ยืดอายุโลกด้วยเศรษฐกิจพอเพียง
“เศรษฐกิจพอเพียงไม่ใช่ทฤษฎีสำหรับคนจน” “เศรษฐกิจพอเพียงเป็นปรัชญาในการดำรงชีวิต” “เศรษฐกิจพอเพียงไม่ได้รังเกียจกำไร” “ปรับชีวิตสู่วิถีพอเพียงคือแนวทางแห่งความยั่งยืน” ฯลฯ “ผมพูดและบรรยายซ้ำซากอย่างนี้มาไม่รู้กี่ครั้ง พูดมา 10 กว่าปี ใครได้ยินแล้วก็ให้ได้ยินอีก” ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล เลขาธิการมูลนิธิ ชัยพัฒนา กล่าวประโยคนี้ก่อนนำเข้าสู่สาระของเศรษฐกิจพอเพียง...อีกครั้ง
เมษายน 2555
CEO Sharing
บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เป็นบริษัทจากไทยเพียงรายเดียวที่เป็นสมาชิกในระดับ Industrial Partner ของ World Economic Forum (WEF) ซึ่งเป็นเมมเบอร์ระดับพรีเมียมที่ต้องจ่ายค่าธรรมเนียมปีละราวๆ 8 ล้านบาท เพื่อได้สิทธิ์ในการเข้าประชุมร่วมกับซีอีโอจากบริษัทชั้นนำทั่วโลก ที่เป็นสมาชิกอยู่กว่า 1,000 ราย
มีนาคม 2555
ชุมชนน่าอยู่ อยากได้ต้องร่วมสร้าง
บริษัท แอล.พี.เอ็น.ตัดสินใจหันมาโฟกัสอาคารชุดสำหรับกลุ่มกลางล่างเมื่อปี 2545 แต่มีโจทย์ว่าไม่ต้องการให้โครง การของบริษัทกลายเป็นสลัมลอยฟ้า จึงตัดสินใจเข้าไปเป็นกลไกร่วมสร้างชุมชนหลังปิดการขายทุกโครงการ จนคำว่า “ชุมชนน่าอยู่” ก่อตัวขึ้นได้จริงและบังเอิญ ว่า “การเริ่มต้น” และ “บทพิสูจน์” ของชุมชนน่าอยู่ ล้วนมาจาก “วิกฤติ”
มกราคม 2555
ชนินท์ ว่องกุศลกิจ “ถ้าคุณอยู่กับมัน คุณจะตายเป็นคนสุดท้าย”
“Bringing coal to Newcastle” เป็นสำนวนคนอังกฤษแท้ๆ เทียบกับสำนวนไทยก็เหมือนกับ “เอามะพร้าวห้าวไปขายสวน” เป็นวัฒนธรรมทางภาษาที่เหลืออยู่ให้คนทั้งโลกจดจำได้ว่า สถานะของเมืองนิวคาสเซิลในอดีต ครั้งหนึ่งเคยเป็นแหล่งเหมืองถ่านหินก่อนจะพัฒนามาเป็นเมืองในปัจจุบัน
ตุลาคม 2554
“ผมไม่เคยบอกให้ใช้ไฟอย่างสิ้นเปลือง”
นพพล มิลินทางกูร กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) เอ่ยประโยคนี้อย่างหนักแน่น เพื่อยืนยันว่า แม้เขาจะอยู่ในฐานะผู้ผลิตไฟฟ้ามาตลอดชีวิตการทำงาน แต่ก็ไม่เคยเลยสักครั้งที่จะมีแนวคิดส่งเสริมให้คนใช้ไฟอย่างสิ้นเปลือง
กรกฎาคม 2554
“สร้างภาพเรื่อง Green ก็เท่ากับเอาหินทุบขาตัวเอง”
องค์กรไหนที่จะเริ่มต้นทำธุรกิจโดยอิงการตลาดกับสิ่งแวดล้อม ถ้าไม่ใช่เพราะวิสัยทัศน์ของผู้บริหารก็มักจะเริ่มต้นมาจากการประหยัดเงินในกระเป๋าขององค์กรก่อนเป็นอันดับแรก เมื่อเห็นผลการดำเนินงานก็จะเริ่มขยายไปสู่ส่วนหน้าหรือการตลาดขององค์กรในการนำเสนอสินค้าและบริการสู่ลูกค้าอีกต่อหนึ่ง อย่างน้อยก็เป็นการยืนยันได้ว่า ตัวองค์กรทำแล้วได้ผลมาก่อน
เมษายน 2554
กรุงเทพฯ เปลี่ยนได้
เมื่อคนที่อยู่กรุงเทพฯ ไม่ใช่คนกรุงเทพฯ สาธารณูปโภคที่ใช้ไม่ใช่ของคนกรุงเทพฯ แต่ปัญหามากมายรุมเร้าอยู่ในเมืองใหญ่เมืองนี้ แล้วอย่างนี้ชีวิตในกรุงเทพฯ จะเปลี่ยนไปสู่สิ่งแวดล้อมที่ดีขึ้นได้ไหม หากเริ่มต้นคิดถึงปัญหาอาจจะทำให้หลายคนท้อก่อนเห็นทางแก้ แต่การหาทางออกด้วยนวัตกรรมสังคมอาจจะทำให้เกิดความรู้สึกที่ว่า “กรุงเทพฯ เปลี่ยนได้...ไม่ยากเลย”
มกราคม 2554