จัดการมลพิษ...แบบชาติเศรษฐกิจ
มลพิษอุตสาหกรรมเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นเกือบทุกประเทศที่มีอุตสาหกรรม กรณีมาบตาพุดมิได้เป็นปัญหาพิเศษแต่อย่างใด หากปัญหาทำนองเดียวกันนี้เกิดขึ้นมาแล้วหลายครั้งในชาติอุตสาหกรรมหลายประเทศ ไม่ว่าจะเป็นสหรัฐฯ ญี่ปุ่น ฝรั่งเศส เยอรมนี รัสเซีย ต่างล้วนมีประสบการณ์การแก้ปัญหามลพิษมาอย่างยากเย็น เข็ญใจ กว่าจะสัมฤทธิผลก็ต้องกินเวลาเข้าไปหลายทศวรรษ
พฤศจิกายน 2553
ธรรมชาติฟื้นตัวจากภัยพิบัติ...อย่างไร
ช่วงนี้หลายๆ คนคงจะหวาดผวาไม่ใช่น้อยในเรื่องภัยพิบัติธรรมชาติต่างๆ ที่เกิดขึ้นหลายๆ แห่งทั่วโลก ทั้งแผ่นดินไหว ภูเขาไฟระเบิด น้ำท่วม ไฟป่า พายุหมุน ดินถล่ม ยิ่งกว่านั้น! ยังเป็นที่แปลกใจกันว่า ทำไมปรากฏการณ์เหล่านี้เกิดขึ้นไล่ๆ กัน หนำซ้ำโลกยังร้อนระอุไปด้วยภาวะโลกร้อนจากการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ทำให้หลายคนมีความกังวลกันว่า ธรรมชาติที่ถูกทำลายนี้จะฟื้นคืนสภาพได้แค่ไหน อย่างไร และมนุษย์เราจะปรับตัวได้แค่ไหน บทความนี้จะชี้ให้เห็นคร่าวๆ ถึงผลกระทบและการฟื้นคืนสภาพจากหายนภัยที่ผ่านมา
ตุลาคม 2553
สิ่งแวดล้อมของชาวกรุง-ไม่ยากเกินแก้
ช่วงเดือนกรกฎาคม-สิงหาคมที่ผ่านมา บรรยากาศในกรุงเทพฯ ดูจะคึกคักไปด้วยการหาเสียงเลือกตั้ง ส.ก. ส.ข. ...ส.ก. ส.ข. คืออะไร ชาวกรุงเทพฯ ส่วนใหญ่ยังเข้าใจกันไม่ถ่องแท้นัก ทั้งๆ ที่ เป็นอะไรที่อยู่ใกล้ตัว เกี่ยวข้องกับชีวิตความ เป็นอยู่และการทำมาหากินโดยตรง แต่เท่าที่ผ่านมา ชาวกรุงก็ไปใช้สิทธิ์เลือกตั้ง ส.ก. ส.ข. กันน้อยมาก สถิติโดยเฉลี่ยเพียง 37% เท่านั้น
กันยายน 2553
Carbon cycle หวนคืนสู่วัฏจักรธรรมชาติ
ทุกวันนี้ ถ้าใครไม่รู้เรื่องภาวะโลกร้อนเสียเลย นับว่าตกยุคตกสมัยไปหลายย่างก้าว ภาวะโลกร้อน (Global warming) หรือสภาวะภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง (climate change) หรือการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (greenhouse gases) อันมีก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เป็นตัวการสำคัญ ยังมีศัพท์อื่นที่อยู่ในเทรนด์อีกหลายคำ เช่น carbon footprint, carbon sink, carbon trading, carbon capture อันมีความหมายเชื่อมโยงไปถึงก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ปล่อยสู่บรรยากาศทั้งสิ้น
สิงหาคม 2553
การขยายถนนขึ้นเขาใหญ่-การพัฒนาหรือการทำลาย??
ในมุมมองของนักอนุรักษ์ ถนนสายใหญ่ที่ผ่าเข้าไปในผืนป่าใหญ่ เป็นสิ่งต้องห้ามอย่างร้ายแรง เพราะก่อให้เกิดผลกระทบสิ่งแวดล้อมมากมาย อันเนื่องมาจากผืนป่าที่ถูกแบ่งแยก (fragmentation)
กรกฎาคม 2553
Greening the GDP
การพัฒนากับความเสื่อมโทรมของทรัพยากร สองคำนี้ฟังดูน่าจะอยู่ตรงข้ามกัน การพัฒนาหมายถึงการสร้างสิ่งที่มีอยู่ให้ดีขึ้น เจริญขึ้น ส่วนความเสื่อมโทรมก็อย่างที่เห็นๆ กัน เมื่อใช้อะไรไปมากขึ้นๆ ก็สูญสลายหรือเสื่อมโทรมไป ในการพัฒนาประเทศจึงต้องมีการวางแผนจัดการให้เกิดการขยายตัวและการยกระดับความเป็นอยู่โดยมีการเสื่อมโทรมน้อยที่สุด และถ้าทำได้ก็ต้องทำให้เกิดการหมุนเวียนคืนรูปให้มากที่สุด
มิถุนายน 2553
ภัยพิบัติทางธรรมชาติกับทฤษฎีต่างๆ ที่พยายามอธิบายเหตุและผล
ในช่วงเวลาไม่กี่เดือนที่ผ่านมานี้ ทุกท่านคงได้ยินข่าวแผ่นดินไหวรุนแรงเกิดขึ้นหลายครั้งหลายแห่งติดๆ กัน และในขณะเดียวกันก็มีข่าวคราวเกี่ยวกับสภาพอากาศที่แปรปรวนสุดขั้วไปทั่วโลก ปรากฏการณ์เหล่านี้เป็นความบังเอิญ หรือเป็นกระบวนการที่สัมพันธ์กันระหว่างการเปลี่ยนแปลงของเปลือกโลกกับสภาพภูมิอากาศ
เมษายน 2553
Toulouse (ตูลุส) เมืองที่เติบโตอย่างรวดเร็วแต่ลงตัว
บางคนอาจจะรู้จัก Toulouse ในฐานะเมืองแห่งอุตสาหกรรมไฮเทค นักวิชาการหลายคนอาจจะเห็นว่า Toulouse เป็นเมืองแห่งการศึกษา และหลายๆ คนที่ศึกษาทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมก็รู้กันว่า Toulouse เป็นเมืองของฝรั่งเศสที่มีมรดกวัฒนธรรมมาจากยุคอาณาจักรโรมันอันรุ่งเรือง
มีนาคม 2553
WE TAKE ALL WE NEED
"We take all we need" ช่างเป็นคำพูดบ้าอำนาจ ที่ไม่ได้อยู่ในบทหนังเท่านั้น แต่จริงแท้แน่นอนบนโลกใบนี้ ความคิดเบื้องหลังคำพูด คือที่มาของความรุนแรง การล่าอาณานิคม การก่อทุรกรรม ปล้นชิง ทำลายล้างและครอบครองของผู้ที่มีกำลังเหนือกว่า ซึ่งเกิดขึ้นแทบทุกตารางนิ้วบนผืนโลก
กุมภาพันธ์ 2553