กันตรึม...เสียงดนตรีแห่งอีสานใต้
ลักษณะเฉพาะของอีสานใต้ในเขตสุรินทร์ บุรีรัมย์ ศรีสะเกษ คือเป็นพื้นที่ที่มีชาติพันธุ์มอญ-เขมร อาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก พวกเขามีภาษาและดนตรีที่เป็นเอกลักษณ์ของตัวเอง ซึ่งครั้งหนึ่งเคยส่งผลผลิตของกันตรึม ในนาม “ร็อคคงคย” วางตลาดทั่วประเทศมาแล้วเมื่อเกือบ 20 ปีก่อน และยังคงมีธุรกิจขายเสียงที่ทำตลาดท้องถิ่นในประเทศเพื่อนบ้านและตลาดที่ไกลถึงแคนาดา อเมริกา อย่างต่อเนื่องเงียบๆ มาถึงปัจจุบัน
สิงหาคม 2553
ไชโป๊วอีสานใต้...ขยายได้อีก
หัวไชโป๊วหรือผักกาดดองหวาน-เค็ม เมืองสุรินทร์ ต้นตำรับจากเมืองจีน เป็นสินค้าขึ้นชื่อที่อยู่ในคำขวัญของจังหวัดสุรินทร์ ที่ว่า “ถิ่นช้างใหญ่ ผ้าไหมงาม ประคำสวย ร่ำรวยปราสาท ผักกาดหวาน ข้าวสารหอม งามพร้อมวัฒนธรรม” เป็นสินค้าที่เติบโตเงียบๆ ส่งขายทั่วประเทศ และส่งกลับถิ่นต้นตำรับอย่างจีน ไต้หวัน และฮ่องกง เป็นที่รู้จักไม่แพ้ผ้าไหมสุรินทร์
สิงหาคม 2553
โอกาสบนเส้นทาง...สายไหม
นอกจากไหมลวดลายอันวิจิตรใช้เทคนิคการทอที่สลับซับซ้อนที่บ้านท่าสว่าง จนได้รับความไว้วางใจให้เป็นแหล่งผลิตเพื่อมอบให้กับพระราชอาคันตุกะกับผู้นำประเทศครั้งจัดงานประชุม APEC และงานเฉลิมพระชนมพรรษาครบ 60 พรรษาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จนเป็นที่รู้จักและมีชื่อเสียงโด่งดังไปทั่วโลก
สิงหาคม 2553
'อีสานใต้' จาก 'ชายแดน' สู่ 'Land Link'
ความคิดนี้กำลังจะเปลี่ยนรูปแบบชายแดนไปสู่การค้าระหว่างกันของประเทศในภูมิภาคอินโดจีนในอีกไม่เกิน 10 ปีข้างหน้านี้ โดยเปลี่ยนพื้นที่ชายแดนให้เป็นประตูสู่สากล มีการพัฒนาสาธารณูปโภคพื้นฐาน เพื่อพัฒนาการค้า การลงทุนและการท่องเที่ยว
สิงหาคม 2553
ลาว: หลักสูตรเดิม พื้นที่ใหม่ของ PWC
การเปิดตลาดหุ้นถือเป็นสัญลักษณ์การหลั่งไหลของระบบทุนนิยม ซึ่งขณะนี้ทุกประเทศในกลุ่มอินโดจีนไม่ว่าจะเป็นเวียดนาม ลาว และกัมพูชา กำลังจะมีองค์ประกอบครบ โดย สปป.ลาว คือประเทศล่าสุดที่กำลังจะเปิดตลาดหุ้นในปีนี้
กรกฎาคม 2553
เรื่องที่คนไทยยังไม่รู้เกี่ยวกับ “เบยลาว”
คนไทยส่วนใหญ่รู้จักเบียร์ลาว แต่คนไทยส่วนใหญ่ไม่ได้รู้เรื่องราวโดยละเอียดของเบียร์ลาว บทสัมภาษณ์ “กิดสะหนา วงไซ” ผู้อำนวยการใหญ่ บริษัทเบียร์ลาว และเนื้อหาประกอบจากการสืบค้นข้อมูลของกองบรรณาธิการชิ้นนี้คงให้คำตอบในเรื่องราวเกี่ยวกับเบียร์ลาวกระจ่างขึ้น
กรกฎาคม 2553
ฟังผู้บริหารกลุ่มพลังงานพูดเรื่องนิวเคลียร์
การสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์เป็นเรื่องละเอียดอ่อน มีหลายมิติที่จะต้องมอง ครั้งนี้ลองมาฟังเสียงของผู้บริหาร 4 คน ที่คร่ำหวอดอยู่ในวงการพลังงานน้ำมันและไฟฟ้ามาเกือบตลอดชีวิต “สุรงค์ บูลกุล” ไทยออยล์ “อนนต์ สิริแสงทักษิณ” ปตท.สผ. “ชายน้อย เผื่อนโกสุม” ปตท.เออาร์ และ “นพพล มิลินทางกูร” บริษัทผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง เขาเหล่านี้คิดเห็นอย่างไรบ้าง
มิถุนายน 2553
Regional Player เวทีใหม่ราชบุรีโฮลดิ้ง
บมจ.ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง ได้กำหนดยุทธศาสตร์ขยายธุรกิจไปต่างประเทศได้มาช่วงระยะเวลาหนึ่งแล้ว หลังจากเห็นว่าตลาดไทยเริ่มมีข้อจำกัดด้านวัตถุดิบ จากนี้ไปจะเริ่มเห็นบทบาทของบริษัทในเวทีระดับภูมิภาคมากขึ้น
มิถุนายน 2553
นักบุกเบิกแหล่งพลังงานระดับโลก “ก้าวต่อไป” ของ ปตท.สผ.
อนนต์ สิริแสงทักษิณ หัวเรือใหญ่แห่ง ปตท.สผ. ซึ่งเป็น “หัวขบวน” ของธุรกิจกลุ่ม ปตท. เขาตระหนักดีว่าไม่เพียงเพื่อสร้างความมั่งคั่งของ ปตท. อีกหน้าที่สำคัญของเขาคือสร้างความมั่นคงทางพลังงานให้กับประเทศไทย
มิถุนายน 2553