญ่ๆ ที่จีนได้โอกาสในการลงทุนเป็นจำนวนมากเท่านั้น แต่ในระดับชาวบ้าน กองทัพมดของพ่อค้าจีนกำลังแผ่ขยายเข้าไปควบคุมตลาดการค้าในลาว ตั้งแต่ข้าวของเครื่องใช้จิปาถะไปจนถึงรถยนต์
สิงหาคม 2553
“เวียดนาม” ในบทบาทประตูสู่ทะเลของ “หยุนหนัน”
ที่ผ่านมาคนไทยส่วนใหญ่ให้ความสำคัญในการเปิดประตูสู่ทะเลให้กับหยุนหนัน มณฑลทางตะวันตกของจีน โดยใช้เส้นทาง R3a ผ่านลาว และเส้นทาง R3b ผ่านพม่า โดยมีท่าเรือแหลมฉบังของไทยเป็นปลายทาง แต่แท้จริงแล้ว เส้นทางขนส่งสินค้าสู่ชายฝั่งที่สั้นที่สุดของหยุนหนัน อยู่ในภาคเหนือของเวียดนามและเส้นทางดังกล่าวกำลังได้รับการปรับปรุง
กรกฎาคม 2553
“ปากลาย” เมืองชุมทางแห่งลาวตะวันตก
ภายใต้กรอบความร่วมมืออนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง ก่อให้เกิดเมืองซึ่งมีศักยภาพในการเป็นชุมทางการคมนาคมและขนส่งสินค้าขึ้นหลายจุด เมืองปากลาย แขวงไชยะบุรีของ สปป.ลาว ก็เป็นอีก 1 จุด ที่กำลังจะมีบทบาทสำคัญในอนาคต
กรกฎาคม 2553
กรรมการ 4 เหลี่ยมเศรษฐกิจกับทศวรรษใหม่ที่ท้าทาย
คณะกรรมการเพื่อสี่เหลี่ยมเศรษฐกิจกำลังเผชิญกับแรงท้าทายที่มากขึ้นในทศวรรษที่ 2 นับจากนี้ เพื่อผลักดัน “รูปธรรม” ของความร่วมมือให้เกิดขึ้น โดยที่ไม่มีใครได้เปรียบหรือเสียเปรียบ
มิถุนายน 2553
บทบาทของเวียดนามต่อปัญหา “แม่น้ำโขง”
ขณะที่หลายชาติทางตอนล่างของแม่น้ำโขงกำลังได้รับความเดือดร้อนจากความแห้งแล้งของลำน้ำสายนี้ เวียดนามในฐานะประเทศที่อยู่ปลายสุดก็ได้แสดงท่าทีออกมาแล้ว เพราะปัญหาความเปลี่ยนแปลงของแม่น้ำโขงมีผลกระทบโดยตรงต่อพื้นที่ปลูกข้าว ซึ่งเป็นสินค้าออกสำคัญของประเทศ
เมษายน 2553