กาแฟดอยช้าง-อีโก้ของชาวอีก้อ
ชื่อ "กาแฟดอยช้าง" แม้จะไม่เป็นที่คุ้นหูนักสำหรับนักจิบกาแฟชาวไทยทั่วไป แต่ในแวดวงคอกาแฟในต่างประเทศแล้ว "กาแฟดอยช้าง" ถือเป็นความสำเร็จอันยิ่งใหญ่ของคนไทยและเป็น "อีโก้" (ในที่นี้ ขอหมายถึงความภาคภูมิใจ) ของชาวอีก้อกลุ่มเล็กๆ กลุ่มหนึ่งในจังหวัดเหนือสุดของประเทศ ผู้ร่วมกันรังสรรค์กาแฟรสเลิศประดับเวทีกาแฟโลกไว้ได้เป็นผลสำเร็จ
พฤษภาคม 2552
Eco-Tourism ที่หลวงน้ำทา
เมื่อกล่าวถึงเส้นทางระเบียงเศรษฐกิจเหนือใต้ (North-South Economic Corridor) ที่เชื่อมต่อไทย ลาว และจีนตอนใต้เข้าด้วยกัน หรือเส้นทาง R3a นั้น หลายคนมักนึกถึงเมืองหน้าด่านตามจุดต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเชียงของในไทย ห้วยทรายในลาว และยาวไปจนถึงเมืองบ่อหานติดกับชายแดนจีน
พฤษภาคม 2552
อีก 1 ยุทธศาสตร์ความสัมพันธ์ไทย-จีน
ถ้าทุกคนยอมรับว่า จีนคือคู่ค้าที่ใหญ่และใกล้ชิดกับไทยมากที่สุดแล้ว ยุทธศาสตร์ในการกระชับความสัมพันธ์ระหว่าง 2 ประเทศ ก็ไม่จำเป็นต้องอาศัยมิติในเชิงเศรษฐกิจเพียงอย่างเดียว
เมษายน 2552
หินฟู, พญางูใหญ่ และช้างเผือก
เส้นทางรถไฟสายหนองคาย-ท่านาแล้ง นครหลวงเวียงจันทน์ ที่เริ่มเปิดวิ่งอย่างเป็นทางการเมื่อต้นเดือนมีนาคม ถือเป็นปรากฏการณ์ที่จุดประกายความน่าสนใจลงทุนของ สปป.ลาว ให้เกิดขึ้นอย่างไม่อาจมองข้าม
เมษายน 2552
ผลกระทบเขตแดนลาว-ไทย
การโหมก่อสร้างโครงการเอ็นเตอร์เทนเมนต์คอมเพล็กซ์ริมแม่น้ำโขงฝั่ง สปป.ลาวแห่งนี้ นอกจากจะบ่งชี้ให้เห็นทิศทางการค้า-การลงทุนบนแผ่นดินสามเหลี่ยมทองคำก็ตาม แต่ก็ก่อให้เกิดปัญหาที่อาจกระทบความสัมพันธ์ระหว่างไทย-ลาว ได้เช่นกัน
มีนาคม 2552
โครงการใหญ่ริม 2 ฝั่งโขง
ปี 2539 ที่ผ่านมา "วัฒนา อัศวเหม" อดีตเจ้าพ่อกรรมกร-นักการเมืองใหญ่แห่งปากน้ำ ถือเป็นนักลงทุนรายใหญ่ที่เข้ามาลงทุนในพื้นที่สี่เหลี่ยมเศรษฐกิจ-สามเหลี่ยมทองคำ ฝั่ง อ.เชียงแสน จ.เชียงราย ด้วยโครงการก่อสร้างอู่ต่อเรือ-ห้างสรรพสินค้าห้าเชียงพลาซ่า ซึ่งได้รับการส่งเสริมการลงทุน (BOI) ทั้งยังมีโครงการเดินเรือท่องเที่ยวในแม่น้ำโขงระหว่าง อ.เชียงแสน-สิบสองปันนา มณฑลหยุนหนันด้วย
มีนาคม 2552
เซินเจิ้นลาว บนสามเหลี่ยมทองคำ
"Entertainment Area" ครบวงจรด้วยเม็ดเงินลงทุนกว่า 3 พันล้านดอลลาร์ ของกลุ่มทุนจีนที่เดินหน้าเนรมิตพื้นที่ 827 เฮกตาร์ หรือ 5,168.75 ไร่ ซึ่งมีกำหนดเปิดบริการเฟสแรกกลางปีนี้ จะมีส่วนพลิกโฉม "สามเหลี่ยมทองคำ" รวมถึงอนาคตการค้า-การลงทุนในลุ่มน้ำโขงตอนบนแน่นอน!?
มีนาคม 2552
ก้าวที่ 2 ของสภาธุรกิจไทย-ลาว
"สิบห้าปี ที่ไตเฮา เสียแดนดิน... จงเอ็นดู หมู่ข้าน้อย ที่พลอยพลัดบ้าน... เฮาคนไต ย้ายกันไป ทุกถิ่นทุกฐาน... จงฮักกันเน้อ ไตดำเฮานา..." เสียงเพลง "ไทดำรำพัน" ที่ร้องโดย "ก.วิเสส" นักร้องชาวลาวและเคยฮิตติดหูคนไทยในช่วง พ.ศ.2512-2514 ถูกนำมาขับกล่อมอีกครั้งภายในห้องราชมณเฑียร โรงแรมมณเฑียร กรุงเทพฯ ช่วงย่ำค่ำของวันที่ 12 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา
มีนาคม 2552
น่งเต่า : หนองเตา หมู่บ้านที่ไทยน่าจะดูเป็นเยี่ยงอย่าง
บริเวณเมืองชายแดนของแต่ละประเทศ มักถูกใช้เป็น Buffer State เพื่อความมั่นคงของรัฐชาติมาหลายทศวรรษ แต่ที่พรมแดนจีน-พม่า พื้นที่ชายแดนระหว่างมูเซของพม่ากับรุ่ยลี่ เขตปกครองตนเองชนชาติไต-จิงโพ่แห่งเต๋อหง มณฑลหยุนหนัน สป.จีน กลับถูกนำมาใช้เป็นแหล่งท่องเที่ยว เป็นพื้นที่พัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ที่สามารถต่อยอดไปสู่การพัฒนาการค้า-การลงทุนระหว่างกันได้อย่างน่าสนใจ
กุมภาพันธ์ 2552
"ตาก-เต๋อหง" Sister City
ระหว่างการเดินทางไปร่วมงานแสดงสินค้าพม่า-จีน ที่เขตเศรษฐกิจพิเศษมูเซ ประเทศพม่า คณะตัวแทนจากภาครัฐ-เอกชนจังหวัดตาก นำโดยสาโรช แสงอรุณ รองผู้ว่าราชการจังหวัดตากได้ร่วมหารือกับ Meng Biguang ผู้ว่าการเขตปกครองตนเองชนชาติไต-จิงโพ่ แห่งเต๋อหง พร้อมคณะ ในประเด็นการสถาปนาความสัมพันธ์เมืองพี่เมืองน้องระหว่างตาก-เต๋อหง
กุมภาพันธ์ 2552