“น้ำ” จัดการได้
แม้จะฝืนธรรมชาติไม่ได้แต่การดูแลและเข้าใจธรรมชาติเป็นสิ่งที่มนุษย์ไม่ควรละเลย เพราะความเข้าใจจะทำให้มนุษย์ใช้ประโยชน์และอยู่ร่วมกับธรรมชาติได้อย่างสมดุล เช่นเดียวกับการจัดการน้ำก็ต้องเริ่มจากเข้าใจธรรมชาติของน้ำ เพราะหากปราศจากความเข้าใจ ต่อให้มีเครื่องมือดีแค่ไหนการจัดการใดๆ ก็สำเร็จยาก
ธันวาคม 2554
แม่สอดโมเดล มิติใหม่ทุนชายแดน
ตั้งแต่เช้าจนถึงค่ำของวันที่ 21 กันยายนที่ผ่านมา บริเวณหน้าห้องประชุมอาคาร International Business Center (IBC) ริม INYA Lake ชานกรุงย่างกุ้ง คึกคักไปด้วยนักธุรกิจผู้นำเข้าชาวพม่าที่บ้างก็สวมโสร่ง หรือลองยี ชุดประจำถิ่น บ้างก็สวมเสื้อเชิ้ต ชุดสากลมาลงทะเบียนต่อคิวเจรจากับ 30 SMEs จาก อ.แม่สอด จ.ตาก
พฤศจิกายน 2554
เมื่อสัญลักษณ์ “ทุนนิยม” เริ่มปรากฏให้เห็นในพม่า
1 ปีหลังผ่านการเลือกตั้งใหญ่ครั้งแรกในรอบ 20 ปี พม่าเปลี่ยนแปลงไปมาก ไม่เพียงเฉพาะมิติทางการเมืองระหว่างประเทศที่ต้องการแสดงให้ประชาคมโลกเห็นว่าเป็นประเทศประชาธิปไตยแล้วเท่านั้น แต่ในมิติเศรษฐกิจ สัญลักษณ์ และแนวคิดที่อิงกับระบบ “ทุนนิยม” ได้ปรากฏอยู่ในตัวเมืองและนักธุรกิจของพม่าแล้วเช่นกัน
พฤศจิกายน 2554
ถามคนสงขลา?!
ย้อนรอยทิศทางการพัฒนาพื้นที่จังหวัดสงขลาตามแนวคิดการผลักดันของรัฐบาลเกือบสิบปีมานี้มีบทกวีชื่อว่า “ถามคนสงขลา” ถูกนำเสนอในรูปแบบการอ่านบทกวีในเวที รวมถึงตีพิมพ์เผยแพร่ทั้งในส่วนกลางและท้องถิ่น ซึ่งได้ชี้ประเด็นสอดรับกับ “คณะทำงานหยุดการพัฒนาสงขลา-สตูล สู่การเป็นจังหวัดอตุสาหกรรมหนัก” ที่ว่ารัฐจะยกเอา “มาบตาพุด” และ “สมุทรปราการ” มามอบให้
ตุลาคม 2554
“โลจิสติกส์” หรือ “อุตสาหกรรม”?!
การชี้แจงแผนดัน “แลนด์บริดจ์” ของหน่วยงานรัฐที่แยกส่วนโครงการก่อสร้างต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นท่าเรือน้ำลึก 2 แห่ง รถไฟขนสินค้ารางคู่ ถนนมอเตอร์เวย์ รวมถึงท่อส่งน้ำมัน-ก๊าซข้ามคาบสมุทร ซึ่งเป็นไปแบบให้ข้อมูลไม่ครบถ้วนและพยายามบิดเบือน ส่งผลให้ยุทธศาสตร์ที่วางไว้พร่ามัวเสมอมา แต่เวลานี้ชาวสงขลา-สตูลทราบดีแล้วว่าระหว่าง “โลจิสติกส์” ข้ามโลกกับ “อุตสาหกรรม” ในพื้นที่นั้น แท้จริงแล้วรัฐบาลต้องการอะไรกันแน่!!
ตุลาคม 2554
จิ๊กซอว์ต่อภาพอนาคต 'สงขลา-สตูล'
เครือข่ายภาคประชาชนที่เพิ่งถูกตั้งขึ้นใหม่ล่าสุดคือ “คณะทำงานหยุดการพัฒนาสงขลา-สตูล สู่การเป็นจังหวัดอุตสาหกรรมหนัก” ที่ประกอบขึ้นจากบุคลากรทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชนจาก 2 จังหวัดพื้นที่สร้างแลนด์บริดจ์ ร่วมกันจิ๊กซอว์ต่อภาพอนาคตท้องถิ่นขึ้นมาใหม่ เพียงชั่วเดือนสองเดือนมานี้ก็ได้ร่วมกันจัดทำ “เอกสารชี้แจงความจริง” ภายใต้ชื่อ “สงขลา-สตูล กำลังก้าวไปสู่จังหวัดอุตสาหกรรมหนัก” ออกแจกจ่ายเผยแพร่ไปแล้วจำนวนมาก
ตุลาคม 2554
Land bridge Landslide?!
ความตื่นตัวถึงทิศทางการพัฒนาของเครือข่ายภาคประชาชนบนแผ่นดินด้ามขวานเป็นไปอย่างแน่นแฟ้น เข้มแข็ง และคึกคักยิ่งเวลานี้ โดยเฉพาะคนภาคใต้ตอนล่างพื้นที่เป้าหมายสร้าง Land bridge เชื่อมทะเลอ่าวไทยและอันดามัน ได้หยิบแนวคิด Southern Seaboard ไปพินิจพิเคราะห์จนได้ข้อสรุปว่า รัฐกำลังเร่งผลักดันให้ “สงขลา-สตูล” ก้าวไปสู่ “จังหวัดอุตสาหกรรมหนัก” ซึ่งจินตนาการได้ถึงการยกเอา “มาบตาพุด-สมุทรปราการ-แม่เมาะ” ไปรวมกันไว้ที่นั่น... แล้วอนาคตของลูกหลานจะเป็นอย่างไร?!
ตุลาคม 2554
The Newcomer จากศรีนครินทร์ถึงบางแค
แม้วันเปิดศูนย์การค้าซีคอน บางแค ยังอีกไกลคือเดือนเมษายน 2555 แต่การโชว์โมเดลโครงการมูลค่ากว่า 3,000 ล้านบาท รูปแบบและจุดขายอย่างครบเครื่อง ก็สร้างความตื่นเต้นให้ธุรกิจศูนย์การค้า โดยเฉพาะคู่แข่งอย่าง “เดอะมอลล์กรุ๊ป” ที่เปิดสาขาบางแคผูกขาดย่านนี้มานานกว่า 17 ปี
กันยายน 2554
สมสิน อรุณไพโรจน์ เพื่อนคู่คิด
พื้นเพเดิมของสมสิน อรุณไพโรจน์ เป็นชาวจังหวัดนครสวรรค์ เข้ามาเรียนในกรุงเทพฯ ตั้งแต่เด็กๆ สมสินจบปริญญาตรีจากคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ จากนั้นเข้าทำงานในสถาบันการเงินในกรุงเทพฯ ระยะหนึ่ง ก่อนเดินทางไปศึกษาต่อต่างประเทศ
กันยายน 2554