สาธิตฟีเวอร์
ถ้านับวันเวลาจากโรงเรียนสาธิตแห่งแรกในประเทศไทย คือโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน ตั้งขึ้นเมื่อปี 2496 มาถึงตอนนี้เกือบ 60 ปี ใกล้วัยเกษียณเต็มที แต่กระแสความนิยมในโรงเรียนกลุ่ม “สาธิต” ยังถือเป็นโรงเรียนอันดับแรกๆ ที่พ่อแม่แทบทุกคนอยากให้ลูกเข้าเรียน
มกราคม 2555
RECONSTRUCTURING การศึกษาไทย
จันทร์เอ๋ย จันทร์เจ้า
ขอข้าวขอแกง ขอแหวนทองแดงผูกมือน้องข้า
ขอช้างขอม้าให้น้องข้าขี่ ขอเก้าอี้ให้น้องข้านั่ง
ขอเตียงตั้งให้น้องข้านอน ขอละครให้น้องข้าดู
ขอยายชูเลี้ยงน้องข้าเถิด ขอยายเกิดเลี้ยงตัวข้าเอง
ขอคอมพิวเตอร์ติดเน็ต ไอแพด ดาวเทียมทางไกล
ขอโรงเรียนดีๆ ไม่เก็บแป๊ะเจี๊ยะให้ข้าสักโรง
ขอครูเก่งๆ สอนน้องข้าด้วย...
มกราคม 2555
Function และ Emotion ของคันดินที่ริมโขงเวียงจันทน์
“บ่ต้องห่วงว่าพายุจะพัด เพราะว่าลาวเฮามีภูหลวงกั้นกลางระหว่างประเทศลาวกับเวียดนาม เพราะฉะนั้นเวลาพายุเข้าเวียดนาม ลาวจะได้ฮับอิทธิพลลมมรสุมเล็กน้อย” เสียงไกด์สาวที่เคยพูดทีเล่นทีจริงให้ได้ยินเมื่อครั้งที่มีโอกาสไปเยือน สปป.ลาว เป็นการมองโลกในแง่ดีว่า สปป.ลาวเป็นประเทศที่ปลอดภัยจากภัยธรรมชาติ โดยเฉพาะภัยจากการถูกพัดถล่มจากพายุและน้ำท่วมหนัก เมื่อเทียบกับประเทศเวียดนาม หรือแม้แต่ต้องเจอกับสภาพน้ำท่วมขังแบบฝั่งไทย
ธันวาคม 2554
สันเขื่อนแม่น้ำแดง ดัชนีความเชื่อมั่นของฮานอย
ฮานอย เมืองหลวงของประเทศเวียดนาม ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นประเทศของชาวน้ำ เช่นเดียวกับคนไทยในลุ่มน้ำเจ้าพระยา เลือกตั้งถิ่นฐานอยู่บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำแดง เป็นเมืองหลวงที่เพิ่งจะมีอายุครบพันปีไปเมื่อปี 2010 มีชื่อเดิมว่าทังลองในยุคแรก ก่อนจะเปลี่ยนชื่อมาเป็นฮานอยจนถึงปัจจุบัน มีประชากรอาศัยอยู่ประมาณ 3.5 ล้านคน และมีจำนวนสูง ถึง 70-80% ที่เลือกอาศัยอยู่ในเขตเมืองชั้นใน
ธันวาคม 2554
อุโมงค์ยักษ์ กทม. ทางแก้หรือปัญหายั่งยืน
อุโมงค์ยักษ์ กทม.เพิ่งเปิดตัวส่วนอุโมงค์ช่วงพระรามเก้า-รามคำแหง ซึ่งเป็นเฟสแรกของโครงการเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2554 ไม่กี่เดือนหลังจากนั้นก็ได้ใช้งานจริงทันที ช่วงที่น้ำเริ่มรุกเข้าสู่กรุงเทพฯ ชั้นใน ประชาชนจำนวนหนึ่งหวังเต็มที่ว่า ถึงเวลาแล้วที่อุโมงค์ยักษ์โครงการที่กรุงเทพมหานครภูมิใจเสนอได้เวลาแสดงความสามารถเต็มที่แล้ว
ธันวาคม 2554
Malaysia 'SMART' Tunnel Beyond Flood Management
หลายปีมานี้ กัวลาลัมเปอร์ เมืองหลวงของมาเลเซียตกอยู่ในอันตรายจากน้ำท่วมไม่ต่างจากหัวเมืองปักษ์ใต้บ้านเรา สาเหตุสำคัญหนีไม่พ้นผลความรุนแรงของธรรมชาติ ปริมาณฝนที่สูงขึ้นกว่าเดิมเป็นเท่าตัวในแต่ละปี อาจจะมากเกินกว่าที่ผู้คนในเมืองจะตั้งรับได้ต่อไป แต่กลับไม่มีข่าวน้ำท่วมจนสร้างความเสียหายให้กับชีวิตและทรัพย์สินเหมือนข่าวที่เกิดขึ้นถี่ในช่วง 2-3 ปีนี้ในหลายจังหวัดของไทย เพราะที่กัวลาลัมเปอร์มีสิ่งประดิษฐ์ที่เรียกว่า SMART Tunnel
ธันวาคม 2554
10 ข้อเสนอแนะ มุมมองต่ออุทกภัยไทยปี 2011
เพราะสถานการณ์น้ำท่วมใหญ่ปีนี้ ทำให้น้ำหนักของการจัดการน้ำเทไปที่เรื่องปัญหาน้ำท่วมเป็นหลัก เช่นเดียวกันโครงการน้ำแห่งเอเชียของ IUCN โดย Ganesh Pangare หัวหน้าโครงการน้ำแห่งเอเชีย (Water Programme) ระบบนิเวศและกลุ่มอาชีพ IUCN สำนักงานภูมิภาคเอเชีย (Ecosystems and Live-lihoods Group, IUCN Asia Regional Office) สรุปมุมมองที่เป็นต้นเหตุปัญหาน้ำท่วมที่เกิดขึ้นของไทยในครั้งนี้ให้กับผู้จัดการ 360 ํ
ธันวาคม 2554
ทางด่วนสายน้ำที่จันทบุรี
ชลบุรี ระยอง จันทบุรี ถูกมองว่าเป็นพื้นที่ขาดน้ำ ทั้งที่ภาคตะวันออกของไทยเป็นภาคที่มีปริมาณฝนเฉลี่ยต่อปีสูงมาก พอๆ กับภาคใต้ โดยเฉพาะในจังหวัดจันทบุรีแทบจะเรียกว่าเป็นเมืองฝนแปดแดดสี่ได้เหมือนกัน มีปริมาณฝนแต่ละปีช่วงพฤษภาคมถึงตุลาคมมากกว่า 2,500 มม.ต่อปี จัดอยู่ในกลุ่มจังหวัดที่มีฝนตกมากที่สุด
ธันวาคม 2554
ปฏิบัติการแก้แล้งแบบอีสาน
สำหรับการแก้ปัญหาภัยแล้งและทำให้อีสานพัฒนาขึ้นได้ด้วยการเข้าไปจัดการพัฒนาแหล่งน้ำ พูดได้ว่าไม่มีโครงการไหนเทียบได้กับโครงการพระราชดำริที่ค่อยๆ พลิกอีสานจากดินแดนแห้งแล้งให้กลับมามีป่ามีน้ำ และทำให้คนอีสานมีรายได้และชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นจากการจัดการน้ำ
ธันวาคม 2554
“บางลี่” ที่นี่เคยเป็น “ตลาดเก็บน้ำ”
เมืองไทยมีตลาดน้ำหลายที่ ยิ่งสมัยนี้ไปจังหวัดไหนก็มี ไม่เว้นแม้แต่หัวหิน พัทยา ซึ่งเป็นเมืองชายทะเลก็มีตลาดน้ำกับเขาด้วย แต่ตลาดกลางน้ำนี่สิเคยเห็นกันไหม ไม่ได้ล้อสถานการณ์น้ำท่วม แต่นี่คืออดีตที่เคยเกิดขึ้นจริง ที่ตลาดบางลี่ ตลาดเทศบาลอำเภอ สองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี พื้นที่เทศบาลเมืองที่ต้องมีสภาพไม่ต่างจากอ่างเก็บน้ำ ทำให้ตลาดของเทศบาลครึ่งปีต้องค้าขายกันกลางน้ำ ส่วนอีกครึ่งปีเมื่อน้ำแห้งถึงจะขนของลงมาค้าขายกันปกติในบริเวณบ้านชั้นล่าง
ธันวาคม 2554